จากมะเฮตีไท้ซาน ถึงเหม ณ ป่าตอง


ความสำเร็จจากกรณีหนึ่ง อาจจะไม่ใช่ความสำเร็จในครั้งต่อมาก็ได้

ความสำเร็จจากกรณีหนึ่ง อาจจะไม่ใช่ความสำเร็จในครั้งต่อมาก็ได้ เนื่องมาจากปัจจัยที่แตกต่างกัน หรือมิใช่ก็มาจากการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่พ่ายแพ้ เรียนรู้เพื่อหาช่องโหว่ของผู้ชนะ ว่ามีเหตุปัจจัยอะไรเกิดขึ้น ไฉนจึงเกิดการชนะจากอีกฝ่าย และพ่ายแพ้จากอีกฝ่าย

มะเฮตีไท้ซาน กับเสม ณ ป่าตอง มีความคล้ายกันก็คือพ่อแม่ของทั้งสองเป็นชาวพม่าที่หลบหนีเข้าเมือง ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนประวัติ ท.ร.38/1 จึงไม่มีเอกสารของทางฝั่งไทย แต่ว่า...

 

มะเฮตีไท้ซาน หรือผู้ที่ควรเป็นมเหสีในความหมายที่เป็นภาษาไทย คือผลพวงของชัยชนะคราวที่แล้ว ที่ทางการไทยได้รับแจ้งการเกิดและออกสูติบัตรให้กับเด็กหญิงน้อยผู้นี้ และให้กับคนอื่นในคราวต่อมา

 

แต่นั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของในประเทศไทยเท่านั้น ยังมีอีกหลายจังหวัด หลายอำเภอ และหลายเทศบาลที่จะไม่เป็นเช่นนี้ เช่นเรื่องราวของเสม ณ ป่าตอง

 

เสม เป็นลูกของชาวพม่าแท้ ๆ ณ ป่าตอง ไม่ใช่นามสกุลแต่เป็นสถานที่เกิดเรื่องราวของความไม่ประสบความสำเร็จในการแจ้งการเกิดในครั้งนี้ หนึ่ง-ปฏิเสธ ผมทราบแล้วว่าเพราะเหตุใด และสอง-ปฏิเสธกำลังจะตามมาอีกครั้งหนึ่งในอีก 30 วันข้างหน้า ซึ่งเป็นการปฏิเสธโดยใช้หนังสือเวียน/หนังสือสั่งการจำนวน 2 ฉบับ ที่ผมไม่เคยเห็น และเจ้าหน้าที่ก็ไม่ยินยอมให้ผมดู (เหลือเชื่อเลยปกปิดข้อมูลข่าวสารอันเป็นกฎหมายเสียด้วย)

 

เสมเป็นลูกของชาวพม่า ที่ทั้งพ่อและแม่หลบหนีออกจากเมืองพม่า และหลบหนีเข้าเมืองไทยจึงไม่มีเอกสารหลักฐานเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทยที่จะยืนยันตัวตน และเสมก็ได้ไปเกิดที่โรงพยาบาลป่าตอง โดยทั้งพ่อและแม่ จากนายต๊านเสน และนางเซนมะมะ เป็นชื่อนายสาน และนางนางตามลำดับ

 

ครั้นถามพ่อแม่ของเสมทำไมไม่ใช้ชื่อจริง ๆ เขาก็บอกว่าบอกแล้ว แต่ก็ไม่รู้ว่านางพยาบาลจะใส่ชื่อเขาเป็นนายสาน และเมียเขาเป็นนางนาง

 

เด็กชายเสม. ผมให้อาสาสมัครไปหาถึงแคมป์ และเป็นกรณีศึกษาที่ผมปรารถนาจะกรุยทางให้แก่ลูกของคนต่างด้าวอื่น ๆ ที่เกิดในแผ่นดินไทย แต่แจ้งเกิดคนละเทศบาล เพื่อจะดูว่าในทางปฏิบัตินั้น แต่ละแห่งปฏิบัติแตกต่างกันอย่างไร

 

และด้วยทั้งพ่อแม่ของเสม หลบหนีเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ผมจึงไม่กล้าที่จะให้นั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์ไปแจ้งการเกิดพร้อมกับผม ขืนไปถูกจับขึ้นมาเป็นอันว่า ผมเอวัง สถานีตำรวจอยู่ไม่ไกลเทศบาล ผมหนีไปไหนไม่รอด

 

ผมจึงทำหนังสือมอบอำนาจอีกครั้งดุจเดียวกับกรณีมะเฮตีไท้ซาน ยิ้มกริ่ม ๆ ว่าคงแจ้งเกิดได้ไม่มีปัญหา แต่แล้วก็เป็นไปตามที่เห็นข้างล่าง

 

ผมไม่ว่าอะไร ที่ไม่ว่านั้นเพราะทำอะไรไม่ได้มากกว่านี้แล้ว นึกไม่ออกว่าจะกลับไปมือเปล่าทำไม ในเมื่อจะกลับมาอีกครั้งก็ด้วยเหตุผลเดิม ผมจึงจำต้องรับคำปฏิเสธมาไว้เพื่ออุทธรณ์คำสั่งต่อไป

 

ความจริงนั้นเป็นความอ่อนด้อยทางข้อกฎหมายของผม ที่ไม่อาจแสวงหาหนังสือสั่งการใหม่ ๆ มาศึกษาเกี่ยวกับหนังสือ มอบหมาย หนังสือ มอบอำนาจ ได้ และมีแนวโน้มว่าจะถูกปฏิเสธอีกครั้งด้วยเหตุผลมอบหมาย VS มอบอำนาจ (จากคำกระซิบของเจ้าหน้าที่ภายหลังจากที่ผมยื่นอุทธรณ์คำสั่งนี้)

 

ผมไม่รู้ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ที่แน่ ๆ เจ้าหน้าที่ป่าตองบอกว่า อย่าไปยื่นที่จังหวัดเลย เดี๋ยวเขาก็ส่งหนังสือย้อนกลับมาหาผมผมไม่เชื่อฟังอีกตามเคย ยื่นนายทะเบียนจังหวัดภูเก็ตเป็นที่เรียบร้อย

 

หมายเลขบันทึก: 256607เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2009 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • อ่านไป ก็งง ไปค่ะ
  • น้องค่ะ มีเด็กๆ พม่าหลายคน บอกว่า เค้าได้ยินทีวีให้สัมภาษณ์ว่า ทางการจะเปิดทำบัตรให้กับพม่าที่บัตรขาดไปแล้ว กับที่ไม่มีบัตร ให้   ดิฉันสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่กรมแรงงาน เค้าก็บอกว่า เค้าก็ได้ยิน ได้ฟังเหมือนกัน  แต่คำสั่งยังไม่มา ก็ยังไม่เปิดทำบัตรประเภทนี้
  • น้องมีความคืบหน้า และข้อเท็จจริงบ้างหรือเปล่าค่ะ
  • จริงๆ แล้วที่ภูเก็ต ระนอง หากไม่มีแรงงานพม่า นี่ก็แย่นะคะ เพราะคนไทยเรา ไม่ทำงานบางประเภท (เหนื่อย ใช้ความอดทน)
  • แม้ว่าไม่อนุญาติให้ทำบัตร พม่าก็ทะลักอยู่เต็มเมืองแล้ว  หากจัดระเบียบดีๆ ทำบัตรให้ถูกต้อง น่าจะดูแล ควบคุมได้มากกว่านี้นะคะ
  • ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ต้องการแรงงานพม่ามาทำงาน แต่ต้องมีบัตรถูกต้องเรียบร้อย เพราะไม่อยากมีปัญหากับทางการฯ และตำรวจค่ะ

เรื่องข้างต้น เป็นเรื่องของการให้เด็กไม่ต้องตกเป็นคนไร้รัฐ ผ่านการแจ้งการเกิดและขอสูติบัตร

เพื่อให้รัฐไทยออกหลักฐานการเกิด และชาวพม่านั้นสามารถนำหลักฐานนี้ไปแจ้งการเกิดยังประเทศต้นทาง

เหมือนกับชาวต่างชาติ อาทิ สหรัฐฯ อังกฤษ เยอรมัน ฯ มาคลอดลูกที่ประเทศไทย แล้วทางรัฐไทยออกสูติบัตรให้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการแจ้งเกิดยังประเทศสหรัฐฯ หรือประเทศต้นทางของพ่อแม่

หากเราไม่ทำให้แก่ลูกชาวพม่าที่เกิดในประเทศไทย วันหนึ่งเราส่งเด็กเหล่านี้กลับไป แล้วบอกทางรัฐพม่าว่า เด็กเหล่านี้เป็นพลเมืองของพวกคุณเพราะเกิดจากพ่อแม่ที่เป็นชาวพม่า

แต่ว่าเรามีแต่เด็กไม่มีหลักฐานทางเอกสารว่าเป็นลูกของชาวพม่า เป็นไปได้มากว่ารัฐพม่าจะปฏิเสธในการรับเด็กเหล่านี้ เพราะเด็กเหล่านี้ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎรของรัฐพม่า เนื่องจากไม่มีการแจ้งการเกิดเพราะไม่เคยกลับประเทศพม่า

หากรัฐพม่าอ้างว่าเด็กเหล่านี้คือเด็กกำพร้าของรัฐไทยที่ส่งกลับให้รัฐพม่า เขาไม่รับ เราจะทำอย่างไร ในเมื่อรัฐไทยไร้หลักฐานในการยืนยันว่านี่คือลูกพวกเขา

สูติบัตรถือเป็นหลักฐานมหาชนตามกฎหมายระหว่างประเทศได้นะครับ หากไม่มีสิ่งนี้จะอ้างสิ่งใดว่าคือลูกของชาวพม่า

ซึ่งเรื่องข้างต้นเป็นคนละส่วน กับเรื่อง "แรงงาน" ครับ ข่าวข้างต้นผมก็ไม่ทราบว่าปัจจุบันเป็นอย่างไรเช่นกัน

คุณพระจันทร์กระดาษครับ

อาจารย์แหว๋วย ให้เข้ามาดูบล๊อกนี้หลายรอบแล้ว ไม่ได้เข้าสักที วันนี้จับพลัดจับผลูยังไงไม่รู้อยู่ๆ ก็เข้ามาได้

ผมถือว่าเป็นความสำเร็จของกระบวนการพยายามทำให้เด็กที่พ่อแม่ไม่มีเอกสารใดเลย เข้าถึงการมีหลักการเกิดได้ เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ

ไม่ทราบว่าจะสะดวกหรือไม่หากผมจะขอเอาเรื่องราวเหล่านี้สงต่อให้กลุ่มคนที่ทำงานกับแรงงานข้ามชาติและครอบครัวในหลายๆ พื้นที่ เผื่อมีกรณีใกล้เคียงกัน หรือมีปรากฎการณ์ที่น่าสนใจจะได้นำมาแลกเปลี่ยนกัน

และจะสะดวกหรือไม่ ผมจะขอเอกสารทั้งสองกรณี (เอาเฉพาะที่ให้ได้นะครับ) เพื่อเป็นข้อมูลในการศึีกษาเรื่องนี้ต่อไป

ถ้าสะดวกส่งมาที่ e-mail : [email protected]

ขอบคุณมากครับ

อดิศร เกิดมงคล

เรื่องของเหมคืบหน้าไหมคะชาติชาย

เราจนมุมไม่ได้ค่ะ

มีอีกหลายวิธีที่จะทำงาน และมีอีกหลายมือที่จะมาช่วยกัน

ประการแรก สรุปความคืบหน้าของเหมมาก่อนค่ะ เอาลงในบล็อกนี้ล่ะค่ะ ที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลมากๆ เอาส่งกันทางอีเมลล์

เราต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันนะคะ ยืนมือมา ร่วมมือกัน เดินหน้าซิคะ กลับไปสรุปความคืบหน้าเรื่องบุตรนางเล็กด้วยนะคะ แล้วเด็กคนนี้ชื่ออะไรกันแน่ค่ะ

ครับอ.แหวว วันจันทร์ที่ 18 ผมจะไปภูเก็ต ตามความคืบหน้าของเหม ส่วนบุตรนางเล็ก "ด.ญ.ดาวดิน" คราวที่แล้วไปยังไม่สำเร็จครับ เหลือให้พ่อไปถูกสอบสวน และส่งตัวไปที่ที่ว่าการอำเภอ

แต่ก่อนไปภูเก็ต ผมจะแวะเทศบาลเมืองตะกั่วป่า แจ้งเกิดด.ญ.ตานดาเอ้ ผมไปในฐานะผู้รับมอบอำนาจอีกเช่นเคย แต่เป็นกรณีที่พ่อแม่ มีเลข 00 เลขต่อมาเป็น 8501 ซึ่งเป็นรหัสจ.ระนอง แต่ว่าเด็กเกิดโรงพยาบาลตะกั่วป่า ไม่รู้ว่าจะมีอุปสรรคใดอีก แล้วผมจะมาบอกเล่าให้ฟังครับ

พยายามเก็บเรื่องของเด็กๆ แต่ละคน

เก็บรูป นำลงบันทึกเพื่อที่จะเรียนรู้ร่วมกัน

ไม่ว่าจะแจ้งเกิดสำเร็จหรือไม่ ในแต่ละขั้นตอน มันก็คือ การทดสอบว่า กฎหมายใช้ได้ไหม ถ้าเรารู้สาเหตุของเรื่อง เราก็จะจัดการสาเหตุได้

ถ้าเป็นไปได้ ขอ ๑ เด็ก ๑ บันทึก สั้นๆ แต่เก็บสาเหตุของปัญหาให้ได้นะคะ

คุณชาติชายคะ

 

1.    ในช่วงนี้ เราพยายามระดมคนที่มีความรู้เรื่องจดทะเบียนการเกิดมาคุยกัน การคุยทางบล็อกและอีเมลล์จะทำให้เข้าใจเบื้องต้นได้ค่ะ

2.    ดังนั้น เวลาอีเมลล์ควรจะต้องระวังให้ทุกคนได้รับรู้และเข้าใจ

3.    ขอให้คุณชาติชายช่วยรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเสมลงในโกทูโนนะคะ  ซึ่งก็ทำมาตลอด ทำต่อนะคะ ทำให้คนเข้ามาศึกษากันมาก เรื่องนี้จะไม่ปิดลับ ทำกันตามใจชอบ

4.    ในส่วนของเสม ต้องขอรายละเอียดเกี่ยวกับบิดามารดานะคะ เป็นใครมาจากไหน มีเอกสารของรัฐใดบ้าง

5.      มวลมิตรคงมาสนับสนุนหลายท่านเพิ่มเติมอีกค่ะ ในวันที่ ๖ คงมีการทำความรู้จักกันทั่วถึงอีกทีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท