ผู้ลี้ภัยภูฏาน ทำไมถึงได้สิ้นชาติ?


 

...

 

ภาพที่ 1: แผนที่โลก (ล้อมกรอบเล็ก) และแผนที่ภูฏาน (แถบสีแดง) > [ Wikipedia ]

ภูฏานมีแนวพรมแดนทิศเหนือติดกับธิเบต (ปัจจุบันเป็นเขตปกครองของจีน) ทิศใต้และตะวันตกติดกับอินเดีย ไม่มีพรมแดนติดกับเนปาล แต่ไปมาหาสู่กันได้โดยการเดินทางผ่านชายขอบภูเขาหิมาลัยไปคล้ายๆ กับชาวเขาที่เดินทางข้ามประเทศได้แบบสบายๆ

...

มีความเป็นไปได้ที่ชาวภูฏานจะสืบเชื้อสายมาจากคนกลุ่มพม่า-ธิเบต (โดยการเดินทางข้ามภูเขาหิมาลัยเป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่มาทางพม่า ซึ่งนักมนุษยศาสตร์จัดเป็นกลุ่มภาษา "พม่า-ธิเบต" และน่าจะเป็นกลุ่มชาติเดียวกันมาก่อน)

เรื่องคนพม่ากับธิเบตเป็นชาติเดียวกัน (ตามทฤษฎีว่าด้วยโครงสร้างทางภาษา) นี่... ห้ามพูดกับคนพม่าเป็นอันขาด เพราะคนพม่าไม่มีทางเชื่อ และมีแนวโน้มจะโกรธมากด้วย

...

ชาวพม่าเชื่อว่า ได้สืบเชื้อสายมาจากศากยวงศ์ (สักกวงส์) จากอินเดีย... เป็นชาติพันธุ์ที่บริสุทธิ์ ไม่เหมือนชาติอื่นๆ ในอาเซียน ปีใหม่พม่า (สงกรานต์) จะมีการร้องเพลงที่มีเนื้อความว่า "เราเป็นสักกวงส์"

ชาติที่มีความเชื่อว่า เผ่าพันธุ์ดั้งเดิมบริสุทธิ์และยิ่งใหญ่ เช่น ญี่ปุ่น เขมร พม่า ฯลฯ เวลาทำสงครามกับชาติอื่น หรือกับชนกลุ่มน้อยมีแนวโน้มจะใช้ความรุนแรง-เด็ดขาดสูง

...

ภาพที่ 2: แผนที่โลก (ล้อมกรอบเล็ก) และแผนที่เนปาล (แถบสีแดง) > [ Wikipedia ]

เนปาลเป็นประเทศที่มีพรมแดนด้านเหนือติดกับภูเขาหิมาลัย(จีน) ด้านใต้และตะวันออกติดกับอินเดีย

...

โปรดสังเกตว่า เนปาลไม่มีพรมแดนติดกับภูฏาน ทว่า... ชาวเนปาลเป็นชาติที่เดินป่า-ปีนเขาได้เก่งสุดๆ การเดินทางข้ามประเทศไปตามชายขอบภูเขาหิมาลัย (ผ่านเขตของอินเดียไป) นี่สบายมาก 

...

 

ภาพที่ 3: สมมติฐานกลุ่มชนปีช่วงปี พ.ศ. 1363 > [ Wikipedia ]

อาณาจักรแขมร์ (มอญ-เขมร / แต้มสีน้ำเงิน) ด้านตะวันตกเกือบถึงบังคลาเทศ ด้านตะวันออกรวมเวียดนามครึ่งล่าง (เวียดนามใต้) ด้านใต้ไปถึงพัทลุง ด้านเหนือไปถึงลาว-สิบสองปันนา

... 

ทว่า... สร้างปราสาทมากไป (เป็นการลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้คล้ายๆ กับ NPL / non-performing loan) ทำให้เสื่อมลงเรื่อยๆ คล้ายๆ ชาติอื่นที่ลงทุนเมกาโปรเจคท์ (megaproject) แล้วมักจะเสื่อมถอยไป เช่น อียิปต์ที่สร้างปีระมิด ฯลฯ

คนไทยกลุ่มใหญ่ยังอยู่ทางใต้ของจีนและสิบสองปันนา (แถบสีม่วง) ส่วนที่กระจัดกระจายอยู่ในอาเซียนน่าจะเป็นชนกลุ่มน้อย โดยเป็นทาส หรือกระจายอยู่ตามป่าเขา

...

กลุ่ม "ธิเบต (พม่า-ธิเบต)" ครอบครองพื้นที่ตั้งแต่ธิเบต ไล่ไปทางตะวันตกตามแนวภูเขาหิมาลัย (รวมภูฏาน สิกขิม เนปาล บางส่วนของอินเดีย) ตอนเหนือของพม่า และบังคลาเทศ (แถบสีเขียวปนน้ำตาล) มีความเป็นไปได้ว่า ความเสื่อมของธิเบตส่วนหนึ่งมาจากการที่พระปกครองประเทศ

ประเทศที่พระเข้าไปยุ่งกับการเมืองมากๆ มีแนวโน้มจะอ่อนแอ... อย่างน้อยก็มีปัญหาเศรษฐกิจถดถอย ดังปรากฏในธิเบต สิกขิม (2 ชาตินี้ถึงกับสิ้นชาติในเวลาต่อมา) และศรีลังกา

...

ภาพที่ 4: ภาพผู้ลี้ภัยเชื้อสายเนปาลจากภูฏาน > [ BBC ] 

...

มีความเป็นไปได้ว่า เดิมอาณาจักรขอมจะมีคนเชื้อสาย "มอญ-เขมร" เป็นผู้ปกครอง ไทยเราคงจะเป็นทาส หรือคนใต้ปกครอง เพราะคนอีสานอยู่ในแถบนี้มาก่อน ดังปรากฏหลักฐานชัดเจนที่บ้านเชียง

คนเชื้อสาย "มอญ-เขมร" ในอดีตอาจจะแตกกันด้วยเรื่องศาสนา... ฝ่ายเขมรรับฮินดู (ศาสนาพราหมณ์) เน้นการสร้างปราสาท

...

ฝ่ายมอญรับพระพุทธศาสนา เน้นการสร้างเจดีย์ และค่อยๆ แตกเป็น 2 อาณาจักร (ตะวันตกเป็นมอญ ตะวันออกเป็นเขมร) ก่อนที่มอญจะถึงพ่ายสงครามกับพม่าหลายรอบจนสิ้นชาติในเวลาต่อมา

คนไทยเรารวมชาติได้จากการที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชประกาศจะปกครองแบบ "พ่อปกครองลูก" แบบธรรมราชาในพระพุทธศาสนา

...

เมตตาธรรมเป็นคุณลักษณะสำคัญของคนไทย ยุคใดคนไทยสามัคคีกันมีเมตตากัน... ยุคนั้นคนไทยจะเข้มแข็ง ยุคใดคนไทยแตกกันทะเลาะกันขาดเมตตากัน (ขาดความสามัคคี)... ยุคนั้นคนไทยจะอ่อนแอ

กล่าวกันว่า คนไทยมีลักษณะคล้ายน้ำ... น้ำมีความสงบร่มเย็นคล้ายๆ กับนิสัยคนไทย

...

ทว่า... ถ้าเมื่อไหร่น้ำเปลี่ยนสถานเป็นของแข็ง น้ำจะมีความเปราะสูง ไม่เข้มแข็ง; คนไทยก็คล้ายกัน คือ ยุคใดสมัยใดที่คนไทยทะเลาะกันจะอ่อนแอจากความแข็งกระด้าง เปรียบคล้ายกับน้ำแข็งที่ทุบแตกง่าย

คุณครูภาษาไทยท่านสอนว่า "ให้เข้มแข็ง-มิใช่แข็งกระด้าง ให้อ่อนน้อม-มิใช่อ่อนแอ" ประวัติศาสตร์สอนเราว่า ชาติไทยอยู่รอดมาได้... ทั้งจากความเข้มแข็งและความอ่อนน้อม ดังจะเห็นได้จากความเห็นของนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่ที่มักจะบอกว่า คนไทย 'nice (= น่ารักจากความอ่อนน้อม)'

...

ภาพที่ 5: มีการอพยพผู้ลี้ภัยไปประเทศที่สาม ซึ่งทางสหรัฐฯ บอกว่า รับได้ปีละ 1 หมื่น จึงมีความเป็นไปได้ว่า ในอนาคตผู้ลี้ภัยในเนปาลจะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ > [ BBC ] 

...

ภาพที่ 6: มีการอพยพผู้ลี้ภัยไปประเทศที่สาม ซึ่งทางสหรัฐฯ บอกว่า รับได้ปีละ 1 หมื่น จึงมีความเป็นไปได้ว่า ในอนาคตผู้ลี้ภัยในเนปาลจะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ > [ BBC ] , [ Worldfocus ] 

การฟิตร่างกายให้แข็งแรงมีความสำคัญต่อการอยู่รอดมาก (ดังภาพ) ก่อนจะเข้าเรื่องขอแทรกศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนสักคำ

  • 'refugee' > [ เร้ฟ - ฝิ่ว - จี้ ] > [ Click ] , [ Click ]
  • 'refugee' > noun = ผู้อพยพ

...

.............................................................................................

18 ปีก่อนรัฐบาลภูฏานขับไล่คนเชื้อสายเนปาลกว่า 103,000 คนออกนอกประเทศ ทำให้คนเหล่านี้ต้องเดินทางเลาะไปตามแนวเขาหิมาลัย ผ่านอินเดียไปยังเนปาลซึ่งอยู่ทางตะวันตก

กล่าวกันว่า คนเหล่านี้อยู่ในภูฏานมานานเป็นร้อยๆ ปีมาแล้ว ทว่า... เรื่องของเรื่องคือ คนภูฏานกลุ่มใหญ่ซึ่งน่าจะสืบเชื้อสายจากคนธิเบตเป็นส่วนใหญ่ สืบเชื้อสายจากเนปาล-ชาวเขาเป็นส่วนน้อย มีประชากรไม่มาก (ประมาณ 672,000 คน) และลูกไม่ดก (ทำลูกไม่เก่ง)

...

ตรงกันข้ามคนกลุ่มน้อย (เนปาล-ชาวเขา) ถึงจะมีน้อย แต่เป็นพวกลูกดก (mushroom = ทำลูกเก่ง เพิ่มจำนวนได้เร็วเหมือนเห็ดงอก)... ทำให้รัฐบาลภูฏานทนดูต่อไปไม่ไหว เริ่มนโยบายกดดันในช่วง mid-1980s (พ.ศ. 2528)

และแล้ว... วันนั้นก็มาถึง (ธันวาคม  2533)... รัฐบาลภูฏานประกาศว่า คนที่พิสูจน์ว่า เป็น "คนใน (residents)" ก่อนปี 2501 ต้องออกไป

...

เราถือนโยบาย "1 ประเทศ 1 เชื้อชาติ" ('one nation, one people' policy; nation = ชาติ; people = ประชาชน; policy = นโยบาย)... รัฐบาลท่านว่าอย่างนั้น

นโยบายแบบนี้... ไม่รู้ไทยเลียนแบบมาเป็น "1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์" หรือเปล่า

...

คุณมติมยา (ผู้ลี้ภัย) เล่าว่า ไม่กี่สัปดาห์ก่อนเธออพยพ... ทหารเริ่มจับผู้หญิงออกจากหมู่บ้าน "ได้ข่าวว่า ใครไม่ไปจะติดคุก ถูกตี และจะถูกข่มขืนด้วย" เธอว่าอย่างนั้น และเป็นไปได้ว่า ทรัพย์สินทั้งหมดจะถูกยึด

ผู้ลี้ภัยถูกบังคับ (forced) ให้ลงชื่อใน "ประกาศนียบัตรอพยพโดยสมัครใจ (voluntary migration certificates; voluntary = สมัครใจ; migration = การอพยพ; certificate = ประกาศนียบัตร หนังสือรับรอง)" ก่อนถูกขับไล่ออกไปหลายแสนคน

...

เหมือน "เคราะห์ซ้ำกรรมซัด" เพราะภูฏานประกาศว่า คนเหล่านี้ไม่ใช่พลเมือง (citizens) ส่วนรัฐบาลเนปาลก็บอกว่า ที่นี่ก็ "บ่ได้ดอก (ไม่ได้เหมือนกัน)" ไม่ใช่เป็นคนของเรา

แรงมี แต่ไม่มีไร่นาให้ทำ และไม่มีโอกาสรับจ้างทำงาน จึงต้องอาศัยความช่วยเหลือจากนานาชาติไปก่อน (ตั้งแต่ปี 2535)

...

รัฐบาลเนปาลกับภูฏานคุยกันมา 15 รอบ (rounds of talks) แล้วยังหาข้อตกลงเรื่องนี้กันไม่ได้ รัฐบาลออสเตรเลีย แคนาดา เดนมาร์ค เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ และสหรัฐฯ บอกจะรับคนอพยพไปเกือบ 90,000 ราย

แต่ผู้อพยพสมัครใจไปเพียงครึ่งหนึ่ง ที่เหลือ(หลายแสนคน)ฝันไปว่า วันหนึ่งจะได้กลับบ้าน

...

มาฟังความเห็นทางเนปาลบ้าง (เพื่อป้องกันการฟังความข้างเดียว)... ท่านนายกรัฐมนตรีดอร์จี วาย ตินเลย์ กล่าวว่า "คนอื่นใส่ร้ายเราว่า ทำการกวาดล้างเชื้อชาติ (ethnic cleansing; ethnic = เกี่ยวกับเชื้อชาติ; cleansing = การทำความสะอาด การกวาดล้าง)... (มีต่อ)

(ต่อ)... จริงๆ แล้วนี่เป็นการอพยพเข้าเมืองโดยผิดกฏหมาย (illegal immigration; il- = ไม่; legal = เป็นไปตามกฏหมาย ถูกกฏหมาย; illegal = ผิดกฏหมาย; immigrate = อพยพเข้าเมือง; immigration = การอพยพเข้าเมือง การตรวจคนเข้าเมืองหรือ "ต.ม.")... (มีต่อ)

...

(ต่อ)... คนเนปาลอพยพเข้าประเทศของเราเนื่องจากทางโน้นมีสงครามกลางเมือง (civil war; civil = พลเรือน คนเมืองหรือคนที่มีความเจริญ "ศิวิไลซ์"; war = สงคราม) มา 10 ปี เพิ่งจะเลิกรบกันในปี 2549 (สงครามระหว่างรัฐบาลกับกบฏลัทธิเหมาที่จีนสนับสนุน)... (มีต่อ)

(ต่อ)... ต้องโทษความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์ด้วย เพราะทางเนปาลมีปัญหาฟ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล (โทษไปไกลถึงภาวะโลกร้อนไปโน่นเลย)"

...

มีความเป็นไปได้ที่ภาวะโลกร้อนจะทำให้หิมะและชั้นน้ำแข็งสะสมบนภูเขาหิมาลัยละลายมากขึ้นเรื่อยๆ ภายใน 10-30 ปี ช่วงแรกจะเกิดน้ำท่วมบ่อย

ต่อมาหิมะและฝนจะตกน้อยลง... ปรากฏการณ์นี้อาจทำให้ภูฏานและเนปาลขาดแคลนน้ำครั้งใหญ่ แม่น้ำหลายๆ สายในอินเดียที่รับน้ำจากภูเขาหิมาลัย เช่น คงคา ยมุนา ฯลฯ จะเริ่ม "แล้งน้ำ" ถึงวันนั้นอาจจะเกิดสงครามแย่งชิงน้ำขึ้นได้

... 

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

ที่มา > นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ สงวนลิขสิทธิ์ 25 เมษายน 2552 > [ อ้างอิงเพิ่มเติม ]     

หมายเลขบันทึก: 257423เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2009 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท