Learning by Doing ของ อาจารย์ มมส


ข้อสังเกตครับ
ทุกสิ่งทุกอย่าง สามารถที่จะฝึกฝนเรียนรู้ สู่ความชำนาญ และการคิดเป็นได้เสมอ

แม้แต่เรื่องวิทยานิพนธ์ และการศึกษาอิสระ .. Thesis และ IS ของนิสิต มมส. ซึ่งอาจารย์หลายท่านไม่มีเวลาที่จะตรวจสอบ และอ่านอย่างละเอียดให้นิสิตมากนัก และบอกว่า ถึงอย่างไรทางบัณฑิตวิทยาลัยของ มมส. ก็ต้องตรวจสอบให้อยู่แล้ว บางท่านจึงไม่ใส่ใจตรวจสอบให้มากนัก

ปีที่แล้ว ในระหว่างการเรียนวิชาระเบียบวิธีวิจัย อาจารย์ผู้สอนในคณะ ได้หยิบเอา proposal ของอาจารย์ในคณะนั่นแหละ เอามาให้นิสิตดู และให้พิจารณาตามเนื้อหาที่พึ่งบรรยายไปว่า งานวิจัยของอาจารย์ที่เขียนมานั้น มีข้อบกพร่องอย่างไรบ้าง ใช้ได้หรือยัง ขาดประเด็นใด??

ซึ่งก็พบข้อบกพร่ิองหลายจุด
ก็ขนาดอาจารย์ที่จบปริญญาโทเอง เขียน proposal ยังมีจุดบกพร่องหลายจุด อาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ไม่ค่อยช่วยดูงานวิจัยของนิสิต....

หรืออาจเป็นเพราะสาเหตุอื่นๆ...

เมื่อเจอท่านผู้รู้ ที่ตรวจสอบงานวิจัยของนิสิต จะพบว่า สถิติ บทคัดย่อ เนื้อหา สำนวนการเขียนใน thesis มีข้อผิดพลาดอย่างมาก จนต้องแก้ไขทั้งเล่ม

ดูจากอาจารย์บางท่านแล้ว มาจนถึงนิสิต รู้สึกเสียดายโอกาสในการฝึกฝนความชำนาญในจุดนี้ ซึ่งอาจารย์บางท่าน สามารถศึกษาเรียนรู้ไปกับนิสิตพร้อมกันได้

แต่อาจเป็นเพราะนิสิตมีเวลาในการมาพบอาจารย์น้อย มีเวลาว่างไม่ตรงกัน หรือไม่ค่อยได้มาพบอาจารย์ที่ปรึกษามากนัก เพราะต่างฝ่ายต่างมีภาระงานประจำ ทำให้เกิดข้อบกพร่องเหล่านี้ขึ้น

แต่ใน มมส.ก็มีอาจารย์อีกหลายท่าน ที่ดูแลนิสิตเป็นอย่างดี ให้คำแนะนำปรึกษา ช่วยตรวจสอบเนื้่อหา thesis ทั้งเล่ม หลังจากสอบปากเปล่าแล้ว มีการแก้ไขน้อยมาก ไม่ว่าจะเกิดปัญหาในการวิจัยประเด็นใด ท่านสามารถให้คำแนะนำ และหาทางออกในการแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างลงตัว

สำหรับอาจารย์บางท่าน เมื่อมีเวลาน้อยในการที่จะช่วยดูแลนิสิต เพราะมีชั่วโมงสอนมาก ก็ระบุว่า จะให้คำแนะนำแก้ไขไปอย่างไร แต่ทางบัณฑิตวิทยาลัยก็ให้แก้ไขใหม่อยู่ดี

ประเด็นปัญหาวิจัยมีหลายรูปแบบ สามารถใช้สถิติได้หลายตัว ต้องวิเคราะห์ ดูความเหมาะสมในการใช้ด้วย

แต่ที่อาจารย์บางท่านช่วยดูแลให้คำแนะนำแก่นิสิตไปแล้ว ทางบัณฑิตวิทยาลัยยังให้แก้ไขในหลายประเด็น อาจเป็นเพราะอาจารย์ผู้ดูแล ได้รับการฝึกฝน ประสบการณ์ทางวิชาการยังไม่มากนัก ก็ย่อมเกิดความผิดพลาดได้ในบางประเด็น

หากได้ฝึกฝนความชำนาญจากการติดตามดูแลนิสิต เช่นเดียวกับการอ่านงานวิจัยใหม่ๆ เพิ่มพูนไปเรื่อยๆ คิดไป ทำไป จะมองเห็นคำตอบไปเรื่อยๆ ได้ประสบการร์เยอะขึ้น

แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน มีอาจารย์ลาไปศึกษาต่อปริญญาเอกหลายท่าน และอาจารย์ยังมีไม่พอ
เหน็ดเหนื่อยกับการสอนทั้งวัน

แต่ในอนาคต คงจะมีการ learning by doing กันมากขึ้น เมื่อหลายอย่างเริ่มเข้าที่เข้าทางครับ
คำสำคัญ (Tags): #msu#learning
หมายเลขบันทึก: 25536เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2006 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ถึงเหน็ดเหนื่อย แค่ไหน

 หากจะรับเป็น อาจารย์ที่ปรึกษา IS

  คง "ต้องอ่านอย่างละเอียด เพราะ จะได้เรียนรู้ อีกมากมาย" ครับ

เป็นเรื่องธรรมชาติ ครับ  อาจารย์ และ นิสิต ต่างก็เป็น สิ่งมีชีวิต ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ย่อมมีความแตกต่างกัน เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว  ปัจจุบันเราเน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  มากกว่าการพึ่งพาอาจารย์เหมือนในยุคเก่า ๆ อยู่แล้ว  โดยเฉพาะการศึกษาขั้นปริญญาโทและเอก นะครับ   สำหรับที่ มมส. เรื่องเกี่ยวกับ Thesis สามารถเรียนรู้ได้จาก เว็บของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ จากบทความของ ท่าน ผศ. ดร. ยรรยงค์ อินทร์ม่วง คงจะช่วยได้นะครับ

ผมคิดว่า การนำข้อเสนองานวิจัยของอาจารย์แต่ละท่านมา อภิปรายข้อบกพร่อง กันในห้องเรียน โดยอาจารย์ท่านอื่นและนิสิต  ถือว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและเปราะบางมากครับ   

การเขียน proposal เพื่อให้ได้ทุนนั้น ประสบการณ์มีส่วนสำคัญมาก ตัวอย่างเช่น แสดงให้เห็นถึงประเด็นสำคัญ นัยสำคัญของโครงการ เป็นต้น

ส่วนการแก้ไขจากทางบัณฑิตวิทยาลัย ผมว่า ส่วนใหญ่คงเป็นเรื่องของ format รูปเล่ม มากกว่าแก้ไขที่ตัวเนื้อหาของงานวิจัยนะครับ

แต่โดยส่วนตัว ผมชอบครับที่มีการเรียนรู้แบบ learning by sharing

ผมเพิ่งอ่านบันทึก "มุมแห่งความประทับใจต่อ รศ.ดร.ไพฑูรย์ สุขศรีงาม"

ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีเยี่ยม ที่ทุ่มเทและเอาใจใส่ต่องานวิทยานิพนธ์ของว่าที่ มหาบัณฑิต ของ มมส  ถือเป็นโชคดีของนิสิต มมส จริงๆ ครับ

นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์บอน...อาษา                             
  • บทความของอาจารย์น่าอ่าน มีการทำย่อหน้าไม่ให้ยาวเกิน (2-3 บรรทัด/หน้า) เหมาะสำหรับบล็อก หรือการอ่านบนอินเตอร์เน็ต
  • เรียนเสนอให้อาจารย์นำรูปประกอบมาลงบล็อกบ้าง คิดว่า น่าจะทำให้บล็อกดูน่าสนใจมากขึ้น                      
  • เร็วๆ นี้...ผมค้นใน Google หา "กัมพูชาศึกษา" พบว่า มมส.(ม.มหาสารคาม ถ้าเดาไม่ผิด)มีศูนย์อีสานศึกษา-เอเชียศึกษา เปิดอ่านแล้ว น่าชื่นชมมากครับ

ถ้าลูกศิษย์ผมอยากทำหัวเรื่องแปลก ๆ ที่ผมไม่ถนัดผมก็บื้อเหมือนกันแหละ แต่ก็จะพยายาม

สู้ตายกั๊บ !

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท