BAR การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ


วันศุกร์ที่ 3 กับ วันเสาร์ที่ 4 เมษายน นี้ จะไปทำ workshop ให้กลุ่มทันตแพทย์และเจ้าหน้าที่ สปสช. เขต ที่ จังหวัดนครนายก มีผู้เข้าร่วมประมาณ 35 คน ก็ถือว่าต้องออกแบบการเรียนรู้ใหม่ เพราะมีเวลาเพียง 2 วัน (ปกติใช้ 3 วัน) วัตถุประสงค์หลักๆ คือ เรียนรู้เครื่องมือการจัดการความรู้ เพื่อกลับไปใช้ในการทำงานของตนเองได้ ฟังดูเหมือนไม่ยาก ใช่ไหม แต่ที่ผู้เขียนต้องออกแบบใหม่ เพราะผู้เข้าร่วมมี 2 กลุ่มใหญ่ ที่จะมองว่าต้องทำงานร่วมกันก็ได้ หรือจะมองว่าไม่ต้องออกแบบให้ต้องวางแผนร่วมกันก็ได้ 

การเตรียมตัว จึงต้องเริ่มจากทำความเข้าใจที่มา ที่ไป ของการจัดกิจกรรมซะก่อน ครั้งนี้ผู้ประสานงานตั้งใจจริงให้ผู้เข้าร่วมได้ฝึกจริง เพื่อกลับไปทำจริงในพื้นที่ เห็นรายชื่อแล้วก็ต้องมาทำความรู้จักแต่ละพื้นที่ซะหน่อย จำได้ว่าเริ่มจาก สปสช. เขตเชียงใหม่ ทำเว็บได้ดีนะ มีวิสัยทัศน์เป็นของตัวเองชัดเจน แต่ยังเชื่อมโยงกับภาพใหญ่ของ สปสช. ได้ดี น่าชื่นชมจริง ตามมาด้วยเขตอื่นๆ     สำหรับกลุ่มทันตแพทย์ ซึ่งมาจากโรงพยาบาล หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรืออำเภอ นั้น ไม่หนักใจมากนัก เพราะพอจะคุ้นเคยกับการทำงานของ PCU (Primary Care Unit) และ CUP (Collaborting Unit for Primary Care) อยู่บ้างจากการที่ได้ทำงานกับคุณหมอช้าง (พญ.สุพัตรา)

กว่าจะลงตัวว่าต้องใช้โมเดลปลาทู โมเดลปลาตะเพียน แผนที่ผลลัพธ์ ซึ่งอันหลังนี้น่าจะทำได้เพียงการยกตัวอย่าง  สรุปแล้วใช้เวลาทำความเข้าใจ ออกแบบกระบวนการ ขอข้อมูลเพิ่มเติม ฯลฯ ไปร่วมๆ 3 วัน เตรียมตัวกันขนาดนี้ ก็หวังว่าจะได้เรียนรู้กับผู้เข้าร่วมเยอะๆ มาปรับใช้กับงานอืนๆ ของตนเองด้วย มีความคืบหน้าอย่างไรจะมาเล่าสู่กันฟังต่อไป

อ้อม สคส.

คำสำคัญ (Tags): #cup#pcu
หมายเลขบันทึก: 252799เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2009 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 01:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เข้ามาย้ำให้ท่านผู้อ่านเห็นว่า การทำ KM Workshop วิทยากรต้องมีการเตรียมตัวมาก ต้องวางแผนอย่างละเอียดประณีต และต้องศึกษาทำความรู้จัก participants และความคาดหวังของท่านเหล่านั้น

วิจารณ์

เรียน อาจารย์อ้อมค่ะ

เป็นหนึ่งในลูกศิษย์วันนั้นค่ะ อยากจะเข้ามาบอกว่า ดีใจมากๆ ที่ได้มีโอกาสไปเรียนรู้กับทีมงานวันนั้น ประทับใจมากๆค่ะ ในส่วนตัว ชอบทำโน่นทำนี่ แต่โดยบทบาท ส่วนหนึ่งต้องสนัสนุนให้คนอื่นทำ รู้สึกเหนื่อยมากๆ KM เป็นกิจกรรมแห่งทางออกเลย ให้เขาอยากทำจากใจเขา

การทำ KM เป็นเวทีแห่งความสุขและแรงบันดาลใจ

และได้ เอาOM กลับไปลองใช้กลับเวที เครือข่าย ศพด.ของ อบต.แห่งหนึ่งในพื้นที่ เมื่อ 9 เมษายน ที่ผ่านมา อาจจะเป็นวิทยากรที่เตรียมตัวไม่ค่อยดีนัก ตอนไปทำเลยออกแนว ทีมรู้สึกว่า มันยากจัง แต่ก็ลากยาว ทู่ซี้ ไปจนถึงได้กลยุทธ์ออกมา 555

บางอย่างก็ทึ่ง ชุมชนเค๊าคิดได้ดีกว่าเราอีก

ในส่วนตัว ขอให้เขาคิด ไม่ใช่เราเอาโครงการไปลง แล้วก็เกิดผลตามที่เราต้อการ

อยากให้เป็นสิ่งที่เขาต้องการ แล้วเราเป็นพี่เลี้ยง ( แต่ด้วยนิสัย ก็แอบดูกลยุทธ์เขา แล้วก็คิดว่า OK ระดับหนึ่งในสายตาของเรา )

วันนี้ก็พึ่งไปดูตัวอย่าง ศพด.ที่กาฬสินธ์มา เดี่ยวอาทิตย์หน้าจะคุยกันในทีม นำทั้ง 4 ศูนย์ อาทิตย์ถัดไป แต่ละศูนย์จะ ประชุม ผู้เกียวข้องปรับกลยุทธ์แล้ว SET กิจกรรมกันอีกครั้ง

ขอบคุณสำหรับความรู้สึกดีๆ ที่มีให้ "KM" นะคะ

ยังเป็นกำลังใจให้ทำต่อไปเรื่อยๆ เพราะตอนที สคส. เริ่มใหม่ๆ ก็พบภาวะ "ดูเหมือนง่าย" แต่ "ตอนทำ ยากเหมือนกัน" แต่สุดท้ายเราก็ผ่านมาจนถึงจุดนี้ ซึ่งยังไม่ใช่จุดสูงสุด เพราะ "KM" หมุนเกลียวไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุดค่ะ

ขอให้ใช้ อดีต เป็นครู ปรับกระบวนการในครั้งต่อๆ ไป แล้วจะพบกับความสุขในชีวิตค่ะ

อ้อม สคส.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท