ศรีตรังเบิกบาน
สำนักงาน กศน.จังหวัดตรัง ศรีตรัง

Best Practice of korsornor trang


การพัฒนาอาชีพ

ลูกน้องผมให้ผมเขียน Best Practice ที่เกี่ยวกับงาน กศน. เพื่อเป็นปฐมฤกษ์ในการที่พวกเราชาว กศน.จังหวัดตรัง จะได้แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงการเอาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ หรือ วิธีการที่มีประโยชน์ที่เรียกว่า Best Practice  ไปใช้ในการพัฒนางาน หรือ พัฒนาองค์กร   วันนี้เป็นวันแรกที่ กศน.ตรัง  จะนำเสนอการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บน Blog   กศน.ตรัง  จึงขอนำเสนอ Best Practice เรื่องการพัฒนากลุ่มอาชีพบาติกบ้านในไร่  อ.ท้ายเหมือง  จ.พังงา  ในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราช สยามบรมราชกุมารี  ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดจากการที่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ที่บ้านในไร่ประสบภัยพิบัติจากสึนามิ  เมื่อวันที่  26  ธันวาคม 2547  และหลังจากนั้นในระยะแรกอาชีพประจำที่ทำอยู่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ รวมถึงสมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมและเป็นผู้หญิงอยากจะมีอาชีพเสริมอยากจะรวมกลุ่ม  เสนอความต้องการผ่านเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังที่ลงมาปฏิบัติงานในพื้นที่ในขณะนั้น  โดยได้พูดคุยกับผมว่า กศน.จะช่วยอะไรได้หรือไม่ถ้ามีคนสนใจจะเรียนการเขียนผ้าบาติก  ผมจึงได้มอบหมายให้ ผอ.กศน.อ.ท้ายเหมือง ( ผอ.อรรณพ  ผิวขำ) ลงไปสำรวจข้อมูลเบื้องต้นว่าจะช่วยเหลืออย่างไร  ปรากฏว่าในระยะไม่นานนักก็สามารถกิจกรรมตามความต้องการให้กับกลุ่มสมาชิกโดยเฉพาะกลุ่มสตรีได้ของประชาชนได้  มีการฝึกการเขียนผ้าบาติกเบื้องต้น

ลูกน้องผมให้ผมเขียน Best Practice ที่เกี่ยวกับงาน กศน. เพื่อเป็นปฐมฤกษ์ในการที่พวกเราชาว กศน.จังหวัดตรัง จะได้แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงการเอาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ หรือ วิธีการที่มีประโยชน์ที่เรียกว่า Best Practice  ไปใช้ในการพัฒนางาน หรือ พัฒนาองค์กร   วันนี้เป็นวันแรกที่ กศน.ตรัง  จะนำเสนอการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บน Blog   กศน.ตรัง  จึงขอนำเสนอ Best Practice เรื่องการพัฒนากลุ่มอาชีพบาติกบ้านในไร่  อ.ท้ายเหมือง  จ.พังงา  ในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราช สยามบรมราชกุมารี  ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดจากการที่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ที่บ้านในไร่ประสบภัยพิบัติจากสึนามิ  เมื่อวันที่  26  ธันวาคม 2547  และหลังจากนั้นในระยะแรกอาชีพประจำที่ทำอยู่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ รวมถึงสมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมและเป็นผู้หญิงอยากจะมีอาชีพเสริมอยากจะรวมกลุ่ม  เสนอความต้องการผ่านเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังที่ลงมาปฏิบัติงานในพื้นที่ในขณะนั้น  โดยได้พูดคุยกับผมว่า กศน.จะช่วยอะไรได้หรือไม่ถ้ามีคนสนใจจะเรียนการเขียนผ้าบาติก  ผมจึงได้มอบหมายให้ ผอ.กศน.อ.ท้ายเหมือง ( ผอ.อรรณพ  ผิวขำ) ลงไปสำรวจข้อมูลเบื้องต้นว่าจะช่วยเหลืออย่างไร  ปรากฏว่าในระยะไม่นานนักก็สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความต้องการให้กับกลุ่มสมาชิกโดยเฉพาะกลุ่มสตรีได้  มีการฝึกการเขียนผ้าบาติกเบื้องต้นและพัฒนาต่อเนื่องจนสามารถตัดเย็บเป็นของที่ระลึก, เสื้อผ้าได้  และได้เพิ่มขีดความสามารถจนตั้งกลุ่มเข้มแข็งขึ้น และเมื่อสมเด็จพระเทพฯเสด็จทรงตรวจเยี่ยมกลุ่มครั้งแรกเมื่อปี 2549ได้ทรงพอพระทัยและแนะนำให้พัฒนาภัณฑ์ให้มีความหลากหลายรวมทั้งได้รับผลผลิตไปจำหน่าย ณ ร้านภูฟ้า จนถึงทุกวันนี้ และในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมากลุ่มผ้าบาติกบ้านในไร่ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  อาศัยความร่วมมือของชุมชน ผู้นำ  ภาคเอกชนมาช่วยสนับสนุนสร้างความเข้มแข็งจนสามารถเลี้ยงกลุ่มได้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน  และกลุ่มได้พัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องและเป็นที่ยอมรับของทุกองค์กรและยังมีความยั่งยืนต่อเนื่องมาจนถึง  ณ วันนี้  Best Practice ความเป็นเลิศคือกลุ่มได้อาศัยเอาเอาเครือข่ายทุกเครือข่ายมาช่วยพัฒนา  และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย การนำเอาดีไซด็เนอร์มืออาชีพ ได้ออกรายการเงาะถอดรูปทาง ช่อง 3 มาช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างเอกลักษณ์ของผ้าบาติกลุ่มบ้านในไร่เฉพาะตัว แตกต่างจากบาติกจากที่อื่นๆ  และที่ผมเห็นว่าเป็น Best Practice คือ ความยั่งยืนของกลุ่มที่กลุ่มจะต้องมีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง  กศน.เป็นเพียงพี่เลี้ยงที่คอยดูแล  หากกลุ่มมีปัญหาก็เข้าไปใกล้ๆคอยช่วยเหลือเป็นให้ความรู้ด้านการจัดการกลุ่ม  สร้างบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ และหากกลุ่มเข้มแข็งยืนได้ด้วยตนเอง ก็ออกมาดูห่าง สามารถนำเสนอผลงานให้กลุ่มกับสาธารณชน หรือ ประกวดเพื่อรับรางวัล เป็นการสร้างขวัญกำลังใจ  คิดว่าน่าจะเป็นแบบอย่าง  Best Practice  ในส่วนของการทำงานร่วมกับชุมชนได้ในระดับหนึ่ง

                                                                   นายประวิตร  ทับเที่ยง

                                                        ผอ.สนง กศน.จังหวัดตรัง

 

หมายเลขบันทึก: 248206เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2009 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นายวิทยา คชสิทธิ์

ขอบคุณที่ยังคิดถึงพังงา มีโอกาสมาเยี่ยมกับบ้างนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท