009 : ทิศทาง Backward Design ตามสไตล์ครูบ้านนอก...หลงทางหรือเปล่าขอคำชี้แนะ


การออกแบบการสอนแบบย้อนกลับที่ต้องปฏิบัติ เป็นสิ่งใหม่ที่ครูต้องออกแบบการเรียนรู้เพื่อเด็กและอยากให้การเรียนรู้แต่ละครั้งมีคุณค่าเพื่อพัฒนาเด็กไทยให้เกิดการเรียนรู้อย่างรอบด้านทั้งKAP

...เช้าวันนี้เพื่อนครูโทรศัพท์มาแต่เช้า...บ่นเสียงอิดออดว่าแผนการจ้ดการเรียนรู้เสร็จหรือยัง...เราก็ตอบไปว่า...ยัง...ด้วยน้ำเสียงชัดแจ๋ววววว.... เพื่อนที่โรงเรียนบางคนยังบอกว่าไม่เข้าใจเลย ทำไงดี....ก็เลยคิดว่า สิ่งที่เราทำอยู่ตามสไตล์ของเราเนี่ยมันพอใช้ได้มั๊ย...และอยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้กอร์ปกับคำชี้แนะจากผู้รู้ทุกท่านด้วยนะคะ

     ก็เลยหาทางคิด...คิด....คิด...ว่าจะช่วยเพื่อนให้เข้าใจ  Backward Design ได้ง่ายๆอย่างไร  นึกถึงที่เข้าไปอบรม พัฒนาต่อยอดกระบวนการเรียนรู้กับ สมศ. ครั้งโน้น  นานแล้ว  ขออนุญาตนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมและจากการศึกษามาด้วยตนเองมาสรุปเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันดังนี้ค่ะ การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ เป็นเรื่องที่ครูต้องคิดแล้วทำว่า  ทำอย่างไรให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน  มีชิ้นงานอะไรเพื่อยืนยันหรือแสดงว่าเด็กเกิดการเรียนรู้และรู้ได้อย่างไรว่าชิ้นงานมีคุณภาพ เราจึงออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

     เมื่อก่อนก็กลัวกับคำว่าออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ หรือ  Backward Design  ฟังดูเหมือนยากมากๆเลยนะ  แต่เราก็ไม่ท้อแท้ สิ่งใดที่เราไม่รู้เรามักจะปรึกษาผู้รู้ เช่นท่านศึกษานิเทศก์  เพื่อนครูที่เชี่ยวชาญด้านการสอน  เพราะทุกอย่างไม่ยากเกินสำหรับเราหากเราให้ความสนใจและพยายามจะเข้าใจในสิ่งที่ไม่รู้  เพราะจุดใหญ่ๆคือ ทำอย่างไรให้เด็กตาดำๆที่อยู่ในความดูแลของเราเกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นหัวใจสำหรับผู้ที่จะนำไปปฏิบัติ  หลายๆคนคงจะเข้ารับการอบรม หลายครั้งหลายครา เมื่อกลับมาก็ได้แต่จับปากกาจดๆจ้องๆ ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร  เรามาหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายๆสำหรับความรู้ที่จะแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ตามสไตล์ครูบ้านนอกผู้ด้อยความรู้ความสามารถเพราะต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และคิดอยู่เสมอว่า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างรอยยิ้มได้เสมอ แนวปฏิบัติของเราที่ทำได้จริงๆ ก็คือ  (1) ครูต้องคิดชิ้นงานหรือภาระงานของเด็ก ว่าในหน่วยที่จะสอน มีชิ้นงานอะไรบ้างก็จดๆไว้      (2)  เลือกดูความเหมาะสมและความเป็นไปได้ที่จะใช้สอนคำนึงถึงเวลาในหน่วยนั้นๆว่า น่าจะมีสักกี่ชิ้นงานดีนะ   แล้วเราต้องทำได้ด้วย  (3)  เสร็จแล้วเพื่อความมั่นใจว่าชิ้นงานของเด็กจะมีคุณภาพหรือไม่ ต้องออกแบบเครื่องมือในการวัดผลประเมินผลคุณภาพของชิ้นงาน ตรงนี้ยากหน่อยค่ะ เพราะต้องนึกคุณภาพของชิ้นงานตามลำดับ    (4) เมื่อวางแผนได้แล้ว ก็คิดกิจกรรมการเรียนการสอนว่า จะจัดกิจกรรมอย่างไรดีให้เด็กมีชิ้นงานที่ได้ออกแบบไว้ตั้งแต่แรกโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

          ....จากนั้นก็ลงมือเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่อบรมมา  แต่ตัวบิ๊คบุ๊คเองจะเพิ่มเติมนิดหน่อยตรงกิจกรรมต่อเนื่อง  เพราะเวลาของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่เรากำหนดไว้ในแต่ละหน่วยมักจะไม่พอ ต้องใช้เวลานอกเวลาเรียน เช่น ชั่วโมงซ่อมเสริม  หลังเลิกเรียนบ้างเป็นต้น  อยากให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณค่า เกิดการพัฒนาอย่างรอบด้านทั้ง KAP อยากเห็นเด็กๆมีชิ้นงานหรือผลงานของตัวเองอย่าหลากหลาย และบรรลุตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ตั้งไว้จริงๆ ขออวยพรให้คุณครูมีพลังในการพัฒนาเด็กไทย ให้ก้าวไกล ตามแบบที่สังคมต้องการ..ยิ้มไว้นะคะ..และหวังว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้คงสร้างรอยยิ้มให้กับคุณครูหลายๆท่านได้บ้าง....และยินดีที่จะรับฟังข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน...

    

หมายเลขบันทึก: 256039เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2009 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • เคยเป็นวิทยากร แบบย้อนกลับ นี้บ้าง....
  • ก็ยกตัวอย่าง ให้ที่ประชุมว่า...
  • ในแผนแบบเก่า ๆ จะมีเกี่ยวกับ...
  • จุดประสงค์ปลายทาง , จุดประสงค์นำทาง , จุดประสงค์ต้นทาง
  • ลองเอาจุดประสงค์ของแต่ละหน่วยเรียนนั้น...
  • มา..ย้อนกลับ.....
  • โดยอาศัย เครื่องมือเก่า ๆ นั่นแหละ เช่น ข้อสอบ Pre-test , Post-test , ใบงาน ฯลฯ ...
  • มาปัดฝุ่น เขียนแบบ ย้อนกลับ ดู ก็จะเสร็จเร็วขึ้น ทันเวลาขึ้น...
  • เพราะแบบย้อนกลับนั้น ไม่ใช่แผน แต่เป็นแค่ การออกแบบ
  • อย่าไปคิดว่าต้องทำแผนใหม่ จะเครียด....
  • แล้วพอใช้สอน ก็ค่อย ๆ ดัดแปลง(Modify)...แบบวิจัยในชั้นเรียนก็ได้....
  • ก็จะพัฒนาแผนฯของตนเอง จนทำเป็นผลงานทางวิชาการเสนอขอกำหนดตำแหน่งได้เองเลยเชียวนะครับ........

ชยพร แอคะรัจน์

หากใจร้อน อ่านได้ที่ แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ Backward Design

หากใจเย็น รอก่อน กำลังเขียนค่ะ คนสวย

  • ผมเพิ่งเสนอแนะเรื่อง Backward design ในบล็อกท่านอาจารย์ตอน 9:12 น.
  • กลับมาเห็น คอมเม้นท์ ในบล็อกตนเอง จากท่านอาจารย์ตอน 9:06 น.
  • แสดงว่า ในระหว่างที่ผมคอมเม้นท์บล็อกท่านอาจารย์ ท่านอาจารย์ก็กำลังคอมเม้นท์บล็อกผม.....
  • 2-way communication.... 2-way location
  • ขอบคุณมากครับ ที่แวะมาเยือน....

ชยพร แอคะรัจน์

สวัสดีค่ะ ครูอ้อยคนสวยที่สุด

ขอบคุณสำหรับกัลยาณมิตรค่ะ

ครูอ้อยน่ารักเสมอสำหรับมิตรใหม่

สวัสดีค่ะ อ.ชยพร

ขอบพระคุณอาจารย์มากเลยนะคะสำหรับคำชี้แนะ

จะพยายามพัฒนาตนเอง

เพื่อสร้างสรรค์การศึกษาไทยค่ะ

มาชม

เข้ามาอ่าน

ทักทาย แบบสบาย ๆ

คุณบิ๊กบุ้คครับ

     backward design เป็นการวางแผนการสอนในเชิง "รูปธรรม"ครับ ว่าต้องการให้ "ผล"  ออกมาอย่างไร  โดยจะต้อง  จะจัดกิจกรรมให้ผลออกมาตามที่คาดการณ์ไว้

     ข้อดี คือ  เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีเป้าหมายแน่นอนชัดเจนเป็นรูปธรรม   ทั้งเด็กและครู  มองภาพเดียวกัน ว่าจะให้ออกมาอย่างไร  โดยไม่หลงทาง หรือ ออกนอกประเด็น

    ข้อสำคัญ คือ  ผลที่ต้องการ หรือ งานเด็กที่ต้องการที่กำหนดไว้  มีความเหมาะสมสอดคล้องกับความรู้ความสามารถของผู้เรียนหรือไม่ และ  กิจกรรม  สอดคล้องกับ ผล ที่กำหนดไว้หรือไม่

   หัวใจอยู่ที่ต้อง design ออกมา ให้สอดคล้องกับผู้เรียนเป็นสำคัญ

   ที่คุณบิ๊กบุ้คเขียนมาก็โอเคครับ  

   

    

สวัสดีค่ะท่านรองฯnatadee

ต้องกราบขอบพระคุณในความอนุเคราะห์ค่ะ

ตอนนี้มีท่านรองฯที่บิ๊คบุ๊ครู้จักย้ายไปอยู่กับท่านด้วย

ถ้าไม่ติดธุระวันหน้าคงได้มาเที่ยวที่ตราดค่ะท่าน

สวัสดีค่ะอาจารย์อุทัย

ขอบคุณค่ะที่แวะเข้ามาทักทายกัน

ยินดีที่รู้จักค่ะ

อาจารย์ครับ

อาจารย์เขียนเล่าตามหลักการ ถูกต้องครับ ช่วยบอกครูด้วยว่าอย่าวิตกกังวล อย่าทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก ทุกอย่างของ B คุณครูเคยปฏิบัติมาแล้วอย่างโชกโชน เพียงแต่ในประสบการณ์เดิมของเรา มันเริ่มต้นไม่เหมือนกันเท่านั้นเอง อาจมีข้อสังเกต สำหรับอาจารย์บางท่านที่คิด คำนึงถึงแต่ชิ้นงานที่เป็นรูปธรรมเพียงอย่างเดียว จึงลืมภาระงานที่เป็นนามธรรม เช่นในเรื่องของคุณลักษณะที่ต้องการเน้น คุณธรรมจริยธรรม ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและกิจกรรม ก็ต้องกำหนดให้สอดคล้องตามเป้าหมาย จงบอกครูว่า อย่ามุ่งผล เพียงแต่..วัตถุธรรมเพียงอย่างเดียว ไม่เช่นนั้นแผนการสอนของเราจะไม่สมบูรณ์และสอดคล้องตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ ......

เข้ามาสนทนาด้วยนะครับ อย่าลืมว่า... B เป็นวิธีการออกแบบการเรียนรู้วิธีหนึ่งเท่านั้น คุณครูที่เก่งๆ อาจมีอีกหลายวิธีที่ดีๆ ก็อย่าทิ้งเสียละ

อาจารย์เก

สวัสดีค่ะอาจารย์เก

ขอบพระคุณค่ะที่ให้คำแนะนำหากมีอะไรเพิ่มเติมก็กระซิบบอกกันบ้างนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท