ซ.ซวง
นาย นพรัตน์ รัตนพงศ์ผาสุข

วิชาสุดท้าย - วิชาที่มหา'ลัยไม่ได้สอน (เพราะสอนไม่ได้)


...ความรู้ในตัวตนมักจะมาจากความล้มเหลว การเอาหัวพุ่งชนกำแพงบุคลิกเฉพาะตัวของคุณ คุณจะต้องประสบความล้มเหลวในบ้างครั้ง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง...

วิชาสุดท้าย - วิชาที่มหา'ลัยไม่ได้สอน (เพราะสอนไม่ได้)

 

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณต่อ "น้องแจง"  น้องที่ทำงาน ซึ่งเป็นหนอนหนังสือตัวจริง ที่ได้กรุณาให้หนังสือเล่มนี้มายืมอ่านนะครับ

และในเมื่อได้รับสิ่งดีๆ มาแล้วหากจะเก็บไว้กับตัวก็คงกระไรอยู่

เลยอยากที่จะทำบันทึกความประทับใจเล็กๆ เพื่อมาแลกเปลี่ยนแบ่งปันกันครับ

 

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือแปล ที่คุณ สฤณี อาชวานันทกุล
ได้เรียบเรียงขึ้นจาก สุนทรพจน์ ของบรรดาคนดังในอเมริกา

ที่ได้รับเกียรติให้มากล่าวเป็นโอวาท ให้แง่คิดเพื่อเป็น
"วิชาสุดท้าย" ที่มหา'ลัย ต่างๆ จะมอบให้กับว่าที่บัณฑิต
ในวันรับปริญญา

ผมคงขออนุญาตไม่ขอสรุปเนื้อหานะครับ ลองไปหาอ่านเองน่าจะได้อรรถรสกว่า แต่สิ่งที่ผมอยากเขียนถึงหนังสือเล่มนี้ ซึ่งจะเกี่ยวพันกับเรื่องของ "การจัดการความรู้"

อย่างที่ทราบกันดีว่า เรื่องของการจัดการความรู้นั้น เราจะให้คุณค่าของเรื่อง "ปัญญาปฏิบัติ" ซึ่งเป็นองค์รวมของความรู้ ประสบการณ์ ความเชื่อ และคุณค่าที่ยึดถือของคนๆ หนึ่ง  สิ่งนี้ไม่มีใครสามารถเรียนรู้ได้จากระบบการศึกษา แต่ทว่าต้องเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผ่านประสบการณ์อันโชกโชนเท่านั้น 

และผมคิดว่า "คุณค่า" ของ "ปัญญาปฏิบัติ" นั้นไม่ได้อยู่ที่การเป็น "ความรู้สำเร็จรูป" ที่ใครต่อใครสามารถหยิบไปใช้ได้ทันที  หากแต่มันจะมีลักษณะเป็น "ความรู้แบบนุ่งผ้า"  ตามศัพท์ที่ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช ได้ตั้งให้เป็นชื่อหนังสือที่บันทึกเรื่องราวการจัดการความรู้ของกรมอนามัย

ความรู้แบบนี้จึงเป็นความรู้ที่ต้องพิจารณานำมาใช้อย่างเหมาะสม  โดยเราจะต้องเลือกเพื่อมาเป็น "แนวทาง" สำหรับการปฏิบัติของตนเอง  ในบริบทเฉพาะของตนเองเท่านั้นจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด

ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ คุณ Robert B. Reich อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในสมัยของบิล คลินตัน ได้กล่าวสุนทรพจน์เรื่อง "ความรู้ในตัวตน" ให้แก่บัณฑิตจาก Ginnel College เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ในปี 2002 ไว้อย่างชัดเจนถึง "ปัญญาปฏิบัติ" ไว้ดังนี้

 

...เอาล่ะ ตอนนี้เรามาถึงเรื่องยากแล้ว นอกเหนือจากความรู้ คุณจะต้องมีปัญญาด้วย ความรู้คือความรู้ว่าจะทำอะไรให้สำเร็จได้อย่างไร เป็นเรื่องของเทคนิค หรือ know-how เป็นส่วนใหญ่   ส่วนปัญญาคือความรู้ว่าทำไมคุณจึงควรทำสิ่งนั้นๆ นั่นคือ know-why เป็นปัญหาเรื่องของคุณค่า เป็นเรื่องของการตัดสินว่าอะไรสำคัญ และมีค่าแก่การลงมือทำ 

ปัญญาต้องใช้ความรู้ในตัวตน (self-knowledge) การที่จะเลือกงานของชีวิตอย่างมีปัญญาได้นั้น คุณจะต้องรู้อะไรบางอย่างเกี่ยวกับคำถามที่ว่า คุณเป็นใคร คุณอยากเป็นคนแบบไหนในอนาคต

ความรู้ในตัวตนมักจะมาจากความล้มเหลว การเอาหัวพุ่งชนกำแพงบุคลิกเฉพาะตัวของคุณ คุณจะต้องประสบความล้มเหลวในบ้างครั้ง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง...

 

เมื่ออ่านข้อความตอนนี้จบ ผมจึงได้ข้อสรุปส่วนตัวว่า
กว่าจะมีปัญญาปฏิบัติได้นั้น
เราคงจะต้องเรียนรู้จากความล้มเหลว
เพื่อให้ได้บทเรียนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

และทำให้ผมคิดต่อไปอีกว่า

ปัญญาปฏิบัติที่ดีนั้นจะต้องเริ่มจากเรื่องราวของความสำเร็จ
แต่ก็ต้องไม่ลืมที่จะบอกบทเรียนแห่งความล้มเหลวอีกมากมาย
ที่เป็นซากปรักหักพัง อันเป็นฐานเป็นบันได
เพื่อให้เราตะเกียกตะกายไปสู่ความสำเร็จนั้น 

และทั้งสิบสุนทรพจน์จากสิบคนดังหนังสือเล่มนี้
ก็มีทั้งกลิ่นไออันหอมหวลของความสำเร็จ
ที่แทรกปนไปกับบรรยากาศแห่งความขมขื่นจากความล้มเหลว

อันสะท้อนถึงปัญญาปฏิบัติของแต่ละท่าน
ซึ่งเป็นสิ่งที่เมื่อเราอ่านแล้วก็ต้องนำมาพิจารณา
เลือกสรรเหมือนการเลือก "ผ้า" มา "นุ่ง"
ให้เหมาะกับบุคลิกของตนเองครับ

หมายเลขบันทึก: 257720เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2009 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ผมแนะนำหนังสือทั้งสองเล่มที่

P
มหาวิทยาลัยในอเมริกา เมื่อสิ้นปีการศึกษาถึงช่วงรับปริญญาประเพณีที่ทำมานานคือ “การกล่าวสุนทรพจน์” จากผู้ที่มีชื่อเสียงที่ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัย   ผมมีโอกาสได้คุยกับเพื่อนคนหนึ่ง เขาเพิ่งสำเร็จการศึกษาจากอเมริกามาไม่นาน เขาเล่าให้ผมฟังถึงสุนทรพจน์ที่เขาได้ฟังในวันรับปริญญา ... มีต่อ »

 

มหัศจรรย์...ความรู้แบบนุ่งผ้า   กระแสของการพัฒนาองค์กรใดยใช้ฐานความรู้นำทางและกระบวนการเรียนรู้ที่ก้าวไปสู่ความสำเร็จผ่านการดึงเอา “ ทุน ” ที่เป็นความรู้ของบุคคล ออกมาเป็นพลังในการขับเคลื่อนองค์กร เป็นมรรควิธี ที่เรารู้จักกันดีคือ “ การจัดการความรู้ &... มีต่อ »

   เผอิญได้อ่านเล่มนี้แล้ว.. แวะเข้ามาอ่านบล็อกนี้ก็ขออนุญาตร่วมแสดงความเห็น..  เดินผ่านไปร้านหนังสือเห็น ชื่อเรื่องนี้สะดุดอารมณ์เรา.. ถามตัวเองว่า..เรายังขาดวิชาอะไรที่ไม่ได้ให้เขาครบอีกหรือ .. จึงซื้อมาอ่าน ก็ถือว่าเป็นวิชาประสบการณ์ของการเริ่มต้นในการเผชิญชีวิตนอกรั่วมหาวิทยาลัย.. ผู้มีประสบการณ์เท่านั้น ถึงจะให้ข้อคิดดีๆ

เหล่านี้กับเขาได้อย่างเหมาะสม ชอบความกล้าในการใช้ชีวิต ถึงขั้นออกจากการศึกษา เรียนไม่จบ ของผู้กล่าวสุนทรพจน์บางคน และไปเข้าเรียนวิชาที่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียน   ที่เป็นวิชาที่ตนเองอยากจะเรียน    ถึงแม้ชีวิตจะล้มเหลวบางช่วง..แต่ก็ไม่ทิ้งความเชื่อแห่งตนผนวกกับ  การสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ  ขึ้นมาเป็นตัวเชื่อมความสำเร็จในชีวิต   อ่านแล้วคิดว่า ......

วิธีการคิด และวิถีการดำเนินชีวิตตามความคิดของเขา ..เป็นจักรกลที่สำคัญในการเริ่มต้น ขับเคลื่อนชีวิต  หน้าที่การงานของเขาจนประสบผลสำเร็จ.....  พูดได้ดีทั้ง 10 คนครับ..แต่ ส่วนตัวชอบแนวคิดของ David Foster Wallace ที่เน้นการเรียนรู้ "วิธีคิด"  การควบคุมตัวราในการคิด นั่นคือการมี "สติ"  ชอบคำว่า "การกำหนดค่าเริ่มต้นในจิตใต้สำนึก"  ถือเป็นคุณค่าที่แท้จริงของการศึกษา     ซึ่งเรื่อง "สติ"  ที่กล่าวก็ คล้ายๆ  และสามารถเชื่อมโยง  กับเรื่อง "สติปัฏฐาน"    ในพุทธศาสนาได้เลยครับ

 

P

ขอบคุณมากๆ ครับคุณเอก

ที่มาแนะนำการ review หนังสือทั้งสองเล่มให้ไปอ่าน ละเอียดละออมากๆ ครับ

เล่มหลังผมยังไม่เคยอ่านฉบับเต็มเลยครับ อ่านแต่บทสรุปเป็นตอนๆ ที่เคยมีผู้นำมาลงไว้ใน GotoKnow

มาฟังคนมีความรู้เยอะ เขาคุยกันค่ะ อิอิ

P

ขอบคุณมากๆ ครับสำหรับความเห็นจากคุณ  rmutl_cm_art7yod2

อ่านเม้นท์คุณแล้วทำให้เห็นว่า

ฝรั่งมังค่านี่เขาให้ความสำคัญกับ "ปัญญาปฏิบัติ" มากกว่า "ดีกรี" ทางการศึกษาจริงๆ นะครับ

บิล เกตส์ ก็เรียนไม่จบ

สตีป จ๊อบ ก็รู้สึกว่าจะเรียนไม่จบ

แต่เขาก็ยังเชิญมากล่าวสุนทรพจน์ให้บัณฑิตจบใหม่

....

แต่ผมว่าความคิดของหลายๆ คนอ่านแล้วก็ต้องชั่งใจให้ดีเช่นกัน

เช่น สตีป จ๊อบ 

จริงๆ แล้วผมชอบมากครับ กับสุนทรพจน์ของเขา มันสร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้นให้เรามีแรงทำอะไรๆ ได้ดีมากทีเดียว

ครั้นมาทราบว่า เขากำลังป่วยเป็นมะเร็ง

ทำให้ผมตั้งคำถามขึ้นมาในใจว่า

วิธีคิดของเขา จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่เอื้อต่อการเกิดมะเร็งหรือไม่

คงไม่มีใครรู้ และไม่มีใครตอบได้

เป็นแค่ข้อสังเกตส่วนตัวน่ะครับ

P

ขอบคุณครับ คุณน้อง

ช่วงนี้มีงานบุญใหญ่

จิตใจกำลังอิ่มบุญ

ผลบุญคงทำให้หน้าตาดียิ่งๆ ขึ้นไปนะจ๊ะ

...

แหม...มาฟังอย่างเดียวไม่มันส์นะจ๊ะ

สวัสดีค่ะพี่ซวง

มหัศจรรย์ความรู้แบบนุ่งผ้า

ชื่อเท่ห์จังเลย

อ่านบันทึกพี่ซวงจบแล้วน่ะค่ะ

อิอิ จะเม้นแสดงความคิดเห็นว่า

เม้นไม่ได้เลยค่ะ อิอิ

อ้าว เม้นไปแล้วนี่นา

นุ่งผ้าดีกว่า อายจัง

บอกว่าไม่เม้น นี่ไงแบบนี้เค้าเรียกว่าเม้นแล้ว

P

ขอบคุณครับน้องกอ

สำหรับเม้นท์แบบอายๆ

แต่ก็ยังอุตส่าห์นุ่งผ้าอีกนะ

  • สวัสดีค่ะ
  • มีความสุขนะคะ

hello

P

ก็สุขสบายไปตามเหตุปัจจัยน่ะครับ

เช่นเวลามีกัลยาณมิตรมาทักทาย

ก็จะสุขใจ อมยิ้ม ขึ้นมาเป็นวูบๆ

....

ช่วงนี้คุณครูเป็นอย่างไรบ้างครับ

เห็นลุ้นลูกศิษย์ที่สอบเข้ามหาลัย จนตัวโก่งเลยนะครับ

มีคนพุดว่า......ความเป็นเลิศทางวิชาการจะเป็นจริงได้ต่อเมื่อเรามีรากทางปัญญา และ "ความเป็นรากทางวิชาการ" จะเกิดได้เมื่อเรามีรากทางปัญญาก่อน
ก็น่าจะจริงนะคะ

สวัสดีครับ คุณพี่ Sasinand

เห็นด้วยกับคุณพี่เลยครับ

แต่ผมขอขยายความตามมุมมองผมอีกหน่อยนะครับว่า...

รากทางปัญญาที่ดีนั้นควรจะมีที่มาจากรากฐานแห่งประสบการณ์ตรงครับ เพราะมันจะมีพลัง มั่นคง และสามารถพูดกับใครต่อใคร ได้อย่างเต็มที่

อย่างน้อยเวลาใครๆ ถามว่ารู้เรื่องนี้ได้อย่างไร

จะได้พูดได้อย่างเต็มปากว่า

ก็ผ่านประสบการณ์ตรงของตัวเองมาแล้วน่ะสิ

เหมือนดังบันทึกที่คุณพี่เขียนเรื่อง "น้ำ" คุณพี่ก็เขียนจากประสบการณ์การทำงานตรง ผมคิดว่าบันทึกนั้นมีคุณค่ามากเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท