การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

เล่าเรื่องแพทย์แผนไทยอุดรเดือน มกราคม 2551


แนวทางแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน

                                1. การประชุมติดตามการดำเนินงานโครงการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ และขยายผลการทำงานของเครือข่ายสุขภาพวิถีไท  ระหว่างวันที่  3 4 มกราคม 2551           คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตสกลนคร อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร    สรุปได้ดังนี้

1.ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 19 คน จากเครือข่ายจังหวัดสกลนคร , มหาสารคาม , ชัยภูมิ โดย

ผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นตัวแทนจากจังหวัดอุดรธานี  ประกอบด้วย ตัวแทนจากชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอบ้านดุง (นายอำนวย พลลาภ , นายผอง ผูกจิตต์ และนายเสถียร  สีหาโบราณ) และผู้รับผิดชอบงานแพทย์แผนไทย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

2.เรื่องที่มีการหารือในที่ประชุมได้แก่

1.ถอดบทเรียนการนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. เนื่องจากงานในช่วงแรกที่มีการนำเสนอ ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของ สสส.เท่าที่ควร โดยผู้ประเมินโครงการ จะยึดตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่นำเสนอไว้ ดังนี้

พื้นที่ชัยภูมิ ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพของ  ชาวบน ได้รับการ วิพากย์ว่าศึกษาเกี่ยวกับสูตรของอาหารมากเกินไป ไม่ได้มีความเชื่อมโยงว่าอาหารชนิดไหนหรือประเภทใดเกี่ยวข้องกับสุขภาพตรงไหนบ้าง น่าจะมีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้สูงอายุในพื้นที่เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาหารกับสุขภาพของ ชาวบน

พื้นที่สกลนคร ศึกษาเกี่ยวกับหมอพื้นบ้าน โดยจัดในรูปแบบ MOBILE CLINIC  ไปจัดเวทีตามหมู่บ้านที่หมอพื้นบ้านเป็นสมาชิก มีการให้ความรู้ในลักษณะเวทีคืนความรู้ ซึ่งมีผู้มาใช้บริการรับยาจากหมอพื้นบ้านประมาณ ครั้งละ 200 คน จัดไปแล้ว 6 ครั้ง โดยหมอพื้นบ้านทุกคนต้องมีทะเบียนประวัติการรักษา

พื้นที่บ้านเชียงเหียน มหาสารคาม ศึกษาเกี่ยวกับการแปรรูปและการจำหน่ายสมุนไพรของชาวบ้าน ว่ามีความเป็นมาอย่างไร

พื้นที่อุดรธานี พัฒนาแนวทางการจัดตั้งระบบสุขภาพท้องถิ่นโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ซึ่งได้ให้นักวิจัยท้องถิ่นสัมภาษณ์เบื้องต้นหมอพื้นบ้านใน 5 ตำบล ของอำเภอบ้านดุง มีหมอพื้นบ้านร่วมโครงการ 101 คน แบ่งเป็นกลุ่มหมอยาสมุนไพร , หมอเป่า , หมอตำแย และหมอนวด ทั้งนี้ต้องมีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แนวทางการสัมภาษณ์จากเค้าโครงการศึกษาประวัติของหมอพื้นบ้านเพื่อการรับรองว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ เช่น กรณีศึกษาหมอคง เป็นต้น

โครงการสำรวจป่า เพื่อเป็นฐานข้อมูลทรัพยากร (ภาวะโลกร้อน) จังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่เป้าหมายพื้นที่หนึ่งที่ได้ร่วมกิจกรรม ได้ให้ข้อมูลพื้นที่และผู้รับผิดชอบโครงการได้ลงพื้นที่เพื่อวางแผนการสำรวจป่าตัวอย่างแล้ว

2.งานต่อเนื่องจากงบประมาณของ สกว. ในโครงการการสังเคราะห์กระบวนการการมีส่วนร่วมของหมอพื้นบ้านในการพัฒนาการวินิจฉัยและรักษาโรคแบบดั้งเดิมภาคอิสาน (หัวหน้าโครงการ อาจารย์พิศ  แสนศักดิ์) ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการ 2 ส่วนคือ การจัดทำคู่มือในการดูแลสุขภาพของประชาชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพอิสานและกำหนดกรอบโครงสร้างของระบบสุขภาพพื้นบ้านอิสาน ซึ่งอุดรธานี 1 ใน โครงการย่อย

โดยในการจัดทำคู่มือในการดูแลสุขภาพของประชาชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพอิสานนั้นที่ประชุมมีมติว่าให้จัดทำเป็น 2 ระยะดังนี้

                ระยะที่ 1 เวทีวิพากย์ โดยผู้รู้ (ปราชญ์ชาวบ้าน / ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ) ในวันที่ 14 16 กุมภาพันธ์ 2551 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตสกลนคร โดยให้หมอพื้นบ้านรุ่นใหญ่ ผู้ที่มีประสบการณ์ จังหวัดละ 7 คน ที่มีความเชี่ยวชาญในการ ย่าง อยู่ไฟ หร่อย อาหาร โสก  เสียเคราะห์ ยาสมุนไพร(รวมทั้งสมุนไพรแก้พิษ)  มาทบทวนเพิ่มเติมความรู้ที่ได้มีการสรุปถอดออกจากโครงการย่อยทั้งหมด (ในหนังสือบทเรียนเครือข่ายภูมิปัญญาสุขภาพวิถีไทอีสาน เล่ม 2) โดย ส่งรายชื่อให้คุณเกื้อกูล ภายในวันที่ 25 มกราคม 2551 และจังหวัดอุดรธานีให้ ส่งข้อมูลกรณีศึกษาพ่อเฟื้อ ให้ คุณเกื้อกูลด้วย

ระยะที่ 2 เวทีวิพากย์ โดยนักวิชาการมหาวิทยาลัย , สาธารณสุข , แพทย์ โดยผู้ประสานงานโครงการ (อ.ยงยุทธ ตรีนุชกร รับผิดชอบการดำเนินงาน)

3.การจัดงานคาราวานหมอพื้นบ้าน ปี 2551 เน้นการให้ประชาชนมาเรียนรู้ , ให้หมอพื้นบ้านได้พบปะสังสรร แลกเปลี่ยน และการนำเสนอผลงานวิชาการเกี่ยวกับการแพทย์พื้นบ้าน โดยมุ่งผลให้เกิดความเป็นเครือข่าย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะภาคสาธารณสุขได้ร่วมเรียนรู้  จัดประมาณเดือนสิงหาคม 2551

รูปแบบการจัดงานจะจัดในรูปแบบเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างหมอพื้นบ้านด้วยกันเอง มีเวทีวิชาการโดยสาธารณสุข เวทีสืบทอด ครอบครู  และจะมีการทำบันทึกความเข้าใจร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดทิศทางการทำงานที่เป็นรูปธรรมต่อยอดจากที่ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท ระยะ 5 ปี (2550 2554) 

และให้มีการจัดทำร่างแนวทางการจัดตั้งสมาคมสุขภาพวิถีไทอิสาน สถานที่ใช้ มหาวิทยาลัยราชมงคลโดยขอให้ ภก.สมชาย จัดทำและนำเรื่องเข้าที่ประชุมคราวต่อไป

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ หมอพื้นบ้าน เครือข่าย 10 จังหวัด

เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ที่ประชุมให้ ภก.สมชาย (อุดรธานี) ประสานงานขอรายชื่อของเข้าหน้าที่ที่ทำงานด้านนี้ จากทุกระดับ (คนที่สนใจจริง ๆ) ของทุกจังหวัดในเขตภาคอิสาน ส่งคุณเกื้อกูล ภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2551

รายชื่อนักศึกษาแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทย ผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยราชมงคล รับผิดชอบ

4.โครงการศึกษาและพัฒนาหมอพื้นบ้านเพื่อสนับสนุนระบบการดูแลสุขภาพชุมชน ให้ผู้ร่วมโครงการดำเนินการคัดเลือกรายชื่อหมอพื้นบ้าน 50 คน เพื่อเตรียมการจัดเวที และสรุปการจัดเวทีสัมมนา

3.เรื่องอื่น ๆ

22  มกราคม 2551 จะมีการลงนามกับปลัดกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการผลิตบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย ต่อเนื่อง 2 ปี เพื่อบรรจุเข้าทำงาน ซึ่งยังอยู่ในระหว่างการหารือเบื้องต้น ทั้งนี้กรณีนักศึกษา 4 ปี ผู้จัดทำหลักสูตรให้ข้อมูลว่าจะได้มีการทำความตกลงไปยังกองการประกอบโรคศิลปะ ในการจัดสอบ และเมื่อจบการศึกษาให้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ทั้ง 4 ประเภทเลย (เวชกรรมแผนไทย , เภสัชกรรมแผนไทย , ผดุงครรภ์แผนไทย และการนวดแผนไทย)

31 มกราคม 2551 จะมีการจัดประชุมระดมสมองเครือข่ายในการลดภาวะโลกร้อน ที่โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม ซึ่งเครือข่ายจังหวัดอุดรธานีได้รับจำนวนจัดสรร 30 คน เพื่อเข้าร่วมประชุม

สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป

1.ขอข้อมูลพื้นที่ป่า ที่มีแผนจะดำเนินการสำรวจพื้นที่คุ้มครองสมุนไพร จากคุณเกื้อกูล

2.งานต่อเนื่องของ สกว.

-ส่งรายชื่อผู้รู้ (ปราชญ์ชาวบ้าน / ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ) ที่จะเข้าร่วมเวทีในวันที่ 14 16 กุมภาพันธ์ 2551 ให้หมอพื้นบ้านรุ่นใหญ่ ผู้ที่มีประสบการณ์ จังหวัดละ 7 คน ที่มีความเชี่ยวชาญในการ ย่าง อยู่ไฟ หร่อย อาหาร โสก  เสียเคราะห์ ยาสมุนไพร(รวมทั้งสมุนไพรแก้พิษ)  ให้คุณเกื้อกูล ภายในวันที่ 25 มกราคม 2551 และจังหวัดอุดรธานีให้ ส่งข้อมูลกรณีศึกษาพ่อเฟื้อ ให้ คุณเกื้อกูลด้วย

3.การจัดคาราวานหมอพื้นบ้าน

-จัดทำร่างแนวทางการจัดตั้งสมาคมสุขภาพวิถีไทอิสาน

-ประสานงานขอรายชื่อของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านนี้ จากทุกระดับ (คนที่สนใจจริง ๆ) ของทุกจังหวัดในเขตภาคอิสาน ส่งคุณเกื้อกูล ภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2551

4.โครงการศึกษาและพัฒนาหมอพื้นบ้านเพื่อสนับสนุนระบบการดูแลสุขภาพชุมชน

จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการ

5.ประสานงานเครือข่ายหมอพื้นบ้าน  เพื่อร่วมประชุมวันที่ 31 มกราคม 2551 ระดมสมองเครือข่ายในการลดภาวะโลกร้อน ที่โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม ซึ่งเครือข่ายจังหวัดอุดรธานีได้รับจำนวนจัดสรร 30 คน เพื่อเข้าร่วมประชุม

 

2. การประชุมติดตามการดำเนินงานตามโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของชมรมหมอพื้นบ้าน อ.บ้านดุง (โครงการ สสส.) ที่ บ้านพ่อทองเดิน  ปัสสะสัย บ้านหนองกา  ต. บ้านจันทน์   อ.บ้านดุง  เมื่อวันที่ 10 มกราคม  2551 ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ คณะกรรมการชมรมหมอพื้นบ้าน , หมอพื้นบ้านของพื้นที่ตำบลบ้านจันทร์ , ตัวแทนจาก อบต.บ้านจันทร์ , เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยบ้านจันทร์ และผู้รับผิดชอบงานการแพทย์แผนไทย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี 3 คน   เรื่องที่มีการหารือในที่ประชุมได้แก่

                                1. จากการที่ชมรมได้ดำเนินการมาระยะหนึ่ง ประธานชมรมเสนอว่าในส่วนของคณะกรรมการชมรมน่าที่จะได้มีการปรับปรุง/ทบทวน เนื่องจากบางท่านติดภารกิจไม่สามารถปฏิบัติงานได้เต็มที่ โดยเริ่มเวทีจากการ

1.1 สรุปและถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมาของชมรม

1.2 นำแผนงานโครงการต่าง ๆ ที่ชมรมดำเนินการและกำลังจะดำเนินการมานำเสนอ เพื่อให้คณะกรรมการที่ปรับใหม่ได้พิจารณา โดยแผนงานโครงการดังกล่าวได้แก่

- การสรุปงานต่อเนื่องจากงานของ สกว. เกี่ยวกับการเข้าร่วมทบทวนองค์ความรู้เพื่อจัดทำคู่มือ

- โครงการของสำนักนายก เกี่ยวกับการระดมสมองเพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะในการพัฒนาการเคลื่อนงานการแพทย์พื้นบ้านในชุมชน

- การสำรวจป่า ในโครงการของกรมพัฒน์ และ ภาวะโลกร้อน ได้เข้าพื้นที่ วัดป่าระฆังทอง

- การร่วมกิจกรรม ประชุมภาวะโลกร้อน ที่จังหวัดมหาสารคามในวันที่ 31 มกราคม 2551

- โครงการเสวนาหมอพื้นบ้าน ของตำบลบ้านชัย

- ความต่อเนื่องของโครงการที่ได้รับงบจาก สสส. การสัมภาษณ์เชิงลึกข้อมูลภูมิปัญญา และกำหนดวัน เวลาที่จะลงพื้นที่ ทั้งนี้ประธานชมรมจะทำหนังสือเชิญหมอพื้นบ้าน (นักวิจัย) , ผู้รับผิดชอบแต่ละพื้นที่ได้เข้าร่วม

1.3  ที่ประชุมได้ร่วมกันเสนอรายชื่อกรรมการและทีมงานที่จะมาดำเนินการตามโครงสร้างของ

ชมรม โดยเจ้าหน้าที่ได้เป็นพี่เลี้ยงในการจัดกระบวนการ

                                               

3. การประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาจัดทำแผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดสมุนไพรระหว่างวันที่  29 31 มกราคม 2551     โรงแรมพลอยพาเลซ  จ.มุกดาหาร สรุปผลการประชุม อบรม ดังนี้

1.ประธานการประชุม โดย นพ.ลือชา วนรัตน์ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้แนวทางการจัดทำแผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดสมุนไพร ภูผากูด พร้อมทั้งลงพื้นที่สำรวจ

2.พื้นที่  12 จังหวัด กำหนดพื้นที่ในการดำเนินงาน ซึ่งมีเป้าหมายในปีงบประมาณนี้น่าจะได้ ร่างแผนการจัดการของพื้นที่ เพื่อนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยศึกษาต้นแบบจาก ภูผากูด

สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป

1.กำหนดพื้นที่ ซึ่งอาจอยู่ในเขตอนุรักษ์ และรอการประสานงานจากผู้แทนกรมป่าไม้ ได้แก่ วังสามหมอ , นายูง-น้ำโสม , หนองวัวซอ ,  บ้านผือ , สร้างคอม

2.กำหนดแผนการดำเนินการ โดยประสานคนในพื้นที่  ลงพื้นที่ สำรวจสมุนไพร และวางแปลง ตามยอดงบประมาณ 170,000 บาท

 

                4. การประชุมสัมมนาเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ 2551  ระหว่างวันที่  28 31 มกราคม 2551 ณ  โรงแรมพลอยพาเลซ  จังหวัดมุกดาหาร  

ขอสรุปผลการประชุม อบรม ดังนี้

1.ประธานการประชุม โดย นพ.นรังสันต์  พีรกิจ  รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ให้นโยบายและการสนับสนุนจังหวัดในปีงบประมาณ 2551

2.ภก.วินิต  อัศวกิจวิรี ผู้อำนวยการกองควบคุมยา สรุปผลแนวทางการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านยา ปี 2551  เน้น 4 ประเด็น ได้แก่

1.การแก้ปัญหาการกระจายไม่เหมาะสม ยาสเตียรอยด์

2.การพัฒนาร้านยา ให้มีคุณภาพมาตรฐาน GPP Good Pharmaceutical Practice

3.การพัฒนารูปแบบการจัดการด้านยา Drug Safety โดยจัดให้มีการอบรมหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญระดับต่าง ๆ

4.การยกระดับมาตรฐานการผลิตยาแผนโบราณ

3.ภก.เชิดชัย  อริยานุชิตกุล  ผู้ประสานงานเครือข่าย ภาคอีสาน นำเสนอความก้าวหน้าและหารือประเด็นการทำงานของเครือข่ายดังนี้

1.เภสัชกรโรงพยาบาลศูนย์ที่จะเลื่อนระดับ 9 ตามหนังสือที่ สธ.0201.039/ว10 ลงวันที่ 17 มกราคม 2551  ชี้ตำแหน่งภายใน กพ.51 ส่งเอกสาร ภายใน มีค.51 บุคคลที่มีสิทธิรับการพิจารณา อายุ 45 ปี ขึ้นไป  และทาง อย.จัดทำวารสารเพื่อเผยแพร่ให้

เรื่องจากการประชุม 14 15 มกราคม 2551 ได้แก่

1.พรบ.คกก.อาหารแห่งชาติ ลงราชกิจจานุเบกษา แล้ว

2.จะมีการอบรมตามประกาศ พรบ.อาหาร

3.โครงการ อย.น้อย เปลี่ยนการจัดสรรเงิน โดยให้ทำโครงงาน  กำหนด 12 กรกฎาคม 2551 สสจ.ส่งรายชื่อ 1 โรงเรียนพร้อมรายชื่อโครงงาน  ขั้นตอนการดำเนินงานศึกษาจากหนังสือนำส่ง

4.แนวทางการเบิกจ่ายค่าตรวจวิเคราะห์ ในปี 2551 ให้สสจ.ขอความอนุเคราะห์เป็นกรณีไปกับกรมวิทย์  ปี 2552 อย.จะประสานงานให้

5.การพัฒนา GMP ยาแผนโบราณ  จะมีการอบรมการจัดทำเอกสารและแปลนอาคารสถานที่ แก่ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ ภาคอีสาน ประมาณ เดือน พค.51  และให้คัดเลือกโรงงานต้นแบบในแต่ละภาค (ขอนแก่น)

6.ตัวชี้วัด                น้ำมันทอดซ้ำ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 90

GMP สถานประกอบการ ร้อยละ 100

7.ศพช.โอนงบแล้ว วันที่ 15 มค.51 มี 3 กิจกรรม คือ โครงการ ว.ผสช. สมบูรณ์แบบ , สัมมนาพหุภาคีเพื่อพัฒนาคุณภาพ ผสช. , สัมมนาและประเมินรับรองมาตรฐาน OTOP และ ว.ผสช.

8.การสัมมนา อบรมเจ้าหน้าที่งาน Premarketing

9.สัมมนาทีมตรวจ คบส. 11 16 กพ.51 6 ทีมๆละ 3 คน เน้นงาน postmarketing

10.ระบบการรายงาน คบส.  ให้มีการติดตามรายงานให้ครบถ้วน

11.เครื่องมือแพทย์ จะมีกฎหมายควบคุมประมาณ มีค.51

12.แบบสอบถามเกี่ยวกับ สมรรถนะ ให้ช่วยกันตอบ

เรื่องหารือ

1.ประชุมเครือข่ายครั้งที่ 2 / 2551 เจ้าภาพคือ หนองบัวลำภู จัดที่อุดรธานี ประมาณ ปลายสิงหาคม 2551 จัดประชุม คณะกรรมการบริหารสัปดาห์ที่ 4 ของมิถุนายน 2551

2.Cosmetic Safety ให้ตรวจสอบแจ้งเตือนผู้จำหน่าย ไม่ควรเก็บเครื่องสำอาง BACK LIST และน่าจะ

4.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 4 แห่ง นำเสนอผลงาน และความก้าวหน้า โดยเฉพาะเรื่อง โครงการน้ำดื่มในโรงเรียน ที่ขยายผลไปเรื่องตะกั่วในถังเก็บน้ำและหม้อก๋วยเตี๋ยว

 

             5. ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบูรณาการงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก  สู่การดำเนินงานในส่วนภูมิภาค  ประจำปีงบประมาณ 2551     ในวันที่ 28-29 มกราคม  2551      โรงแรมริชมอนด์  อ.เมือง   จ.นนทบุรี   ขอสรุปผลการประชุมดังนี้                   

                                1.น.พ.ลือชา  วนรัตน์   อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ  เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม และบรรยายเรื่อง นโยบาย ทิศทาง และตัวชี้วัดหลักด้านการแพทย์แผนไทย  โดยยึดตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 10  เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและใช้อย่างรู้เท่าทันโดยเน้นภูมิปัญญาไทยและการพึ่งตนเอง    และประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสุขภาพไทย ที่เกี่ยวข้องคือการสร้างทางเลือกสุขภาพที่หลากหลายผสมผสานภูมิปัญญาไทยและสากล   เป้าหมายการดำเนินการคือการเพิ่มมูลค่า/ปริมาณการใช้ยาไทยและสมุนไพรอย่างน้อยร้อยละ 25 ภายใน 5 ปี  (ในปี 2551 เป้าหมาย ร้อยละ 5)  ซึ่งได้มีการผลักดันด้านนโยบาย  การรณรงค์ส่งเสริมการใช้ยาและยาสมุนไพร  และการพัฒนามาตรฐานยาไทยและยาสมุนไพร     

                                2. แผนยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท พ.ศ.2550-2554 เป็นแผนแม่บทฉบับแรกของประเทศที่กำหนดทิศทางการพัฒนาภูมิปัญญาไท  สุขภาพวิถีไท เพื่อการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพของประเทศ และการพัฒนาเพื่อการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2550  มียุทธศาสตร์ 5 ประเด็น

ทั้งนี้ งานฯได้จัดทำบทสรุปเกี่ยวกับมาตรการ/แนวทางดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในระดับปฏิบัติ

ตามประเด็นยุทธศาตร์ที่ 1,2,4 และ 5  ไว้แล้ว

                                3. นพ.อำพล  จินดาวัฒนะ  บรรยายเรื่องพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550  กับธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ด้านการส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพการแพทย์แผนไทย  การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ  โดยกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)  และให้ข้อคิดเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพว่าแพทย์พื้นบ้านต้องมีกระบวนการที่สามารถควบคุมได้ด้วยตนเอง ซึ่งภาครัฐต้องให้การสนับสนุน  โดยน่าจะมีโครงการวิจัยเรื่องใหญ่ๆใหม่ๆ   การบริหารจัดการที่ร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อปท. และสื่อมวลชน   และให้ประชาชนหรือสังคมได้รับรู้

                                4. แนวทางการพัฒนาการบริการการแพทย์แผนไทยในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า  มีหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการ ระดับจังหวัด  ดังนี้

                                4.1 กำหนดวิธีการจ่ายเงินสมทบของหน่วยบริการ

                                4.2 กำหนดแนวทางการเบิกจ่ายงบสนับสนุนให้หน่วยบริการ

                                4.3 จัดขึ้นทะเบียนหน่วยบริการและวางแผนตรวจประเมิน

                                4.4 จัดระบบการรายงานข้อมูลบริการ แล

หมายเลขบันทึก: 257710เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2009 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

4. แนวทางการพัฒนาการบริการการแพทย์แผนไทยในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการ ระดับจังหวัด ดังนี้

4.1 กำหนดวิธีการจ่ายเงินสมทบของหน่วยบริการ

4.2 กำหนดแนวทางการเบิกจ่ายงบสนับสนุนให้หน่วยบริการ

4.3 จัดขึ้นทะเบียนหน่วยบริการและวางแผนตรวจประเมิน

4.4 จัดระบบการรายงานข้อมูลบริการ และรายงานต่อกรมพัฒน์ฯ เพื่อเบิกงบประมาณ

4.5 ชี้แจงหน่วยบริการและประชาสัมพันธ์ประชาชน

4.6 ประเมิน/ตรวจสอบหน่วยบริการ โดยใช้ CPG

4.7 ติดตามกำกับหน่วยบริการ

4.8 การพัฒนาบุคลากรหรือผู้ให้บริการ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2545 เพื่อรองรับการเบิกงบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยกำหนดแนวทางพัฒนาบุคลากรให้ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย จากสถาบันที่คณะกรรมการวิชาชีพแพทย์แผนไทยรับรอง ( จำนวน 7 แห่ง รวมสถาบันการแพทย์แผนไทย ) สำหรับผู้ที่จบหลักสูตรการนวดไทย 372 ชม./อายุรเวท โดยหลักการต้องเทียบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย และเข้ารับการอบรมเพิ่มเติม (ต่อยอด) แล้วประเมินผล หากผ่านการประเมินสามารถออกใบประกาศให้ได้ หากไม่ผ่าน ต้องเข้าอบรมตามหลักสูตร ซึ่งจะมีแนวทางปฏิบัติแจ้งอีกครั้งหนึ่ง

5. องค์การเภสัชกรรม นำเสนอความก้าวหน้าของการผลิตยาสมุนไพร โดยเฉพาะการวิจัยพัฒนาแคปซูลจากสารสกัดขมิ้นชัน

6. การอภิปรายกลุ่ม เรื่องแนวทางการปฏิบัติที่ดีทั้งในงานการแพทย์แผนไทยและงานการแพทย์ทางเลือกในสถานบริการระดับต่างๆ โดยมี นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ผอ.รพ.ขอนแก่น เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย คุณสุทธิรัตน์ บุษดี จากรพ.มหาสารคาม , นพ.สสจ.ลพบุรี ,

พ.ญ.ดวงรัตน์ เชี่ยวชาญ ผอ.รพ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก และนพ.วัฒนา วัจนะกมล นพ.สสจ.เชียงใหม่ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการดำเนินงานแพทย์แผนไทยในส่วนภูมิภาค

7. การนำเสนอการดำเนินงานการแพทย์แผนไทยฯ และการสาธิต แสดงนิทรรศการ จากหน่วยงานต่างๆ

เรื่องที่จะต้องดำเนินการต่อไป

1. วางแผนและดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบาย

2. ตามข้อ 4 งานฯได้จัดทำร่างแนวทางการเบิกจ่ายงบสนับสนุนให้หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อเสนอที่ประชุม อปสจ. ให้ความเห็นชอบ ในวันที่ 5 ก.พ. 2551 และได้เตรียมความพร้อมในการดำเนินงานไว้แล้ว

3. ถอดบทเรียนจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานและพัฒนางานต่อไป

6. การชี้แจงการจัดทำเอกสารคุณภาพ (JS JD CPG SOP คู่มือการให้บริการ คู่มือการใช้บริการ แก่ รพ.เพ็ญ หนองหาน หนองแสง น้ำโสม ศรีธาตุ พิบูลย์รักษ์ บ้านดุง โนนสะอาด เพื่อพัฒนาระบบคุณภาพบริการ โดยได้ทำความเข้าใจ ให้คำแนะนำและความรู้ ชี้แจงรายละเอียด เนื้อหาต่างๆ ในการจัดทำ พร้อมทั้งมีตัวอย่างจากหน่วยงานอื่นที่สามารถเป็นต้นแบบให้ได้ และให้นำเอกสารคุณภาพที่ต้องมีการแก้ไข เพิ่มเติม เพื่อจัดทำให้ถูกต้อง และงานฯจะติดตามเอกสารคุณภาพมุ่งสู่การปฏิบัติได้จริง ต่อไป

7. อบรมเภสัชกรรมแผนไทย ที่คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างวันที่ 21 – 25 มกราคม 2551 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ประวัติแพทย์แผนไทย เภสัชวัตถุ ได้แก่ พืชวัตถุ สัตว์วัตถุ ดูตัวอย่างสมุนไพรแห้ง และสมุนไพรสด

8. ประชุมติดตามการดำเนินงานตามโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ของชมรมหมอพื้นบ้านอ.บ้านดุง (โครงการ สสส.) ที่ อบต.นาไหม อ.บ้านดุง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551

เป็นกิจกรรมการสัมภาษณ์เชิงลึกหมอพื้นบ้าน (หมอเป่า) จำนวน คน โดยได้ทำความเข้าใจให้นักนิเวศชุมชนในประเด็นการสัมภาษณ์ว่าต้องให้มีความละเอียด และให้ทำตามแนวทางที่วางไว้ แล้วแบ่งกลุ่มสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล หากยังไม่สมบูรณ์ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติม แล้วสรุปผล

9. การประชุมเรื่องภาวะโลกร้อน ที่ ร.ร.ตักศิลา จ.มหาสารคาม เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2551 โดยร่วมกับหมอพื้นบ้าน อ.บ้านดุง (10 คน) ,อ.ทุ่งฝน (5 คน) ,อ.หนองแสง (5 คน) ,อ.กุมภวาปี (5 คน) ,อ.เพ็ญ (5 คน) รวมจำนวน 30 คน จัดประชุมโดยมหาวิทยามหาสารคาม ร่วมกับ สถาบันสิ่งแวดล้อมและบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ จำกัด เพื่อให้ประชาชนภาคอีสานทราบถึงสาเหตุผลกระทบและการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท