เมื่อได้ซักซ้อมบทก็ลดความหวาดวิตก


ซักซ้อมทั้งบทบาทของผู้นำเสวนา และวิทยากรที่ร่วมเสวนา รายละเอียดของเรื่องเล่า ตัวอย่างที่จะต้องยกให้เห็นในทุกชุดข้อมูลที่หยิบยกมาพูด หลีกเลี่ยงที่จะไม่พูดถึงคำว่าวิจัย คำว่าจัดการความรู้ พูดแต่งานที่ทำงานที่เคลื่อนอยู่เป็นหลัก ประสบการณ์ที่แต่ละท่านได้รับ

 

เมื่อวันศุกร์ที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา
เราหลายคนซึ่งถูกวางตัวให้นำเสนองานชุมชนอินทรีย์ในงานประชุมวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช : เชื่อมร้อยเครือข่ายชุมชนอินทรีย์สู่พื้นที่ปฏิบัติการ ที่ โรงแรมทวินโลตัส มาซักซ้อม BAR กันเล็กน้อย เพื่อประสิทธิภาพของผู้ฟังและผู้เข้าร่วม พูดคุยกันที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช ดังที่ผมได้เกริ่นไว้แล้วที่บันทึก การวิจัยพื้นบ้านในงานประชุมวิชาการของเครือข่ายการวิจัยอุดมศึกษา
ซักซ้อมการนำเสนอทั้งหัวข้อ ชุมชนอินทรีย์ : คนทำมาเล่า ซึ่งมีผู้ร่วมรายการคือพี่บุญเรือน ทองจำรัส ประธานกลุ่มทำนาอินทรีย์อำเภอเฉลิมพระเกียรติ กำนันบำรุง เลขจิตร กำนันตำบลบางจาก อำเภอเมือง ตำบลนำร่องชุมชนอินทรีย์มาตั้งแต่ปี 2548 ที่มีผลงานในหลายเรื่องเช่น กองทุนสวัสดิการตำบลภาคประชาชน การใช้พื้นที่นาอย่างมีประสิทธิภาพ (แปลสภาพนาร้าง (รั้ง) ให้เป็นนาข้าวที่เพิ่มผลผลิตข้าวได้) ได้รับรางวัลกำนันแหนบทองคำในที่สุด  นายโสภณ พรหมแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเล ที่มีบทบาทเด่นเรื่องกระบวนการแผนแม่บทชุมชน การเชื่อมต่องานของภาคประชาชนเข้ากับงานของท้องถิ่น ปลัดวีระ นาคะ ปลัดอำเภอพิปูน ซึ่งปรับตัวได้ดีในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนจนที่รักของกลุ่มเป้าหมายและเพื่อนร่วมงาน ครูราญ เมืองคอน หรือ อ.สำราญ เฟื่องฟ้า จาก กศน.อำเภอเมือง สุดยอดคุณอำนวย เจ้าของผลงาน KM คุณคิดเหมือนผมไม๊ นำเสวนาโดย ว่าที่เรือตรีเฉลิมพล บุญฉายา รน.ผู้ประสานงาน สกว.จังหวัดนครศรีธรรมราช
และในหัวข้อเสวนาเรื่อง เชื่อมร้อยเครือข่ายชุมชนอินทรีย์สู่การปฏิบัติการในพื้นที่นครศรีธรรมราช หัวข้อนี้มีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายไกรราศ แก้วดี นายอำเภอเมืองนครศรีฯ น้องดาวหรือจิระมาศ ศรีเมือง นักวิชาการศึกษาจาก อบต.ท่าซัก หมอวิเชียร ไทยเจริญ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ จากโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ผศ.สุจารี แก้งคง อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช และผมเองครูนงเมืองคอน จาก กศน.อำเภอเมือง โดยมี พี่ปราณี พูนเอียด จาก กกต.จังหวัดนครศรีธรรมราช และกรรมการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมืองจังหวัดนครศรีฯ เป็นผู้นำการเสวนา
ซักซ้อมทั้งบทบาทของผู้นำเสวนา และวิทยากรที่ร่วมเสวนา รายละเอียดของเรื่องเล่า ตัวอย่างที่จะต้องยกให้เห็นในทุกชุดข้อมูลที่หยิบยกมาพูด หลีกเลี่ยงที่จะไม่พูดถึงคำว่าวิจัย คำว่าจัดการความรู้ พูดแต่งานที่ทำงานที่เคลื่อนอยู่เป็นหลัก ประสบการณ์ที่แต่ละท่านได้รับ
หลายคนคลายความวิตกกังวลลงไปมาก เพราะเดิมตอนที่เขาเชิญมาเนี่ย เห็นหัวข้อประชุมสัมมนาที่มีคำว่าวิจัย คำว่าจัดการความรู้ แล้วให้รู้สึกแหยง ๆ ปอด ๆ  แต่เมื่อนัดกันวันที่ 27 มี.ค. ทำความเข้าใจหัวข้อ ซักซ้อมกันแล้ว BAR กันแล้ว คลายความวิตก สนุกที่จะพูดคุยที่จะเล่าที่จะยกตัวอย่างให้เห็นเพราะมีเยอะแยะมากมาย เวลาที่จัดสรรให้ดูว่าน้อยไปเสียแล้ว ไม่พอ
ซักซ้อมก่อนถึงวันงานจริง ๆ มีประโยชน์มาก ๆ
หมายเลขบันทึก: 251876เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2009 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

  • เข้ามาทักพี่บาวครับ... ฝากความระลึกถึงไปยังทีมงานด้วยคนนะครับนะ

บรรยากาศวันจริงเป็นไงบ้าง ครูนงน่าจะเล่าให้ฟังหน่อยนะครับ

แวะเข้ามากราบสวัสดีปีใหม่ไทยค่ะ....ขอให้ครูนงและครอบครัวสุขสดชื่นแจ่มใสในวันสงกรานต์ปีนี้นะคะ

ระลึกถึงเสมอค่ะ

ไม่ได้เข้ามาทักทายเสียนาน ทีมงานชุมชนอินทรีย์ที่นคร ยังเหนียวแน่นเหมือนเดิมเลยนะคะ เสียทายจังที่ตัวเองต้องห่างจากวงการไปเนื่องด้วยเหตุผลความจำเป็นของหน้างาน แม้จะไม่ได้เป็นคนลงมือปฏิบัติร่วมกับทีมเมืองคอนแล้วในระยะหลังนี้ ก้ต้องขอบคุณครูนง ที่ถ้าได้เจอกันก็พยายามชวนให้ไปร่วมเสมอ แต่จะพยามยามจัดเวลาใหม่ นำประสบการณ์จากพื้นที่แถบโชนอันดามันมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสข้างหน้านะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท