เกณฑ์การประเมิน (Rubrics)


เกณฑ์การประเมิน (Rubrics) และตัวอย่างชิ้นงาน (Exemplars)

                         จะประเมินภาระงานที่มีความซับซ้อนอย่างไรดี  รู้ได้อย่างไรว่าภาระงานนั้นดีเพียงพอแล้ว  เช่น  การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนที่จะต้องดูทั้งความถูกต้องของเนื้อหาสาระ  กระบวนการที่ใช้ในการทำงาน  ความสามารถในการสื่อสาร  การใช้ภาษา  การออกเสียง  เป็นต้น  คำตอบก็คือใช้เกณฑ์การประเมิน  เพราะเกณฑ์การประเมินเป็นแนวทางให้คะแนนที่ประกอบด้วยเกณฑ์ด้านต่าง ๆ เพื่อใช้ประเมินค่า
ผลการปฏิบัติของผู้เรียนในภาระงาน/ชิ้นงานที่มีความซับซ้อน เกณฑ์เหล่านี้คือสิ่งสำคัญที่ผู้เรียนควรรู้และปฏิบัติได้  นอกจากนี้ยังมีระดับคุณภาพแต่ละเกณฑ์และคำอธิบายคุณภาพทุกระดับ  ดังตัวอย่างตารางที่  ๔.๒  เป็นรูปแบบการสร้างเกณฑ์การประเมินแบบแยกประเด็น 
(Analytic rubrics) เป็นรูปแบบกลาง         ที่ผู้สอนสามารถนำไปปรับใช้ได้กับวิชาต่าง ๆ

                   ตาราง แสดงตัวอย่างการประเมินแบบแยกประเด็น

เกณฑ์

ระดับการประเมิน

ชื่อเรื่อง

น่าสนใจ  ทันสมัย  เหมาะสมกับ
เนื้อเรื่อง

น่าสนใจแต่                     ไม่ทันสมัย  สอดคล้องกับเนื้อหา

ทั่ว ๆ ไป 
ไม่น่าสนใจ              ไม่สอดคล้อง          กับเนื้อหา

ไม่เกี่ยวข้องกับสาระที่เรียน

ไม่มีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสิน

เนื้อหา

ข้อมูลถูกต้อง  สมบูรณ์ 
ตรงประเด็น

ข้อมูลถูกต้อง  ตรงประเด็น  แต่ขาดรายละเอียด

มีข้อมูลที่ผิดบ้าง  และยังไม่สมบูรณ์

ข้อมูลส่วนใหญ่
ไม่ถูกต้องและ
ขาดหาย

ไม่มีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสิน

การลำดับใจความ

ใจความชัดเจนลำดับเหตุการณ์สมเหตุ  สมผล

ใจความสับสนบ้างแต่ยังสามารถเข้าใจได้
ขาดความสมเหตุ  สมผลไปบ้าง

ใจความไม่ชัดเจน  ขาดความสมเหตุ  สมผล

ไม่ต่อเนื่อง   
ขาดความสมเหตุสมผล

ไม่มีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสิน

หลักเกณฑ์
ทางภาษา

ประโยคสมบูรณ์ถูกต้องตามหลักเกณฑ์
ทางภาษา 
สื่อความได้ชัดเจน

เขียนประโยคได้สมบูรณ์ แต่ยึดหลักเกณฑ์ทางภาษา  สื่อความได้

เขียนประโยคสมบูรณ์บ้าง 
ไม่สมบูรณ์บ้าง  ผิดหลักเกณฑ์ทางภาษาอย่างมาก  สื่อความไม่ชัด

เขียนประโยค
ผิดหลักเกณฑ์ทางภาษา  สื่อความไม่ได้

ไม่มีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสิน

 

                         นอกจากเกณฑ์การประเมินแบบแยกประเด็นแล้ว  ยังมีเกณฑ์การประเมินแบบภาพรวม  (Holistic  Rubric)  เช่น  ต้องการประเมินการเขียนเรียงความแต่ไม่ได้พิจารณาแยกแต่ละประเด็น  ว่าเขียน  นำเรื่อง  สรุปเรื่อง  การผูกเรื่องแต่ละประเด็นเป็นอย่างไร  แต่เป็นการพิจารณาในภาพรวมและให้คะแนน
ในภาพรวมดังตัวอย่างข้างล่าง
 

           ตาราง แสดงตัวอย่างเกณฑ์การประเมินแบบภาพรวมสำหรับประเมินการเขียนเรียงความ

คะแนน

เกณฑ์

เขียนบทนำและบทสรุปได้ดี  ทำให้งานเขียนมีใจความสัมพันธ์กัน  หัวข้อเรื่องมีรายละเอียดสนับสนุนอย่างชัดเจน  การผูกเรื่องเป็นลำดับขั้นตอน  รูปประโยคถูกต้อง  มีสะกดคำผิดบ้างเล็กน้อย  สำนวนภาษาสละสลวย

.........................................................................

มีบทนำ  บทสรุป  เนื้อหาสอดคล้องกับหัวข้อเรื่อง  รายละเอียดสนับสนุนน้อย  เนื้อหาบางส่วนไม่ชัดเจน  การผูกเรื่องเป็นลำดับ  รูปประโยคถูกต้อง  มีสะกดคำผิดอยู่บ้าง  สำนวนภาษาสละสลวยบางแห่ง

.........................................................................

ไม่มีบทนำและหรือบทสรุป  เนื้อหาอ้อมค้อม ไม่ตรงประเด็นนัก  มีรายละเอียดสนับสนุนน้อย  และไม่สมเหตุสมผล  เขียนสะกดคำผิดมาก

 

                         เกณฑ์การประเมินนอกจากจะใช้เพื่อประเมินชิ้นงาน/ภาระงานแล้ว  ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสอนได้อย่างดี  โดยให้ผู้เรียนได้รับทราบว่าผู้สอนคาดหวังอะไรบ้างจากชิ้นงานที่มอบหมาย  หรือให้ผู้เรียนร่วมในการสร้างเกณฑ์ก็จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบ  ผู้สอนที่ใช้เกณฑ์การประเมินเป็นประจำจะพูดตรงกันว่า  เกณฑ์การประเมินให้ภาพที่ชัดเจนดีกว่าคำสั่ง  และหากมีตัวอย่างชิ้นงานประกอบให้ผู้เรียนได้ช่วยกันพิจารณา  อภิปรายโดยใช้เกณฑ์ที่ร่วมกันสร้างขึ้น  ก็จะยิ่งทำให้ผู้เรียนสามารถแยกแยะได้ว่าชิ้นงานที่ดีมีคุณภาพเป็นอย่างไร

                         ตัวอย่างชิ้นงาน  (Exemplars)  คือ ผลงานของผู้เรียน ซึ่งผู้สอนอาจเก็บรวบรวมจากงานที่ผู้เรียนทำส่งในแต่ละปีการศึกษา  เพื่อเป็นแบบอย่างให้เห็นว่าลักษณะงานแบบใดที่ดีกว่า  ตัวอย่างชิ้นงานควรมีหลาย ๆ ระดับ  เพื่อผู้เรียนจะได้เห็นความแตกต่าง

                         เกณฑ์การประเมินยังใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน  ผู้สอนกับผู้ปกครอง  และผู้เรียนกับผู้ปกครอง  การมีภาพความคาดหวังที่ชัดเจนจะช่วยให้ผู้สอนสามารถให้ข้อมูลย้อนกลับที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน  และเป็นประเด็นสำหรับพูดคุยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 251370เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2009 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท