“Papanicolaou Classification"


ส่วนใหญ่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า Pap Class

 *การตรวจ Pap smear ซึ่งได้รับการคิดค้นจาก Dr. George Nicholas Papanicolaou ตั้งแต่ปีค.ศ. 1923 ซึ่งท่านเป็นผู้บัญญัติ ระบบการวินิจฉัยแบบกลุ่มตัวเลข (Five Class System) ขึ้นเป็นคนแรก หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “Papanicolaou Classification”*

**  ****** ****** ******   **   ****** ***** ******  **

Five Classification ของท่าน Dr.George Nicholas Papanicolaou  นั้น

เป็นที่นิยม ใช้ในการแพทย์อยู่นานมาก หลักเกณฑ์การจำไม่ยาก ค่อนข้างง่าย

เมื่อผู้เขียนเริ่มต้นเรียนเชี่ยวชาญพยาธิกายวิภาคนั้น ยังใช้ การแบ่งแบบนี้

“Papanicolaou Classification”อยู่

ส่วนใหญ่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า Pap Class

ท่าน Dr.George Nicholas Papanicolaou แบ่งไว้ดังนี้ค่ะ

Class I . Negative smear with no abnormal or unusual cells seen.

เป็นการรายงานผลว่า การตรวจครั้งนี้ ผลปกติ ไม่พบเซลล์ที่ผิดแปลกไป

 Class II .Atypical squamous cells หรือ Reactive cellular change

เป็นการรายงานผลว่า พบการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ อาจเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย หรือเปลี่ยนแปลงไปพอสมควร ซึ่งมักมีลักษณะเฉพาะบางอย่างของการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ทำให้เราทราบว่า เป็นการติดเชื้อ อะไร

ส่วนใหญ่เป็นเชื้อที่พบได้บ่อย ๆ เช่น เชื้อรา สายพันธุ์ Candida spp. ,
เชื้อพยาธิช่องคลอดที่มีชื่อว่า Trichomonas vaginalis ,
เชื้อไวรัสเริม ชนิด Herpes simplex และอื่น ๆ

แต่ยังไม่มีการพบเซลล์ที่หน้าตาผิดปกติ(นิสัยไม่ดี) 

และถ้าจำไม่ผิด ในสมัยโน้น ยังไม่ค่อยได้มีการกล่าวถึง การติดเชื้อไวรัสที่ดังที่สุดในปัจจุบันนี้

 คือ HPV (ซึ่งมีการศึกษาวิจัย พบว่าเป็นต้นเหตุก่อมะเร็งปากมดลูก)

และจึงมีการคิดค้นวัคซีน ป้องกันการเกิดหูดจากไวรัสหูด และป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก

กำลังเป็นเรื่องที่ เป็นที่น่าสนใจกันมาก ค่ะ

เดี๋ยวมาต่ออีกสาม class นะคะ คุณลูกขอใช้เครื่อง
อีกสามคลาสคงต้องขึ้นบันทึกใหม่นะคะ

ขอคัดลอกความคิดเห็นที่ตอบย่อ ๆ  แก่คุณน้องแอ๊ดมาคั่นรายการก่อนค่ะ

ซึ่งแบบดั้งเดิมเลยแบ่งเป็นแบบย่อ ๆ

1.ปกติ

2.อักเสบ มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์บ้างเล็กน้อย(จากเชื้อโรคเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง) รักษาอาการอักเสบ เซลล์ก็กลับมาปกติ

3.มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ซึ่งเริ่มบ่งบอกความร้าย แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นเซลล์มะเร็งเต็มตัว  อาจก้าวหน้าต่อไปในทางมะเร็ง หรือ ในบางขั้น (มีข้อย่อยของระดับการเปลี่ยนแปลงของเซลล์) บางภาวะกลับสู่สภาวะปกติได้เอง 

4.น่าสงสัยอย่างมาก ๆ ว่าเป็นมะเร็งแต่ยังไม่ลุกลาม ขนาดต้องรับการรักษาแบบเข้มข้น ดุเดือด

5.เป็นมะเร็งแน่นอน และลุกลาม แล้วด้วย
ต้องรับการรักษาอย่างเข้ม และดุเดือด

ประโยชน์ของการตรวจ Pap smear นี้มีค่ามหาศาลต่อวงการแพทย์ คนไข้ และงบประมาณแผ่นดินค่ะ

เป็นสุดยอด หนึ่งในเวชศาสตร์ป้องกัน หรือ Preventive Medicine ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 252295เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2009 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2013 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาอ่านเพิ่มเติมความรู้ครับ...

เชียงรายฝนตกหนัก :)

 

ยังเขียนบันทึกไม่เสร็จเลยค่ะ คุณเอก ;P

รออ่านต่อแล้วกันนะคะ..ชักจะงง..อ่านแล้วงงเพราะไม่มีความรู้เรื่องนี้ค่ะ

P  น้องแอ๊ด คะ พี่สรุปสั้น ๆ ก่อนคือ เวลาเราไปตรวจแป๊ปเสมียร์ แล้วเวลาทางห้องแล็บเขารายงานผล นั้น มีวิวัฒนาการมาอย่างไรบ้าง

 

ซึ่งแบบดั้งเดิมเลยแบ่งเป็น

1.ปกติ

2.อักเสบ มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์บ้างเล็กน้อย(จากเชื้อโรคเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง) รักษาอาการอักเสบ เซลล์ก็กลับมาปกติ

3.มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ซึ่งเริ่มบ่งบอกความร้าย แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นเซลล์มะเร็งเต็มตัว  อาจก้าวหน้าต่อไปในทางมะเร็ง หรือ ในบางขั้น (มีข้อย่อยของระดับการเปลี่ยนแปลงของเซลล์) บางภาวะกลับสู่สภาวะปกติได้เอง 

4.น่าสงสัยอย่างมาก ๆ ว่าเป็นมะเร็งแต่ยังไม่ลุกลาม ขนาดต้องรับการรักษาแบบเข้มข้น ดุเดือด

5.เป็นมะเร็งแน่นอน และลุกลาม แล้วด้วย
ต้องรับการรักษาอย่างเข้ม และดุเดือด

 

ปล. คงจะเขียนยุ่งยากไปจริง ๆ ค่ะ เดี๋ยวพอมีเวลา จะปรับแก้ไขบันทึก ค่ะ

ขอบคุณน้องแอ๊ด ค่ะ

ตอนที่สองขอเวลานิดหนึ่ง ค่ะ

อยากเขียนเผื่อประโยชน์เป็นส่วนหนึ่งของ การลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท