บทเรียนจากตลาดพระเครื่อง: ทำไมคนมีเงินบางคนจึงเก็บสะสม "พระปลอม"


ของปลอมที่(ดู)สวยกว่าของจริงนั้น เขาก็เก็บไว้ต้มมือใหม่ และ คนมือเงินที่ไม่เรียนรู้ครับ

เมื่อวันก่อน ผมได้มีโอกาสเสวนากับคนรู้จักในตลาดพระ ที่พอจะคุยกันได้

ซึ่งเราได้มีข้อสงสัยว่า ทำไมท่านผู้มีเงิน มีฐานะบางคนจึงเก็บสะสม “พระปลอม” ไว้เต็มบ้าน แบบไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ

(สำหรับคนไม่มีเงิน ไม่มีความรู้ ไม่เรียนรู้ แต่อยากสะสมพระเครื่อง แล้วมีคนให้พระปลอม หรือเช่าพระปลอมราคาถูกๆมาเก็บไว้นั้น เราไม่มีข้อสงสัยมากนัก)

ที่กล่าวว่า "ไม่รู้ตัว" ก็คือ ยังมาคุยอีกว่าตนเช่ามาในราคาเป็นหมื่นเป็นแสน (ทั้งๆที่ควรจะเป็นสิบหรือร้อยบาทเป็นอย่างมาก)

ทำให้ความคิดที่จะคุยกันจึงมาวนอยู่ในประเด็นที่ว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

ความเป็นไปได้ประการหนึ่งก็คือ ท่านผู้นั้นเป็นนักสะสมพระเครื่อง แบบไม่เคยศึกษาว่าของจริง ของปลอมต่างกันอย่างไร และราคาควรจะเป็นเท่าไร

จึงทำให้(อาจ)โดนหลอก “ยัด”ของปลอมให้แบบ “เต็มกรุ”

แต่ต้องจ่ายในราคาของจริง แบบราคาปลายเสียด้วย

ดีนะที่ไม่รู้ ถ้ารู้คงอาจถึงกับ “ช็อก” ก็ได้ เพราะน่าจะเป็นเงินหลายล้านบาทที่จ่ายไป แต่มูลค่าจริงใกล้กับศูนย์

ทำให้ประเด็นการคุยกันมาวนแถวว่า ระดับของ “คุณภาพ” พระเครื่องมีกี่แบบ

ทำให้ได้ประเด็นว่าที่ไม่น่าแปลกใจว่า

น่าจะมีอย่างน้อย ๒ แบบใหญ่ๆ

คือ พระแท้ และพระปลอม

พระแท้นั้น ยังแบ่งระดับตามแหล่งที่มา ความสมบูรณ์ และมีรายละเอียดหรือลักษณะสอดคล้องที่นักเลงพระ “ชอบ”

สำหรับพระปลอมนั้น ก็มีตั้งแต่

·       ปลอมแบบใกล้เคียงมาก ทั้งเนื้อ และพิมพ์ (ที่กล่าวขานว่าเป็น “พระโรงงาน” หรือ “พระฝีมือ” ราคาจึงขึ้นอยู่กับระดับ "ฝีมือ" และความยากในการปลอม)

o   มีทั้งเนื้อใช่ พิมพ์ไม่ใช่

o   หรือ กลับกัน เนื้อไม่ใช่ แต่พิมพ์ใช่

o   หรือ ใช่ทั้งเนื้อและพิมพ์ แต่ทำนอกวัด

·       ปลอมตาเปล่า มองไกลๆก็รู้ว่าปลอม

o   ทั้งเนื้อ และพิมพ์ ไม่ใช่ทั้งคู่

พระแท้ นั้นแน่นอน มีไว้ให้กับคน “ตาถึง” และ “เรียนรู้” เท่านั้น

ว่าองค์ไหน ลักษณะแบบไหน(ทั้งอายุ เนื้อ และพิมพ์) คุณภาพระดับไหน ตลาดระดับไหน ราคาควรจะเป็นเท่าไหร่ มีเทคนิควิธีการต่อรองอย่างไร จึงจะไม่ถูกหลอก

พระปลอมประเภทแรก แบบ"ใกล้เคียง" นั้น ไว้ดัดหลังคนมีเงินที่ไม่เรียนรู้

พระปลอมประเภทที่สอง "ปลอมตาเปล่า" นั้น ไว้ประดับร้าน หรือแผงพระ แบบเดียวกับร้านมือถือที่มีของปลอมเต็มร้าน ไว้ให้ดูว่ามีของมาก แต่จริงๆ มีอยู่ไม่กี่ชิ้น

แต่บางทีก็ไว้แลกเปลี่ยนกัน "เช่า-ให้เช่า" แทนมูลค่าเป็นเงินสด ตามแต่จะตกลงกัน หรือไว้ต้มมือใหม่หัดเล่นพระเครื่อง

ดังนั้น เวลาเข้าไปตลาดพระเครื่องจึง ไม่ต้องประหลาดใจว่าทำไมมีแต่พระเครื่องปลอมๆ "เต็มร้าน-เต็มแผง" 

แบบภาษานักเลงพระว่า

"ตลาดปลาร้า"

โธ่ ก็เขามีไว้ประดับร้านเท่านั้น อย่าคิดมาก อย่าไปว่าเขาเลย

ของจริง ของแท้เขาจะเก็บซ่อนไว้ให้สำหรับคนสนใจ และขอดู ขอชม ขอ "ส่อง"ได้ ต่อรองได้ แบบเดียวกับมือถือนั่นแหละครับ

(แต่บางครั้ง บางทีก็ไม่มีของแท้ มีแต่ของปลอมเต็มร้าน แต่ก็ยังอวดอ้างว่าที่วางอยู่นั้นเป็นของแท้ -ประเด็นนี้จะเก็บไว้เล่าวันหลังครับ)

จึงขอให้ท่านมือใหม่ ระวังมากๆ

อย่าไปหยิบของประดับร้านเขามานะครับ

และที่สำคัญ ของปลอมที่(ดู)สวยกว่าของจริงนั้น เขาก็เก็บไว้ต้มมือใหม่ (หรือ มองในแง่ดี ก็คือ ถือกันว่า เป็นค่าลงทะเบียนเรียน "วิชาดูพระ") 

และ เก็บไว้ "ยัดกรุ" ให้คนมือเงิน แต่ไม่เรียนรู้ครับ

ขอให้โชคดีครับ

 

หมายเลขบันทึก: 258446เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2009 19:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2012 06:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีครับ อาจารย์

ข้อมูลดีๆ น่าสนใจครับ

เวลาผ่านท่าพระจันทร์และตลาดนัดใกล้ๆสนามหลวง

ผมชอบเดินดู เขาส่องพระกัน ดูเพลินดีครับ

ผมเคยคิดในใจว่าดิน โลหะ  นวโลหะ  แถวนี้ช่างขายดีเสียจริงๆ

ขอบคูณมากครับ

ครับ

ดินเหนียว ผงฝุ่น และโลหะต่างๆ ขายดี และราคาแพงที่สุดในโลก อยู่ที่เมืองไทยครับ

นางสาวชาลินี แช่มมั่นคง

เหมือนกันค่ะดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ชอบสะสมพระ บางคนมองว่าที่ฉันมีนั้นเป็นของปลอมแต่ทั้งๆที่รับมาจากวัดจริงๆๆ พวกนี้มักจะแอบให้เราเปลี่ยนแล้วเอาของปลอมให้แทนนะค่ะ ทำไมที่สนามหลวงมีพระปลอมมากมายแล้วกฎหมายบ้านเราไม่จับละค่ะ

เอาพระแท้ไปให้ใครดู เขาก็ว่าพระปลอม ผมล่ะไม่เข้าใจจริงๆ

นั่นพวกวิชามารครับ ตีเก๊เพื่อซื้อถูก

แต่ก็พึงระวังนะครับ อาจปลอมจริงๆก็ได้ครับ

สงสัยลองไปอ่านที่ผมบันทึกไว้ครับ มีทุกเนื้อครับ

ยกเว้นเหรียญกับรูปหล่อ ที่ยังไม่ได้บันทึกไว้ครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ค่ะ หนูชอบพระเครื่องมาก ไม่ว่าใครให้มาหนูเก็บหมด ปลอมหรือไม่ปลอมหนูก็เก็บค่ะ หนูดูไม่ออกแต่ก็มาลองศึกษาดูบ้างนิด ๆ หน่อย ๆ 

ทุกอย่างที่เป็นสัญญลักษณ์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศิริมงคลในชีวิตทั้งนั้นค่ะ ขอไห้แขวนแล้วเป็นคนดีมีศีลธรรม และประพฤติปฎิบัติตัวอยู่ในศีลธรรมจรรยาที่ดีแขวนองค์ละสิบล้านถ้าเป็นคนไม่ดีไม่มีศีลธรรมท่านก็ไม่หนุนนำค่ะหนูว่า หนูมีทั้งพระแท้พระปลอม บางครั้งก็แขวนพระปลอมเหมือนกันยอมรับค่ะว่าพิมพ์ละเอียดและงดงามกว่าพระแท้บางองค์จึงไม่คิดมากที่จะแขวนเพราะสำคัญที่สุดพระแท้อยู่ในใจเราค่ะ แต่ความสำคัญอาจต่างกันตรงความรู้สึกค่ะ หนูว่าน่ะ อิอิอิ

อ้อ บางทีพระแท้แน่ๆ เอาไปไห้เซียนพระถึงสามสีคนดูอีกคนบอกแท้อีกคนดูยังบอกว่าปลอม แล้วกรณีนี้ใครมีความคิดเห็นยังไงบ้างค่ะอาจารย์???  

การใช้หูดูพระก็เป็นเช่นนี้แหละครับ ธรรมดาๆ 555555555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท