ตอน 6 "Click" ตอน 5 "Click" ตอน 4 "Click" ตอน 3 "Click" ตอน 2 "Click" ตอน 1 "Click"
ถ้าคิดเทียบง่ายๆ ว่า การประเมินตนเอง (องค์กร) อย่างสม่ำเสมอ ก็คือ AAR (After action review)
อีกทั้ง หากมีเกณฑ์การตัดสินผลประเมิน โดยให้เป็นระดับคะแนน 1 2 3 4 5 ก็จะเปรียบได้กับการทำ “ตารางแห่งอิสรภาพ” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในเครื่องมือของ KM วิธีการก็คือ
ดัชนี |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
1 การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ | มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร | มี (1) + ที่ชัดเจนและสอดคล้องกัน | มี (2) + มีการเผยแพร่ให้บุคลากร และสาธารณชนได้รับทราบ | มี (3) + บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ทราบ | มี (4) + มีระบบหรือกลไกที่เอื้อให้เกิดการปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ |
2 การจัดทำแผนงานที่คลุมภารกิจทุกด้าน | มีแผนดำเนินงาน ที่เป็นลายลักษณ์อักษร และครอบคลุมพันธกิจ | มี (1) + ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าประสงค์ | มี (2) + มีการเผยแพร่แผนดำเนินงานและบุคลากรส่วนใหญ่ทราบ |
มี (3) + มีการดำเนินงานตามแผน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนด |
มี (4) + บุคลากรมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์พันธกิจ เพื่อปรับปรุงแผนดำเนินงาน |
3 การติดตามและประเมินแผนงาน | มีระบบติดตามและประเมินแผนดำเนินงาน ที่เป็นลายลักษณ์อักษร | มี (1) + มีหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบ และปัจจัยในการดำเนินงาน | มี (2) + มีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และจัดทำสรุป / รายงานเป็นระยะๆ | มี (3) + มีการเผยแพร่ผลการประเมินให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องรับทราบ | มี (4) + มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาแผนดำเนินงาน |
………………. …….. | |||||
28 ประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายใน ……. |
ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบ 29 ดัชนี อย่างนี้แหละค่ะที่เรียกว่า “ตารางแห่งอิสรภาพ”
ตารางแห่งอิสระภาพ จะสามารถพัฒนาเป็นเครื่องมือ อีกชิ้นหนึ่งที่มีคุณค่ายิ่งในการจัดการความรู้ คือ ธารปัญญา หรือ River Diagram นั่นเอง โปรดติดตามตอนต่อไป......
ไม่มีความเห็น