วัยรุ่น...วัย(ไม่)วุ่น


ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (ตอน ครูอรวรรณ เยี่ยมบ้าน)

ขึ้นชื่อว่าครู...ลูกศิษย์จะเป็นอย่างไร  คุณครูก็รักและห่วงใยเสมอ  วันนี้จะขอเม้าท์ถึงลูกศิษย์ที่

น่ารัก (น่าชัง) ซักวัน (หลายๆวัน)  หน่อยนะคะ  เพราะปิดเทอมแล้ว...มีเวลาแล้วค่ะ

เกือบจะทุกวัน  (ในช่วงเปิดเทอม)  ตอนเช้าตรู่หลังเข้าแถวเคารพธงชาติ  ครูอรวรรณ  จะต้อง

ปวดหัวกับลูกๆ  วัยรุ่น...วัย (ไม่) วุ่น  ม.4/3 ค่ะ

4/3  มีสมาชิกทั้งหมด 40  คน  ครูอรวรรณ  ทำหน้าที่คุณแม่เพียงคนเดียว  เพราะคุณครูรัชนี

ป่วยหนักมาก

ที่โรงเรียน  จะมีงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  เป็นงานที่ได้รับนโยบายจากสำนักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ซึ่ง ทุกๆ โรงเรียนก็ดำเนินการอยู่แล้ว  แต่เทคนิควิธีอาจ

คล้ายหรือแตกต่างกันไปบ้างตามบริบทของแต่ละแห่ง

ครูอรวรรณ  เป็นครูสอนภาษาอังกฤษ  ทำหน้าที่เป็นครูแนะแนว  เป็นคณะกรรมการงานระบบ

การดูแลช่วยเหลือนักเรียน  และยังเป็นครูที่ปรึกษา  ม.4/3  ด้วย

ลูกๆห้องนี้  มีระดับผลการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ถึง อ่อน  และอ่อนมาก

พฤติกรรมโดยรวม  ดี  แต่ก็มีปัญหาเป็นรายบุคคล  เกือบจะทุกคน

โชคดีที่เมื่อตอนต้นปี  เดือนมิถุนายน  ครูอรวรรณ  ได้ไปเยี่ยมบ้านนักเรียน  ครบทั้ง  40  คน 

40  ครอบครัว  ด้วยความเหนื่อยยากแต่ก็ภาคภูมิใจ...

ภาคภูมิใจที่เราทำได้สำเร็จ...กับการได้รู้จักเด็กๆ  ที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของเรา

การเยี่ยมบ้าน...เป็นกิจกรรมที่โรงเรียนให้ความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ  โดยเฉพาะคุณครูที่ปรึกษา

เราเคยออกเยี่ยมบ้าน  แบบวันเดียวครบ 100 %  โดยครูหมู่บ้าน  เป็นการเยี่ยมบ้านเชิงรุก 

บุกถึงห้องนอน  แต่เมื่อประเมินผลออกมา...มีผลยังไม่เป็นที่น่าพอใจ...คุณครูที่โรงเรียนมีความ

ประสงค์จะเยี่ยมบ้านนักเรียนในห้องเรียนที่เป็นครูที่ปรึกษา  เพราะจะได้ร้จักนักเรียนเป็นราย

บุคคลได้ดีกว่า...แม้จะต้องลำบากไปทุกหมูบ้าน  ทุกหลังคาเรือน  ครู 1 : นักเรียน  20-25  คน

คุณครูก็พึงพอใจ   และเต็มใจที่จะทำ

ก่อนออกเยี่ยมบ้าน  ครูอรวรรณ  จะให้ลูก ๆ เขียนแผนที่บ้าน  กรอกข้อมูลส่วนตัว รายละเอียดที่

ครูต้องการ เช่น หมายเลขโทรศัพท์  มีหนังสือแจ้งผู้ปกครอง  นัดหมายวันเวลา  แต่ก็มีหลายคน

ที่ไปพบโดยไม่ได้นัดหมาย   วันออกเยี่ยมบ้าน  จะใช้รถกระบะส่วนตัว (ISUZU 4  ประตู) เติม

น้ำมัน (เกินเงินที่โรงเรียนให้อยู่แล้ว)  พร้อมลุย  กับลูกศิษย์อาสา 4 คน  เจ้าละ (เดชา)  เจ้าฤทธิ์

( ณฤทธิ์ สุดหล่อ)  น้องดา (ดารณี)  และ หนูศุ (ศุมาภรณ์)  ทั้ง 4 คน  รู้จักบ้านเพื่อนทุกคนเป็น

อย่างดี  มีการจัดโซนเส้นทางการเยี่ยมบ้านให้ครูอรวรรณ  เสร็จสรรพ  ไม่ได้ใช้แผนที่ให้เสีย

เวลา  ครูอรวรรณ  ใจห้าวหาญมาก  วันนั้น  ตั้งเป้าว่า  จะต้องเยี่ยมบ้านให้ได้ครบทั้ง 40 คน

แต่เอาเข้าจริงๆ  ได้แค่  35  คน  ลูกศิษย์ทั้ง 4 คน  อาการร่อแร่เพราะเมารถ  (ครูขับรถซิ่งมาก)

แฮ่ะๆ  จะไม่ให้เมารถได้ไงล่ะ  ก็ถนนหนทางมันเหมือนดาวอังคารซะอย่างนั้น น่ะ

     การไปเยี่ยมบ้านเชิงรุก  นอกจากจะบุกถึงห้องนอนแล้ว  ครูอรวรรณ  ยังขอไปดูห้องน้ำ 

ห้องครัว  และสวนครัวด้วย  นอกจากนั้น  ยังสนใจและได้สัมผัสกับอาชีพของผู้ปกครอง  หลาย

อาชีพ  อาทิ  อาชีพทำไอศครีม  เลี้ยงจิ้งหรีด  เลี้ยงแมงสดิ้ง  เลี้ยงวัว  หมู  ทอเสื่อกก  ทำไร่ 

ทำนา  ก่อสร้าง  ขายของเร่  และ ฯลฯ

     ได้สัมผัสถึงความห่วงใยของผู้ปกครอง  ความสมบูรณ์  และความขาดแคลนของลูกศิษย์ 

ทราบมั้ยคะว่าวันนั้น  ครูอรวรรณ  ต้องตกใจที่สุด  เมื่อนักเรียนที่อาสาพาครูไปเยี่ยมบ้าน 2 คน

คือคนที่ขาดแคลนที่สุด  เจ้าละ  ต้องซุกตัวนอนอยู่ในบ้านที่แคบ  ผุพัง  ไม่มีพัดลม  ในขณะที่

พ่อ แม่ และน้อง   ออกไปนอนที่กระท่อม  ข้างบ้าน  ส่วนคนที่ 2  คือ  หนูศุ  ที่พ่อตาย  แม่มีสามี

ใหม่  บ้านผุพัง  จนครูไม่กล้าเหยียบบันได  เพราะน้ำหนักของครูด้วย (อิอิ)  พ่อใหม่ยังทุบตีคุณ

แม่  แทบจะทุกวัน  เฮ้อ  งานเข้าแล้วสิเรา...

บ้านที่ละ  ซุกหัวนอน

วันต่อไป...จะมาเล่าเรื่อง  การให้ความช่วยเหลือลูกศิษย์  (รัก)  อย่างไร  นะคะ

หมายเลขบันทึก: 252897เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2009 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ คุณครูอรวรรณ

นี่คืออีกหนึ่งตัวอย่างของความเป็นอยู่
ของผู้ที่เป็นอนาคตของชาติ หน้าหนาว
จะหนาวเพียงใด ฝนตกหนักๆจะอยู่อย่างไรหนอ
ระบบดูแลฯเป็นระบบหลักหนึ่งในสามของการพัฒนา
มาตรฐานคุณภาพการศึกษา ครูช่วยเหลือนักเรียนอย่างไร
อย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังนะคะ...รออยู่ค่ะ......

สวัดีค่ะ ครูแป๋ม

อนาคตของชาติของเรามีหลากหลายรูปแบบ...ที่น่าเป็นห่วง

ขอบคุณมากนะคะที่สนใจ และรอติดตามตอนต่อไป

คุณครูอรวรรณ นักเรียนมีนะบางรายเยากจนมาก จนไม่มีบ้านอยู่ ไม่มีอาหารกิน ลำพังเราก็ช่วยได้บ้างเป็นเงิน และข้างของเล็ก ๆน้อย ๆ แต่พยายามบอกเขาให้เขียนขอทุนนะ จูงมือไสมัครขอทุน เขาก็ไม่ยอมขอ เงินอะไรเพื่อนจ่ายค่าใช้จ่ายเขาก็ไม่มี เขาพยายามกินอย่างดี ต่อหน้าเพื่อน ๆ ทั้ง ๆที่ให้แม่ยืมมา  เราจะช่วยเหลือเขาอย่างไรดี

สวัสดีค่ะ  ครูแจ่ม

  • คุณครูดูแลลูกศิษย์ได้ใกล้ชิดจนรู้จักข้อมูลเด็กอย่างละเอียด  แต่ยังให้ความช่วยเหลือไม่ได้  เพราเด็กไม่ยอมรับ  อาจจะรู้สึกอับอายเพื่อน
  • สิ่งแรกคือการช่วยให้เขาได้รู้จัและเข้าใจตนเองเสียก่อน  เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อตนเอง ว่าไม่ใช่เรื่องน่าอาย  ถ้าไม่ขอรับทุนก็ควรหางานทำในเวลาว่างเพื่อช่วยหลือคุณแม่  เป็นค่าขนมของตนเอง
  • การหารายได้  เป็นเรื่องน่าชื่นชมและภาคภูมิใจมากกว่าเสียอีก
  • เป็นกำลังใจใคณครูนะคะ

บอกได้ว่าอ่านเรื่องเขียนของครูอดน้ำตาซึมไม่ได้ เป็นมากกว่าครูของเด็กๆค่ะ ขอเป็นกำลังใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท