ในหมวดที่ 1 ว่าด้วยบททั่วไป .. ความมุ่งหมายและหลักการของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2545 มาตรา 8 (2) กล่าวไว้ว่า .."การจัดการศึกษาให้ยึดหลักการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา " ความจริงเรื่องของการมีส่วนร่วมนั้น ประเทศไทยเราก็มีการร่วมกันทำงานด้านการศึกษา โดยเฉพาะการส่งเสริมการรู้หนังสือ ..ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2486 รัฐบาลในสมัยนั้น ได้ประกาศใช้พระราชกำหนด ส่งเสริมการรู้หนังสือ มีข้อบังคับให้เก็บภาษีผู้ไม่รู้หนังสือไทย ที่มีอายุ 20 ปี บริบูรณ์ ..แต่ไม่เกิน 45 ปีบริบูรณ์
โดยในวันที่ 1 มกราคม ของแต่ละปี..ผู้ไม่รู้หนังสือกลุ่มนั้น ต้องเสียเงินบำรุงการศึกษา ไม่เกิน 5 บาท จนกว่าจะรู้หนังสือ
จากการเร่งรัดของรัดของรัฐบาลในครั้งนั้น ปรากฎว่าได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการ และเอกชน อย่างกว้างขวาง ในการส่งเสริมให้คนรู้หนังสือ เช่น
- ประชาชนทั่วไป ได้ให้ความร่วมมือ ในการจัดตั้งโรงเรียนผู้ใหญ่โดยแพร่หลาย
- มีอาสาสมัครช่วยสอน ในโรงเรียนผู้ใหญ่ หรือสอนตามบ้าน
- กำนันผู้ใหญ่บ้าน ได้ช่วยกวดขัน การเรียนของราษฎร ในหมู่บ้านของตนเองมากยิ่งขึ้น
- มีการร่วมมือหาทุน ส่งเสริมการศึกษาผู้ใหญ่ โดยแพร่หลาย
- หน่วยงานราชการต่าง ๆ ได้ร่วมมือช่วยกัน เช่น ..กรมโฆษณาการ.. ช่วยเผยแพร่ทางวิทยุกระจายเสียง กระทรวงมหาดไทย ร่วมมือกันจัดตั้งโรงเรียนผู้ใหญ่ กรมตำรวจ สั่งให้สถานีตำรวจภูธร ทั่วราชอาณาจักร จัดตั้งโรงเรียนผู้ใหญ่ เทศบาล/กรมราชทัณฑ์ และกระทรวงกลาโหม ก็ได้มีการจัดสอนให้บุคลากรได้รู้หนังสือ
ปัจจุบัน..แม้ว่าเราจะมีผู้ไม่รู้หนังสือหลงเหลือ..อยู่อีก แต่ก็นับว่าน้อยกว่าสมัยนั้น โดยเฉพาะในส่วนของศูนยการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดชุมพร ก็ยังมีการส่งครูอาสาสมัคร ไปเดินสอนตามบ้าน เป็นรายบุคคล รายกลุ่ม .. และจากผลการวิจัยก็พบว่า ผู้ที่รู้หนังสือในขั้นอ่านออกเขียนได้ ถ้าไม่ได้อ่านไม่ได้เขียน ต่อไปก็จะลืม กลับไปเป็นผู้ไม่รู้หนังสืออีก..
การจัดการความรู้..ก็คงจะเป็นเครื่องมือ.อีกตัวหนึ่ง ที่จะช่วยให้คนมีความรู้อย่างยั่งยืน เพียงแต่เรามาช่วยกันปรับใช้ให้เหมาะสมกับคนแต่ละกลุ่ม
อยากทราบว่านักเรียนมีส่วนร่มอย่างไรบ้างคะ