การจัดการความรู้กับการวิจัยในชั้นเรียน


จากเรื่องเล่าแห่งความสำเร็จไปสู่การทำวิจัยในชั้นเรียน ดังนั้นการจัดการความรู้กับการวิจัยในชั้นเรียนจึงเป็นเรื่องเดียวกัน

          ในขณะที่ครูกำลังดำเนินการจัดการเรียนการสอน  ครูก็สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนไปด้วย เมื่อพบปัญหาการเรียนการสอน ครูก็แก้ปัญหาไปพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นรายบุคคล รายกลุ่ม หรือทั้งห้อง นั่นแสดงว่า ครูผู้สอนได้ทำวิจัยกันอยู่ตลอดเวลา เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน เพียงแต่ไม่ได้ใช้วิธีการตามกระบวนการวิจัยเข้าเสริม

           การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนในวิชาที่ครูรับผิดชอบ โดยใช้นวัตกรรมที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น หรือนำของผู้อื่นมาปรับใช้

          โรงเรียนเทศบาล 1  อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา  ได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร พัฒนาครูโรงเรียนเทศบาล 1 ให้มีการนำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาใช้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอน  เราจึงร่วมมือกันพัฒนาครูโดยเริ่มตั้งแต่ การจัดอบรมเรื่องการจัดการความรู้ให้กับครูและครูได้ถอดประสบการณ์ออกมาเป็นเรื่องเล่าแห่งความสำเร็จ (Story telling) ซึ่งบ่งบอกถึงความสำเร็จ ความพยายามของครูในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอน  ครูได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันในเวทีชุมชนนักปฏิบัติจากการสัมมนาการจัดการความรู้ในครั้งนั้น

          จึงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับครูในการอบรมเรื่องการวิจัยในชั้นเรียนในครั้งนี้  ครูณัฐพยายามนำเรื่อง 2 เรื่องมาโยงเข้าหากันให้ครูมีความเข้าใจว่า "การจัดการความรู้กับการวิจัยในชั้นเรียนเป็นเรื่องเดียวกัน"

           เรื่องเล่าแห่งความสำเร็จ จะประกอบด้วย  เนื้อหา  3 ส่วน  คือ  สภาพปัญหาและความต้องการในการแก้ปัญหา  วิธีการดำเนินงาน  ผลที่ได้รับหรือผลสำเร็จที่เกิดขึ้น   เรื่องเล่าแห่งความสำเร็จเป็นการเขียนรายงานการวิจัยรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ  เป็นการวิจัยอย่างง่าย  การวิจัยใบเดียว  จากนั้นครูณัฐใช้วิธีการนำรูปแบบการวิจัยที่เป็นทางการมาเชื่อมโยงกับเรื่องเล่าให้เป็นเรื่องเดียวกัน  เขียนในรูปแบบของการวิจัย  ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ  ประเภทของการวิจัยในชั้นเรียน  การเขียนหัวข้อการทำวิจัยในชั้นเรียน  ขั้นตอนการทำวิจัย  เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล   สถิติสำหรับการการวิจัย (เริ่มจากง่าย คือ ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน)  การเขียนรายงานการวิจัย  การสร้างข้อสรุปเกี่ยวกับผลการวิจัยหรือการสังเคราะห์งานวิจัย  ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับครู  สำหรับผู้บริหารในการมองภาพรวมของปัญหาและแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนของสถานศึกษาของตนเองในอนาคต 

           ผลของการอบรมเป็นที่พึงพอใจของครูมาก  (ข้อมูลจากแบบสอบถาม และการทำ AAR)

หมายเลขบันทึก: 252908เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2009 22:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

มาอ่านรับความรู้ค่ะ

จะติดตามอ่านต่อไปนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณมากค่ะที่แวะมาทักทาย

ครูณัฐมีกำลังใจขึ้นเยอะเลย และจะเขียนเล่าประสบการณ์อีกนะคะ

สวัสดีค่ะ ครู

แวะมาให้กำลังใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท