การเข้าถึงตัวตน ภาพลักษณ์ 3


ปริยัติ เกิดมาจากปฏิเวธ ปฏิเวธ จะเกิดได้เพราะปฏิบัติ ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่ถึงปฏิเวธ ไม่มีปฏิเวธ เมื่อไม่มีปฏิเวธ คือไม่รู้แจ้งเห็นจริงก็บัญญัติไม่ถูก

ความเห็นของคุณกวิน  (ต่อ)  จะเห็นได้ว่า ภาพลักษณ์ของ พระเทวทัต และภาพลักษณ์ของ พระจี้กง เป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจภาพลักษณ์ภายนอกได้ดียิ่งขึ้น (เข้าใจว่าเราอาจะไม่สามารถเข้าใจได้เลย) ถามว่า ในสังคมเรานี้มีคนอย่าง พระเทวทัต หรือคนอย่าง พระจี้กง มากกว่ากัน? จะเห็นได้ว่าหากนำภาพลักษณ์ ภายนอกมาตัดสินคน ว่า ดี หรือ เลว หรือเพียงเพราะการกระทำของเขา หรือจากการฟังตามๆ กันมา ว่าเขาดี หรือเลว นั้นยังไม่สามารถตัดสินคนๆ นั้นได้

ในคัมภีร์ทีฆนิกายสีลขันธวรรค กล่าวไว้ว่า ทุชฺชาโน สมโณ ทุชฺชาโน พรฺาหฺมโณ แปลว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์ก็รู้ได้ยาก การที่จะ รู้ว่าใครคือสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ที่แท้นั้น ต้องอยู่ใกล้ชิดนานๆ ด้วยเหตุนี้ การที่จะดูคน ว่าดีหรือเลว จึงดูได้ยากเพราะต้องใช้เวลา (3)

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์  มาตรา 15 กล่าวถึงสภาพบุคคลเอาไว้ ว่า "สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย" การคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก ถือเป็นการเกิดครั้งที่หนึ่งของมนุษย์ แต่ทว่า มนุษย์นั้นย่อมถูก อวิชชา  ห่อหุ้มดวงจิต หากมนุษย์ผู้ใดรู้จักทำลาย อวิชชา (เปลือกไข่) ให้แตกสลายย่อยยับลงไปได้ มนุษย์ผู้นั้นก็จะมีชีวิตใหม่อันประเสริฐ ซึ่งถือเป็นการเกิดครั้งที่สอง  ก็ฉันนั้น การเกิดครั้งที่สอง/การเกิดสองครั้ง ตรงกับคำศัพท์ในภาษาบาลี ที่ว่า  ทวิช / ทิช ซึ่งมีความหมายดังนี้

ทวิช, ทวิช- [ทะวิด, ทะวิชะ-] (แบบ) น. นก; พราหมณ์. (ป., ส. ทฺวิช ว่า ผู้เกิด 2 หน). 

ทิช-, ทิชะ / ทิชา [ทิชะ-] (แบบ) น. ผู้เกิด 2 ครั้ง คือ นก และพราหมณ์. (ป., ส. ทฺวิช) (4)

การที่คุณ
ศิลา กล่าวถึงว่า ถ้าเราไม่เห็นทางเข้าก่อน จะเห็นทางออกได้อย่างไร  เฉกเช่นถ้าเราไม่เข้าถึงก่อน เราจะหลุดพ้นได้อย่างไร?

เพิ่มเติม ก็ต้องตอบด้วยคำถามที่ว่า ลูกเจียบเข้าไปอยู่ในไข่ได้อย่างไร? (ไม่เห็นมีทางเข้าทางออก) ก็แล้วลูกเจี๊ยบจะออกมาจากไข่ได้อย่าง?

                                                               ความเห็นของศิลา ภู ชยา 

คำตอบของศิลาเกี่ยวกับเรื่องลูกเจี๊ยบของคุณกวินอยู่ภายใต้บริบทต่อไปนี้ค่ะ   ......

1.       สันตติ การสืบต่อ คือการเกิดดับต่อเนื่องกันไป โดยอาการที่เป็นปัจจัยส่งผลแก่กัน ในทางรูปธรรมที่พอเห็นอย่างหยาบ เช่น ขนเก่าหลุดร่วงไป ขนใหม่เกิดขึ้นแทน ความสืบต่อแห่งรูปธรรมจัดเป็นอุปาทายรูป อย่างหนึ่งในทางนามธรรมจิตก็มีสันตติ คือ เกิดดับสืบเนื่องต่อกันไป

พระเทพเวที, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, (กรุงเทพฯ : สหธรรมิก, ๒๕๓๒) หน้า ๓๒๔- ๓๒๕  จาก      http://www.prapitum.mbu.ac.th/phrarpitum/apitum10-2-main_info.html

            2.

มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )

 

 

..(มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)
..........แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์
.....เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับ
.....ตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือด
.....แห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสาย
.....กลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว

..........คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์
.....ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย
.....อำนาจของอวิชชา ....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือก
.....ฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :-
..........1.
สัมมาทิฏฐิ คือความเข้าใจถูกต้อง
..........2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
..........3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
..........4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
..........5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
..........6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
..........7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
..........8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง
.....การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกัน
.....แล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ
...............การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค
....

จาก  http://www.learntripitaka.com/scruple/muck8.html

 

3.       ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ  เป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนา

          ปริยัติ            เป็นชื่อเรียกคำสอนทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

          ปฏิบัติ  ปฏิบัติตนตามนัยที่พระองค์ทรงสอนไว้

          ปฏิเวธ            เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาเองภายในใจของผู้ปฏิบัติ  เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคลไม่ใช่ของเกิดได้ในสาธารณะทั่วไป

                ทีนี้จะพูดถึงหลักความจริงแล้วมันจะกลับกันจากความเข้าใจของคนทั่วไป  คือ  ปริยัติ  เกิดมาจากปฏิเวธ  ปฏิเวธ  จะเกิดได้เพราะปฏิบัติ  ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่ถึงปฏิเวธ  ไม่มีปฏิเวธ  เมื่อไม่มีปฏิเวธ  คือไม่รู้แจ้งเห็นจริงก็บัญญัติไม่ถูก  ( บัญญัติ  ก็คือปริยัติ   )  บัญญัติไม่ถูกก็ไม่มีปริยัติ  เมื่อพูดตามความเป็นจริงแล้วมันต้องเป็นอย่างนั้น

จาก  ๓๗.  ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

แสดงธรรม วันที่    ธันวาคม  ๒๕๑๖

ณ วัดหินหมากเป้ง  . ศรีเชียงใหม่  .  หนองคาย     รายละเอียดจาก  http://www.thewayofdhamma.org/page3_2/patum37.html

 ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หมายเลขบันทึก: 248251เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2009 21:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

สาธุ ใครนะรู้ใจครูต้อย สาธุค่ะ โชคดีได้อ่านก่อนนอนันนี้คุณหมอแจ้งว่าไม่อนุญาต ให้นอนดึกเกิน 3 ทุ่ม แง่ๆ บายๆ พรุ่งนี้ค่อยอ่านของท่านอื่นๆ ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

พี่ศิลา อิอิ

นอกจากจะชื่อเหมือนนามสกุลกอแล้ว

ยังมีความสุขเท่ากันกับกออีก อิอิ

เค้าว่า คุณมีความสุขมากกว่าคนทั่วไป

ตอนแรกงง ตกใจ แต่กอแอบเข้าไปเห็น

พี่สายธาร ได้ตั้ง 43 อิอิ พี่สายธาร มากกว่าคนทั่วไป และมากกว่าเราสองคนอีก อิอิ

โชคดีมีความสุขน่ะค่ะพี่ศิลา

ปู้ดดดดดดดดดดดดดดด

ป้าดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

แปดดดดดดดดดดดด

ตดใส่ส่ะเลย อยากได้คะแนนเท่ากันนัก อิอิ

ขอบคุณ สำหรับ ข้อคิดดีดี สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ค่ะ

  • ขอรัดคิวตอบน้องกอก้านP ก่อนนะคะ เพราะทนกลิ่นไม่ไหวจริง ๆ ค่ะ  55555
  • พี่อยากบอกว่ายกให้คุณสายธารไปเลยค่ะ เราสองคนยอมแพ้ เพราะคุณสายธารมีกำลังใจในตัวมากมาย แจกจ่ายประชาชนชาว G2K ให้หายท้อ หายเหนื่อย  คนที่เป็นผู้ให้กำลังใจคนอื่น ๆ ก็ต้องสุขกว่าคนอื่นจริงไหมคะ....เย  (คุณสายธารอ่านเจอเมื่อไหร่  เดี๋ยวขอรับรางวัลหลังไมค์ นะคะ)
  • ขอเพียงสุขแค่นี้ก็พอค่ะ น้องกอก้าน  แต่ถ้าจะให้ดี อย่าเที่ยวแจกทุกข์ให้คนอื่นอย่างนี้นะคะ  เดี๋ยวพี่วิ่งไปหาสเปรย์ก่อน
  • เมื่อคืนทานอะไรมาค่ะเนี่ย
  • น้องหมาพี่ศิลาโกรธเลย เขาเหม็นนะ

โอ้โห พี่ ศิลา

นี่น้องหมาโกรธแล้วเหรอค่ะเนี๊ยะ

อิอิ แน่จริงมากัดสิ

พอดีกอยังฉีดยาไม่ครบเลยค่ะ

อ๋อ มาบอกพี่ศิลาว่า

ไม่ต้องหาสเปย์ ไม่ต้องเอามือปิดจมูก

แค่เอามืออุดรูหูก็พอค่ะพี่

เพราะกอตดไร้กลิ่น ไร้เงา

มีแต่เสียงสะท้านฟ้า สะท้านดิน แค่นั้นเอง

ปู้ดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

ป้าดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

แป้ดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

ว่าแล้วก็ตดอีกชุด ชุดใหญ่เลยค่ะ อิอิ

คุณ ศิลา ที่เริ่มมองเห็น หลัก ไตรลักษณ์ จากเรื่อง นพลักษณ์ แล้วนะครับ ไตรลักษณ์ (ลักษณะ 3 ประการคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) สิ่งที่ปิดบังให้เรามองไม่เห็น ไตรลักษณ์ ก็คือ

อนิจลักษณะ มี สันตติ (continue) เป็นตัวปิดบัง 
ทุกขลักษณะ มี อิริยาบถ (action) เป็นตัวปิดบัง
อนัตตลักษณะ มี ฆน (cluster) เป็นตัวปิดบัง (1)


หลักสำคัญ ของพุทธศาสนานั้นสอนเรื่อง อนัตตลักษณ์ (Non self) แต่เรื่อง นพลักษณ์ (ยังสอนข้องอยู่ด้วย อัตตลักษณ์) จึงถือกำเนิดมาจากคนละราก (Root) ทางความคิด อย่างที่ อาจารย์ รศ.ชยพร แอคะรัจน์  กล่าวเอาไว้ในบันทึก แรกๆ 

บทสวด สังเวคปริกิตตนปาฐะ ท่อนหนึ่งสวดว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ แปลว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน 

  


อ้างอิง
(1) กวิน (นามแฝง). จดหมายถึงยัยพิณ (ไตรลักษณ์) [cited 2009 march 15].Available from: URL; http://gotoknow.org/blog/l2p/178159

  • จริง ๆ แล้ว คุณกวินเพิ่งกล่าวไว้ในความเห็นครั้งก่อน ๆ ว่า การเขียนเพียงเล็กน้อยย่อมทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ซึ่งครั้งนี้ก็ได้พิสูจน์จากการอธิบายแบบไม่ตอบของศิลา
  • ศิลาจงใจไม่ให้คำตอบโดยตรง โดยไม่กังวลว่าจะเกิดความเข้าใจผิดหรือไม่ เพราะต้องการให้ผู้อ่านตีความกันโดยอิสระ ในบางครั้ง เมื่อผู้อ่านตีความความเห็นของเราและสะท้อนออกมา  เราได้เห็นแล้วว่าเรื่องเดียวกัน มองได้ต่างมุม นั่นเป็นเพราะ “ภาษา” เป็นสิ่งสมมติ อีกทั้งยังมีเรื่องการปรุงแต่งลงไปในสิ่งสมมติ
  • บังเอิญว่าสิ่งที่คุณกวินเข้าใจเป็นเรื่อง นพลักษณ์สิ่งศิลากังวลว่าจะกระทบต่อครูบาอาจารย์ที่สอนศิลามา  จึงเรียนชี้แจงว่านพลักษณ์ไม่ได้มุ่งเป้าหมายเรื่องอัตตลักษณ์เป็นหลัก หรืออะไรทั้งสิ้นค่ะ ส่วนมุ่งเรื่องอะไร ตรงนี้ขอไม่ตอบ เพียงอยากบอกว่าไม่มีราก ไม่มีตัวตน สรรพสิ่งล้วนว่างเปล่า
  • กรณีสันตติที่ยกมา เพื่อจะบอกว่าศิลาจะไม่ขอตอบคำถามเรื่องลูกเจี๊ยบเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสันตติโดยศิลามุ่งเน้นการ ตัดสันตติจึงได้ยกทางดับทุกข์ และยกเรื่องปฏิบัติ ปฏิเวธ และปฏิยัติ เพื่อจะตัดเรื่องนี้ออกไป ไม่ได้หมายความว่ามองผ่านนพลักษณ์แล้วเห็นอัตตลักษณ์ค่ะ
  • ศิลาไม่มีความรู้มากพอในเรื่องปริยัติ จึงขอไม่ตอบอะไรอีกค่ะ
  • จากใจจริงว่า หากข้อความอะไรของศิลาจะทำให้เกิดความเข้าใจไปในทางไหนก็ตาม ก็คงเป็นตัวศิลาเองที่สื่อไม่ดี ต้องขออภัยด้วย แต่ไม่เกี่ยวกับ "นพลักษณ์" ค่ะ 
  • ขอบพระคุณอย่างสูงที่ให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  สิ่งที่คุณกวินได้ "ให้" ในเรื่องนี้มีค่ามากมาย
  • ขอแสดงความเห็นนะคะ หากเราไม่รู้ตัวตน เราจะหลุดพ้นกันอย่างไรหรือคะ มุ่งไปในทางอนัตตลักษณ์ (Non self)โดยตรง โดยไม่ผ่านการรู้ตัว (อัตตลักษณ์) ได้เลยหรือคะ
  • เกิดขึ้นมาแล้ว.. ก็มุ่งดุ่ย ๆ ไปตรง ๆ เพื่อไปสู่ภาวะไร้ตัวตนโดย ในระหว่างทางดับทุกข์  เราไม่คิดจะ "รู้ตัวตน" กันเลยหรือคะ
  • กล่าวแบบ "ผู้ไม่รู้จริง" ว่า  "เรารู้เพื่อละ" ไม่ได้หรือคะ
  • ทำไม จึงยึดว่าสิ่งนี้มาจากที่ไหน  ทำไมต้องแบ่งสาย แบ่งราก
  • ลองโละสิ่งที่ติดอยู่กับความคิดที่อาจจะเป็นอวิชชา แล้วลองค้นหาจากการปฏิบัติ จะดีกว่านะคะ 
  • ปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติต่างจากการรู้ปริยัตินะคะ
  • ขอเน้นว่า "รู้ตัวตนเพื่อละตัวตน" ค้นพบด้วยปัญญาตนดีกว่าค่ะ
  • หากคำใดกล่าวผิดไป ขออภัยด้วย เจตนาเพียงให้ฉุกคิดทบทวนกันดู อย่ามุ่งตัดสินว่าใครคิดอย่างไร แตกต่างจากเราแค่ไหน
  • ให้มุ่งไปที่ "เราอ่านแล้ว ฟังมาแล้ว คิดแล้ว เราได้อะไร" มุ่งที่ตัวตนเราเองค่ะ ขอเน้นนะคะ มุ่งที่ตัวเองค่ะ รู้ตัวและละตัวเองค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ 

 

  • มาแบบพุ่งมาเลยไม่ได้แนะนำตัว
  • เด็กใหม่ค่ะ หัวรุนแรง ไม่รู้ว่าจะอยู่ในวงการนี้ได้อีกนานแค่ไหน
  • จะพยายามปรับตัวค่ะ ผิดพลั้งพลาดอะไรไป ลบความเห็นได้นะคะ จริงใจ จริงจังค่ะ

แล้วที่แสดง คคห. ไว้นี่ยังรู้ตัวอยู่หรือไม่รู้ตัวครับ คุณ bad anger เอ้ย angel แล้วทำใมต้องแบ่งราก (root) ว่า bad หรือ good angel? ครับ :)

สำหรับกวินเกือบจะลืมตัวแต่ก็ยังรู้ตัวตอนที่พิมพ์ล่ะตัวเองก็

  • ^   ^
  • เพราะรู้ว่าเป็นคนเลวน่ะซิ เลยตั้งชื่อนี้ ฮาฮาฮา
  • ดีจังที่คุณกวิน "รู้ตัว" ขณะพิมพ์ผิด ถ้าอย่างนั้น ก็ปฏิเสธไม่ได้แล้วซินะว่าก่อนที่จะไปสู่การไม่มีตัวตน เราต้องรู้ "ตัว"ก่อน พอรู้แล้วก็ละไงล่ะ
  • รู้เยอะ ๆ อย่างนี้ ละได้ สบม.
  • อย่าถือสานะ  ไม่ได้ "โกรธ" อะไร  แต่สงสัยว่า Bad Angel จะอยู่ได้อีกไม่นาน  ที่นี่มีแต่คนดี ๆ ฮาฮาฮา
  • กำลังทบทวน "ตัวเอง" อยู่นะ ตัวเองก็

ลืมไปนะตัวเอง การรู้ว่าตัวเองเลว ก็คือการ "รู้ตัว" คือการอยู่กับตัวเอง น่าจะคนละเรื่องกับการเอาตัวเองไปตัดสินสิ่งภายนอกว่ามีรากอะไรนะ เพราะสุดท้ายก็คือการถอนรากถอนโคนไม่ใช่หรือตัวเอง

คิดก่อนนะ ติ๊ก ต๊อก ๆ ๆ ๆ

วันหนึ่งท่านอาจารย์ (พระสังฆปรินายกองค์ที่ 5 ของจีน) เรียกประชุมศิษย์ทั้งหมด ให้แต่ละคนเขียน "โศลก" บรรยายธรรมคนละบทเพื่อทดสอบภูมิธรรม "ชินเชา (ชินชิ่ว)" หัวหน้าศิษย์ เป็นผู้ที่ใคร ๆ ยกย่องว่าเป็นผู้เข้าใจธรรมะอย่างลึกซึ้งกว่าคนอื่น และมีหวังจะได้รับมอบบาตรและจีวรจากท่านอาจารย์แน่ ๆ ได้แต่งโศลกบทหนึ่ง เขียนไว้ที่ผนังว่า

"กาย คือต้นโพธิ์
ใจ คือกระจกเงาใส
จงหมั่นเช็ดถูเป็นนิตย์
อย่าปล่อยให้ฝุ่นละอองจับ"


ท่านอาจารย์อ่านโศลกของชินเชาแล้ว ชมเชยต่อหน้าศิษย์ทั้งหลายว่าเป็นผู้เข้าใจธรรมอย่างลึกซึ่ง (แต่ตอนกลางคืนเรียกเธอเข้าไปพบตามลำพังบอกว่าชินเชา "ยังไม่ถึง" ให้พยายามต่อไป) เว่ยหล่างได้ฟังโศลกของหัวหน้าศิษย์แล้ว มีความรู้สึกเป็นส่วนตัวว่า ผู้แต่โศลกยังเข้าใจไม่ลึกซึ้ง จึงแต่โศลกแก้ เสร็จแล้ววานให้เพื่อนช่วยเขียนให้ เพราะเว่ยหล่างอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ โศลกบทนั้นมีความว่า

"เดิมที ไม่มีต้นโพธิ์
ไม่มีกระจกเงาใส
เมื่อทุกอย่างว่างเปล่าตั้งแต่ต้น
ฝุ่นละอองจะลงจับอะไร"

โศลกของเว่ยหล่าง (มหายาน) สอดคล้องบทสวด ทำวัตร เช้า ที่ชื่อ สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐะ (เถรวาท) ความว่า

" รูปัง อะนิจจัง, เวทะนา อะนิจจา, สัญญา อะนิจจา, สังขารา อะนิจจา, วิญญาณัง อะนิจจา, รูปัง อะนัตตา, เวทะนา อนัตตา, สัญญา อะนัตตา, สังขารา อะนัตตา, วิญญาณัง อะนัตตา, สัพเพ สังขารา อะนิจจา, สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ, " แปลว่า

"รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปไม่ใช่ตัวตน เวทนาไม่ใช่ตัวตน สัญญาไม่ใช่ตัวตน สังขารไม่ใช่ตัวตน วิญญาณไม่ใช่ตัวตน สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนดังนี้" (1)

ที่ยก (พระ)สูตรของเว่ยหล่าง มานี้ก็เพื่อจะอธิบายว่า หากยังติดยึดว่า
กาย คือต้นโพธิ์ ใจ คือกระจกเงาใส จงหมั่นเช็ดถูเป็นนิตย์ อย่าปล่อยให้ฝุ่นละอองจับ
ก็อาจจะไม่สามารถเข้าสู่สภาวะที่ ฝุ่นละอองไม่รู้จะลงจับอะไรได้ เพราะมัวแต่ ถูกระจก (ห้ามผวน) การ ถูกระจก มีความหมายเดียวกันกับ การลูบๆ คลำ ศีล (สีลัพพตปรามาส) และมีความหมายเดียวกันกับ การติดยึดติดอยู่กับการปฏิบัติเพื่อหวังมรรคผลนิพพาน  

คุณศิลาคงจะเคยได้ยินคำว่า จิตเดิมแท้ (Essence of Mind) นั้นประภัสสร ขอยกตัวอย่าง สันตติมหาอำมาตย์ มาอธิบาย
 
สมัยหนึ่งสันตติอำมาตย์ออกไปรำงับ ปัจจันตประเทศ (ประเทศที่มารบพุ่ง) ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ที่หมู่อรินทรราชเหล่าร้ายกำเริบเสร็จแล้วกลับคืนมา พระเจ้าปเสนทิโกศลได้พระราชทานสมบัติให้แก่มหาอำมาตย์รวมเจ็ดวัน แล้วพระราชทานสตรีผู้ฉลาดในการฟ้อน และการขับให้คนหนึ่ง มหาอำมาตย์นั้นดื่มสุรามัวเมาอยู่เจ็ดวัน ครั้นถึงวันที่เจ็ดมหาอำมาตย์ขึ้นช้างไปสู่ท่า เพื่อจะอาบน้ำได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาต มหาอำมาตย์ก็โคลงศีรษะ ถวายนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็หลีกไป (ไหว้แบบคนเมาหัวสั่นหัวคลอน) พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแย้มพระโอษฐ์ออกให้ปรากฎ พระอานนท์เห็นดังนั้นจึงกราบทูลถามสาเหตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมีพระพุทธวจนบริหารว่า สันตติมหาอำมาตย์นั้น มีอัตภาพที่ตกแต่งไปด้วยสรรพาภรณ์อลงการทั้งปวง แล้วจะมาสู่สำนักตถาคตและจะบรรลุพระอรหัต ในกาลเมื่อจบพระธรรมเทศนาคาถาสี่บท แล้วจะนั่งเหนือนภาดล มีประมาณเจ็ดชั่วลำตาล แล้วก็ปรินิพพาน ฝ่ายมหาอำมาตย์นั้น เมื่อเล่นน้ำอยู่ในท่าสิ้นวันยังค่ำ แล้วก็กลับมาสู่สวนราชอุทยาน ฝ่ายสตรีที่ได้รับพระราชทานมาให้นั้น ก็ลงสู่สนามฟ้อน สตรีนั้นบริโภคอาหารน้อย (อดอาหารเพื่อให้หุ่นสวย) อยู่เจ็ดวัน เพื่อประโยชน์จะแสดงลีลาศเยื้องกราย เมื่อแสดงฟ้อนและขับอยู่นั้น ลมสัตถกวาตอันคมดุจศัสตรา ก็บังเกิดขึ้นในอุทรตัดหทัยให้ขาดไป สตรีนั้นก็ทำกาลกิริยาตายในขณะนั้น มหาอำมาตย์เห็นดังนั้นความโศก ก็เข้ามากลุ้มกลัดครอบจิตสันดาน แล้วมาดำริว่า บุคคลอื่นเว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ไม่อาจดับความโศกของตนได้ มหาอำมาตย์พร้อมด้วยพลนิกาย ก็ไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าในเพลาสายัณห์ ถวายนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า ความโศกได้บังเกิดแก่ข้าพระบาท จึงมาเฝ้าพระองค์ด้วยคิดว่าพระองค์อาจสามารถ จะดับความโศกของข้าพระบาทเสียได้  พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงมีพระพุทธวจนภาษิตกถาว่า ท่านมาสู่สำนักตถาคตผู้สามารถจะยังความโศกของท่านให้ดับได้ แท้จริงท่านร้องไห้ในกาล เมื่อสตรีผู้นี้กระทำกาลกิริยา ด้วยเหตุอย่างนี้สิ่งเดียวเท่านั้น น้ำตาของท่านที่ไหลออกนั้น ถ้าจะรองไว้ไม่ให้แห้งไปเสียเลยแล้ว ก็จะมากยิ่งนักกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้งสี่นี้อีก พระพุทธฎีกาภาษิตนี้ เมื่อจะประทานพระอมตสุธารสธรรมเทศนา จึงกล่าวเป็นบาทพระคาถามีเนื้อความว่า  ดูกร สันตติมหาอำมาตย์ น้ำตาของท่านที่ไหลออกแล้วในกาลก่อนนั้นมีอยู่ ท่านจงยังน้ำตาให้เหือดแห้งเสียเถิด การกังวลจงอย่ามีแก่ท่านในภายหลังอีกเลย ผิว่าท่านไม่ถือเอาการกังวลนั้นอีกไซ้ร ท่านก็จะเป็นบุคคลเข้าไปรำงับได้ด้วยประการ ฉะนี้  ครั้นเสร็จพระคาถาสี่บาทนั้นลงแล้ว สันตติมหาอำมาตย์ ก็ได้บรรลุพระอรหัต (2
          
ถามว่า สันตติมหาอำมาตย์ มิได้ปฏิบัติ และมิได้รู้ ปริยัติ แล้วไฉนจึง ปฏิเวธ ได้เล่า?

ก่อนที่จะแสวงหาคำตอบคงต้องมาพิจารณาเรื่อง จิตเดิมแท้ (Essence of Mind) และจากคำบอกเล่าของพุทธองค์ที่ว่า สัจธรรมสูงสุด (Ultimate Truth) นั้นมีอยู่ก่อนแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้า ทุกพระองค์ต่างก็ ตรัส(ว่า)รู้ แล้วจึงเผยแพร่บ้าง บ้างก็ไม่เผยแพร่ สัจธรรมสูงสุด นั้น

เขียนมาซะยืดยาว เพียงจะ สรุป สั้นๆ ว่า ถ้ารักจะ ถูกระจก ก็ต้องถูแบบ รู้สึกตัวและทราบถึง แก่น คือหลักแห่ง ไตรลักษณ์ ว่าด้วยเรื่อง อนัตตา นั่นเอง


อ้างอิง

(1) กวิน (นามแฝง). (พระ)สูตรของเว่ยหล่าง โดย พุทธทาสภิกขุ  [cited 2009 march 16].Available from: URL; http://gotoknow.org/blog/kelvin/195931

(2) พระอสีติมหาสาวก 57. [cited 2009 march 16].Available from: URL; http://www.heritage.thaigov.net/religion/priest/priest57.html

ผู้ใดรู้ขั้นไหนก็จะอธิบายในขั้นที่ตนรู้

ผู้ใดรู้ขั้นไหนก็ไม่ยอมบอกขั้นที่ตนรู้

ผู้ใดรู้ขั้นไหน ปล่อยว่าง ให้ผู้อื่นเรียนรู้ตามจริตตน

นักปฏิบัติควรรู้อาการของจริตที่จิตของตนคบหาสมาคมอยู่ เพราะการรู้อารมณ์จิตเป็นผลกำไรในการปฏิบัติ เพื่อการละด้วยการเจริญสมาธิก็ตาม พิจารณาวิปัสสนาญาณก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่การควบคุมความรู้สึกของอารมณ์ ถ้าขณะที่กำลังตั้งใจกำหนดจิตเพื่อเป็นสมาธิ หรือพิจารณาวิปััสสนาญาณอารมณ์จิตเกิดฟุ้งซ่าน ก็จะได้น้อมนำเอาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาประคับประคองใจให้เหมาะสมเพื่อผลในสมาธิ หรือหักล้างด้วยอารมณ์วิปัสสนาญาณเพื่อให้ได้ฌานสมาบัติ หรือมรรคผลนิพพาน พระธรรมเพื่อผลของสมาบัติ ท่านเรียกว่า "สมถกรรมฐาน" มีทั้งหมด 40 อย่าง http://www.larnbuddhism.com/grammathan/jarit2.html

บางเรื่องเราจึงไม่สามารถเร่งรัดได้ ต้องปล่อยไปตามธรรมชาติของการ รู้ตามจริตตน

สวัสดึครับ กัลยาณมิตรทุกท่าน

สำหรับผมขอเรียนว่า มิได้มีภูมิรู้ ภูมิธรรมแต่อย่างใด

เพียงแต่กำลังสงสัยด้วยสมองน้อยว่า

พวกท่านกำลังแลกเปลี่ยนกันเรื่องอะไรครับ

ยอมรับว่าผมอ่านไม่ค่อยรู้เรื่องครับ

ขออนุญาตเทียบเคียงกับเรื่อง KM ว่าความรู้มีสองส่วน

ในส่วน Explicit Knowledge กับ Tacit Knowledge

สำหรับการแลกเปลี่ยนในเรื่อง Explicit Knowledge หรือตัวปริยัตินั้น ผมคิดว่ามันไม่น่าจะก่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตัวตน หรือละตัวตน เท่าที่ควร

ผมคิดว่าเราน่าจะมาแลกเปลี่ยน Tacit Knowledge  อันเป็น "ปัญญาปฏิบัติ" ที่เกิดจากการปฏิบัติจริง น่าจะก่อประโยชน์กว่ามั๊ยครับ  หากท่านใดปฏิบัติแนวไหน แล้วได้รับผลดี ละตัวละตน ละอัตลักษณ์ได้ ผมถือว่าเป็น Best Practice ขอให้นำมาแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างกัน  ดีไม่ดีเราอาจจะได้ นวัตกรรมแห่งการปฏิบัติ (ธรรม) ในรูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดจากการบูรณาการหลายๆ ศาสตร์ก็ได้นะครับ

สำหรับผม ขออนุญาตเรียนรู้อยู่ห่างๆ นะครับ 

เพราะผมยังไม่ "กล้าหาญ" พอที่จะละทิ้ง "อัตตา" ตัวตนอันนี้ ที่ธรรมชาติให้มา

ขณะนี้ ผมยังไม่พร้อม และทำใจไม่ได้ ที่ "ตัวเอง" จะสูญหายไปอย่างไม่มีวันหวนคืน (แต่วันหน้าก็ไม่แน่...อาจเปลี่ยนใจ)

ผมยังยอมรับได้ ที่จะมีความทุกข์  ปะปนไปกับความสุขเล็กๆ น้อยๆ  ผมยังพอใจที่จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  แม้ว่ามันอาจต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวด

และนี่อาจเป็นเสียงสะท้อนจากเจ้า "อัตตา" ตัวตนของผมก็เป็นได้  ที่มันยังไม่อยากจะถูก "ฆาตกรรม" ก่อนวัยอันควร

ได้โปรด "เมตตา" เจ้า "อัตตา" ตัวน้อยๆ ของผมด้วยนะครับ

คิดซะว่า กำลังโปรดสัตว์โลกผู้มืดบอดและเบาปัญญา (ปฏิบัติ)ด้วยนะครับทุกท่าน

"ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"

แต่หากไร้ "ตน" แล้ว "ตน" จะพึ่งใคร???

:)

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ แปลว่า ให้เรารู้จักมีอัตตาเป็นที่พึ่ง/เรามีที่พึ่งคืออัตตา (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน) ขุ. ธ. ๒๕/๓๖, ๖๖. แต่พุทธองค์ก็เตือนว่า อตฺตา หเวชิตํ เสยฺโย ขุ.ธ. ๒๕/๒๙ แปลว่า ชนะอัตตานั่นแหละดี.

นั่นคือพระพุทธองค์สอนให้ เราหมั่นทำ จิตให้ว่าง ปลง (อนัตตา) แต่ย่อมไม่ใช่การว่างแบบ อุจเฉททิฏฐิ

คําว่า  อุจเฉททิฏฐิ ประกอบมาจากคําสองคําคือ อุจเฉทะ (ขาดสูญ, ขาดสิ้น, ตัวขาด)และ ทิฏฐิ  (ความเห็น, การเห็น, ลัทธิ , ทฤษฎี , ทัศนะ) อุจเฉททิฏฐิ หมายความวา ทัศนะที่ เชื่อว่าอัตตาและโลกขาดสูญ ในความเห็นว่าขาดสูญ หมายความว่า เห็นว่าหลังจากตาย อัตตาและโลกจะพินาศสูญหมด กล่าวคือ หลังจากตายแลว อัตตาทุกประเภทไม่มีการเกิดอีก ในคัมภีร์ธรรมสังคณี อภิธรรมปิฎก นิยามความหมายของอุจเฉททิฏฐิ ไวว่าอุจเฉททิฏฐิ คือแนวคิดที่ถือว่า อัตตาและโลกขาดสูญ อีกนัยหนึ่ง อุจเฉททิฏฐิ หมายถึง การปฏิเสธความไม่มีแห่งผลของการกระทําทุกอย่าง คือ ไม่ยอมรับว่ามี ผลย้อนกลับมาถึงตัวผู้ทําทุกอย่างจบสิ้นเพียงแค่เชิงตะกอน 


จงดูภาพนี้แล้วตอบว่า ปฏิบัติ ปริยัติ ปฏิเวธ นั้นอะไรเป็นต้นสาย? แล้วดูเฉลยด้านล่าง  

Nonself 

 

แวะมาเยี่ยม และอ่านบันทึกดๆ คิดถึงพี่ศิลาค่ะ

ดูแล้วก็ยังงงๆ น่ะครับ

ดูแล้วก็ยังไม่เห็นว่า "ทุกข์" จะหายไปได้อย่างไร

ผมขอต้องขออนุญาต กลับไปฝึกดูจิตดูใจ ดูกายตัวเองก่อนดีกว่า

เอาไว้ถ้ามีสติปัญญามากกว่านี้ ค่อยขอกลับมาดูรูปอีกทีนะครับ

ขอบคุณครับที่เมตตากัน

  • สวัสดีคุณ ป.ม.11 ที่แวะมา มาปั๊บ ก็ได้ยินเสียงดังสนั่นของน้องกอก้าน
  • ภาพลักษณ์เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ลองอ่านความเห็นของทุกท่านไปเรื่อย ๆ ก็จะเห็นว่าอาจจะพูดเรื่องเดียวกันอยู่ก็ได้ค่ะ เพียงแต่หยิบบางมุมไฮไลท์ เมื่อนำมารวมกัน ก็น่าจะเป็นเรื่องเดียวกันได้ค่ะ หรือเป็นคนละเรื่องเพราะการให้ความสำคัญต่างกันก็ได้ แล้วแต่การมองเห็น
  • สวัสดีค่ะพี่ครูต้อย P มาเยี่ยมท่านแรกเลย แต่เจอเสียงดัง ๆ ของน้องกอก้าน จนศิลาว่อกแว่กค่ะ ขอประทานอภัย
  • ขอบพระคุณค่ะ เห็นพี่ครูต้อยมาเยี่ยมนานแล้ว เพียงศิลากำลังจัดการงานเร่งด่วนอยู่ ตอนนี้ยังไม่เสร็จดี แต่อยากมาแสดงความขอบพระคุณทุกท่านที่แวะมาทักทาย จึงปลีกตัวมาก่อนค่ะ
  • มีอะไรดี ๆ มาฝากไว้ที่นี้ได้นะคะ ยินดีรับความรู้เป็นทานค่ะ

สวัสดีค่ะคุณศิลา

มาอ่านเฉย ๆ ค่ะ

ความรู้ไม่พอที่จะร่วมวง...เสวนา วิวาทะ

มาทักทายคุณศิลาด้วยความคิดถึงเท่านั้นค่ะ

รักษากาย-ใจนะคะ

(^___^)

มาขอบคุณภาพที่นำไปฝากค่ะ

ชอบใจในความ "ช่างคิด" และยัง "คิดดี คิดบวก" ของคุณศิลาค่ะ

บางสิ่งบางอย่างมี...เบื้องหลังที่มากกว่าที่เราเห็นหรือรู้ได้

แต่ไม่ห่วงคุณศิลาค่ะ เพราะความดี ความจริงใจจะรักษาคนคิดดี พูดดี ทำดีค่ะ

ราตรีสวัสดิ์นะคะ

(^___^)

สวัสดีครับคุณ Sila Phu-Chaya

  • มหา แวะมาอ่านสิ่งที่ดี ๆ ๆ
  • ความจริงแล้ว มหา ก็ตั้งมั่นในความไม่ประมาท
  • มีเวลาจะเข้าวัดถือศิลอุโบสถในเทศกาลวันสำคัญ และเข้าพรรษา
  • เป็นการสะสมบุญบุญเอาไว้
  • ขอบพระคุณค่ะคุณ wind แวะมาทักทาย
  • วิญญาณเสรี คือความอิสระทางจิตวิญญาณค่ะ
  • สวัสดีค่ะคุณผู้ผ่านมา
  • รอนะคะ คิดเสร็จแล้ว รออ่านค่ะ
  • สวัสดีค่ะคุณ Bad Angel P 
  • ยินดีที่ได้รู้จักสมาชิกใหม่ค่ะ จะตามไปเยี่่ยมเร็ว ๆ นี้นะคะ
  • ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติค่ะ...การรู้ตัวของเรา... สุดท้ายจะไปบรรลุที่ ตัวเราไม่ใช่ของเรา
  • ทบทวนดู จะรู้ว่าเรากำลังพูดเรื่องเดียวกันค่ะ เพียงแต่บางครั้งเราอาจจะเลือกนำบทสรุปมาอธิบายก่อน ไม่ไปตามลำดับ
  • ศิลาจึงมองกลับมาที่ตัวเองมากกว่าค่ะ มองดู อยู่กับจิตกับกาย กับปัจจุบัน ก็จะเข้าใจว่าเราอยู่บนเส้นทางเดียวกัน แต่จำทางมาบอกไม่เหมือนกัน ...
  • จริง ๆ แล้วไม่มีอะไรเลยนะคะ  ธรรมชาติเรียบง่าย เป็นธรรมดาค่ะ
  • รอไปเรื่อย ๆ ...สุดท้ายจะพูดคำเดียวกัน
  • ดีใจที่ได้อ่านความเห็นของคุณกวิน P ขุมทรัพย์ความรู้มหาศาลเกิดขึ้นในบันทึกศิลาโดยไม่ต้องไปหาจากที่ไหน
  • ศิลาเห็นแล้วทั้งตัวอักษรและภาพวงกลมค่ะ รู้ว่าเรื่องเดียวกัน อธิบายแบบคุณกวินช่วยเพิ่มความเข้าใจในตนเองของศิลาได้มากขึ้นค่ะ และทำให้เห็นว่าในบางกรณีอาจจะต้องเพิ่มเนื้อหามาก ๆ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อ่านอย่างที่คุณกวินนำเสนออยู่ค่ะ
  • ขอบพระคุณมากมาย ..ไม่มีใคร comments ด้วยความตั้งใจจริงเช่้นนี้ ซึ่งศิลารอคอยอยู่เหมือนกัน จะได้เสริมปัญญาผู้ลปรรให้ลึกซึ้งขึ้นค่ะ
  • ปกติศิลา เป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ที่ไม่ค่อยมีความสงสัยอะไรมาก เรียนรู้วิธีเรียนรู้ ได้แนวทางแล้ว ก็บอกตัวเองว่าพอแล้ว และก็ไปเรียนเรื่องอื่นต่อ จึงอาจจะไม่ลึกซึ้งในเรื่องนั้น ๆ เท่าไหร่
  • ในวันนี้ ได้คำตอบว่ามาเรียนเรื่องธรรมดาใกล้ตัวหรืออยู่ในตัวดีกว่า คือเรียนรู้ "ตัวเอง" ตอนนี้ก็เป็นเพียงนักเรียนค่ะ ฝึกฝนสังเกตไปเรื่อย ๆ ยังขั้นแรกเริ่มอยู่ค่ะ บันทึกของศิลาจึงน่าจะสะท้อนพัฒนาการของการเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ เช่นกันค่ะ
  • แม้ว่ายังไม่มีภูมิรู้อะไรมาก แต่อาศัยความเชื่อมั่นบางอย่างคือ "จิตตั้งมั่นดี"  รู้สึกว่าพอแล้วแค่นี้  จึงได้เปิดโลกแห่งการเรียนรู้เรื่องตัวเองแห่งนี้ค่ะ
  • ศิลาเปิดสองบล๊อกแยกออกจากกัน บล๊อกนี้จะเป็นเรื่องทั่วๆ ไปยำหลายศาสตร์ตามมุมมองของ "นักเรียนรู้ตัวเอง" มองตัวเองอย่างไร ส่วนอีกบล๊อกหนึ่งเป็นเรื่อง "การสร้างธรรมในใจ "รู้ ละ แจ้ง เจริญ"  จึงขอเชิญแวะเยี่ยมทั้งสองบล๊อกนี้นะคะ ถ้าจะให้ศิลาดีใจมากขึ้น เยี่ยมทุกบล๊อกก็ได้ค่ะ
  • มีความสุขกาย สุขใจในวันหยุดสุดสัปดาห์นี้นะคะ
  • หากเสร็จภารกิจ สมองปลอดโปร่งขึ้นจะแวะไปลปรรด้วยค่ะ
  • ขออนุญาตคุณ Sanya ยกคำกล่าวที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มาอีกครั้งค่ะ

ผู้ใดรู้ขั้นไหนก็จะอธิบายในขั้นที่ตนรู้

ผู้ใดรู้ขั้นไหนก็ไม่ยอมบอกขั้นที่ตนรู้

ผู้ใดรู้ขั้นไหน ปล่อยว่าง ให้ผู้อื่นเรียนรู้ตามจริตตน

นักปฏิบัติควรรู้อาการของจริตที่จิตของตนคบหาสมาคมอยู่ เพราะการรู้อารมณ์จิตเป็นผลกำไรในการปฏิบัติ เพื่อการละด้วยการเจริญสมาธิก็ตาม พิจารณาวิปัสสนาญาณก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่การควบคุมความรู้สึกของอารมณ์ ถ้าขณะที่กำลังตั้งใจกำหนดจิตเพื่อเป็นสมาธิ หรือพิจารณาวิปััสสนาญาณอารมณ์จิตเกิดฟุ้งซ่าน ก็จะได้น้อมนำเอาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาประคับประคองใจให้เหมาะสมเพื่อผลในสมาธิ หรือหักล้างด้วยอารมณ์วิปัสสนาญาณเพื่อให้ได้ฌานสมาบัติ หรือมรรคผลนิพพาน พระธรรมเพื่อผลของสมาบัติ ท่านเรียกว่า "สมถกรรมฐาน" มีทั้งหมด 40 อย่าง http://www.larnbuddhism.com/grammathan/jarit2.html

บางเรื่องเราจึงไม่สามารถเร่งรัดได้ ต้องปล่อยไปตามธรรมชาติของการ รู้ตามจริตตน

  • ขอบพระคุณอย่างยิ่งค่ะ ที่ให้แสงสว่างค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท