ตัวอย่างการเขียนชื่อหน่วยการเรียนรู้ : กระชับ สื่อความชัดเจน ภาษาสวยน่าอ่าน


ชื่อหน่วยการเรียนรู้ที่ดี ต้องสื่อความชัดเจน ตรงประเด็นตามตัวชี้วัด ใช้ภาษากระชับชัดเจน และน่าอ่าน

 

 

ตัวอย่างการเขียนชื่อหน่วยการเรียนรู้ 

    

 

         บันทึกนี้มีจุดเริ่มจากคุณครูตุ๊กแกน้องสาวคนน่ารักสอบถามเรื่องการวัดและประเมินผล ภาษาไทย (เธอกำลังทำหลักสูตรสถานศึกษาอยู่ค่ะ..อิอิ.. โรงเรียนนำร่อง..โรงเรียนเก่งของสุพรรณบุรี)  ผู้เขียนก็ลองให้เธออธิบายรายละเอียดของหน่วยการเรียนรู้  เธอทำได้ดีมากค่ะ   จึงทำให้เกิดประเด็นเรื่องราวที่อยากคุยกับเพื่อนๆ คือเรื่อง การเขียนชื่อหน่วยการเรียนรู้  เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน  ชื่อนั้นสำคัญไฉน  อาจไม่ยากเหมือนการเขียนชื่องานวิจัย  แต่ก็เป็นส่วนสำคัญของหน่วยการเรียนรู้หรือกำหนดการสอนในภาพรวมเช่นกัน    ขอบคุณ..ครูตุ๊กมากจ๊ะ..ที่ทำให้มีเรื่องราวมาคุยกับเพื่อนครูและเพื่อนๆที่สนใจได้  ได้กุศลแรงเชียวจ้ะ..

..ลองดูนะคะ..

 

หน่วยที่ ๑  อ่านเขียนชวนคิดเกิดจินตนาการ

หน่วยที่ ๒  ฟังดูเล่าเรื่องประเทืองปัญญา

หน่วยที่ ๓  สนุกกับการเขียนคำ

หน่วยที่ ๔  รื่นรสวรรณคดี

หน่วยที่ ๕  คิดเก่งเขียนได้

หน่วยที่ ๖  อ่านคล่องเขียนเป็น

หน่วยที่ ๗  ฟัง ดู เล่า ขาน

หน่วยที่ ๘  เขียนคำตามคิด

หน่วยที่ ๙  คิดเขียนคล่องแคล่ว

หน่วยที่ ๑๐  มอกม่วนหมู่เฮาเรื่องเก่าเล่าขาน

 

ตัวอย่างการเขียนชื่อหน่วยการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒  ตลอดปีการศึกษาของคุณครูภาษาไทยค่ะ    จากการศึกษารายละเอียดการออกแบบการเรียนรู้ของครูก็ทำให้ทราบว่าแต่ละหน่วยการเรียนรู้ต้องการเน้นอะไร เป็นประเด็นหลัก  และตลอดทั้ง ๑๐ หน่วยการเรียนรู้ ก็มีสาระครบทั้ง ๕ สาระ  อ่าน  เขียน  ฟังดู พูด  หลักภาษา วรรณคดีและวรรณกรรม   สำหรับหน่วยที่ ๑๐ เป็นเรื่องของสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นล้วนๆ ค่ะ  ( หน่วยนี้อ่านดูแล้วน่าสนุกค่ะ..ม่วนแต้ๆ เจ้า)  และแต่ละหน่วยเพื่อนครูลองดูนะคะ

ลองดูอีกสักหนึ่งตัวอย่างค่ะ... เป็นการเขียนชื่อหน่วยการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ของคุณครูภาษาไทย ผู้เขียนจะลองเดาใจคุณครูผู้เขียน/ตั้งชื่อดูนะคะ..ว่าประเด็นหลักของหน่วยคืออะไร  และหน่วยใดที่ชื่อยังไม่ค่อยสื่อความ หมายความว่า ยังค่อนข้างเป็นนามธรรม ไม่ระบุลงไปให้ชัดเจนตามตัวชี้วัด   

 

หน่วยที่ ๑  อ่านออกเสียงเรียงภาษา

หน่วยที่ ๒  พัฒนาการเขียนอ่าน

หน่วยที่ ๓  สืบสานภูมิปัญญา

หน่วยที่ ๔  รู้คุณค่าภาษาไทย (ต้องกระชับอีกนิด..กว้างไปค่ะ)

หน่วยที่ ๕  ร่วมใจใฝ่รู้ (ไม่สื่อความค่ะ..)

หน่วยที่ ๖  เอกลักษณ์หลักภาษา

หน่วยที่ ๗  พัฒนาการสื่อสาร

หน่วยที่ ๘  หลักการวิถีไทย (ลองดูการแสดงความเห็นนะคะ..)

หน่วยที่ ๙  การเขียนสร้างสรรค์

หน่วยที่ ๑๐  วรรณกรรมน่ารู้

 

          ลองมาดู สาระการเรียนรู้ของหน่วยที่ ๘  ที่คุณครูกำหนดนะคะ  ..

สาระการเรียนรู้ คือ "การอ่านคำใหม่และความหมายของคำ  การอ่านในใจและการอ่านออกเสียง  เรื่องประชาธิปไตยใบเล็ก  การแสดงความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน  มารยาทในการอ่าน"  

 

          ความคิดเห็นของผู้เขียน..

 

๑.     คำว่า หลักการวิถีไทย  ตามวัตถุประสงค์ของคุณครูผู้ตั้งชื่อหน่วย น่าจะหมายถึง การมีความรู้เรื่องประชาธิปไตย  โดยใช้ชื่อบทเรียนจากหนังสือแบบเรียนภาษาพาที ชั้น ป.๓

๒.     เนื้อหาที่กำหนดให้นักเรียนอ่านคือ ประชาธิปไตยใบเล็กจากหนังสือเรียนตามข้อ ๑

๓.     หากตั้งชื่อหน่วยเช่นนี้ แสดงว่า คุณครูต้องให้ความรู้เรื่อง ประชาธิปไตย ด้วย เมื่อให้ความรู้แล้วต้องมีการวัดและประเมินด้วย  ประเมิน K A P ของนักเรียน เรื่อง ประชาธิปไตย นะคะ..เพราะมี ๓ หลักการคือ ปัญญาธรรม  คารวะธรรม  สามัคคีธรรม

ซึ่งเรื่องนี้ ไม่มีในสาระและตัวชี้วัดของ กลุ่มสาระ ภาษาไทย

๔.    หนทางออกนะคะ..ขอเสนอ ๒ ทางค่ะ

๑)     ต้องวัดและประเมินผลกลุ่มสาระสังคม ฯ ด้วย  เพราะเนื้อหานี้เป็นสาระของสังคม  หากคุณครูจัดเป็นหน่วยบูรณาการจะแจ๋วมากค่ะ (วัดเนื้อหาสังคม วัดทักษะภาษาไทย)

๒)    สามารถวัดและประเมินผล ภาษาไทยได้  เป็นการวัด เรื่อง การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน  ประเด็นการวัดคือ ความสามารถของผู้เรียน ด้านการอ่าน  การคิด  การเขียน ค่ะ

๕.    อนึ่ง..จากการอ่านสาระของหน่วยการเรียนรู้นี้ คือเรื่อง การอ่านคำใหม่  การบอกความหมายของคำ  การแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่าน และ การมีมารยาทในการอ่าน ..ต่างหาก

๖.     การเลือกใช้สื่อ ของหน่วยนี้ หากระบุเช่นนี้  ..คุณครูจะต้องใช้เฉพาะหนังสือภาษาพาทีเท่านั้น เพราะในเล่มอื่นไม่มี

๗.    หากคุณครูเปลี่ยนประเด็นเพื่อจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ใหม่ และต้องการเน้นการคิดวิเคราะห์และอ่านเป็นหลัก  ก็สามารถปรับชื่อหน่วย แต่ใช้ตัวชี้วัดเดิมได้ นะคะ..(การอ่าน-การคิด)

๘.    หากจะยังคงใช้ชื่อเดิม..อย่าลืม ต้องประเมินสาระสังคมฯ ด้วย..เหมาะสำหรับคุณครูทีรับผิดชอบสอนหลายกลุ่มสาระ

 

 

 

                                  พบกับการเขียนชื่อหน่วยการเรียนรู้ อีกนะคะ

เพื่อนๆเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ค่ะ

เรามาช่วยกันคิด ช่วยกันทำ

........^-^.......

                                                        สวัสดีค่ะ

หมายเลขบันทึก: 257077เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2009 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2013 00:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

จองๆๆๆๆๆๆๆ

โฮ..กามนิตอีกแล้ว

คนสวยจองแล้วอ่านด้วยนะจ๊ะ..

หากศน.อ้วนเขียนไม่ชัดเจนประเด็นใด ครูตุ๊กถามได้นะคะ

ขอบคุณจ้ะ..

 

ตอนนี้หนูทำหน่วย 2 แบบ

แบบใช้หน่วยตามหนังสือเรียน  กับแบบไม่ใช้หน่วยตามหนังสือเรียน  กำลังปรับแก้ไขอยู่ค่ะว่าจะใช้อันไหนดี(กำลังวิเคราะห์ให้ครบทุกตัวชี้วัดอยู่ค่ะ)

      คืนนี้จะมาคุยด้วยใหม่ค่ะ

     ขอบคุณค่ะ

สวัสดียามค่ำค่ะ...

     วันนี้ ศน.ที่เขตมาติดตามให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะค่ะ

โครงสร้างรายวิชาของหนูใช้ได้แต่หนูยังไม่พอใจงานของตัวเองเท่าไร  จะลองปรับชื่อหน่วยดูใหม่ค่ะ

      ขอบคุณค่ะ...ศน.อ้วนผู้ใจดี ^__^

การตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ภาษาไทย  ตั้งแล้วเราคิดว่าเข้าท่า  แต่พอให้เพื่อนร่วมงานอ่านดู  ได้ข้อเสนอแนะ  ไหนต้องเอาตัวชี้วัด  ไหนตัวมาตรฐาน  วิเคราะห์อื่น ๆ อีกมากมาย จนใช้หลักสูตรใหม่เข้าปีที่ 2 ก็ยังต้องมาตั้งใหม่  ทำตามที่เราคิดว่าพอจะถูก  ศน.ดู ก็ว่าอย่าเอาชื่อในหนังสือของสำนักพิมพ์ต่าง ๆ มาตั้ง ให้คิดเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท