RISK management


RISK management,

Risk management เป็นแนวคิดของตะวันตก ซึ่งมีรากความคิดตะวันออกที่ว่าด้วย "ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท" แต่วิธีนำมาประยุกต์ใช้ ดูเหมือนจะแตกต่างกันในระดับเชิงโครงสร้างความคิดอยู่บ้างเหมือนกัน
แนวคิดทางตะวันออก ให้ความหมายกว้างในเชิงนามธรรมระดับปัจเจก ขึ้นอยู่กับผู้นำมาใช้มีความเข้าใจ มีความรู้ และความสามารถในการนำไปใช้
          ส่วนแนวคิดตะวันตก พยายามเชื่อมโยงแนวคิดกับสถานการณ์ สภาพแวดล้อม ให้ชัดเจนขึ้น และพยายามสร้างกฎเกณฑ์หรือมาตรฐานเป็นการทั่วไป ให้ผู้คนเข้าถึงได้อย่างง่าย ที่สำคัญสร้างกระบวนการขึ้นในความพยายามนำไปประยุกต์กับระบบทุนนิยม
          แม้ว่าในเชิงวิชาการ คำว่า Risk และ Uncertainty ใช้ในนิยามทั่วไป ส่วน Risk management ใช้กับธุรกิจ คิดว่าชีวิตปัจเจกสังคมยุคใหม่ ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนอย่างมาก ผู้คนต้องเรียนรู้และปรับตัวที่จะจัดการกับสิ่งต่างๆ ในเชิงโครงสร้าง และมีกระบวนการที่แน่นอนมากขึ้น และคิดว่าคำว่า Management คงไม่มีใครหวงไว้ใช้กับวงการธุรกิจเท่านั้น

ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้มี 2 มิติ  คือ


ความเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์
          แค่เรื่องนี้เรื่องเดียว ก็น่าจะมีความหมายกว้างขวาง ปัจจัยความเสี่ยงในยุคปัจจุบันมีความหมายกว้างขวางมากขึ้น สังคมไทยได้เรียนรู้บางสิ่งบางอย่างมากมายในช่วงหลายปีมานี้ หลายสิ่งเราเชื่อกันว่า มันไม่มีทางจะเกิดในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นสึนามิ หรือการประท้วงที่รุนแรง ทั้งนี้ยังไม่นับสถานการณ์ที่เชื่อมกันทั้งโลก กระทบกันทั้งโลกมากขึ้นกว่าเดิม ชนบทกับเมืองสัมพันธ์กันมากขึ้นจากสื่อที่เป็นใยแมงมุม ที่สร้างขึ้นเพื่อเป้าหมายหลักทางธุรกิจ ในแง่นี้ ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรศึกษา มีความหมายกว้างขวางอย่างมาก ขณะเดียวก็มีสิ่งที่เรียกว่า "ความเป็นไปได้" มีมากขึ้นด้วย

การจัดการกับ 'ความเสี่ยง' และ 'ความไม่แน่นอน'

          สังคมไทยและผู้คนในสังคม มีวัฒนธรรมในการระแวดระวังในการดำเนินชีวิตต่ำกว่ากว่าสังคมอื่น ที่อยู่ในสังคมสมัยใหม่เช่นเดียวกัน หรือว่าอีกนัยก็คือ สังคมไทยมีปัจจัยความเสี่ยงค่อนข้างมาก คนไทยตายกันมากในการเดินทางวันหยุดเทศกาล บุคคลทั่วไปมีหนี้ทั้งในและนอกระบบอย่างมาก การจัดการธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงใหญ่ มีมาตรฐานทางบัญชีที่ต่ำมากประเทศหนึ่ง วิถีชีวิตสังคมเมืองและหัวเมือง ผันแปรตามกระแสที่ถูกปลุกอย่างรวดเร็ว ตามการโฆษณาของสินค้าหรือสื่อ

          ปรากฏการณ์ข้างต้น อาจมาจากสภาพสังคมไทยไม่มีวิกฤติการณ์ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง คาดกันว่า จากนี้ไปความเสี่ยงจากสภาพการณ์ภายนอกในเรื่องนี้ อาจจะมีมากขึ้น

          การจัดการเรื่องต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเรื่องความเสี่ยง ในแง่นี้มีเป้าหมายอย่างกว้างก็เพื่อสร้างความสมดุล ความสมดุลนี้มาจากปรัชญาวิถีชีวิตที่สมดุล มีพื้นฐานจากความมีเหตุผล ที่สำคัญที่สุด หากพูดระดับปัจเจกก็คือ เป้าหมายและวิถีของการดำเนินชีวิต รวมถึงการประกอบอาชีพ มักจะเชื่อมโยงกับอุดมคติด้วยเสมอ

ความเสี่ยง (Risk) คืออะไร

-         ความไม่แน่นอนว่าผลลัพธ์จะเกิดขึ้นตามที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่

-          การกระทำหรือเหตุการณ์ที่อาจจะมีผลบั่นทอนความสามารถขององค์กรที่จะบรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้

-          การกระทำหรือเหตุการณ์ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งโอกาส หรือสิ่งคุกคาม

-          กินความถึงแนวโน้มหรือโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและผลกระทบหากเหตุการณ์อุบัติขึ้นจริง

ทำไมต้องบริหารความเสี่ยง

-         สอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

-          เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารเชิงกลยุทธ์ คำรับรองการปฏิบัติราชการ และมาตรฐานการควบคุมภายใน 2544

-         เพิ่มโอกาสและช่วยให้ส่วนราชการบรรลุเป้าประสงค์ และพันธกิจที่ตั้งไว้มากยิ่งขึ้น (ลด Surprises)

-          พัฒนาผลงานขององค์กร เช่น การพัฒนาคุณภาพการส่งมอบบริการให้ประชาชน การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

 การวิเคราะห์และการบริหารความเสี่ยง

การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) คือ การรวบรวมและประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยง ที่องค์กรต้องเผชิญ (exposure to risks) ซึ่งจะช่วยให้องค์กรตัดสินใจกำหนดแนวทางในการบริหารความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม

การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) คืออะไร

-          กระบวนการระบุหาความเสี่ยงที่สำคัญขององค์กร ประเมินผลกระทบของความเสี่ยง พัฒนาแนวทางการจัดการกับความเสี่ยงและนำไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบ โดยมีการบูรณาการและ เน้นความสอดคล้องระหว่างกลยุทธ์ บุคลากร กระบวนงานและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มคุณค่าสูงสุดให้กับองค์การ

-          กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการระบุหาและควบคุมความเสี่ยง ซึ่งมีผลกระทบต่อการบรรลุพันธกิจและเป้าประสงค์ขององค์กร

การบริหารความเสี่ยงเป็นหน้าที่ของใคร

-         ทุกคนเกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงในฐานะที่เป็นผู้ระบุว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้าง ในหน่วยงาน/โครงการหรืองานของตน

-         ฝ่ายบริหารของหน่วยงาน

-          เจ้าของหรือเจ้าภาพความเสี่ยง (Risk Owners)

-         ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน

-         เจ้าของโครงการ/เจ้าของงาน

-          ผู้ที่ไดรับมอบหมายเฉพาะ

-          คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management and Review Committee)

เจ้าของ/เจ้าภาพความเสี่ยง (Risk Ownership)

-          มีการตกลงและมอบหมายการเป็นเจ้าภาพความเสี่ยงอย่างเป็นทางการ

-          อาจไม่ใช่คนที่รับผิดชอบการประเมินความเสี่ยงก็ได้ แต่ต้องเป็นคนที่สามารถติดตามดูแลให้มีการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ

-          ต้องมีความชัดเจนว่าใครทำหน้าที่อะไร

-          ใครเป็นผู้กำหนดนโยบายว่าส่วนราชการจะรับความเสี่ยงได้แค่ไหน

-         ใครรับผิดชอบการบริหารความเสี่ยงในแต่ละระดับ

-          ใครรับผิดชอบแต่ละกระบวนการ/ขั้นตอนของการบริหารความเสี่ยง

-          ใครดูแลการนำมาตรการบริหารความเสี่ยงไปปฏิบัติ

-          ใครดูแล กรณีที่เป็นความเสี่ยงร่วม (Interdependent risks)

การกำหนดกรอบนโยบายการบริหารความเสี่ยง

-          กำหนดกรอบนโยบายการบริหารความเสี่ยง จาก

-          ข้อกำหนดทางกฎหมาย ระเบียบ นโยบาย

-          ระบุความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย

-          กำหนดวิสัยทัศน์ของการบริหารความเสี่ยง (Risk Vision Statement)

-          มีแนวทางในการระบุ ประเมิน และรายงานด้านความเสี่ยง

-          กำหนดเป้าหมาย และระบุอุปสรรคของการบริหารความเสี่ยง

-          กำหนดแนวทางการประเมินผลความสำเร็จของการบริหารความเสี่ยง ตามมาตรฐานคุณภาพ

-          ระบุเจ้าภาพความเสี่ยง

-          สื่อสารกรอบนโยบายที่ชัดเจนให้ทั่วถึงทั้งองค์กร

ประโยชน์ของบริหารความเสี่ยง

-

หมายเลขบันทึก: 251805เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2009 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 12:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

Risk... ของ Risk.... คือ การไม่สามารถ Manage Risk.. ได้..อ่านแล้ว OK..เลย..ไว้ถ้าว่างขออนุญาตเชิญมาบรรยาย..เรื่อง Risk ให้ฟังหน่อยละกัน..K นะ

น่าสนใจมากครับ

รายละเอียดดี

น่าจะหางานวิจัยสนับสนุนถ้าสนใจทำวิจัยเรื่องนี้ครับ

สวัสดีค่ะ

- เรื่องความเสี่ยงเป็นเรื่องของทุกคนเลยค่ะ

- เขียนบ่อย ๆ นะค่ะ

การบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญ แต่พันคำรู้สึกว่า ยังมีการใช้ไม่เต็มที่

ตามที่คุณtheMayoว่า "หน้าที่ของใคร"

  • ทุกคนๆ (เพราะทุกคนจักต้องระบุว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้างในงานของตน)
  • ฝ่ายบริหารของหน่วยงาน
  • เจ้าของความเสี่ยง 
  • ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน
  • เจ้าของโครงการ/เจ้าของงาน
  • ผู้ที่ได้รับมอบหมายเฉพาะ
  • คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

คนเหล่านี้ จะมีวิธีทำอย่างไร นั้นเป็นเรื่องน่าสนใจ แล้วจะมาติดตามต่อครับ

(หลายปีก่อน ม.เกษตรฯ จัดประชุมวิชาการเรื่องคล้ายๆกันนี้ พันคำมีโอกาสฟัง น่าสนใจทีเดียว แต่นั่นนานมากแล้ว เลยอยากฟื้นความรู้หน่อย)

OnlyOne - ติดต่อมานะคะ ว่าง ๆ อยู่ นั่งตบยุงอยู่บ้านเฉย ๆ :D

ดร. ปรัชญนันท์ นิลสุข - จะทำวิจัยเกี่ยวกับ IT ถ้าอาจารย์รับเป็น Advisor ค่ะ

คุณเพชรน้อย - ถูกต้องค่ะ เสี่ยงมาก เสี่ยงน้อย ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ค่ะ ขอบคุณที่แวะมาอ่านค่ะ

คุณพันคำ - ทุกความรู้ต้องมีการนำไปต่อยอดค่ะ ถึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ขอบคุณสำหรับคอมเม้นดี ๆ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท