ตัวอย่างงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ


วิจัย

1.  ชื่อเรื่อง                             การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

แบบ Cipa Model โรงเรียนบ้านโนนสงวนสิบเก้าโปร่งวิทยา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู  เขต 1

 

      ผู้ศึกษาค้นคว้า              ปวริศา  นามสีพันธ์

 

2.  ปัญหา              

การปฏิรูปการศึกษามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาคนให้เป็นผู้รู้จักสืบเสาะแสวงหา

องค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  โดยถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด  การศึกษาไทยต้องให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากขึ้น  การจัดการศึกษาต้องจัดตามความต้องการและตามสิทธิที่เขาควรได้รับ  การจัดการศึกษาที่พัฒนาผู้เรียนในสังคมของการเรียนรู้นั้น  จะใช้ยุทธศาสตร์

การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นวิธีการหนึ่ง

ที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักสืบเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  และสามารถนำองค์ความรู้

ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  และปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  แต่สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูในปัจจุบันคือ  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ผู้เรียนยังไม่สามารถ

ที่จะสืบเสาะหาความรู้  และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง  ผู้เรียนยังคงเป็นผู้ที่รับความรู้เดิม  เพราะทั้งครูและนักเรียนยังยึดติดอยู่กับการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ คือ ครูเป็นศูนย์กลาง  ส่วนใหญ่ยังเป็นบรรยากาศ

การเรียนรู้ตามหลักสูตรแบบเดิม  ซึ่งก็คือหลักสูตรที่ยึดหนังสือเรียนเป็นสื่อการสอน  โดยการสอนเป็นแบบครูอธิบายหรือบรรยายตามเนื้อหาที่ปรากฏในหนังสือเรียน  จากนั้นให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด

ในหนังสือเรียน  โดยแบบฝึกหัดที่ปรากฏในหนังสือเรียนหรือคู่มือที่ผลิตโดยสำนักพิมพ์เอกชน 

ส่วนใหญ่ยังเน้นการคำนวณในเรื่องต่าง ๆ และเทคนิคในการทำโจทย์แบบฝึกหัด  ให้ได้ในระยะเวลาสั้นเพื่อเตรียมตัวสอบมากกว่าเน้นที่กระบวนการคิด

ผู้ศึกษาค้นคว้า  ในฐานะครูผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ให้เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น  โดยใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา  คือการอบรมแบบมีส่วนร่วมและการนิเทศแบบคลินิก  เพื่อให้บุคลากรสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เกิดประสิทธิภาพ  โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Cippa Model  ซึ่งสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบ  และตระหนักในความสำคัญของคุณภาพครู  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดคือ  คุณภาพและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน  อันจะนำไปสู่คุณภาพการศึกษาให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช 2542 ต่อไป

 

 

 

3.  ความมุงหมายของการศึกษาค้นคว้า

เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้  ความเข้าใจ  และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบ Cippa Model  ในโรงเรียนบ้านโนนสงวนสิบเก้าโปร่งวิทยา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู  เขต 1

 

4.  ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า

4.1  เปนการแกปญหาการพัฒนาบุคลากรให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบ Cippa Model  ได้  เพื่อประโยชน์ต่อนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนสงวนสิบเก้าโปร่งวิทยา 

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู  เขต 1

4.2  เปนขอสนเทศสำหรับผู้บริหารโรงเรียนบ้านโนนสงวนสิบเก้าโปร่งวิทยา  ในการวางแผนพัฒนาครูเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบ Cippa Model  ให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

4.3  เปนขอสนเทศสําหรับโรงเรียนและหนวยงานอื่นนําไปประยุกตใชแก้ปัญหาและพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบ Cippa Model

 

5.  ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

1  กลุมผูรวมศึกษาคนควาและผูใหขอมูล  จำนวน 6 คน  จำแนกเป็น

1.1 กลุมผูรวมศึกษาคนควา (Research Participants) ประกอบดวยผู้ศึกษาค้นคว้าและผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าอีก  3  คน  ดังนี้

1.1.1  ผูศึกษาคนควา

1.1.2  ผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์  1  คน

1.1.3  ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์  1  คน

1.1.4  ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ  1  คน

1.2  กลุมเป้าหมาย (target Group) ได้แก่ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า  จำนวน 3 คน ดังนี้

1.2.1  ผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์  1  คน

1.2.2  ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์  1  คน

1.2.3  ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ  1  คน

1.3  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้เชี่ยวชายจำนวน 2 คน

1.3.1  รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภุ  เขต 1  ผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบ  Cippa Model

1.3.2  ศึกษานิเทศ  ทำหน้าที่ประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบ Cippa Model

2. กรอบแนวคิดในการศึกษาคนควา

2.1  กลยุทธ์หรือวิธีการที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนา  ได้แก่

2.1.1  การอบรมแบบมีส่วนร่วม  ซึ่งกรอบดำเนินการที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้  ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ.    2544  :  25)

2.1.1.1  การสร้างความคิดรวบยอด

2.1.1.2  การจัดประสบการณ์

2.1.1.3  การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

2.1.1.4  การประยุกต์กิจกรรม

2.1.2  การนิเทศแบบคลินิกตามกรอบการนิเทศแบบคลินิกที่ ชารี  มณีศรี (2538  :  122)

ได้สรุปไว้  ดังนี้

2.1.2.1  การปรึกษาหารือ

2.1.2.2  การสังเกตการณ์สอน

2.1.2.3  การวิเคราะห์พฤติกรรมการสอน

2.1.2.4  การปรับปรุงการสอน

2.2  กรอบงานที่ปฏิบัติหรือที่เกี่ยวข้อง  คือ  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบ Cippa Model  ซึ่งมีรูปแบบ  ดังนี้

2.2.1  การสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง (Construction)  โดยการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้  ศึกษาวิเคราะห์และสรุปความรู้

2.2.2  การปฏิสัมพันธ์ต่อกัน  (Interaction)  โดยการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีการแลกเปลี่ยนความรู้  ข้อมูล  ประสบการณ์   และความคิด

2.2.3  การมีส่วนร่วม (Participation)  โดยการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งทางกาย  อารมณ์  สังคม  สติปัญญาในการเรียนรู้

2.2.4  การเรียนรู้กระบวนการและมีเหตุผล (Process and Product)  โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนรู้ควบคู่กับการมีผลงานอันเป็นผลที่เกิดจากการเรียนรู้กระบวนการ

2.2.5  การนำความรู้ไปใช้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง  (Application)  โดยการออกแบบกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่หลากหลายท้าทายความสามารถ

 3.  วิธีการศึกษาคนควา

การศึกษาคนควาครั้งนี้ใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยผูศึกษาคนควาได

นําเอาหลักการและขั้นตอนตามแนวคิดของ เคมมิส และแม็คแท็กการด (Kemmis and McTaggart.

1988 : 11-15) ซึ่งประกอบไปด้วย 4  ขั้นตอน  2  วงรอบ  ดังนี้

1. ขั้นการวางแผน (Planning)

2. ขั้นการปฏิบัติการ (Action)

3. ขั้นการสังเกต (Observation)

4. ขั้นการสะทอนผล (Reflection)

4. ระยะเวลาที่ใชในการศึกษาคนควา

ในการศึกษาคนควาครั้งนี้ใชระยะเวลาตั้งแต เดือนพฤษภาคม 2552  ถึง  ตุลาคม  2552

 

6.  นิยามศัพทเฉพาะ

เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ตรงกัน  ผู้ศึกษาค้นคว้าจึงนิยามศัพท์เฉพาะไว้ ดังนี้

1. การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบ Cippa Model  หมายถึง  การดำเนินการเพื่อให้ครุผู้สอน  โรงเรียนบ้านโนนสงวนสิบเก้าโปร่งวิทยา  มีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบ Cippa Model  ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียน  เก่ง  ดี  มีสุข  โดยใช้กลยุทธ์การพัฒนา  2 กลยุทธ์คือ

1.1  การอบรมแบบมีส่วนร่วม  หมายถึง  การจัดกิจกรรมอบรมด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้กับครูผู้สอน  โรงเรียนบ้านโนนสงวนสิบเก้าโปร่งวิทยา    โยมีกระบวนการดำเนินการ  ดังนี้

1.1.1  การสร้างความคิดรวบยอด  หมายถึง  การให้ขข้อมูลหรือถ่ายทอดความรู้  แนวคิดของวิทยากร  ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไปสู่ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า 

1.1.2  การจัดประสบการณ์  หมายถึง  การจัดกิจกรรมให้ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  โดยใช้วิธีศึกษาสถานการณ์จำลองและการสาธิต  ซึ่งมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การอภปราย

1.2  การนิเทศแบบคลินิก  หมายถึง  วิธีการนิเทศที่นำมาใช้เพื่อพัมนาครูครูผู้สอน  โรงเรียนบ้านโนนสงวนสิบเก้าโปร่งวิทยา    ให้มีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู่ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  แบ่งเป็น  4 ขั้นตอน  ดังนี้

1.2.1  การปรึกษาหารือ  หมายถึง  ขั้นตอนที่ครูและผู้นิเทศวางแผนร่วมกันเกี่ยวกับการเตรียมการสอน

1.2.2  การสังเกตการณ์สอน  หมายถึง  การบันทึกพฤติกรรมของครูและนักเรียนในขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้  และบรรยากาศในห้องเรียนโดยผู้นิเทศเป็นผู้สังเกต

1.2.3  การวิเคราะห์พฤติกรรมการสอน  หมายถึง  ขั้นตอนที่ครุและผู้นิเทศร่วมกันแยกแยะพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูและนักเรียน

1.2.4   การปรับปรุงการสอน  หมายถึง  การนำผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการสอนมาเป็นข้อมูลในการเตรียมแผนการสอน

2.  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบ Cippa  Model  หมายถึง  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีรูปแบบและขั้นตอน  ดังนี้

2.1  C  ย่อมาจากคำว่า  Construction  หมายถึง  การสร้างความรู้ตามแนวความคิดการสร้างสรรค์ความรู้

2.2  I  ย่อมาจากคำว่า  Interaction  หมายถึง  การปฏิสัมพันธ์กับบุคลกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว

2.3  P  ย่อมาจากคำว่า Physical articipation  หมายถึง  การมีส่วนร่วมทางกาย  กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผุ้เรียนมีการเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะต่างๆ

2.4  P  ย่อมาจากคำว่า Process Learning  หมายถึง  การเรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

 

7.  เอกสารที่เกี่ยวข้อง (ประเด็นการศึกษา)

การศึกษาคนควาครั้งนี้ เปนการศึกษาการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบ Cippa  Model  ของโรงเรียนบ้านโนนสงวนสิบเก้าโปร่งวิทยา  ผูศึกษาคนควาไดศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้

7.1  การพัฒนาบุคลากร

7.2  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบ Cippa  Model

7.3  กลยุทธในการพัฒนา

7.3.1  การอบรมแบบมีส่วนร่วม

7.3.2  การนิเทศแบบคลินิก

7.4  บริบทของโรงเรียนบ้านโนนสงวนสิบเก้าโปร่งวิทยา 

7.5  การวิจัยปฏิบัติการ

7.6 งานวิจัยที่เกี่ยวของ

7.6.1  งานวิจัยในประเทศ

7.6.2  งานวิจัยตางประเทศ

 8.  เครื่องมือที่ใชในการเก็บรวบรวมขอมูล

1. ประเภทของเครื่องมือ ในการศึกษาคนควาครั้งนี้  แบ่งออกเป็น  4  ประเภท  คือ  แบบสังเกต  แบบสอบถาม  แบบสัมภาษณ์  และบันทึกการประชุม  รายละเอียด  ดังนี้

1.1  แบบสังเกต (Observation)  มีจำนวน  1 ฉบับ  คือ  แบบบันทึกการสังเกตการณ์สอน

1.2  แบบสอบถาม (Questionnaire)  มีจำนวน 4 ฉบับประกอบด้วย

หมายเลขบันทึก: 257047เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2009 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลดีๆ ที่นำมาแลกเปลี่ยนกัน

รออ่านต่อครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท