การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

เล่าเรื่องแพทย์แผนไทยอุดรเดือน สิงหาคม 2551


คาราวานส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย

1.ประชุมการเตรียมการจัดมหกรรมสมุนไพร ปี 2551 วันที่   8 สิงหาคม   2551                        ห้องประชุม อาคารสวนกีฬา กระทรวงสาธารณสุข      สรุปผลการประชุม อบรม ดังนี้

1.ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ตัวแทนเครือข่ายสุขภาพวิถีไท  จำนวน  20  คน โดยมีคุณวีระพงษ์  เกรียงสินยศ เป็นผู้ดำเนินการประชุม

2.เรื่องที่มีการหารือในที่ประชุมได้แก่

                1.เนื้อหาที่จะใช้ในการนำเสนอในส่วนวิชาการ ได้แก่ ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพ 9 ประเด็น และงานของแต่ละเครือข่าย ซึ่งจังหวัดอุดรธานีร่วมกับเครือข่ายจังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการเรื่องความสัมพันธ์ของอาการหล่อยกับเส้นในมุมมองของหมอพื้นบ้านอิสาน  ที่ประชุมได้มอบหมายให้ ภก.สมชาย  ชินวานิชย์เจริญ เป็นผู้นำเสนอในวันที่ 4 กันยายน 2551

2.เครือข่ายที่จะเข้าร่วมกิจกรรมในลานวัฒนธรรม ซึ่งจะเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่นอกเหนือจากการเข้าห้องประชุม

เครือข่ายจังหวัดอุดรธานี มีกิจกรรมที่เข้าร่วมในลานวัฒนธรรม ได้แก่ แทกโสก , ดูมอ และจับเส้น โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และเครือข่ายหมอพื้นบ้านอำเภอเพ็ญ , อำเภอเมือง รวม 10 คน ทั้งนี้มูลนิธิสุขภาพวิถีไท สนับสนุนงบประมาณในการร่วมกิจกรรม

สิ่งที่จะได้ดำเนินการต่อไป

1.จัดทำเอกสาร เนื้อหาที่ใช้นำเสนอเพื่อส่งให้ผู้วิพากย์ อ่านก่อนการนำเสนอ โดยส่งภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2551

2.ประสานงานเครือข่ายเพื่อร่วมกิจกรรม

3.นัดหมายให้หมอพื้นบ้านที่จะมีกิจกรรมแทกโสก , จับเส้น ได้ให้สัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับความรู้ที่ตนเองมีและใช้ เพื่อจัดทำเป็นป้ายนิทรรศการ ภายในวันที่ 14 สิงหาคม 2551

2.ร่วมกิจกรรมโครงการคาราวานส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ปี 2551                ระหว่างวันที่   17 - 19 สิงหาคม   2551     ห้องประชุม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม          สรุปผลการประชุม อบรม ดังนี้

1.ผู้เข้าร่วมประชุมในส่วนของจังหวัดอุดรธานี ได้แก่ คณะหมอพื้นบ้านจากอำเภอเมือง , อำเภอบ้านดุง ,  ทุ่งฝน , กุมภวาปี , เพ็ญ รวม 51 คน โดยมีนายอำนวย พลลาภ , นายชัยพฤกษ์ ค้อมคิรินทร์ , นายชาย   มาตรา , นายสมยา รัตนพลที , นายเมฆ พละแสน , นายบุญไทย ไชยเสนา เป็นผู้ประสานงานของแต่ละอำเภอ

2.เรื่องที่มีการนำเสนอในที่ประชุมได้แก่

                1.เวทีเสวนาหมอพื้นบ้าน ภาคปกติในห้องประชุม 3 ประเด็นได้แก่ ข้าวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น , การดูแลแม่และเด็กของหมอพื้นบ้าน และ ครูของหมอพื้นบ้าน

                2.เวทีเสวนาภาคกลางคืน โดยแบ่งกลุ่มระดมสมอง ในประเด็นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการรักษาอาการเจ็บป่วยของหมอพื้นบ้านกับผู้ป่วยแต่ละกลุ่มวัย (วัยเด็ก , วัยรุ่น , วัยทำงาน และวัยชรา)

                3.เครือข่ายแต่ละจังหวัด ได้นำหมอพื้นบ้านและผลงานมานำเสนอในลานกิจกรรม ซึ่งผู้จัดได้จัดพื้นที่ในลักษณะการออกร้าน (ซึ่งร่วมไปกับสัปดาห์วิทยาศาสตร์)

                4.การจัดงานคาราวานครั้งต่อไป ขอให้เครือข่ายหมอพื้นบ้านจังหวัดอุดรธานีได้เป็นเจ้าภาพ โดยประสานการจัดทำโครงการผ่าน อ.ดร.อุษา  กลิ่นหอม

สิ่งที่จะได้ดำเนินการต่อไป

1.ร่วมระดมสมองกับเครือข่ายในการเตียมการจัดทำโครงการคาราวาน ฯ ครั้งที่ 3

3.ประชุม เรื่อง การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การดำเนินงานพัฒนาระบบภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ   

ระหว่างวันที่   26 สิงหาคม 2551    ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารสวนกีฬา กระทรวงสาธารณสุข

สรุปผลการประชุม อบรม ดังนี้

1.คุณวีระพงษ์ เกรียงสินยศและคณะทำงานจากมูลนิธิสุขภาพไท ได้สรุปผลการทำงานของแต่ละจังหวัดในรอบปีที่ผ่านมา โดยใช้ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ , การจัดระบบหรือรูปแบบการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ , การจัดระบบการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ และ การศึกษาฐานทรัพยากรท้องถิ่น โดยภาคเหนือและภาคกลางจะมีการดำเนินงานเน้นหนักไปที่การจัดการความรู้ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน แต่ยังไม่ได้จัดระบบหรือรูปแบบการใช้ประโยชน์  ภาคอิสาน จังหวัดสกลนครมีการทำงานทั้งด้านการจัดการความรู้ การเปิดเวทีการทำงานในพื้นที่ในลักษณะเครือข่ายหมอพื้นบ้านสัญจร และมีเวทีการถ่ายทอดความรู้ให้เยาวชน  จังหวัดอุดรธานี หลังจากจัดการความรู้หมอพื้นบ้านได้ระดับหนึ่งและได้ประสานงาน อบต.เข้าร่วมเรียนรู้  ภาคใต้ จับประเด็นโต๊ะบิแดที่เป็นหมอตำแยและมีการศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติ ความเชื่อของชุมชนกับเรื่องดังกล่าว

2.คุณเสาวณีย์ กุลสมบูรณ์ บรรยายเกี่ยวกับทิศทางการทำงานของสำนักการแพทย์พื้นบ้านที่ผ่านมา และแผนงานระยะต่อไป ซึ่งที่ผ่านมามีการทำงานด้านการแพทย์พื้นบ้านในหลาย ๆ พื้นที่ โดยใช้ข้อมูลจากการประกวด อสม.ดีเด่นด้านการแพทย์แผนไทย และการทำงานวิจัยกับนักวิจัยท้องถิ่น ซึ่งทิศทางส่วนใหญ่จะเป็นการจัดการความรู้ด้านประสิทธิหลของการรักษา และการดำรงอยู่ของหมอพื้นบ้าน  โดยแผนงานระยะต่อไปจะเป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแล้วนำไปกำหนดยุทธศาสตร์การจัดการความรู้เน้นไปที่เรื่องเฉพาะ เช่น อัมพาต และการผสมผสานกับระบบที่มีอยู่ เช่นระบบสุขภาพท้องถิ่น การสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การสนับสนุนของ สปสช.  นำไปสู่การสืบทอดความรู้บนฐานวิถีวัฒนธรรมที่มีพื้นที่เด่น ๆ เช่น จังหวัดสกลนคร , สุรินทร์  หรือที่มีวัดเป็นศูนย์กลาง

3.นายแพทย์ประพจน์  เภตรากาศ ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพว่ามีจำนวน ปริมาณการเข้าถึง และการใช้กี่มากน้อย เพราะจากการสำรวจของสำนักนโยบายและแผนแห่งชาติพบว่ามีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพเพียงร้อยละ 3 แต่จะทำการพัฒนางานด้านนี้ต่อไป น่าจะมีข้อมูลเชิงปริมาณเกี่ยวกับการใช้ที่ชัดเจนมากกว่าการรวบรวมความรู้ซึ่งมีคนทำมามากแล้ว

4.เภสัชกรยงศักดิ์ ตันติปิฎก และ ดร.มาลี สิทธิไกรพงษ์ วิพากษ์การดำเนินงาน  ได้ให้ความเห็นว่า อะไรที่ชุมชนเป็น ให้เข้าไปเรียนรู้และมองว่าจะสนับสนุนอย่างไร และให้เน้นการปฏิบัติการด้านการบริการ

5.คุณวีระพงษ์ เกรียงสินยศ สรุปแนวทางการดำเนินงานในปีที่ 2 ของเครือข่ายสุขภาพวิถีไท โครงการปีที่ 1 น่าจะปิดโครงการได้ในเดือนกันยายน 2551 นี้และเปิดโครงการปี 2  ต้นเดือนตุลาคม ทั้งนี้ให้แต่ละจังหวัดและเครือข่ายได้ประสานงานส่งข้อมูล โดยจะมีบางจังหวัดที่อาจจะต้องชะลอการดำเนินงาน หรือปิดโครงการไปก่อนเนื่องจากมีข้อติดขัด เช่น ผู้ประสานงานไม่ได้ส่งสรุปโครงการ , ประสานงานกับผู้ประสานงานโครงการไม่ได้ , การดำเนินงานไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ ทั้งนี้โครงการปี 2 จะปิดโครงการประมาณเดือนพฤษภาคม 2552

6.ดร.อุษา กลิ่นหอม พูดถึงการจัดงานคาราวานส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย ปีที่ 3 ที่เครือข่ายสุขภาพวิถีไท ได้มีมติให้เครือข่ายหมอพื้นบ้านจังหวัดอุดรธานีเป็นผู้จัดกิจกรรม

สิ่งที่จะได้ดำเนินการต่อไป

1.ประสานงานขอข้อมูลคนทำงานด้านการแพทย์พื้นบ้านในภาคอีสานจากคุณเสาวนีย์

2.ประสานงานเครือข่ายหมอพื้นบ้านจังหวัดอุดรธานี เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการเตรียมโครงการคาราวาน ฯ ปี 3

3.ประสานงานชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอบ้านดุง เพื่อจัดเตรียมโครงการที่จะดำเนินงานในปี 2ในฐานะผู้ประสานงานและพี่เลี้ยง

4.กำหนดบทบาทขอบเขตการทำงานในคณะทำงาน

หมายเลขบันทึก: 257955เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2009 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท