พัฒนานิสิต (นอกห้องเรียนมหา'ลัย) : เรื่องของคนชายขอบที่ตกขอบมานาน


เราเขียนหลักสูตรบนแนวคิดที่เชื่อว่าการเรียนรู้ในหลักสูตรไม่เพียงพอต่อการบ่มเพาะขัดเกลาให้นิสิตเติบโตอย่างมีคุณค่า และพูดคำหวานแบบลอยๆ ว่า กิจกรรมนิสิต คือ การเติมเต็มกระบวนการที่ว่านั้น ...แต่ถึงกระนั้น ก็ไม่เคยมีการนำเรื่องเหล่านี้เข้าสู่วาระของ “มหาวิทยาลัย” อย่างแท้จริง

เช้าของวันเสาร์ (๘ มีนาคม ๒๕๕๒)
ผมออกจากที่พักตรงดิ่งไปสู่ห้องประชุม ๒ อาคารบรมราชกุมารี โดยมีภารกิจอันสำคัญรออยู่เบื้องหน้า

ภารกิจอันสำคัญที่ว่านั้น คือการเข้าชี้แจง หรือรายงานความคืบหน้าการทำงานต่อคณะกำกับการดำเนินงานจากสภามหาวิทยาลัยซึ่งวันนี้ท่านอำนวยปะติเสผู้รักษาราชการแทนนายกสภามหาวิทยาลัยเดินทางมา
“ตามงาน" ด้วยตัวเอง


ประเด็นหลักๆ ของการติดตามการดำเนินงานในครั้งนี้ ประกอบด้วยด้านการเงินพัสดุความเสี่ยงการประกันคุณภาพการพัฒนาบุคลากรวิจัยและทำนถุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเทคโนโลยีสารสนเทศการเรียนการสอนเป็นต้น

สำหรับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ผมต้องชี้แจง หรือรายงานความคืบหน้านั้นถูกจัดไว้ในหมู่ของเรื่อง “การเรียนการสอน"






เป็นธรรมดาครับไม่ว่ายุคสมัยใดก้แล้วแต่เรื่อง “การพัฒนานิสิต"มักเป็นเรื่องเล็กๆในเวทีใหญ่ๆเสมอดังจะเห็นได้จากเกือบทุกๆ เวทีในทำนองเดียวกันนี้เรื่องราวของการพัฒนานิสิตแทบจะไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกพูดกันเสียเท่าไหร่ทั้งที่นิสิตคือประชากรอันสำคัญเป็นผู้ได้-เสียในทุกๆ กรณีของความเป็นมหาวิทยาลัย

ผมเข้าใจดีว่าระบบการเงินการทอง การพัฒนาหลักสูตรให้ติดตลาดการพัฒนาระบบการเรียนการสอนการวิจัยการปลูกสร้างอาคารและเครื่องไม้เครื่องมือที่ “ทันสมัย"ฯลฯ ล้วนเป็นวาระสำคัญอย่างเลี่ยงไม่ได้จนบางทีเมื่อเข้าไปนั่งในเวทีเช่นนั้นผมก็พลอยรู้สึกว่า “ไม่มีตัวตน"และที่ตรงนั้นก็ไม่ใช่ “พื้นที่" ของการ “พัฒนานิสิต" ...

จนอดที่จะเปรยบ่นอย่างเงียบๆ กับตัวเองไม่ได้ว่า “พัฒนานิสิตคือ...องค์กรชายขอบ"และความเป็นชายขอบที่ว่านั้นจะสำคัญก็ต่อเมื่อนิสิตลุกฮือมากระทำการณ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น !จึงจะเห็นได้ชัดว่าด้านนี้ถูกเพ่งมองและผลักเข้ามาแก้ปัญหาทั้งปวงนั้น
-แก้ปัญหาได้ก็เป็นวีรบุรุษ
แก้ปัญหาไม่ได้ก็กลายเป็น “คนไร้ประสิทธิภาพ"พร้อมๆ กับการถูกตีตราว่า “ล้มเหลวกับการพัฒนานิสิต"







เช่นเดียวกับครั้งนี้...
การพัฒนานิสิต ถูกจัดอยู่ในกลุ่มการเรียนการสอนและกลุ่มนี้ก็จัดลำดับของการนำเสนอไว้สุดท้ายเลยทีเดียวแต่กระนั้นก็ไม่เสียหายเสียเท่าไหร่หากกระบวนการสุดท้ายนั้นมีความเป็น
“พัฒนานิสิต"ถูกบรรจุไว้อย่างมี “ตัวตน"แต่ที่ไหนได้การนำเสนอภาพรวมของการเรียนการสอน หรือการพัฒนาหลักสูตรนั้นกลับไม่มีเรื่องการพัฒนานิสิตอยู่ในนั้นเลย


ทันทีที่การนำเสนอยุติลงผมมองไปยังท่านอธิการบดี (ผศ.ดร.ศุภชัยสมัปปิโต)และเห็นชัดว่าท่านได้ส่งสัญญาณให้ผมได้นำเสนอเรื่องราวในสิ่งที่ควรจะต้อง “พูด" ...


ในขณะที่ประธานในที่ประชุมได้แจ้งผ่านไปสู่วาระอื่นๆผมก็รวบรวมความกล้ากดสัญญาณไมค์โคนโฟนขึ้นเพื่อขออนุญาตได้ “พูดในสิ่งที่อยากทำ..และย้ำในสิ่งที่อยากมี"อย่างกว้างๆ และเร่งด่วน ว่า ....



“(๑)...งานพัฒนานิสิต เป็นเหมือนกลุ่มงาน หรือกลุ่มองค์กรชายขอบที่ไม่ค่อยได้รับการหยิบมาเป็นวาระสำคัญของมหาวิทยาลัยทั้งที่ “นิสิต" เป็น “หัวใจ" หลักของการเรียนการสอน เพราะไม่มีนิสิต มหาวิทยาลัยก็อยู่ไม่ได้ ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาเราพูดถึงกลยุทธ์หลักสูตรที่เน้นการพัฒนาให้นิสิตเป็นคนที่มีคุณลักษณะอันสำคัญ คือเก่ง-ดี-และมีทักษะของการใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุขโดยอาศัยการเรียนรู้ในศาตร์สาขาต่างๆตามหลักสูตรที่ผูกยึดไว้กับ “ห้องเรียน"และ “ตำรา"และมุ่งสู่การขายฝันให้คนหลั่งไหลเข้ามา “ชุบตัว"อย่างล้นหลาม






“(๒)...เราเขียนหลักสูตรบนแนวคิดที่เชื่อว่าการเรียนรู้ในหลักสูตรไม่เพียงพอต่อการบ่มเพาะขัดเกลาให้นิสิตเติบโตอย่างมีคุณค่าและพูดคำหวานแบบลอยๆ ว่ากิจกรรมนิสิต คือ การเติมเต็มกระบวนการที่ว่านั้น ...แต่ถึงกระนั้นก็ไม่เคยมีการนำเรื่องเหล่านี้เข้าสู่วาระของ “มหาวิทยาลัย" อย่างแท้จริงดังจะเห็นได้จากวิชาการก็สร้างหลักสูตรในมุมนักวิชาการ แต่ไม่เคยนำหลักคิด “วิชาชีวิต-วิชาคน" จากมุมของการพัฒนานิสิตเข้าไปบูรณาการในหลักสูตร



“(๓)...ดังนั้นผมจึงอยากเห็นการเขียนหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปมุมมองใหม่ เป็นการสอนร่วมกันระหว่างอาจารย์ในคณะและฝ่ายพัฒนานิสิต ทั้งจากกองกิจการนิสิตและฝ่ายพัฒนานิสิตคณะ หรือแม้แต่วิทยากรภายนอกที่อาจเป็นได้ทั้งชาวบ้าน, นักคิด,นักพัฒนาอิสระ ...มีพื้นที่การเรียนรู้จริงให้นิสิตได้ออกไปเรียนรู้ผ่านการจัดกิจกรรมและบรรจุวิชานั้นไว้ใน “ทรานสคริปกิจกรรม" ของนิสิต ซึ่งปัจจุบันกองกิจการนิสิตเป็นผู้กำกับดูแล









“(๔)...เช่นเดียวกันผมก็อยากเปิดสอนหลักสูตรที่เกี่ยวกับ “วิชาชีวิต"เช่นสมรรถนะผู้นำโดยนำแนวคิดต่างๆที่จำเป็นต่อการพัฒนาทักษะการคิดและการทำงานตนเองและสังคมมาบรรจุไว้ในหลักสูตร ซึ่งออกมาในแนว “บัณฑิตอาสา"หรือไม่ก็ “ผู้นำ" โดยตรง และมีกลุ่มผู้เรียนหลักๆ เป็นผู้นำนิสิต หรือผู้ที่อยู่ในแอวดวงกิจกรรมซึ่งวิชาที่ว่านี้ ฝ่ายพัฒนานิสิตจะเป็นผู้สอนเอง และบรรจุวิชาที่ว่านี้ไว้ใน “ทรานสคริปกิจกรรม"


“(๕)...และนั่นยังรวมถึงการผลักดันให้ทรานสคริปกิจกรรมผ่านการรองรับจากสภามหาวิทยาลัย
โดยกำหนดจำนวนกิจกรรมบังคับและกิจกรรมให้เลือกเข้าเรียนรู้ ถ้าไม่ครบก็ไม่จบ"....

ครับ,ผมคิดแบบพื้นๆ
พูด หรือนำเสนอไปตามสไตล์ของตัวเองที่ไม่ใช่
“นักวิชาการ"แต่มีก็ยืนยันว่ามี “วิญญาณของความเป็นครูอาจารย์" อยู่บ้างเหมือนกัน
เพราะวิธีคิดแบบพื้นๆ ตื้นๆ เช่นนี้คือการนำเอาวิชาการกับวิชาคนมาอยู่รวมกัน ภายใต้การบูรณาการให้การเรียนรู้มีสีสัน-มีชีวิต-เรียน-คิด-และปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน








นั่นแหละครับ..
สิ่งที่ผมเปิดเปลือยต่อเวทีวิชาการแบบไม่เป็น
“วิชาการ"แต่งัดเอาอุดมคติเข้าว่า-เอาแววตาเข้าข่ม...
เพื่อให้รู้ว่า องค์กรชายขอบอย่างพวกผม ใหญ่โตพอที่จะเรียกว่าเป็นเสมือนเมืองอีกเมืองหนึ่งของมหาวิทยาลัยเลยทีเดียวจึงไม่ควรละเลยที่จะให้ความสำคัญอย่างที่เป็นมาอีกต่อไป


และท้ายที่สุด...
ท่านอธิการบดี ก็ชงเรื่องทั้งหมดนั้นเข้าสู่วาระตรงนั้นอย่างจริงๆ จังๆ โดยขอความเห็นชอบ หรือคำแนะนำจากผู้แทนสภามหาวิทยาลัยเพื่อนำเรื่อง
“พัฒนานิสิต"เข้าไปสู่เวทีและวาระของมหาวิทยาลัยอย่างจริงจังเสียที่ซึ่งผมเองก็ได้รับไฟเขียวให้ขับเคลื่อนเรื่องนี้กับสำนักศึกษาทั่วไปเพื่อเร่งหารือเกี่ยวกับการเขียนหลักสูตรในเรื่องดังกล่าวอย่างเร่งด่วนด้วยเช่นกัน








ครับ,....
ผมไม่รู้หรอกว่า เรื่องที่ว่านี้จะออกหัวออกก้อยแต่การที่ได้นำเรื่อง พัฒนานิสิตที่ถูกแบ่งอาณาเขตให้เป็นพื้นที่
“ชายขอบ" แทรกเข้าในเวทีแห่งมหาวิทยาลัยในคราวนี้แบบไม่ให้ตั้งตัว-ก็ถือว่าประสบความสำเร็จยิ่งนักแล้ว


ยิ่งผู้ใหญ่ใจดีเปิดไฟเขียว...
ผมเริ่มมีความหวังว่า
บางทีจากนี้ไป การพัฒนานิสิต ที่เคยถูกกำหนดให้เป็นองค์กรชายขอบก็อาจจะไม่ตกขอบจากเวทีแห่งความเป็นมหาวิทยาลัยอีกแล้ว..(กระมังครับ)



หมายเลขบันทึก: 247115เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2009 18:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2015 03:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

พัฒนานิสิต เหมือนสมันก่อนกว่า 40ปีมาแล้วจะได้ยินเพลงพัฒนาการ...กิจอันใดเรามีใจร่วมกัน ปรับปรุงพลันนำเจริญในถิ่น......

วิชาการชีวิต   ..จิต สัมผัสสรรพสิ่ง รับรู้ ตรึกตรอง พิจารณา โยนิโสมนสิการนำพาชีวิตค่ะ

ขอบคุณค่ะที่อ่านแล้วได้ข้อคิด 

เรียน ท่านแผ่นดิน

  • ใครจะเห็นว่า ขอบไหนไม่เป็นไร
  • ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ ถือว่า เป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนา ครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

วิชาชีวิต น่าสนใจมากค่ะ สนับสนุน อีกแรงค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์แผ่นดิน

  • ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับรางวัลที่ได้รับนะคะ
  • ขอปรบมือให้ดังๆ  แม้ว่าจะไม่ได้โหวตให้ในช่วงนั้น (ติดธุระยาว)  แต่ก็เชียร์อยู่ในใจ
  • อาจารย์มีความมุ่งมั่นและจริงจังในการพัฒนานิสิต  ขอให้ผลที่ออกมา  เป็นอย่างที่อาจารย์มุ่งหวังนะคะ
  • รักษาสุขภาพนะคะ  .....  จากคนบ้านเดียวกัน
  • สวัสดีค่ะ
  • นำความรักมาฝากค่ะ

ความรัก

สวัสดีค่ะ อ. แผ่นดิน

มาเรียนวิชาสอนชีวิตด้วยค่ะ

  • มาส่งกำลังใจค่ะ
  • ได้เรียนรู้หลาย ๆ อย่างเป็นประสบการณ์ให้ชีวิตค่ะ
  • เพราะยังเป็นนกน้อย...อ่อนหัด 
  • ต้องอาศัยประสบการณ์ของพี่ ๆ ช่วยชี้แนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

×÷•.•´¯`•)» บ้านรักษ์สุขภาพ «(•´¯`•.•÷×

เรื่องน่าอ่านอย่างนี้

เดี๋ยวมาอ่านแบบละเลียด ค่ะ

  • ปฏิบัติจากปัญญาที่มี จึงจะสมกับเป็นปัญญาชนค่ะ
  • กุหลาบบานในใจ ปลุกให้ปัญญาชนตื่น

  • มีแรงบันดาลใจแล้ว ขอให้ผลักดันสำเร็จนะคะ

สวัสดีครับ... krutoi

วันจันทร์ที่จะถึงนี้...ผมจะนำแผน หรือยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในเรื่องเหล่านี้ไปมอบให้ท่านอธิการได้พิจารณา

ไม่รู้ว่าจะไปได้ดีหรือไม่  แต่ก็ดีใจที่มีโอกาสได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ..ครับ

สวัสดีครับ.. อ.JJ

ขอบคุณท่านอาจารย์ฯ พร้อมทีมงานนะครับ ที่มุ่งมั่นกับการพัฒนานิสิตเรื่อยมา

ยังไงเสีย..เรื่องการหาอัตลักษณ์ของผู้นำนิสิต มมส..ยังเป็นโจทย์ท้าทายสำหรับผมมากๆ ..

ยังสู้ครับ..ยังไม่ท้อ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ. ♥.paula ที่ปรึกษาตัวน้อย✿

วันก่อนเพิ่งเขียนยุทธศาสตร์เรื่อง "วิชาชีพ" เสร็จ  ที่เหลือก็จะเป็นเรื่องการลงรายละเอียดเกี่ยวกับการเขียนหลักสูตร ..

ท้าทายมากครับ...

และผมก็อยากทำให้สำเร็จจริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท