ร่วมแบ่งปัน.... การคิดวิเคราะห์จากการอ่านไดอารี่


คิดอย่างไร...ถึงจะดี ได้ประโยชน์ ....ทั้งผู้ให้และผู้รับ กับ 3 ทฤษฎีนี้

ผมเคยอ่านความรู้ เรื่องการคิดวิเคราะห์ของ อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  ที่เคยพิมพ์เผยแพร่ไว้ และถ่ายเอกสารหน้านี้เก็บไว้ หลายปีแล้ว(พลาดตรงที่ ไม่ได้เขียนที่มาเอาไว้ในเอกสารฉบับนี้)

   ….เผอิญ ค้นตู้หนังสือ ที่เก็บเอาไว้ เจอแล้วหยิบมาอ่าน เห็นว่าน่าสนใจ

และคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับการได้อ่าน และคิดตาม ความรู้ แง่คิดต่าง ๆ กับหลากหลาย ไดอารี่  ณ ที่แห่งนี้

ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลาอันมีค่า มาอ่านบันทึกฉบับนี้


 

ทฤษฏี  3  ทฤษฏีที่สรุปได้จากการได้เห็น  วิธีการที่คนในสังคมไทย  หลังจากที่ได้เห็นวิธีการที่คนในสังคมจำนวนไม่น้อยสรุปประเด็นเรื่องต่างๆ  ผิดไปจากความจริง  มีการตีความที่ผิดเพี้ยนและผิดพลาดไปจากความเป็นจริง สร้างข้อสรุปที่สับสนไม่สมเหตุสมผล  แต่มักจะถูกนำมาใช้ตีความ แปลข้อมูลในสังคมไทย  ทั้ง  3  ทฤษฏี  ได้แก่

ทฤษฎีชะลอม

ทฤษฏีที่หนึ่ง  เรียกว่า  ทฤษฏีชะลอม  เปรียบได้กับคน ๆ หนึ่งมีสมมุติฐานในใจว่า  กองฟางมีรูปร่างเหมือนชะลอม  จึงพยายามหาข้อพิสูจน์  หาเท่าไร  กองฟางก็ยังคงเป็นรูปร่างต่าง ๆ ไม่เหมือนชะลอมสักนิด  แทนที่เขาจะเปลี่ยนใจใหม่  เขากลับอัดฟางลงไปในชะลอมจนแน่น  แล้วเอากรรไกรเล็มตัดฟางที่เล็ดลอดออกมาจากชะลอมนั้นจนมันเรียบ  จากนั้นจึงถอดชะลอมออก  แล้วเที่ยวไปบอกใครต่อใครว่า " เห็นไหม...กองฟางมีรูปร่างเหมือนชะลอม"   เป็นการสร้างความเชื่อให้เป็นความจริง  แม้ความจริงไม่ใช่สิ่งที่เขาเชื่อ  โดยการคัดข้อมูลออกตามใจ  เพื่อให้ข้อมูลลงตัวตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในใจ  แล้วพยามบอกคนอื่นให้เชื่อตามตนเอง

ทฤษฎีฆ่าวัวทิ้งผลผลิตเพิ่ม

ทฤษฏีที่สอง  เรียกว่า  ทฤษฏีฆ่าวัวทิ้ง - ผลผลิตเพิ่ม  เป็นการอ้างเหตุและผลที่ผิดพลาด  เปรียบเปรยเหมือนนักวิจัยคนหนึ่งทำการค้นหาว่า  เหตุใดผลผลิตทางการเกษตรจึงเพิ่มขึ้น  เมื่อประมวลผลข้อมูลพบว่า  ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติก็คือ  การที่จำนวนวัวลดลง  จึงทำให้สรุปว่า  การที่จำนวนวัวลดลง  ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น  โดยที่ไม่ได้พิจารณาหรือไตร่ตรอง  ตัวแปรอื่น ๆ  ที่เป็นเหตุให้จำนวนวัวลดลง  หรือตัวแปรอื่นที่ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น  ทั้งที่ความจริง  หากพิจารณาตัวแปรอื่น ๆ  อย่างรอบคอบ  จะพบว่า  การที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น  การที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น  เกิดจากการใช้รถแทรกเตอร์เพิ่มขึ้น  ทั้งนี้เมื่อคนใช้รถแทรกเตอร์ในการเกษตรเพิ่มขึ้น  ความเป็นจริงการใช้วัวย่อมลดลง  จะถูกนำไปฆ่าเพื่อขายเป็นอาหารซึ่งเป็นเหตุเป็นผลกัน

 

ทฤษฎีลูกอมในขวดโหล

ทฤษฏีที่สาม  เรียกว่า  ทฤษฏีลูกอมในขวดโหล  สะท้อนการหยิบข้อมูลบางส่วนแล้วไปตีขลุมว่าเป็นเช่นนั้นทั้งหมด  สมมุติว่าในขวดโหลใบหนึ่งมีลูกอมหลากหลายชนิดอยู่  10,000 เม็ด  ภายในขวดโหลนี้มองไม่เห็นจากด้านนอก  เราล้วงหยิบลูกอมเม็ดแรกเป็นลูกอมรสน้ำผึ้งผสมมะนาว  จากนั้นหยิบอีกเม็ดหนึ่งเป็นลูกอมรสเดียวกัน  และส่งต่อให้เพื่อน  เพื่อนก็หยิบได้ลูกอมรสเดียวกัน  เราจึงสรุปว่าขวดโหลนี้บรรจุลูกอมน้ำผึ้งรสผสมมะนาวทั้งหมด  ทั้ง ๆ ที่ในความจริง  ข้อสรุปดังกล่าว  ใช้ไม่ได้ตามหลักสถิติ  เพราะการหยิบข้อมูลมาเพียง  2 -  3  ตัวอย่าง  แล้วสรุป ว่าประชากรทั้งหมดเป็นเช่นนั้น  วิธีนี้เป็นวิธีที่ผิด  จำนวนตัวอย่างไม่เพียงพอที่จะสรุปว่าเป็นเช่นนั้นได้  ถ้าจะให้เกิดความน่าเชื่อถือ จำเป็นต้องสุ่มหยิบลูกอมจำนวนที่มากเพียงพอ  และอยู่ในหลาย  ๆตำแหน่งของขวดโหลนั้น ๆ   เช่น ล้วงลงไปให้ลึกที่สุดแล้วหยิบมาจำนวนหนึ่ง  หยิบจากด้านบนจำนวนหนึ่ง  ล้วงหยิบจากด้านข้างซ้าย-ขวา  และตรงกลางของขวดโหลอีกจำนวนหนึ่ง   หยิบจากด้านบนอีกจำนวนหนึ่ง  ถ้าปรากฏว่าทุกเม็ดที่เราหยิบออกมาเป็นลูกอมรสน้ำผึ้งผสมมะนาว  เราก็อาจจะพอสรุปความน่าจะเป็นได้ว่า  ขวดโหลนี้น่าจะมีแต่ลูกอมรสน้ำผึ้งผสมมะนาว  อย่างไรก็ตาม  ข้อสรุปนี้เป็นเพียง  "ความน่าจะเป็น"  เท่านั้นไม่สามารถสรุปว่าทั้งหมดเป็นเช่นนั้นได้

 


 การที่คนคิดวิเคราะห์ไม่เป็น  ใช้เหตุผลไม่ได้  ย่อมมีแนวโน้มเชื่อตามได้ง่าย      


จากทั้ง 3 ทฤษฎี ผมคิดว่า น่าจะนำไปสู่กระบวนการคิดวิเคราะห์ ได้เป็นอย่างดี

(วันไหนที่ผมหาแหล่งข้อมูลมาได้ ผมจะมาupdateใหม่ ครับ)

ขอบคุณ..ความรู้ ดีดีที่ถ่ายเอกสารเก็บไว้ ของ อ.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 

 

 

หมายเลขบันทึก: 246683เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2009 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • เยี่ยมมากๆๆ  ขอยืมไปใช้ด้วยนะคะ
  • ครูอ้อย ไม่รู้จัก เป็นความรู้ใหม่ ประดับสมองครูอ้อยด้วยเลยค่ะ

จะแวะมาอ่านอีกนะคะ ชอบมากค่ะ

  • คิดอย่างเป็นระบบ หรือจัดระบบความคิดเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องสอนเด็กไทยแทนที่จะขยันจำอย่างอย่างเดียวค่ะ
  • การเรียนรู้ "วิธีการเรียนรู้" เป็นการฝึก Conceptual Skill ที่ดีมาก เยี่ยมจริง ๆ ค่ะ
  • มาเชียร์เต็มที่ค่ะ
  • แล้วอย่าลืมอาหารกลางวันในวันศุกร์หรรษาด้วยนะคะ

คิดอย่างเป็นระบบ

จัดระบบ..อย่างมีแบบแผน

คิดก่อนทำ..ทำก่อนคิด..ถูกไหมคะ

  • ขอเป็นทฤษฎีที่ 4 ได้ไหม
  • ทฤษฎี แก้วเปล่า
  • ใส่น้ำได้เรื่อยๆๆ
  • ไม่เต็ม
  • อิอิๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

กำ..อิอิ

ทำก่อนมาคิด..ต้องผิดจนหมดนะคะ..อิอิ

สบายดีนะคะ..ขอบคุณกำลังใจ

ขอบคุณความมีน้ำใจนะเจ้าค่ะ

ขอบคุณ ครับ คุณ P

ลองเลือกใช้ดูนะครับ
 *ทฤษฎีลูกอมในขวดโหล
 *ทฤษฎีฆ่าวัวทิ้งผลผลิตเพิ่ม
 *ทฤษฎีชะลอม
   หรือ จะเป็น ทฤษฎีของครูก็ได้ นะครับ
   รู้สึกว่า ...จะเพิ่ม... มา 1 ทฤษฎีแล้ว ครับ

สวัสดีครับพี่แสงศรี

มาทักทายนะครับ สบายดีใช่มั้ยครับ

เดย์ชอบทั้ง 3 ตัวอย่างเลย ขอบคุณมากๆที่คัดมาให้อ่านนะครับพี่

แต่ทฤษฎีชะลอมนี้รู้สึกจะพบได้บ่อยสุดนะครับ คล้ายๆการหาข้ออ้างและเหตุผลเพื่อเข้าข้างตัวเองโดยไม่ยอมรับในสิ่งนั้นๆที่มันเป็น :)

เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง และมีความพยายามมากที่จะเปลี่ยน 555

มีความสุขมากๆครับพี่

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณค่ะสำหรับเทคนิคการคิดวิเคราะห์ให้ดี

ด้วยเหตุและผล ....

สวัสดีค่ะคุณ แสงศรี

ชอบบันทึกนี้มากค่ะ

เพราะได้ความรู้ที่ยังไม่เคยอ่านมาก่อน ...

น่าคิดและจะขอนำไปใช้บ้างนะคะ

ทฤษฏีที่หนึ่ง  เรียกว่า  ทฤษฏีชะลอม  

ทฤษฏีที่สอง  เรียกว่า  ทฤษฏีฆ่าวัวทิ้ง - ผลผลิตเพิ่ม 

ทฤษฏีที่สาม  เรียกว่า  ทฤษฏีลูกอมในขวดโหล

และที่สำคัญคือ....การที่คนคิดวิเคราะห์ไม่เป็น  ใช้เหตุผลไม่ได้  ย่อมมีแนวโน้มเชื่อตามได้ง่าย      

ทำให้คิดถึงคำกล่าวที่ว่า....

เชื่อทุกอย่าง...โง่

ไม่เชื่อทุกอย่าง...บ้า

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ

(^___^)

แวะมาขอบคุณกับกำลังใจที่ได้ส่งผ่านความรู้สึกที่ดีดี..ขอบคุณค่ะจากใจอย่างสุดซึ้ง..พยายามยืนอยู่ในความเข้มแข็ง..แต่ทำไมยังอ่อนแออยู่ก็ไม่รู้..พยายามแล้วค่ะ..

ขอบคุณ ครับ คุณP

อาหารกลางวันที่ให้มาเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ยังไม่บูดเลย ครับ
ขอเป็นอาหารเช้าวันนี้ก็แล้วกัน
ขอบคุณ ครับ ที่ตามมาเชียร์ อยู่บ่อย ๆ

แวะมาทักทายคนที่มีความละเมียดละไมในอารมณ์เช่นคุณแสงศรีค่ะ

มีความสุขมาก ๆ นะคะ

P12602177

สวัสดีค่ะ

  • มาบอกว่าอ่านจบแล้วค่ะ
  • ได้ความคิดเก็บไว้คิดเตือนตัวเองค่ะ
  • ขอขอบคุณค่ะ
  • มาฝึก Problem Solving ในบันทึกนี้อีกครั้ง เพื่อการลับปัญญาให้คมอยู่เสมอค่ะ
  • เวลาสู้กันด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่...ยอมรับว่าไม่มีผิดไม่มีถูกตายตัว มันขึ้นอยู่กับว่าเรานำเหตุผล/วิธีคิดในเรื่องนี้มาใช้กับสถานการณ์อะไร...
  • เชื่อหรือไม่คะว่าบางเรื่องฟังดูไม่มีเหตุผลเลย แต่มันเหมาะสมกับสถานการณ์ที่งี่เง่าแต่เราต้องประสบค่ะ...ลองสมมติเหตุการณ์ดูนะคะ   
  • ขอบพระคุณที่ได้มา "แบ่งปัน....เรียนรู้.....แลกเปลี่ยน"

P

3. 0000
เมื่อ ศ. 06 มี.ค. 2552 @ 15:17
1167909 [ลบ] [แจ้งลบ]

คิดอย่างเป็นระบบ

จัดระบบ..อย่างมีแบบแผน

คิดก่อนทำ..ทำก่อนคิด..ถูกไหม

ที่ผ่านมา คุณ พิม ก็จัดระเบียบความคิดได้ดีที่เดียวครับ

ขอเป็นกำลังใจ ให้ ครับ

 

P

4. ขจิต ฝอยทอง
เมื่อ ศ. 06 มี.ค. 2552 @ 15:17
1167911 [ลบ] [แจ้งลบ]

  • ขอเป็นทฤษฎีที่ 4 ได้ไหม
  • ทฤษฎี แก้วเปล่า
  • ใส่น้ำได้เรื่อยๆๆ
  • ไม่เต็ม
  • อิอิๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ทฤษฎี แก้วเปล่า ของ อาจารย์ ก็น่าสนใจ นะครับ

และได้เปรียบด้วย ตรงที่ รับอย่างเดียว...ไม่เต็มซะที

  • ขอบคุณ ครับ
P
7. adayday
เมื่อ ศ. 06 มี.ค. 2552 @ 16:41
1168012 [ลบ] [แจ้งลบ]

สวัสดีครับพี่แสงศรี

มาทักทายนะครับ สบายดีใช่มั้ยครับ

เดย์ชอบทั้ง 3 ตัวอย่างเลย ขอบคุณมากๆที่คัดมาให้อ่านนะครับพี่

แต่ทฤษฎีชะลอมนี้รู้สึกจะพบได้บ่อยสุดนะครับ คล้ายๆการหาข้ออ้างและเหตุผลเพื่อเข้าข้างตัวเองโดยไม่ยอมรับในสิ่งนั้นๆที่มันเป็น :)

เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง และมีความพยายามมากที่จะเปลี่ยน 555

มีความสุขมากๆครับพี่

การมีความสุข ...เนี่ย ไม่ต้องใช้ทฤษฎี อะไรมาอ้างอิง

การ scan  ก่อน clean หรือ del ซิ ...สำคัญ... จากการอ่าน ไดอารี่ของคุณ adayday  ผมได้แง่คิด มากมาย ขอบคุณ ที่แลกเปลี่ยน..เรียนรู้กัน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท