รัฐบาลอินเดียสั่งลุยเมดิคัลทัวร์(รักษาพยาบาลคนไข้ต่างชาติ)


...

ภาพที่ 1: แผนที่ประเทศที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมเมดิคัลทัวร์ (medical tourism) กลุ่มประเทศใกล้ๆ กับไทย คือ อินเดีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ > [ CBC news ]

...

ภาพที่ 2: ภาพประกอบเรื่องเมดิคัลทัวร์จากบล็อก [ FusionsWordpress ] (ต้นฉบับน่าจะเป็นของ nytimes) 

...

ภาพที่ 3: บรรยากาศด้านในโรงพยาบาลอพอลโล การออกแบบให้ดู "กรีน (green = สีเขียว หมายถึงอนุรักษ์ธรรมชาติและประหยัดพลังงาน" มีความสำคัญมากขึ้น ดังภาพนี้มีการใช้แสงธรรมชาติผ่านโดมทางด้านบน > [ healthbase ]

...

กระทรวงการท่องเที่ยวอินเดียลุยเมดิคัลทัวร์ (ทัวร์เดินทางไปรักษาพยาบาลนอกประเทศ) เป็นส่วนหนึ่งของ 'Visit India Campaign (รณรงค์การท่องเที่ยวอินเดีย)'

ทางการอินเดียขอความร่วมมือสายการบิน บริษัททัวร์ และโรงแรมให้ลดราคาให้คนไข้เลือกว่า จะมาพร้อมแฟน (ต้นฉบับใช้คำว่า 'spouse' = คู่ครอง) ฟรี หรือจะเที่ยวต่ออีกคืนก็ได้

...

ปี 2545 มีคนไข้ต่างชาติเข้าไปรักษาในอินเดียมากกว่า 150,000 ราย หลังจากนั้นยอดคนไข้ก็เพิ่มเฉลี่ยปีละ 25% ขึ้นไป

อินเดียมีโรงพยาบาลชั้นนำที่มีหมอและพยาบาลเก่งแบบสุดๆ โดยเฉพาะทีมงานที่ไปเรียนต่อจากโลกตะวันตก (ทวีปอเมริกาหรือยุโรป) เครื่องไม้เครื่องมือ-เทคโนโลยีชั้นนำ และค่ารักษาพยาบาลที่ต่ำแบบสุดๆ

...

ตัวอย่างเช่น ประมาณการณ์ค่าผ่าตัดทางเบี่ยง (bypass / บายพาสส์) หลอดเลือดหัวใจ  > ไทย (280,900 บาท), สิงคโปร์ (371,000 บาท), สหรัฐอเมริกาหรือ US (848,000 บาท), สหราชอาณาจักรหรือ UK (699,600 บาท), อินเดีย (212,000 บาท) / [ คิดที่ 53 บาท/ปอนด์ ]

อาจารย์ประจันต์ กุมาร์ เนค ผู้จัดการงานบริการคนไข้นานาชาติโรงพยาบาลอพอลโล อินเดียกล่าวว่า ค่าผ่าตัดที่ US & UK แพงมากๆ เลย...

... 

รักษาที่อินเดียดีกว่า เพราะถูกกว่ากัน 8-10 เท่า (ราคาคุยนิดหน่อย ดูได้จากตัวอย่างราคาค่าผ่าตัดต่างกันสูงสุด 4 เท่า)

เมดิคัลทัวร์ของอินเดียจะทำให้ทุกฝ่าย "ได้-กับ-ได้ (win-win situation)" ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล คนไข้ รัฐบาล และทำให้เศรษฐกิจของบ้านเมืองดีขึ้นด้วย

...

สำนักข่าว CBC รายงานว่า เครือข่ายอพอลโลในอินเดียมีโรงพยาบาล 27 แห่ง รวมจำนวนเตียง 7,000 เตียงในปี 2547 ออกไปร่วมลงทุนนอกประเทศในคูเวต ศรีลังกา และไนจีเรีย

โรงพยาบาลเอกชนในอินเดียตอบโต้เสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า รักษาแต่คนรวย โดยการจัดตั้งมูลนิธิการกุศล มีเตียงราคาถูกหน่อยสำหรับคนไข้ที่มีค่ารักษาไม่มากพอ แถมยังจัดทำระบบรักษาทางไกล (telemedicine) สำหรับช่วยคนยากจนอีกต่างหาก

...

จุดเด่นของเมดิคัลทัวร์อินเดียมีหลายอย่าง เช่น เมดิคัลทัวร์สปา (ตรวจสุขภาพแถมคอร์สโยคะ) บริการพิเศษสำหรับคนอินเดียในต่างประเทศ ฯลฯ

อาจารย์ ดร.แย็พ ผู้อำนวยการสาขาบริการข้อมูลข่าวสารทางการแพทย์สิงคโปร์ บอร์ดการท่องเที่ยวสิงคโปร์กล่าวว่า

...

คนไข้ต่างประเทศเดินทางไปรักษาพยาบาลในสิงคโปร์มากกว่า 400,000 คนในปี 2549 ส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ส่วนน้อยมาจากตะวันออกกลาง สหรัฐฯ และยุโรป

นอกจากสิงคโปร์จะมีความก้าวหน้าแบบสุดๆ ทางการแพทย์ชั้นนำแล้ว ยังมีความเชี่ยวชาญและความพร้อมมากเป็นพิเศษทางด้านการรักษามะเร็ง เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวเด็ก การปลูกถ่ายไขกระดูก ฯลฯ

...

[ สิงคโปร์มีโปรแกรมรับบริจาคสเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือเด็กแรกคลอด โดยให้ค่าตอบแทนคนที่บริจาคประมาณ 6 แสนบาทเศษ ซึ่งอาจเป็นการกระตุ้นให้คนสิงคโปร์มีลูกมากๆ ไปในตัว ]

ข้อได้เปรียบที่สิงคโปร์มีคือ โครงสร้างพื้นฐาน (infrastructures) ชั้นนำตั้งแต่สนามบิน ถนนหนทาง โรงแรม ความสะอาด อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง การออกวีซ่าที่สะดวกรวดเร็วกว่าทุกประเทศในแถบนี้

...

สิงคโปร์มีระบบบริการล่ามมืออาชีพ และคนสิงคโปร์เองก็พูดได้อย่างน้อย 2-3 ภาษาขึ้นไปแทบทุกคน (ขั้นต่ำคือ จีนกลาง อังกฤษ +/- มาเลย์ อินเดีย)

อาจารย์เย็พกล่าวว่า ถ้าเทียบค่าผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า (knee replacement) กันแล้ว... สหรัฐฯ $40,000; สิงคโปร์ $9,000; อินเดีย $6,000

...

สิงคโปร์ตั้งเป้าจะขยายยอดคนไข้ต่างชาติเป็น 1 ล้านคนขึ้นไปภายในปี 2555

แหล่งข่าวกล่าวว่า พี่ไทยก็มีดีเหมือนกัน คือ หมอฟันไทยฝีมือดีมากๆ นุ่มนวล... แถมยังพาคนไข้ไปดูช้างหรือพาเที่ยวหลังรักษาแบบเอาใจกันสุดๆ

...

จุดอ่อนของไทยอยู่ที่การออกวีซ่าไม่สะดวก รถติด บริการรถไฟฟ้าหรือรถใต้ดินยังไม่ดีพอ และมีประท้วงกันบ่อยเหลือเกิน

จุดแข็งของอินเดียอีกอย่างหนึ่งคือ นอกจากจะผลิตลูกเก่งแล้ว ยังผลิตวิศวกร นักคอมพิวเตอร์ หมอ และพยาบาลเก่ง คือ ผลิตได้ปีละอย่างต่ำ 2-3 หมื่นคนขึ้นไป ทำให้มีเครือข่ายหมออินเดียที่พร้อมจะเชียร์คนไข้ให้ไปรักษากับหมออินเดียที่บ้านเพียบเลย

...

ไม่ว่าโลกนี้จะเป็นอย่างไร... ขอให้พวกเราเอาใจช่วยเมืองไทย เชียร์คนไทยให้ประสบความสำเร็จในการแข่งขันนานาชาติให้ได้ต่อไป

...

 

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

...

ที่มา >                                                

หมายเลขบันทึก: 255027เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2009 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท