ชาครธมโม
นาย สมชาย ชาครธมโม ชินวานิชย์เจริญ

เราพูดคุยกันเป็นเรื่องของลูกมากกว่า


เราพูดคุยกันเป็นเรื่องของลูกมากกว่า

20 เมษายน 2552 วันนี้เป็นวันเริ่มต้นการทำงานของข้าราชการหลังจากปิดสงกรานต์มายาวนานร่วม 10 วัน ซึ่งผมต้องเดินทางไปประชุมที่ รร.ริชมอนด์ รัตนาธิเบศร์  02-8318888 ซึ่งทั้งถนน และเบอร์โทรนี้ผมจำไม่ได้ซักทีต้องถาม 1133 ทุกครั้ง ต่อไปนี้จะจำได้แล้วละครับ  ทั้งนี้พอลงเครื่องมาแล้วก็ไปขึ้นแท็กซี่ เงียบครับ เพราะมีสายการบินเดียวคือนกแอร์  กว่าแท็กซี่จะมาซักคันหนึ่งก็ต้องแบ่งปันกันตามควรแก่ฐานะ  พอดีผมเจอเพื่อนแม่ด้วยก็เลยให้ท่านขึ้นก่อน แต่แท็กซี่ไม่รู้จักผมก็เลยได้ขึ้น แท็กซี่ก็ไม่รู้จัก ร.ริชมอนด์เหมือนกัน (เหมือนคราวที่แล้วที่ผมมาประชุมเรื่องหมอจอดดูกเลย)  ผมก็เลยถาม 1133 ว่าโรงแรมอยู่บนถนนอะไร ตอนแรกผมเดาว่าอยู่ถนนติวานนท์  แต่ที่แท้อยู่รัตนาธิเบศร์   เอาละมาเข้าเรื่องที่ตั้งใจจะเล่าจริง ๆดีกว่า คือว่าคู่ที่พักร่วมกันที่ผู้จัดการอบรมจัดให้ผมเนี่ย ปกติผมจะไม่ระบุ เพราะชอบที่จะได้เพื่อนใหม่ ก็ปรากฏว่าได้นอนห้อง 1183 คู่กับพี่กฤษณะ เภสัชกรผู้รับผิดชอบงานการแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลกระบี่  ซึ่งย้ายไปจาก รพ.เสาไห้  ก็ไม่ได้ถามหรอกครับว่าบ้านอยู่ที่กระบี่หรือเปล่า แต่เรื่องราวที่เราพูดคุยกันเป็นเรื่องของลูกมากกว่า  คือว่าพี่เขาพาลูกมาด้วยเพราะลูกมาแข่งเทนนิส  เป็นสนามที่เมืองทองธานี รายการชิงแชมป์ประเทศไทย ซึ่งพี่เขาให้รายละเอียดได้ดีมาก ประมาณว่าใส่ใจ เอาใจใส่เรื่องราวของลูกพอสมควรทีเดียวแหละ (ขอชื่นชมนะครับว่าเป็นพ่อที่ดีกว่าผมมาก)  พอผมได้ยินอย่างนั้นก็หูผึ่งสิครับ เพราะลูกเราก็ตีเทนนิสเหมือนกัน ก็เลยพูดคุยรายละเอียดกันว่าเป็นอย่างไร

                อีกเรื่องที่เราคุยกันและน่าสนใจคือว่าการอบรมครั้งนี้เป็นการอบรมโครงการพัมนาอุตสาหกรรมยาสมุนไพร ก็ได้ทราบจากพี่เขาว่าทำหน้าที่ผลิตยาสมุนไพรส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรเดี่ยว โดยได้ทดลองผิด ทดลองถูกกับขมิ้นชัน ซึ่งรับซื้อจากชุมชนในรูปของวัตถุดิบ หรือหัวขมิ้นชัน แต่ทั้งนี้ก็เคยได้ไปพูดคุยว่าถ้าชุมชนสามารถแปรรูปอย่างหยาบหรือบดมาให้เนี่ยน่าจะดี และให้ราคาดีด้วยแต่ชุมชนต้องทำตามเงื่อนไขหรือมาตรฐานที่กำหนดนะ ก็แน่นอนละครับที่ว่าชุมชนย่อมไม่อยากถูกกะเกณฑ์มากมายก็เลยไม่รับ  ทางโรงพยาบาลเองก็เลยต้องนำมาแปรรูปที่โรงพยาบาลเอง  ซึ่งมีปัญหาเรื่องการฟุ้งกระจายของฝุ่นสมุนไพรจากการบดสมุนไพร  แต่ก็เพื่อให้เกิดการควบคุมคุณภาพสมุนไพรได้นั่นเอง  ซึ่งก่อนที่จะนำมาบดนั้นได้ผ่านการลองผิดลองถูกอีกนั่นแหละครับ  เพราะได้สอบถามไปยังมหาวิทยาลัยว่าทำอย่างให้ผ่านมาตรฐานด้านจุลินทรีย์ คำตอบคือต้องปอกเปลือกออก  ซึ่งเป็นไปได้ยาก เพราะปริมาณของหัวขมิ้นชันมีจำนวนมาก  เลยใช้วิธีลวก (ทราบว่าจะทำให้ลดการ AUTOLYSIS จากน้ำย่อยของหัวขมิ้นชัน) แล้วนำไปตากลม  จากนั้นนำมาหั่น  เปลือกที่ไม่ปอกก็ช่วยไม่ให้น้ำมันระเหยง่ายระเหยไปด้วย  ส่วนเคอร์คิวมินอยด์นั่นไม่สลายตัวที่ความร้อนอยู่แล้ว  ผมเลยขออนุญาตนำ BEST PRACTICE นี้มาลงเพื่อกระจายความรู้กันไปนะครับ ถ้าใครสนใจก็สอบถามกันไปเองนะครับ เพราะผมไม่ได้ขอเบอร์ท่านไว้

หมายเลขบันทึก: 256516เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2009 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท