106 : เมฆสีรุ้ง & ท้องฟ้า ฝีมือคุณกฤษกร ชุด 1


 

ผมได้มีโอกาสคุยกับ

คุณกฤษกร (จ๋อ) บรรณาธิการนิตยสาร ฅ.ฅน

หลายเรื่อง

เรื่องหนึ่งก็คือ เรื่องเมฆ & ท้องฟ้า

คุณกฤษกรก็เลยคัดภาพเมฆสุดสวยมาฝากพวกเรา

ตามไปดูชุดแรกเพื่อเรียกน้ำย่อยกันก่อนเลยครับ

 


ภาพ d-01

แสงอาทิตย์ตอนบ่ายสอง ที่ลอดชั้นเมฆหนาหลังฝนเดือนก.ค.ลงมา ที่ดอยอินทนนท์ ก่อนถึงยอด สูงประมาณ 1700 ม.

มีแสงสเปคตรัม คล้ายกับรุ้งสองตัว แต่ไม่ใช่รุ้ง เพราะไม่เป็นสะพาน แต่เหมือนกับแท่งปริซึมมากกว่า ผมชอบมาก 


ภาพ d-01

 

หมายเหตุ : สีรุ้งที่เห็นนี่ พวกเราคนรักมวลเมฆรู้จักกันดี และชื่นชอบมากเช่นกัน เรียกว่า ปรากฏการณ์เมฆสีรุ้ง (irisation) ครับ ตามไปอ่านเรื่องนี้ได้ใน บันทึก

017 : ชวนดู 'เมฆสีรุ้ง' 

037 : เมฆสีรุ้ง ฝีมือพี่นุช (คุณนายดอกเตอร์)


ภาพ e-01 & e-02

 

ถ่ายที่ใกล้ตลาดคลองสวน รอยต่อกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ

ไม่แน่ใจว่า เป็นคิวมูโลนิมบัสจริงหรือเปล่า

ทีแรกคิดว่าใช่ ตอนหลัง ดูๆ ไปน่าจะเป็นแค่คล้ายๆ

ผมเคยเจอ anvil cloud แท้ๆ มีฟ้าแลบด้วย เห็นจากบนดอยเมืองน่าน แต่ถ่ายเป็นสไลด์แล้วหาไม่เจอ เสียดายมาก 

 


ภาพ e-01


ภาพ e-02

ข้อคิดเห็น : ไม่แน่ใจเหมือนกันครับว่าเป็น anvil cloud ของเมฆฝนฟ้าคะนอง (cumulonimbus) หรือไม่ แต่สวยมากจริงๆ ครับ


 

ไม่ธรรมดาเลยใช่ไหมครับภาพเมฆที่คุณกฤษกรนำมาฝากนี้

คุณกฤษกรก็เลยหลวมตัวมาเป็นสมาชิกของชมรมคนรักมวลเมฆอย่างเป็นทางการไปแล้ว

เพราะส่งภาพและเรื่องมาให้ ;-)

โปรดอดใจรอชุดต่อไป!

 

คำสำคัญ (Tags): #cloud#เมฆ
หมายเลขบันทึก: 249261เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2009 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ภาพงามขำมากครับ อาจารย์ :)...

ดูเหมือนภาพ irisation มีสีรุ้งที่มีทั้งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ ใช่ไหมครับอาจารย์

เจ้าที่เห็นนี่ เป็นปรากฎการณ์จากแสงเลี้ยวเบน อย่างเดียว หรือมีการสะท้อนอีกครั้ง จนเกิดรุ้งทุติยภูมิ เพราะผมลองเพ่งดู มันเหมือนมีแถบสเปคตรัมสองแถบ

ไล่จาก ม ค นง ข ล ส ด บรรจบกับ ด ส ล ข นง ค ม

จริงๆ มันเป็นอย่างนั้น หรือผมคิดไปเอง แต่ปรากฎการณ์ที่เกิดตอนนั้น ผมจำได้ว่า ดวงอาทิตย์อยู่ค่อนข้างสุง ประมาณบ่ายสองบ่ายสาม น่าจะมากกว่า 30 องศา จากขอบฟ้า

กฤษกร

ตามมาชื่นชมท้องฟ้าค่ะ อยากเห็นด้วยตาตัวเองเองบ้างจังค่ะ

มาต้อนรับ คุณกฤษกร สมาชิกใหม่ด้วยนะคะ

สวัสดีครับ

      อ.Wasawat Deemarn : คุณกฤษกร เจ้าของภาพนี่มืออาชีพครับ ถ่ายแต่ละภาพสวยๆ ทั้งนั้นเลย เดี๋ยวรอชมผลงานต่อเนื่องชุดอื่นๆ

      คุณจ๋อ krisk : ปรากฏการณ์สีรุ้ง (irisation) นี่เข้าใจว่าจะไม่นับเป็นรุ้งปฐมภูมิ หรือรุ้งทุตยภูมิ แบบรุ้งกินน้ำครับ แต่เกิดจากการที่แสงสีขาวหักเหแยกออกเป็นสีต่างๆ ค่อนข้างสุ่มๆ หน่อย ก็เลยได้สีเหลือบรุ้งเหมือนผิวไข่มุกอย่างที่เห็นครับ

      พี่ดาว : ตอนนี้ชมรมคนรักมวลเมฆเริ่มกลับมาคึกคักอีกแล้ว อีกอย่างหน้าร้อนนี่ เมฆเยอะดีจัง เดี๋ยวคงจะได้เห็นปรากฏการณ์สนุกๆ อีกเยอะแยะแน่ๆ ครับ

ภาพสวยมากค่ะ คุณกฤษกร.....หลวมตัว หลงคารมพี่ซิว อีกคนแล้วสิ

สวัสดีครับ หุย

         เรื่องนี้ไม่ต้องใช้คารมอะไรเลย คนรักเมฆนี่พูดถึงเมฆปั๊บ ก็เป็นอย่างนี้ ยิ่งถ้าชอบถ่ายภาพและเดินทางบ่อยๆ ก็มักจะเก็บภาพสวยๆ เอาไว้เยอะแยะครับ

สวัสดีครับพี่ชิวและพี่ๆสมาชิก

ภาพท้องฟ้าคุณจ๋อนั้นสวยจังเลยครับ ชอบมากๆ สวยปานวาด :)

เห็นได้ชัดเจนว่าตั้งใจถ่ายเฉกเช่นคนรักกล้องและท้องฟ้า คุ้มครับกับภาพที่ได้มา

จะรอดูกันต่อไปครับผม :)

สวัสดีครับ เดย์

        เห็นด้วย 100% ครับ เอ้า! สมาชิกทุกท่านฝึกปรือฝีมือการเก็บภาพเพิ่มเติมหน่อย ใครมีปัญหาอะไร ก็ถามเดย์ หรือคุณกฤษกร ได้เลย! (โยนไปให้เซียนกล้องดีกว่า ปลอดภัยดี...อิอิ)

        วันนี้พี่ว่างขึ้นอีกนิดแล้ว เพราะหมดกิจกรรม Origami ขนาดใหญ่ไป 2 งานในสัปดาห์เดียว นับรวมลูกศิษย์ได้กว่า 300 คน! (งานนี้ถ้าเก็บตังค์เอง รวยเละครับ 555)

อ้าวพี่ชิวครับ

งั้นเดย์คุณพี่จ๋อรับไปคนเดียวดีกว่าเด้อเรื่องกล้องน่ะนะ 555 เพราะผมก็กำลังฝึกและจะถามพี่เค้าเหมือนกันครับ อิอิ

ว่างจากเดินสาย Origamiแล้วเหรอครับพี่ ไม่เก็บน่ะดีแล้วครับพี่ หรือจะเอาแบบนี้มั้ยครับ พับกระปุกออมสิน Origami ไว้น่างานแล้วเขียนไว้ว่า สนับสนุนตามแต่จิตศรัทธา 555

ภาพของคุณจ๋อยังมีอีก 2 ชุดรออยู่ครับ

ส่วนเมฆของคุณหุยก็มีอีกชุด

ของพี่ก็อีกชุด

เมฆของเดย์ก็อีกชุดใหญ่

ฤดูร้อนนี่ดีจัง เมฆเยอะจังวุ้ย! ;-)

ตอนผมถ่ายรูปเมฆ ผมมีวิธีอย่างนี้ครับ

-ใช้ เอฟ สต็อป ค่อนข้างแคบ (ตั้ง f8 ในกล้องคอมแพ็กต์เลยแล้วดีเอง แต่ชัตเตอร์สปีด ควรจะสูงพอ!! )

-ถ้าเป็น dSLR ลองใช้ C-PL หันหลังให้ดวงอาทิตย์ถ่าย ฟ้าจะเข้ม เมฆจะเด่นขึ้น (ถ้ายังให้หมุนหาดู) ในอุณหภูมิแสงกลางวัน ใช้กับแสงตอนใกล้พลบไม่ได้ผล

- เครื่องวัดแสงกล้องอัตโนมัติ มีแนวโน้มจะเกลี่ยแสงรวมทั้งหมดเข้ามา บางทีทำให้แสงสี หรือ เมฆจางกว่าที่เห็น ลองชดเชยแสงให้อันเดอร์ สัก 2/3 หรือ 1 สตอป

-ถ้าเลือกได้ ขาตั้งกล้องก็จำเป็น โดยเฉพาะในแสงเย็น หรือเช้า จะทำให้เลือกเอฟ สต็อป ที่เหมาะดีพอ

- ถ้าเมฆมีหยึกหยักน้อย กล้องมักหาโฟกัสพลาด ลองขยับจุดโฟกัสไปหาตำแหน่งที มีความแตกต่างในภาพมากที่สุด เช่น ก้อนเมฆที่เป็นสัน มีขอบ

-แมนนวล โฟกัส ไปที่อินฟินิ้ตี้ ก็พอช่วยได้ ในกรณีคนแก่สายตาเริ่มยาว (แบบผม)แต่อาจมีปัญหาหากใช้ช่วงความยาวโฟกัสกลางๆ ถึงเทเล

-ภาพเมฆสวยๆ ที่เห็นจากนิตยสารต่างประเทศ ไม่ได้เกิดจากการเห็นแล้วกดส่งๆ ไป แต่คนถ่าย มักคิดก่อนแล้วพยายามถ่ายทอดให้ได้เหมือนที่ตาเห็น( แค่นี้ก็ยากแล้ว แค่ถ่ายiriastion ให้เข้มๆ เห็นชัดๆ ก็ต้องใช้ประสบการณ์พอดูแล้วครับ)

เอามะพร้าวมาขายสวนสามพรานเท่านี้ครับ

จ๋อ

สวัสดีครับพี่จ๋อ

นี่เลย เป็นไงล่ะ มืออาชีพเข้ามาแนะนำวิธีตั้งค่าของกล้องเองเลย 555

ขอบคุณมากเลยนะครับพี่ จะน้อมรับเอาไปฝึกให้เก่งขึ้นครับผม :)

สวัสดีครับ

         คุณจ๋อ : ไว้จะขอนำคำแนะนำใน comment #11 ไปขึ้นไว้ในบันทึกใหม่นะครับ จะได้หาง่าย และน่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่สนใจด้วย

         เดย์ : ลองไปฝึกมาก่อน ไว้พี่จะขอเรียนต่ออีกทีหนึ่ง

ยินดีครับอาจารย์ ถ้าเอาไปขึ้นในบันทึกใหม่ ว่างๆ ผมจะแวะมาเติมในรายละเอียดให้ทีละหน่อย ไปทีละสเต็ปๆ หรือให้ท่านอื่นๆมาช่วยเสริม

เพราะไอ้ที่เขียนไป คนถ่ายรูประดับเริ่มต้นอาจจะงงว่า มันอะไรกันนักหนา

หวัดดีครับเดย์ และทุกท่านครับล

จ๋อ

สวัสดีครับ คุณจ๋อ (kriskorn)
        ผมนำความรู้ที่กรุณามาฝากไว้ไปบันทึกไว้ที่นี่แล้วครับ
        ขอบคุณอีกครั้งนะครับ ^__^
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท