การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

เล่าเรื่องแพทย์แผนไทยอุดรเดือน กุมภาพันธ์ 2551


ระบบเครือข่ายแพทย์แผนไทยภาคประชาชน

                1. ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพจังหวัดอุดรธานี  (อปสจ.) ครั้งที่ 2/2551 ในวันที่  5  กุมภาพันธ์ 2551 ณ ห้องประชุม 1  อาคารผู้ป่วยนอก ชั้น 6 โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี   เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการฯ  ในเรื่องแนวทางการบริหารกองทุนชดเชยบริการการแพทย์แผนไทยจังหวัดอุดรธานี (กองทุน สปสช. ) ซึ่ง คณะกรรมการ อปสจ. มีมติเห็นชอบในแนวทางดังกล่าว  งานฯได้ดำเนินการแจ้งแนวทางดังกล่าว และสิ่งที่จะดำเนินการต่อไป ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดทราบและปฏิบัติ

 

                2. ร่วมประชุมการดำเนินงานจัดการความรู้ในโครงการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ  พื้นที่ตำบลวังทอง อำเภอบ้านดุง วันที่  8 กุมภาพันธ์ 2551    อบต. วังทอง  อำเภอบ้านดุง จ.อุดรธานี        2.1 ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ คณะกรรมการชมรมหมอพื้นบ้าน จำนวน       คน , หมอพื้นบ้านของพื้นที่ตำบลวังทอง จำนวน        คน ( ซึ่งมีตัวแทนของ อบต.อยู่ในกลุ่มดังกล่าว )  

2.2 เรื่องที่มีการหารือในที่ประชุมได้แก่

- การติดตาม พรบ.สภาองค์กรชุมชน ซึ่งอาจจะเป็นเป้าหมายของการพัฒนาชมรม เนื่องจากหากพัฒนาเป็นสมาคมแล้วอาจจะทำให้ต้องจัดการเกี่ยวกับเอกสารและบัญชีจนไม่มีเวลาดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของชมรม / องค์กร

- การตั้งเป้าหมายของชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น  มีข้อตกลงเกี่ยวกับ

การดำเนินการพัฒนา ศูนย์ห้วยแล้งให้เป็น ศูนย์รวมวัฒนธรรมพื้นบ้าน สืบสานภูมิปัญญาอิสาน  โดยทอดผ้าป่าภูมิปัญญา ของเก่า เก็บไว้ที่วัด 2 ครั้ง  และจัดทำโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 80 ไร่ที่ป่าของศูนย์ห้วยแล้ง  จากกนั้นอาจขอสนับสนุนงบประมาณจัดสร้างอาคารจาก อบจ. / อบต.

-          การดำเนินการตามกระบวนการจัดการความรู้ของหมอพื้นบ้านรวบรวม สังเคราะห์  

เพื่อนำไปสู่การรวบรวมภูมิปัญญาที่สมบูรณ์ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของนักวิจัยท้องถิ่น โดยเฉพาะผู้ผ่านการอบรมนักนิเวศชุมชน ซึ่งมีประเด็นในการสัมภาษณ์ที่พัฒนาจากกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และเวทีในวันนี้ คุณสมัย ชัยช่วยได้ร่วมออกแบบแนวคำถามเพิ่มเติม ซึ่งช่วยให้การสัมภาษณ์สามารถถอดบทเรียน และความรู้จากกลุ่มหมอพื้นบ้านของพื้นที่ได้อย่างเป็นธรรมชาติ อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ร่วมกัน พบว่าทีมงานยังต้องได้รับการพัฒนาในในประเด็นที่จะสัมภาษณ์เพิ่มเติม   โดยประเด็นที่สอบถาม มี 3 ประเด็นดังนี้

เกี่ยวกับตัวหมอ    ความเป็นมาของหมอ  เกิดเมื่อไร อาชีพอะไร ทำอะไรในชุมชน ครอบครัวเป็นอย่างไร มีลูกกี่คน  มาเป็นหมอได้อย่างไร เหตุจูงใจ จุดเริ่มต้น ความคิดเห็นเกี่ยวกับหมอพื้นบ้าน  เรียนจากใคร เรียนยังงัย ใช้เวลานานไหม)

                                เกี่ยวกับองค์ความรู้              โรคอะไรที่หมอรักษาได้บ้าง โรคอะไรที่ชำนาญหรือมีคนไข้มาหาบ่อย ๆ  การวินิจฉัยโรคแต่ละโรค / การวิจัยโรคโดยให้หมอเล่าถึงขั้นตอน กระบวนการตั้งแต่คนไข้มาหาที่บ้าน หรือพบคนไข้ครั้งแรก ว่ามีกระบวนการอย่างไร โดยละเอียด ได้แก่  สิ่งที่แสดงออกมาภายนอกให้หมอได้เห็นว่าคนไข้เป็นโรคนั้น สิ่งที่หมอต้องซักถามจากตัวคนไข้   อาการของคนไข้    กระบวนการรักษา หลังจากวิจัยโรคของคนไข้แล้ว มีขั้นตอนการรักษาอย่างไร ตั้งแต่เริ่มตั้งคาย จนกระทั่ง คนไข้หายป่วย  แต่ละกระบวนการนั้นมีความรู้อะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง มีคาถาหรือไม่ กรณีตำรายา ให้ระบุ ชื่อสมุนไพร  ส่วนที่ใช้ จำนวน น้ำหนัก  เก็บจากไหน คนไข้จะใช้ได้อย่างไร กิน ทา  ต้ม บด การติดตามการรักษา การดูว่าอาการดีขึ้นเป็นอย่างไร หายเป็นอย่างไร ดูตรงไหน วิจัยอย่างไร

เกี่ยวกับตัวคนไข้  ข้อปฏิบัติตัว ข้อคะลำ ค่ายกครู  ค่าปลงคาย / สมนาคุณเป็นอย่างไร เคยได้รับอย่างไร ทำไมถึงมาหาหมอ

                3.ร่วมประชุมการดำเนินงานจัดการความรู้ของหมอพื้นบ้าน อำเภอหนองแสง เพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งและการขยายผลของเครือข่ายในพื้นที่  วันที่  11  กุมภาพันธ์ 2551     ห้องประชุม โรงพยาบาลหนองแสง

3.1 ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ คณะกรรมการวิสาหกิจสมุนไพรพื้นบ้าน และกลุ่มหมอพื้นบ้าน ในเขตอำเภอหนองแสง จำนวน  16     คน , เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและสถานีอนามัย ในเขตอำเภอหนองแสง จำนวน   6    คน    จนท.งานแพทย์แผนไทย 3 คน  รวม  25 คน

3.2 เรื่องที่มีการหารือในที่ประชุมได้แก่

                                -วัตถุประสงค์ของการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ของอำเภอหนองแสง และวิธีการดำเนินการจัดการองค์ความรู้   ซึ่งเป็นการใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการค้นพบ ดี ของชุมชน และเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงให้เกิดเครือข่าย และนำไปสู่ความเข้มแข็งของเครือข่ายต่อไปโดยในการดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกนั้น ได้รับความร่วมมือ และร่วมเรียนรู้จากเจ้าหน้าที่ของพื้นที่  ซึ่งช่วยให้การสัมภาษณ์สามารถถอดบทเรียน และความรู้จากกลุ่มหมอพื้นบ้านของพื้นที่ได้อย่างเข้าถึง และเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเจ้าหน้าที่ของพื้นที่ ที่จะเรียนรู้และเข้าใจภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ     โดยประเด็นที่สอบถาม มี 3 ประเด็น   เกี่ยวกับตัวหมอ เกี่ยวกับองค์ความรู้และเกี่ยวกับตัวคนไข้              

ทั้งนี้ มีประเภทหมอพื้นบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่  หมอยาสมุนไพร           คน   หมอเป่า           คน  หมอนวด           คน   หมออื่น ๆ                      คน

                3.พ่อมา พาภักดี  ประธานกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรพื้นบ้าน ตำบลทับกุง ได้นำเสนอเป้าหมายของกลุ่มเกี่ยวกับ

·        การขยายสมาชิก ให้เต็มพื้นที่

·        การพัฒนาธนาคารยาสมุนไพร

·        การรวบรวมรายชื่อสมุนไพรที่หมอพื้นบ้านมี เช่น 1 คน รู้จัก 10 อย่าง  10 คน จะทำให้มีความรู้พื้นบ้าน 100 อย่าง เป็นต้น

สิ่งที่จะได้ดำเนินการต่อไป

จัดทำเอกสารสรุปและรวบรวมความรู้ที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกของหมอพื้นบ้านแต่ละท่าน  และประสานงานกับผู้รับผิดชอบงานระดับอำเภอเพื่อร่วมกันวางแผนพัฒนาการดำเนินการต่อไป

เตรียมการสนับสนุนแนวคิด ธนาคารยาสมุนไพร และธนาคารความรู้สมุนไพรพื้นบ้าน

 

                4. ร่วมจัดนิทรรศการให้ความรู้งานวันคุ้มครองผู้บริโภค (ร่วมกับกลุ่มงาน คบส.)  ที่หน้าห้างโลตัส   วันที่ 12 ก.พ.51    โดยมีกิจกรรมให้ความรู้เรื่องภูมิความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยเกี่ยวกับธาตุเจ้าเรือน   ได้แก่ การตรวจธาตุเจ้าเรือน  แจกเอกสารแผ่นพับแนะนำการปฏิบัติตนของแต่ละธาตุเจ้าเรือน (ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ )  มีผู้มารับบริการทั้งสิ้น  92 คน

 

5.ร่วมประชุมการดำเนินงานตามโครงการวิจัยเสวนาภาษาหมอพื้นบ้าน วันที่  13  กุมภาพันธ์ 2551    สถานีอนามัยบ้านทุ่ง  ตำบลบ้านชัย  อำเภอบ้านดุง

5.1 ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ กลุ่มหมอพื้นบ้านในเขตตำบลบ้านทุ่ง  จำนวน   12    คน ,  อ.ดร.อัจฉรา  จิณวงศ์ , คุณปพิชญาณ์  ภักดีราช.....  (หมอนุ่ม) เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยบ้านทุ่ง ในฐานะผู้รับผิดชอบพื้นที่ ในโครงการ   และ จนท.งานแพทย์แผนไทย 2 คน   รวม  16  คน  

5.2 เรื่องที่มีการหารือในที่ประชุมได้แก่

                 -.จากการที่ได้มีการสัมภาษณ์เพื่อถอดความรู้ของหมอพื้นบ้านของพื้นที่จำนวน.  12  คน นั้น ผู้รับผิดชอบโครงการได้จัดพิมพ์ แยกรายคนและนำมาให้หมอพื้นบ้านที่เป็นเจ้าของประวัติได้สอบทาน และเพิ่มเติมในส่วนที่ขาด ทั้งนี้สร้างความพึงพอใจให้กับทีมงาน และเป็นจุดเริ่มต้นของการพูดคุยในประเด็นต่อไป

- อ.ดร.อัจฉรา  ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้เปิดประเด็นเกี่ยวกับความคิดเห็นของกลุ่มหมอพื้นบ้านในพื้นที่เกี่ยวกับการก่อกำเนิดเครือข่าย ในประเด็น ถ้ามีเครือข่ายแล้วจะเกิดอะไรขึ้น  ,  เครือข่ายจะเข้มแข็งได้อย่างไร , ใครจะมีส่วนเกี่ยวข้องบ้าง นำไปสู่การเสนอชื่อตัวแทนเครือข่ายที่เป็นข้อตกลงร่วมกันของทุกคน คือ พ่อพิมพา  โดยให้พ่ออำนวย พลลาภ ซึ่งเป็นประธานชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยขอให้เป็นที่ปรึกษาของพื้นที่ด้วย และที่ประชุมได้เสนอเกี่ยวกับกิจกรรมของกลุ่ม ดังนี้

1.พัฒนาความรู้ของสมาชิกของพื้นที่ ในประเด็น การอ่านอักษรธรรม , อักษรใบลาน ,  เทคนิคการสำรวจป่าสมุนไพร  , เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก

2.แนวคิด คู่หูหมอพื้นบ้าน โดยอบรมเด็ก / เยาวชน เกี่ยวกับการสัมภาษณ์เชิงลึกหมอพื้นบ้าน และเป็นผู้ช่วยในการจดบันทึกประสบการณ์การรักษาคนไข้ของหมอพื้นบ้าน

                3.ในประเด็นเกี่ยวกับสมุนไพร กลุ่มหมอพื้นบ้านได้เสนอพื้นที่ในการเข้าสำรวจสมุนไพรของตำบลบ้านชัย เป็นป่าในเขตตำบลบ้านชัย ในวันที่  5  มีนาคม  2551   ซึ่งทำให้เกิดแผนต่อไปว่า หลังจากสำรวจแล้ว น่าจะได้จัดทำสารานุกรมสมุนไพรพื้นบ้าน ในป่าบ้านชัย พื้นที่ตำบลบ้านชัย  และหากมีสมุนไพรที่หมอพื้นบ้านใช้แต่ไม่มีในพื้นที่จะได้ทำผ้าป่าสมุนไพร เพื่อมาลงในพื้นที่ดังกล่าว   โดยให้ชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอบ้านดุง เป็นพี่เลี้ยงในการจัดทำโครงการ

สิ่งที่จะได้ดำเนินการต่อไป

1.จัดทำเอกสารสรุปและรวบรวมความรู้ที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกของหมอพื้นบ้านแต่ละท่าน  และประสานงานกับผู้รับผิดชอบงานระดับอำเภอเพื่อร่วมกันวางแผนพัฒนาการดำเนินการต่อไป 

2.จัดหาแผนที่ป่าของพื้นที่ตามแผน

3.เตรียมข้อมูลเทคนิคแนวทางการสำรวจป่า

4.เตรียมการสนับสนุนเกี่ยวกับแนวคิดการจัดทำสารานุกรมสมุนไพรพื้นบ้าน และผ้าป่าสมุนไพร

 

6.ร่วมประชุมการดำเนินงานตามโครงการวิจัยเสวนาภาษาหมอพื้นบ้าน วันที่  14  กุมภาพันธ์ 2551    ห้องประชุม ร.พ.ท่งฝน

6.1 ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ กลุ่มหมอพื้นบ้านในเขต (เฉพาะหมอเป่า)  จำนวน  16     คน ,  อ.ดร.อัจฉรา  จิณวงศ์ , คุณวิญาดา  บุตรจำรวญ  ในฐานะผู้รับผิดชอบพื้นที่ ในโครงการ    และ จนท.งานแพทย์แผนไทย 2 คน  รวม  .....20..........คน  

6.2 เรื่องที่มีการหารือในที่ประชุมได้แก่

                - อ.ดร.อัจฉรา  ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้สรุปประเด็นจากการดำเนินการเบื้องต้น  ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล  ค้นหาองค์ความรู้ ความชำนาญ  และให้ลงประวัติคนไข้ (ตามแบบสัมภาษณ์คนไข้) และเรื่องสำรวจป่าสมุนไพร โดยประเด็นการประชุมครั้งนี้เกี่ยวกับผลดีในการรวมกลุ่ม   การกำหนดกฎระเบียบของชมรม   การพัฒนาองค์ความรู้การพัฒนาชมรมให้ยั่งยืน ว่าควรจะมีกิจกรรมอะไรบ้าง    การถ่ายทอดองค์ความรู้ / ภูมิปัญญาให้แก่ลูกหลาน/เยาวชน   ซึ่งหมอพื้นบ้านได้มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง และเต็มที่  สุดท้ายมีการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่ครบถ้วน

- ในการประชุมครั้งต่อไป  ให้ช่วยกันคิดว่าจะทำกิจกรรมอะไร  ในเรื่องการถ่ายทอด

องค์ความรู้ที่ประชุมเสนอให้มีการอบรมหมอพื้นบ้านรุ่นใหม่ให้แก่ลูกหลานหรือคนสนใจ  ซึ่งให้ไปขายความคิดก่อนแล้วประสานเจ้าหน้าที่อีกครั้งหนึ่ง   ในเรื่องการอ่านเขียนตัวอักษรธรรม เพื่อจะได้อ่านตำรับตำราได้นั้น  มีพ่อหนูเขน  ภูกิ่งพลอย  จะเป็นผู้ถ่ายทอดให้

 

                7.ร่วมตรวจราชการ ทีมตรวจราชการโครงการพัฒนาแพทย์แผนไทย คุณวิชยา  ใจดี, อาจารย์ดาราพร  รักหน้าที่   ทีมตรวจราชการโครงการส่งเสริมจริยธรรม วันที่ 14 - 15 กุมภาพันธ์ 2551     โรงพยาบาลกุมภวาปี , หนองแสง , เพ็ญ

7.1.ทีมตรวจราชการ ได้เข้าพื้นที่เพื่อสอบถามและติดตามการดำเนินงานแพทย์แผนไทยของพื้นที่และได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาการดำเนินการดังนี้

·        แผนพัฒนาการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรสำเร็จรูป / ยาไทย โดยดูจากสถิติการใช้ยา (ข้อเสนอของผู้อำนวยการโรงพยาบาลกุมภวาปี) *

·        แนวคิดการพัฒนา รพ.เพ็ญ สู่ความเป็นเอกด้านการผลิตยาสมุนไพร

·        แผนพัฒนาระบบบริการแพทย์แผนไทยของทุกโรงพยาบาล โดยให้จัดทำ PROFILE *

·        ความชัดเจนของสวัสดิการเบิก ค่าประคบสมุนไพร

·        การติดตามการใช้ประโยชน์จากโปสเตอร์แพทย์แผนไทยที่ได้จัดส่งให้

·        การจัดโครงสร้างการบริการแพทย์แผนไทย ในกลุ่ม เทคนิคบริการ *

·        การดูงานแนวคิดองค์รวมการผลิตยาสมุนไพรของโรงพยาบาลหนองคาย

·        การจัดบริการยาสมุนไพรแบบ ONE STOP SERVICE  *

·        กรมพัฒน์มีการจัดทำจดหมายข่าว ซึ่งสามารถส่งเรื่องราวลงจดหมายข่าวได้ โดยเข้าแผนประชาสัมพันธ์  *

·        กรณีรพ.กุมภวาปี มีพื้นที่สนามหญ้า อาจจะให้กลุ่มหมอพื้นบ้าน (กลุ่มพ่อเมฆ พละแสน) ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ให้มีการปลูกสมุนไพรพื้นบ้าน

สิ่งที่จะได้ดำเนินการต่อไป

1.นำประเด็นดังกล่าวเข้าในเวทีผู้รับผิดชอบงานแพทย์แผนไทยวันที่ 28 กุมภาพันธ์  2551 เพื่อร่วมระดมความคิดเห็นและหาเจ้าภาพในการร่วมดำเนินงาน โดยในประเด็นที่มี * น่าจะสามารถจัดดำเนินการในรูปของเวทีการจัดการความรู้ ระดมสมองเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนและจริงจัง

2.ในบางประเด็นจัดทำ PROFILE เพื่อกำหนดกรอบทิศทางการดำเนินการ

 

                8. ร่วมประชุมการดำเนินงานจัดการความรู้ในโครงการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ  พื้นที่ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอบ้านดุง  วันที่ 18  กุมภาพันธ์ 2551   สอ.โนนสิมมา  ต.บ้านจันทร์  อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี 

8.1.ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ได้แก่ คณะกรรมการชมรมหมอพื้นบ้าน จำนวน  16  คน , หมอพื้นบ้านของพื้นที่ตำบลบ้านจันทร์ จำนวน  22  คน   ตัวแทนจาก อบต.  / ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน / ผู้ใหญ่บ้าน  จำนวน  4  คน  , คุณ ประสิทธ์ หาแก้ว  เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยนาเจริญ ในฐานะผู้รับผิดชอบพื้นที่ของโครงการ  คุณอรนุช  มะลิลา  ตัวแทนจากมูลนิธิสุขภาพวิถีไท       ผู้ประสานงานกลางของโครงการที่ได้รับงบประมาณจาก สสส. และผู้รับผิดชอบงานการแพทย์แผนไทย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี  จำนวน  3  คน    รวม  47  คน  ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายกอบต.ในการเปิดเวที ซึ่งได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานการใช้งบประมาณกองทุน 37.50 บาท ในการส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูสุขภาพ โดยพร้อมที่จะสนับสนุนเต็มที่

8.2 เรื่องที่มีการหารือในที่ประชุมได้แก่

การดำเนินการตามกระบวนการจัดการความรู้ของหมอพื้นบ้านรวบรวม สังเคราะห์  เพื่อนำไปสู่การรวบรวมภูมิปัญญาที่สมบูรณ์ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของนักวิจัยท้องถิ่น โดยเฉพาะผู้ผ่านการอบรมนักนิเวศชุมชน ซึ่งมีประเด็นในการสัมภาษณ์ที่พัฒนาจากกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และเวทีในวันนี้ คุณสมัย ชัยช่วยได้ร่วมออกแบบแนวคำถามเพิ่มเติม ซึ่งช่วยให้การสัมภาษณ์สามารถถอดบทเรียน และความรู้จากกลุ่มหมอพื้นบ้านของพื้นที่ได้อย่างเป็นธรรมชาติ อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ร่วมกัน พบว่าทีมงานยังต้องได้รับการพัฒนาในในประเด็นที่จะสัมภาษณ์เพิ่มเติม   โดยประเด็นที่สอบถาม มี 3 ประเด็น  เกี่ยวกับตัวหมอ          เกี่ยวกับองค์ความรู้ และเกี่ยวกับตัวคนไข้                       

                โดยมีกลุ่มหมอพื้นบ้านแบ่งได้ดังนี้ กลุ่มหมอยา 10 คน  กลุ่มหมอตำแย 3 คน  กลุ่มหมอเป่า 5 คน

สิ่งที่จะได้ดำเนินการต่อไป

1.ปรับปรุงแนวทางการสัมภาษณ์ โดยดูจากแนวทางการซักประวัติของโครงการจังหวัดสกลนคร / จากเวชกรรมแผนไทยและพัฒนาทีมงานให้สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่

2.จัดทำแผ่นป้าย/แผ่นผ้าที่ใช้ในการทำความเข้าใจโครงการ (กระบวนการหลักของโครงการ / ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง)

หมายเลขบันทึก: 257711เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2009 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท