การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

เล่าเรื่องแพทย์แผนไทยอุดรเดือน มกราคม 2552


ประชุมคณะกรรมการชมรมหมอพื้นบ้าน อ.บ้านดุง เรื่องการจัดการองค์กร

1. ประชุมเรื่องสถานการณ์การใช้บริการการแพทย์ทางเลือกในการดูแลสุขภาพของประชาชน อาคารสวนกีฬา กระทรวง สธ. วันที่  6  ม.ค.52

ประธานการประชุม นายแพทย์ประพจน์ เภตรากาศ รองอธิบดี รักษาการในตำแหน่งนายแพทย์ 10 วช.(ด้านสาธารณสุข) กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มอบหมายให้ ดร.เพ็ญจันทร์ เชอร์เรอร์

อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอผลการวิจัย โดยมีประเด็นเกี่ยวกับสุขภาพในมุมมองของประชาชน การแพทย์ทางเลือกในมุมมองของประชาชน โดยประชาชนมองว่าการแพทย์ทางเลือกคือการแพทย์ที่เขาเลือกได้เอง ซึ่งต่างจากความหมายของการแพทย์ทางเลือกที่กระทรวงให้ความหมาย   อย่างไรก็ตามเป็นงานวิจัยชิ้นแรก ๆ ที่เกี่ยวกับการแพทย์ทางเลือกซึ่งผู้บริหารระดับกระทรวงจะได้นำไปกำหนดยุทธศาตร์การดำเนินงานต่อไป

 

                2.อบรมความรู้ศาสตร์การแพทย์แผนจีน ห้องประชุมจำลอง มุ่งการดี โรงพยาบาลขอนแก่น

วันที่  7-8  ม.ค.52

1.การอบรมมีระยะเวลา 2 วัน 4 เรื่องได้แก่ความรู้เกี่ยวกับการวินิจฉัยโดยการแพทย์แผนจีน , การฝังเข็ม , การใช้สมุนไพรจีน และการนวดแผนจีน (ทุยน่า)

2.การวินิจฉัยโดยการแพทย์แผนจีน  บรรยายโดย อาจารย์สว่าง กอแสงเรือง มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับเส้นลมปราณหลักของจีนมี 12 เส้น และเส้นรอง 6 เส้น มีเส้นลมปราณที่มีจุดสำหรับฝังเข็มในเส้นหลักและเส้รนรอง 2 เส้น แบ่งเป็นอิน 3 กลุ่ม หยาง 3 กลุ่ม ที่ก่อให้เกิดกลุ่มโรค ทั้งนี้สาเหตุการเกิดโรคมาจาก 3 ประการ คือภายใน , ภายนอก (ลมฟ้าอากาศ) และไม่ใช่ทั้งภายนอก และภายใน

3.การฝังเข็ม บรรยายโดย นพ.กิตติศักดิ์ เก่งสกุล มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับหลักการทั่วไปของการฝังเข็ม และประสบการณ์ความสำเร็จจากการฝังเข็มคนไข้กลุ่ม DEMENTIA ทั้งนี้การฝังเข็มคือการใช้พลังงานของคนไข้มารักษาตนเอง ดังนั้นคนไข้ที่ไม่ทานอาหารกลางวันแล้วมาฝังเข็มตอนบ่าย  มักจะเป็นลม , การฝังเข็มมีการทำงานแบบ BIDIRECTIONNAL EFFECT คือการปรับเข้าสู่สมดุล ถ้าขาดจะไปเพิ่มทำให้พอดี ถ้าเกินจะไปลดทำให้พอดี

4.ยาสมุนไพรจีน บรรยายโดย นพ.สมชัย โกวิทย์เจริญกุล มีเนื้อหาหลักคือ โดยหลักการของยาจีนจะมีการวิเคราะห์เบญจธาตุ คือ การสนับสนุน ได้แก่ ดินกำเนิดทอง ทองกำเนิดน้ำ น้ำกำเนิดไม้ ไม้ให้ไฟ ไฟให้ดิน การทำลาย ได้แก่ ดินลดน้ำ น้ำดับไฟ ไฟไหม้ทอง ทองตัดไม้ ไม้กระจายดิน

5.การนวดแบบจีน (ทุยน่า) บรรยายโดย อ.ประโยชน บุญสินสุข ซึ่งหลักการนวดแบบจีนนั้นมีเทคนิคในการนวดที่หลากหลาย เช่นการทุบ หยิก กลิ้ง ม้วน

สิ่งที่จะได้ดำเนินการต่อไป

1.ประสานผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อแจ้งความจำนงในการจัดให้มีการดำเนินการอบรมรูปแบบดังกล่าวนี้ในจังหวัดอุดรธานี (ต้องเตรียมการใดบ้าง กลุ่มเป้าหมายคือบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะแพทย์ประจำ จำนวนผู้เข้าอบรมอย่างน้อย 60 คน)

2.เห็นควรขอความร่วมมือให้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรมจากสถาบันการแพทย์ไทย-จีน ซึ่งสถาบันมีหลักสูตรที่จะจัดอบรมได้แก่หลักสูตรการพัฒนาสมุนไพรไทย-จีน สู่สากล  กลุ่มเป้าหมายที่น่าจะได้เข้ารับการอบรม ได้แก่ เภสัชกรโรงพยาบาล   หลักสูตรการนวดจีน  กลุ่มเป้าหมายที่น่าจะได้เข้ารับการอบรม ได้แก่ อายุรเวทของโรงพยาบาล

 

                3.จัดอบรมแนวทางการประเมินมาตรฐานบริการแพทย์แผนไทย ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ  ณ ห้องประชุมลาวแพน   ร.ร.เจริญโฮเต็ล  อุดรธานี  วันที่ 13 มกราคม 2552

                1.เปิดการอบรมโดยนายมะโนตร์  นาคะวัจนะ  หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข  สสจ.อุดรธานี    และกล่าวให้แนวทางเรื่องมาตรฐานและคุณภาพการบริการ

2.วิเคราะห์ผลการประเมินมาตรฐานบริการแพทย์แผนไทย ในโรงพยาบาลและสถานีอนามัย ปี 2549 ,2550 และ 2551   โดยเภสัชกรสมชาย  ชินวานิชย์เจริญ   หัวหน้างานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (รายละเอียดตามเอกสารประกอบการอบรม   ซึ่งได้มอบให้ในวันอบรมแล้ว) 

3. ชี้แจงเนื้อหา  คำอธิบาย และเกณฑ์การให้คะแนนการประเมินมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทยในระดับโรงพยาบาลและสถานีอนามัย   รายละเอียดตามหนังสือคู่มือมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ พ.ศ.2551  ซึ่งได้มอบให้ผู้รับผิดชอบงานแพทย์แผนไทยระดับโรงพยาบาลและสาธารณสุขอำเภอ แล้ว   

4. ตามเกณฑ์ประเมินมาตรฐานฯ  ด้านที่ 4 การควบคุมคุณภาพ   ในเรื่องการกำหนดตัวชี้วัดด้านคุณภาพบริการ นั้น  จังหวัดอุดรธานี  จึงทำข้อตกลงร่วมกันให้มีการกำหนดเครื่องชี้วัด 6 ข้อ ดังนี้

1.กลุ่มเครื่องชี้วัดคุณภาพทางคลินิก

1.อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

2.อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรง

3.ผู้รับบริการมีอาการดีขึ้นหรือหาย

                2.กลุ่มเครื่องชี้วัดคุณภาพบริการ

                                4.ความพึงพอใจที่ได้รับบริการที่มีคุณภาพ

                                5.อัตราความสมบูรณ์ของเวชระเบียน

                3.กลุ่มเครื่องชี้วัดคุณภาพการบริหารจัดการ

                                6.อัตราการฝึกอบรมภายใน-ภายนอกหน่วยงาน

                                โดยให้แต่ละสถานบริการกำหนดเป้าหมายขึ้นเอง  ทั้งนี้มีตัวอย่างจากโรงพยาบาลมหาสารคาม  ซึ่งได้มีแนวทางในการเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ชัดเจน  สามารถนำมาเป็นต้นแบบได้  ดังตัวอย่างที่แนบท้าย

                5.ประชุมกลุ่มย่อยแบ่งกลุ่มตามโซนอำเภอ  เพื่อวางแผนร่วมกันในการประเมินมาตรฐาน และ

คัดเลือกตัวแทนโซนอำเภอที่จะทำหน้าที่แจ้งรายชื่อโรงพยาบาลและสถานีอนามัย ภายในโซนอำเภอ ที่มีผลการประเมินมาตรฐานในอันดับที่ 1 และ 2   เพื่อเป็นตัวแทนโซนในการประกวดมาตรฐานระดับจังหวัด  ปี 2552   สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อยดังนี้

                5.1 ตัวแทนโซนอำเภอที่ 1  คือ คปสอ.เพ็ญ

                5.2 ตัวแทนโซนอำเภอที่ 2  คือ คปสอ.กุมภวาปี

                5.3 ตัวแทนโซนอำเภอที่ 3  คือ คปสอ.หนองหาน

                5.4 ตัวแทนโซนอำเภอที่ 4  คือ คปสอ.กุดจับ

                6. ประชุมกลุ่มย่อยเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน (แพทย์แผนไทย) เพื่อร่วมกำหนดกิจกรรมให้มีความต่อเนื่อง ในประเด็น ดังนี้

6.1 โครงการวิจัยทางคลินิกที่ดี (การวิจัยในคน)  โดยคุณกัลยานี  ตาแก้ว โรงพยาบาลกุมภวาปี เป็นตัวแทนเข้าประชุม   ได้ร่วมกันกำหนดหัวเรื่องนวดเท้ากับเบาหวาน  มีโรงพยาบาลที่จะเข้าร่วมกิจกรรมได้แก่ กุมภวาปี  พิบูลย์รักษ์  หนองแสง  บ้านดุง  บ้านผือ และกุดจับ

6.2 โครงการศูนย์ต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลักการแพทย์แผนไทย  โดยคุณดาหวัน  ห่อหุ้มดี  โรงพยาบาลหนองหาน  เป็นตัวแทนเข้าประชุม   มีโรงพยาบาลที่จะเข้าร่วมกิจกรรมได้แก่ หนองหาน  ทุ่งฝน  หนองวัวซอ  นายูง และเพ็ญ

ทั้งนี้  จังหวัดได้ทำหนังสือแจ้งรายละเอียดในการดำเนินงานแก่โรงพยาบาลที่มีอายุรเวทปฏิบัติงานแล้ว

เรื่องที่ผู้รับผิดชอบงานแพทย์แผนไทยระดับอำเภอ ต้องดำเนินงานต่อไป

                1. ประเมินมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทย ในโรงพยาบาลและสถานีอนามัยทุกแห่งในพื้นที่รับผิดชอบ  ตามเกณฑ์ประเมินมาตรฐานฯฉบับใหม่   โดยสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่เว็ปไซด์ สสจ.อุดรธานี  หมวดดาวน์โหลดเอกสาร

                2. ส่งผลการประเมินมาตรฐานฯ ในรูปแบบ File  Excel  ไปยังงานการแพทย์แผนไทย ฯ สสจ.อุดรธานี  ภายในวันที่  30  เมษายน  2552

                3.คปสอ.ที่เป็นตัวแทนโซนอำเภอแต่ละโซน  ตามข้อ 4 แจ้งรายชื่อโรงพยาบาลและสถานีอนามัย ภายในโซนอำเภอ ที่มีผลการประเมินมาตรฐานในอันดับที่ 1 และ 2   เพื่อเป็นตัวแทนโซนในการประกวดมาตรฐานระดับจังหวัด  ปี 2552   ส่งไปยังงานการแพทย์แผนไทย ฯ สสจ.อุดรธานี  ภายในวันที่  29  พฤษภาคม   2552  เพื่อจังหวัดจะดำเนินการประกวดมาตรฐานฯในเดือนมิถุนายน  2552 

 

                4. ประชุมคณะกรรมการชมรมบ้านดุง ตามโครงการ สสส.ปี 2  ที่ อบต.อ้อมกอ  อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี  วันที่ 14  มกราคม  2552

                ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย คณะกรรมการชมรมฯ  ผู้สังเกตการณ์  รวม 29  คน

                1.นายก อบต.อ้อมกอ  (นายสมศรี  โคตะทอง)  กล่าวเปิดการประชุม  และร่วมประชุม  

                2. นายอำนวย  พลลาภ  ประธานชมรมฯ  แจ้งเรื่องการเข้าร่วมเสวนาหมอพื้นบ้านประเด็นตำรับยาพื้นบ้านอีสาน  ที่ จ.สกลนคร  วันที่ 15-16 ม.ค.52   ขอรายชื่อผู้จะเข้าร่วม จำนวน 10 คน

                3.คุณวารุณี  แจ้งเรื่องการโอนงบประมาณจาก มูลนิธิสุขภาพไทย จำนวน 131,200 บาท

                4. ติดตามการสำรวจข้อมูลใบลาน  ในแต่ละตำบลมีผลการดำเนินงานดังนี้

                ต.วังทอง มี 1 ผูก  เรื่องจำปาสี่ต้น อยู่กับพ่อบุญสวน

                ต.บ้านตาด  มี 23 ผูก  อยู่กับพ่อองอาจ

                ต.นาคำ  มี 4 ผูก อยู่กับพ่อสวน

                ต.บ้านม่วง มีประมาณ 19 ผูก  พ่อชายเป็นผู้ประสาน   มีอีก 1 ผูก อยู่กับพ่อผอง

                5.ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของแต่ละฝ่าย  ยังไม่มีการรายงาน   

                6.ให้มีการเก็บข้อมูลคนป่วย  โดยให้ผู้ประสานงานตำบลเข้าใจบทบาทหน้าที่

                7. การคัดเลือกผู้จัดการโครงการ  ได้ 2 คน  ดังนี้

                                1.น.ส.วรรณี  ชาดา

                                2.น.ส.สายสุดา  ภักดีราช

                8. มีหมอยาน้อยมาสมัคร  5 คน

                9. ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านหมอพื้นบ้าน นายหนูจี  ทองก้อนเบ้า  บ้านอ้อมกอ  ต.อ้อมกอ  อ.บ้านดุง

 

5.ประชุม เรื่อง ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินการจากแผนงานพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ    คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสกลนคร อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร วันที่     15  มกราคม  2552  

เปิดการประชุมโดย นายวีระพงษ์ เกรียงสินยศ เลขาธิการมูลนิธิสุขภาพไทย มีประเด็นที่ได้หารือดังนี้

1.มูลนิธิได้จัดให้มีการจัดทำวารสารฉบับพิเศษเกี่ยวกับการถอดบทเรียนการทำงานของแต่ละโครงการ แต่ละจังหวัด โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญคือคุณวราภรณ์ พันธุ์พงศ์  (คุณกุ้ง 081-487-9966) ในการเขียนเรื่องราวลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณืและศึกษาข้อมูลเพื่อนำกลับมาเขียน ทั้งนี้จังหวัดอุดรธานีจะลงพื้นที่วันที่ 18 19 มีนาคม 2552 ซึ่งเป็นวันที่จัดการอบรมหมอยาน้อยเกี่ยวกับการสัมภาษณ์หมอพื้นบ้าน

2.โครงการภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านอีสาน 9 ประเด็น  แจ้งช่วงการทำงาน โดยที่เกี่ยวข้อง คือวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552 โครงการจะจัดให้มีการสัมมาข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยให้แต่ละจังหวัด ส่งตัวแทนเข้าร่วม 3 คน สถานที่ประชุมคืออาศรมดอนแดง มหาสารคาม  ซึ่งมีสิ่งที่ต้องเตรียมการ               1.เตรียมการสอบทานข้อมูล

2.เตรียมผู้เข้าร่วมประชุม

3.โครงการฐานทรัพยากร ฯ ผู้ประสานงาน คุณเกื้อกูล ขอความร่วมมือให้แต่ละเครือข่ายเตรียมนำเข้าข้อมูล ซึ่งจะจัดอบรมการกรอกข้อมูล เครือข่ายละ  3 คน ยังไม่ได้กำหนดวันอบรม

สิ่งที่ต้องเตรียมการ               1.เตรียมผู้เข้าร่วมประชุม

4.มูลนิธิ ฯ จะจัดให้มีการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายหมอพื้นบ้านกับการบูรณาการงานร่วมกับ อบต. โดยดูงานในภาคเหนือ ได้แก่จังหวัด แพร่ ลำปางพะเยาเชียงราย ระหว่างวันที่ 48 พฤษภาคม 2552  โดยนัดขึ้นรถตู้เป็นกลุ่มจังหวัด ๆ ละ 3 คน กลุ่มจังหวัดอุดรธานี กาฬสินธุ์ สกลนคร ซึ่งมีสิ่งที่ต้องเตรียมการ     1.ประสานงานเรื่องการเดินทาง   2.เตรียมผู้เข้าร่วมประชุม

5.มูลนิธิ ฯ จะจัดให้มีการศึกษารูปแบบการจัดบริการการแพทย์พื้นบ้านของโรงพยาบาลแพทย์แผนไต ที่สิบสองปันนา จังหวัดอุดรธานี เสนอชื่อประธานชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อ.บ้านดุง นายอำนวย พลลาภ

สิ่งที่ต้องเตรียมการ               1.ประสานงานเรื่องการเดินทาง  เนื่องจากนัดพบที่เชียงของ

                                                2.เตรียมผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อให้ศึกษาข้อมูลการเดินทาง  ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และสร้างสัมพันธ์กับเครือข่ายในพื้นที่ไว้ เพื่อนำกลับมาวางแผนในการจัดทำโครงการให้แต่ละตำบล อำเภอ นำไปขอสนับสนุนจากพื้นที่

6.มูลนิธิ ฯ ได้ส่งแนวทางการจัดทำรายงานการเงินมาให้แต่ละเครือข่ายศึกษา และจัดทำ ทั้งนี้คุณเกื้อกูลแจ้งว่ามีระบบโปรแกรมที่ใช้อำนวยความสะดวกในการรายงานดังกล่าว โดยจะส่งเมล์ให้ (ให้แต่ละเครือข่ายติดตาม)

7.โครงการคาราวานหมอพื้นบ้าน 14 จังหวัด ที่ประชุมเสนอให้จังหวัดอุดรธานีทำโครงการเสนอไปที่ อบจ. ใช้พื้นที่ทุ่งศรีเมือง และประชุมที่ อบจ. โดยประเด็นน่าจะเป็นการพูดคุยถึงแนวทางการสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายหมอพื้นบ้าน

สิ่งที่ต้องเตรียมการ              

1.ส่งเมล์ขอข้อมูลสุดยอดยาหม้อยาต้ม สุดยอดหมอนวด สุดยอดหมอยาฝน โดยใช้ประเด็นการสัมภาษณ์เชิงลึกหมอพื้นบ้าน (อาจจะมีข้อมูลของสุดยอดหมออื่น ๆ ได้อีก)

2.เตรียมการโครงการที่จะขอสนับสนุนงบ อบจ. โดยมีเนื้อหาเป้าหมายหลักได้แก่

- ศูนย์ประสานงานเครือข่ายหมอพื้นบ้านจังหวัด

- ศูนย์ประสานงานเครือข่ายหมอพื้นบ้าน 20 อำเภอ

- คาวานหมอพื้นบ้านอุดรธานีสัญจร

- คาราวานหมอพื้นบ้าน ภาคอีสาน และการสัมมนาวิชาการเรื่องแนวทางการสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายหมอพื้นบ้าน

8.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จะจัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย ซึ่งน่าสนใจมาก น่าจะประสานงานให้ ดร.อัจฉรา ได้เข้าร่วมประชุมในส่วนกลาง (ซึ่งจะจัดประชุมประมาณเดือน มีนาคม 2552 ) พร้อมกับเภสัชกรสมชาย

 

                6.ประชุมหมอพื้นบ้าน อ.บ้านดุง ชี้แจงโครงการ สสส.ปี 2  ณ วัดป่าบ้านสามัคคี  ต.บ้านม่วง  อ.บ้านดุง

จ.อุดรธานี  วันที่ 20 มกราคม  2552

                ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยคณะกรรมการชมรมฯ  หมอพื้นบ้าน 5 ตำบล อ.บ้านดุง  รวมทั้งสิ้น 101 คน

                1.ภก.สมชาย  แจ้งวัตถุประสงค์และกิจกรรมของโครงการ สสส.ปี 2  (โครงการศึกษารูปแบบของการจัดระบบ สุขภาพท้องถิ่น  ของกลุ่มอาการความเจ็บป่วยที่หมอพื้นบ้านยังดำรงการดูแลรักษาอยู่)  รวมถึงขั้นตอนการดำเนินงานระบบกองทุนหมอพื้นบ้าน

                2. นายอำนวย  พลลาภ  ประธานชมรมฯ  แจ้งเรื่องการไปถอดองค์ความรู้หมอพื้นบ้านอีสาน เมื่อวันที่  15-16  ม.ค.52  ที่ จ.สกลนคร 

                3.นายชัยพฤษ์  ค้อมคิรินทร์  แจ้งเรื่องการประชุมนักสื่อสารสุขภาพ

                4.นายก อบต.บ้านม่วง  (นายบัวไข  สิงห์กุศล)  แจ้งว่าในปีงบ 52 ได้ตั้งงบประมาณในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ไว้แล้ว

                5.แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูลคนป่วย  ตามแบบฟอร์ม

 

                7.ประชุมคณะกรรมการชมรมหมอพื้นบ้าน อ.บ้านด

หมายเลขบันทึก: 257974เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2009 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท