มหาวิทยาลัยวิจัยอันดับนำของประเทศ


 

           ผมได้รับข้อมูลที่มิตรท่านหนึ่งส่งต่อมาให้   เป็นข้อมูล research university ranking สำหรับประเทศไทย    ที่สถาบัน ISI จัดทำขึ้นจากฐานข้อมูลของเขา    ซึ่งหมายความว่า ใช้เกณฑ์ของเขา   ซึ่งแน่นอนว่า คงจะไม่สมบูรณ์    และคงจะมีคนหลายคนไม่เห็นด้วยกับเกณฑ์ของเขานัก  

           อ่านผลการจัดอันดับ ๑ – ๕ ใน ๑๐๐ สาขาวิชา ได้ที่นี่

          และเพื่อเป็นการให้เกียรติท่านคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มช. ที่นำมาเผยแพร่   ผมจึงนำเอา อี-เมล์ ของท่านมาลงไว้ด้วย

 

Dear ALL,
The attached file lists top Thai academic & research institutions in the
top 100 ISI subject areas of Thailand in 2008. I thought this information
might be relevant to your interest.
Sincerely & with my best regards,
Mongkon Rayanakorn

Mongkon Rayanakorn, Ph.D.
Associate Professor & Dean (until 27 March 2009)
Faculty of Science, Chiang Mai University
Chiang Mai 50200, Thailand
Tel.+6653 943301, 892207
Fax +6653 222268, 892277
E-mail: mongkon(at)chiangmai.ac.th
E-mail: m.rayanakorn(at)gmail.com

          เมื่อได้รับข้อมูลนี้   ผศ. วุฒิพงศ์ เตชะดำรงสิน รอง ผอ. สกว. ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินความเข้มแข็งด้านการวิจัยของสถาบันต่างๆ ก็ขอความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านการตีพิมพ์ การอ้างอิง และ impact factor คือ ศ. ดร. ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ    และข้างล่างคือความเห็นของท่าน

 

               Dear Aj. Wudhipong,
 
               My quick responses (without further verifications) to the attached file done by Dr Mongkon (CMU) are below;
 
               The data collected from 1 Jan to 31 Dec 2008 are too few to make a conclusion. Greater time span must be needed. [In some years, new doctoral researchers have their papers from their PhD thesis (with Thai affiliations). I have found a few in KMUTT.
               There are a number of articles published in journals outside ISI. If one really needs to find the research strength the articles from other reliable data bases (such as Scopus or PubMed) must also be considered.
               100 research subject areas are too many. I believe that many papers have authorships from different disciplines.
               According to the total number, there are a number of articles being counted more than 1 hit. [Duplications!!]
               I believe that the ranking will change or be more accurate if the article counting was considered by taking account of the authorship contribution (%) and/or the corresponding affiliation.
               I feel good to see someone (more) having an interest on this sort of things.
 

Narongrit 
Professor Dr. Narongrit Sombatsompop
Head of Polymer PROcessing and Flow (P-PROF) Group,
Head of Thai-Journal Citation Index (TCI) Centre,
School of Energy, Environment and Materials,
King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT),
Thungkru, Bangkok 10140, THAILAND.
Tel (662) 470-8645 Fax (662) 470-8614
P-PROF group web site:
http://www.kmutt.ac.th/p-prof/
http://narongrit-Num.hi5.com


          เอามาเผยแพร่เพื่อให้เราทำความเข้าใจความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย   และความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับโลกกันมากขึ้น   ประเทศไทยมีทรัพยากรจำกัด   ไม่สามารถสนับสนุนให้ทุกมหาวิทยาลัย (เวลานี้มีมากกว่า ๒๐๐ สถาบัน) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับโลกได้   ต้องเลือกสนับสนุนเฉพาะมหาวิทยาลัยที่ประเทศใส่เงินลงไปแล้วได้ผลตอบแทนสูง เท่านั้น   และเราต้องการเพียงไม่เกิน ๑๐ มหาวิทยาลัย  

 

วิจารณ์ พานิข
๑๑ มี.ค. ๕๒

           

หมายเลขบันทึก: 248730เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2009 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

รับข้อมูลความรู้ครับ อาจารย์หมอ :)

ขอบคุณครับ

  • แม้นมหาวิทยาลัยอื่น ๆที่ไม่ได้รับการสนับสนุนให้เป็นเลิศในฐานะมหาวิทยาลัยวิจัย  มหาวิทยาลัยเหล่านั้นก็ควรพยามพัฒนาตนเพื่อไปสู่มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นแนวหน้าเช่นกัน  และถ้าทำได้ย่อมแสดงถึงฝีมือของผู้บริหารและครูบาอาจารย์ของสถาบันนั้นว่าสุดยอดจริง ๆ
  • อย่างน้อย ๆก็ควรจะถือเอาการวิจัยเป็นฐานของการเรียนการ
    สอน  โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยหรือคณะ หรือสาขาวิชาทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ควรพยามยามสัมผัสคน  สัมผัสชุมชนให้มาก  ผู้เรียนจะได้เรียนรู้อย่างลึกซึ้งและอย่างซาบซึ้ง  แตกต่างจากการเรียนที่หมกอยู่กับห้องเรียน การ
    บรรยาย และตำรามากมายนัก
  • โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่นอย่างราชภัฏต้องพลิกผันตัวเองมาก ๆ สิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักมาก ๆของสถาบันเหล่านี้ คือ มีทุนขององค์กรค่อนข้างต่ำ  ทางหนึ่งที่จะเพิ่มทุนเดิมให้สูงขึ้นคือการหันหน้าเข้าหากัน ยอมรับนับถือกันและกัน และหาทางที่จะร่วมมือกันให้มากขึ้น  ควรหานวัตกรรมในการทำงานที่เป็นตัวของตัวเองมาใช้ มากกว่าการเดินตามรอยเท้าเก่า ๆ
  • ถ้าทำได้ เพียงเท่านี้ก็นับว่าประเสริฐเหลือหลาย

                                                                         paaoobtong
                                                                            16/3/52
                                                                               6:21

ขอบคุณเป็นอย่างสูงครับที่ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช กรุณานำข้อมูลสถาบัน/หน่วยงาน ที่มีผลงานวิจัยมากที่สุด ลำดับ 1-5 ใน 100 สาขาของประเทศไทย เฉพาะปี พ.ศ. 2551 มาเผยแพร่สู่สาธารณชน ผมเรียบเรียงเอกสารดังกล่าวมาจากฐานข้อมูล ISI Web of Knowledge เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งเป็นช่วงที่ผลงานวิจัยในวารสารต่างๆในปี 2551 ค่อนข้างนิ่งมากๆแล้ว โดยการสืบค้นของผม ได้เรียงลำดับสถาบัน/หน่วยงานต่างๆ จากมากไปหาน้อย โดยไม่ได้จำกัดเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่ได้คงชื่อหน่วยงานอื่นๆ ที่เป็นกระทรวงทบวงกรม ศูนย์/สถาบันแห่งชาติ และโรงพยาบาล ฯลฯ ไว้ด้วย แต่ในการรวบรวมขั้นสุดท้าย ได้ดึงมาเฉพาะ 5 อันดับแรก มาไว้ในตาราง จึงใช้หัวข้อชื่อเอกสารเป็น Top Academic & Researchh Institutions in the Top 100 Research Areas of Thailand ( 1 January - 31 December 2008)แทนคำว่า Top Universities

ขอขอบคุณ ศ. ดร. ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ ที่ให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมา แน่นอนที่สุด หากจะต้องจัดอันดับมหาวิทยาลัย/หน่วยงานต่างๆทางด้านการวิจัย คงต้องใช้ข้อมูลที่ยาวนานพอ และจากฐานข้อมูลหลายฐานประกอบกัน (ถึงแม้ว่าฐานข้อมูล ISI กับ SCOPUS และ PubMed มีความซ้ำซ้อนกันอยู่ค่อนข้างมากก็ตาม) แต่ที่ผมได้เรียบเรียงนำเสนอมาเฉพาะข้อมูลปี พ.ศ. 2551 นั้น ก็เพื่อที่จะทำให้เห็นแนวโน้มสาขาต่างๆที่มีการทำวิจัยค่อนข้างมากในประเทศไทย ซึ่งหลายสาขามีมวลวิกฤต (critical mass) มากพอที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติได้ หากมีการรวมทีมเพิ่มศักยภาพกัน โดยไม่ต้องแยกสถาบัน ทั้งนี้จากฐานข้อมูลแต่ละสาขา ย่อมจะสามารถระบุรายชื่อและสังกัดของนักวิจัยที่มีศักยภาพในสาขานั้นๆได้โดยไม่ยาก สำหรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัย/สถาบัน/หน่วยงานวิจัยต่างๆในประเทศไทย ที่สมบูรณ์แบบ นั้น ขอยกให้เป็นหน้าที่ของ สกว. สกอ. สมศ. หรือ วช. พิจารณาดำเนินการต่อไป ซึ่งคงจะต้องคำนึงถึง impact factor, hi-factor, จำนวนผลงาน/คน/ปี ฯลฯ ต่อไป

I thought you all would be interested in the QS.com Asian University

Rankings 2009, released by QS Quacquarelli Seymonds, the compilers of the

THE-QS World University Rankings, on 12 May 2009. Details of this first

regional ranking from the QS are obtainable at the following websits:

http://www.topuniversities.com/university_rankings/asianuniversityrankings

ไม่ควรลืมว่าการจัดอันดับตามข้างต้นนั้นนับจำนวนรวมบทความทั้งหมดของแต่ละมหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงไม่ได้สะท้อนถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการทำงานของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น

จุฬาลงกรณ์และมหิดลมีอาจารย์ 2800 - 2900 คน

มจธ มีอาจารย์ประมาณ 570 คน

ม.เทคโนโลยีสุรนารีมีอาจารย์ประมาณ 270 คน

(ตัวเลข ณ ปี 2008) ซึ่งมีความแตกต่างในระดับสิบเท่าตัว หากนับเป็นจำนวนบทความต่อจำนวนอาจารย์ อันดับต่าง ๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท