ชุดความรู้ว่าด้วยการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์


ในปี ๒๕๔๘ ได้มีมติ ของคณะกรรมการสื่อสร้างสร้างสรรค์สังคมไทย มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินการจัดทำระบบการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อทุกประเภทให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว และ มีมติครม.รับหลักการให้กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินการ

ต่อมาในปี ๒๕๔๙ ทางกระทรวงวัฒนธรรม โดยคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ในฐานะปลัดกระทรวงในขณะนั้น จึงได้มอบหมายให้ ทางสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล ดำเนินการศึกษาและพัฒนาระบบการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ 

โดยได้พัฒนาต่อยอดจากการศึกษาวิจัยเรื่องการประเมินคุณภาพรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชน ครอบครัว หรือ TV4Kids ซึ่งรับผิดชอบโดย มูลนิธิศาสตราจารย์ คนึง ฦๅไชย

ในปี ๒๕๔๙ นี้เองได้มีการศึกษาวิจัยและพัฒนา โดยอาศัยกระบวนการศึกษาจากทั้งเอกสาร การจัดเวทีวิชาการ การจัดทำห้องทดลองเชิงปฏิบัติการในกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายเด็ก เยาวชนและครอบครัว

ในปี ๒๕๕๐ หลังจากที่มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบ โยเสนอแนวคิดเรื่อง การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์เป็น ๒ ระบบ กล่าวคือ ระบบการประเมินคุณภาพเนื้อหารายการ เพื่อนำไปสู่กระบบการสนับสนุน และ ระบบการจำแนกเนื้อหาตามช่วงวัย ซึ่งจะนำไปสู่การจัดสรรช่วงเวลาในการอออกอากาศรายการบางประเภท  ดาวน์โหลดเอกสารชุดความรู้ ตอนที่ ๑ ตอนที่ ๒ ตอนที่ ๓

ทางสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งกำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ ประกอบกับคณะกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คณะกรรมการบูรณาการนโยบายด้านสื่อ ได้นำผลการศึกษาวิจัยเสนอต่อ กกช เพื่อส่งต่อไปยัง ครม. ในการดำเนินการเชิงกฎหมาย นโยบาย

ในเดือน มิถุนายน ๒๕๕๐ มติ ครม. ได้เห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เสนอ  ดังนี้
 

1. จัดทำระบบการจัดลำดับความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์  โดยให้ประกอบด้วย ระบบประเมินคุณภาพเนื้อหา  และระบบการจำแนกเนื้อหาตามช่วงอายุ  รวมถึงการกำหนดช่วงเวลาในการออกอากาศ ตามความเหมาะสมของรายการแต่ละประเภท
 

2. จัดทำกฎหมาย และนโยบาย  เพื่อรองรับระบบของการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ และทำการชี้แจงกับสถานีโทรทัศน์  รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง

3. พัฒนาโครงสร้างและกลไกในการจัดทำระบบการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อในกลุ่มภาคสังคม  ซึ่งเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการติดตาม เฝ้าระวัง ประเมินและสะท้อนความคิดเห็นในการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ต่อสังคม และให้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรม  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  กระทรวงศึกษาธิการ  และตัวแทนจากภาคประชาชน
 

4. สื่อสารความรู้ในการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ พร้อมทั้งการรณรงค์กระแสสังคมเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ  เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจถึงความจำเป็น  ช่องทางของการมีส่วนร่วมในการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ และการกระตุ้นให้เกิดการดำเนินการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อในภาคประชาชน

ทั้งนี้  ให้กรมประชาสัมพันธ์รับผิดชอบข้อ 1 และข้อ  2  และให้กระทรวงวัฒนธรรมรับผิดชอบข้อ 3 และ    ข้อ 4  โดยให้กรมประชาสัมพันธ์สนับสนุนการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าว

หลังจากนั้น ในเดือนกันยายน ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างภาคนโยบาย (นำโดยคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ในฐานะรัฐมนตรีประจำสนักนากรัฐมนตรี) ภาควิชาการ ภาควิชาชาชีพ ภาคเอกชน และ ภาคประชาชน โดยมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ โดยมีภารกิจหลักๆ ๓ ส่วน กล่าวคือ

ส่วนที่ ๑ การทดลองใช้ระบบการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ โดยให้มีส่วนร่วมจากเครือข่ายครอบครัว เครือข่ายเด็ก และเยาวชน เครือข่ายนักวิชาการ ในการทดลองใช้ระบบเรตต้งในระบบใหม่แนที่ระบบที่กรมประชาสัมพันธ์ประกาศใช้เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ โดยให้มีการเปรียบเทียบระหว่างเรตต้งของสถานีกับเรตติ้งของภาคประชาชน ที่เรียกว่า เรตติ้งก่อนออกอากาศ กับเรตติ้งหลังออกอากาศ ดาวน์โหลดเอกสารผลการทำงาน

ส่วนที่ ๒ การยกร่างแนวปฏิบัติในการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ โดยได้มีการจัดตั้งคณะทำงานยกร่างคู่มือการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์

ส่วนที่ ๓ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเรตติ้งให้กับประชาชน โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และ ครอบครัว

หมายเลขบันทึก: 252411เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2009 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากเรียนถามอาจารย์ ดังนี้ .

1. การจัดเรตติ้ง.. ตอนนี้ ถ้า บริษัทผลิตหนังสือ.. จะ เอาไปติดที่ตัวหนังสือ.. จะได้หรือไม่ จำเป็นต้องไปขอ อนุญาติ จากใครหรือป่าว.และถามเอามาติดไปแล้ว.. และออกจำหน่าย ไปแล้ว จะมี ความผิดหรือไม่

2. ถ้า มีการนำสัญญลักษณ์ เอาไปประกอบกัยสินค้าประเภท screen เป็นเสื้อ. และนำออกขาย .. จะ มีความผิดหรือไม่ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท