๑๓. การสัมมนาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นครั้งที่ 3 ประจำปี 2551


การสอนการออกเสียงภาษาญี่ปุ่น

           ในฐานะที่เป็นครูสอนทั้งภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาความรู้และเทคนิคการสอนทั้ง   2  ภาษาเท่าที่โอกาสจะอำนวย  แต่การสัมมนาครั้งนี้ เน้นเรื่องด้านภาษาญี่ปุ่นโดยเฉพาะค่ะ   เรื่อง  การออกเสียง จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ประจำปี 2551 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2552   ณ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น) สุขุมวิท กรุงเทพฯ ดำเนินการโดย Japan Foundation กรุงเทพฯ  หลังการสัมมนาหรืออบรมแต่ละครั้งจะเกิดความรู้สึกกระหายใคร่รู้ ต้องการจะศึกษาและเรียนรู้มากขึ้นๆ  เหมือนกับว่าทำไมมีเรื่องที่เราไม่รู้อีกมากมายนัก  สรุปเรียนจนตายก็ยังรู้ไม่หมด 

           การสัมมนาจะแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อแยกไว้ชัดเจนในภาคเช้าและบ่าย

                ภาคเช้า   เชิญวิทยากรมาจากประเทศญี่ปุ่น ชื่อคุณ Tawano Toshiyoki  มีผลงานการแต่งหนังสือ/ตำราภาษาญี่ปุ่น หลายเล่มด้วยกัน  เทคนิคการบรรยายสุดยอด  มีกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มีส่วนร่วมอยู่ตลอดเวลา  มีช่วงหนึ่งของการสัมมนาที่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาตอบคำถามเพื่อนำไปสู่กิจกรรมขั้นต่อไป โดยจะขอถามผู้ที่เกิดวันพุธ  ไม่น่าเชื่อว่าจำนวนคน 170 กว่าคน ณ ที่นั้น ไม่มีใครเกิดวันพุธเลยสักคน  คุณ Tawano Toshiyoki  ต้องใช้มุกอื่นแทนเช่น  สีของเสื้อผ้า  พูดถึงเรื่องความกล้าแสดงออก...ต้องชื่นชมเด็กชาวอเมริกัน  เคยให้พวกเขาเล่นเก้าอี้ดนตรีเพื่อคัดคนมาตอบคำถามหรือแสดงบทบาทสมมุติ  หากเป็นเด็กไทยต้องแย่งกันนั่งเก้าอี้กันอย่างเอาเป็นเอาตาย เพื่อจะได้ไม่ถูกถามหรือต้องแสดงบทบาทเหล่านั้น  แต่เด็กอเมริกันกลับไม่ยอมชิงนั่งเก้าอี้เพื่อจะได้มีโอกาสแสดงออก  สร้างความงุงงงให้กับผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง  เวลามีการอบรมสัมมนาชาวไทยส่วนมากจะเลือกไปนั่งแถวกลางๆ หรือด้านท้ายแทนที่จะเป็นด้านหน้า   คุณ  Tawano Toshiyoki ได้นำเสนอเรื่องYama  เป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้เขียนอีกเช่นเดิม   พยายามทำความเข้าใจ Concept ของคำนี้อยู่ค่ะ  ระหว่างกิจกรรมทดสอบความเข้าใจเรื่องนี้  คุณ Tawano Toshiyoki ได้ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาฟังเครื่องเสียงแล้วยกมือตอบคำถามว่าประโยคนั้นมีกี่ Yama  ขนาดชาวญี่ปุ่นแท้ๆ ยังยกมือตอบผิดเลย  เรื่องแบบนี้มันเป็นทฤษฎีที่ต้องอาศัยการฝึกปฏิบัติในการเรียนรู้   ไม่อยากจะสรุปความหมายและ Concept ของ  Yama ในเวลาอันจำกัดนี้  หากมีประสบการณ์และได้ศึกษามากกว่านี้ค่อยนำมาเล่าขานใหม่ทีหลัง

                   ภาคบ่าย  เป็นเรื่อง  การออกเสียง โดย อาจารย์วรรณา  ตติยโคสกุล  อาจารย์พิเศษ  คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย   ได้กล่าวถึงเรื่องต่างๆ จำนวน  11 ประเด็นด้วยกันคือ

                  1.    การเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกับการออกเสียง

                  2.    พยางค์ในภาษาญี่ปุ่น

          3.  Accent

                  4.    ลักษณะการเปล่งเสียง

                  5.    เสียงสระ  เสียงพยัญชนะ

                  6.    อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง

                  7.    ฐานกับกรณ์

                  8.    ความแตกต่างของเสียงก้องกับเสียงไม่ก้อง

                  9.    การไม่ก้องของเสียงสระ

               10.    การสอนออกเสียงบทที่ 1-12

               11.    วิธีการศึกษา Accent ของผู้สอน

                   เรียกว่าเป็นหลักสูตรเร่งรัดพิเศษสำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนา  บางท่านมีพื้นฐานความรู้ภาษาญี่ปุ่นด้านการออกเสียงดีอยู่แล้ว  คงจะต่อติดแบบฉลุย  แต่สำหรับบางท่านที่อยู่ในระดับอ่อนหัดถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องไปขวนขวายพัฒนาตนเองต่อไป(น่าจะหมายถึงตัวผู้เขียนเอง) การศึกษาและพัฒนาเรื่องการออกเสียงที่ดีที่สุดน่าจะเป็นการฝึกฝนด้วยตนเองจากเทป / CD/ VCD/ DVD / โทรทัศน์ ฯลฯ โดยผ่านกระบวนการบันเทิงหรือข่าวสารต่างๆ ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 249884เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2009 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 11:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โอโหอาจารย์

ขยันจังเลยครับ

ไปเรียนภาษาญี่ปุ่นเพิ่มอีก

เรื่อง AFS เป็นอย่างไรบ้างครับ

สวัสดีค่ะ คุณขจิต

เรื่อง AFS ก็ยังดำเนินการอยู่เรื่อยๆค่ะ อาสาสมัครหลายคนและนักเรียนแลกเปลี่ยนกำลังจะเดินทางกลับประเทศ รุ่นใหม่ก็จะเดินทางมาแทน และจะเริ่มประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกนักเรียนไทยไปศึกษาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในเดือนพฤษภาคมนี้ ยุ่งๆดีค่ะ ขอบคุณคุณขจิตที่แวะมาเยี่ยมชมนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท