R&D...สิ่งที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ควรทำ


นักพัฒนาสังคมรุ่นใหม่ ควรให้ความสำคัญกับงานด้านการพัฒนาหรือยกระดับคุณภาพสังคม เน้นบทบาทในการเสริมพลังอำนาจให้แก่ครอบครัว ชุมชน(Empowerment) มากกว่าการเน้นเฉพาะงานสวัสดิการสังคม

        เมื่อวันที่ 26 ก.พ.2552 ผมได้ไปบรรยายเรื่อง “การกำกับติดตามและประเมินผล” สำหรับบุคลากรระดับชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดูแลการจัดอบรมโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ณ ศูนย์พัฒนาบุคลากร กระทรวงพัฒนาสังคมฯ คลอง 5  อ.ธัญบุรี จ. ปทุมธานี

        ในการบรรยายวันนั้น ผมเสนอแนวคิดให้นักพัฒนาสังคมทำงานอย่างเป็นระบบ นับตั้งแต่ 1) การวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน-ปัญหาของงาน(Need Assessment)   2) การพัฒนา/แสวงหาทางเลือกใหม่ ๆ มาใช้ในการยกระดับคุณภาพชีวิต(ด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา...Research and Development/ R&D)    3) การประเมินความก้าวหน้าของงานหรือโครงการต่าง ๆ(Formative Evaluation)   4) การประเมินสรุปผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นปี(Summative Evaluation)  ตลอดจน  5) ควรมีการติดตามผล หรือศึกษาผลกระทบของโครงการที่สำคัญ ๆ(Follow-up Studies   หรือ  Impact Evaluation)...รวมทั้งต้องจัดทำปฏิทินการขับเคลื่อนงาน ในรอบปี(ดูที่ http://gotoknow.org/blog/sup003/244226)

        ในส่วนของ การวิจัยและพัฒนาทางเลือกใหม่ ๆ(R&D) ได้เสนอให้ทุกคนคิดพัฒนาทางเลือก วิธีการ หรือสื่อต่าง ๆ ที่เห็นประโยชน์แก่ประชาชน เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนางานที่ยั่งยืน เช่น

   วันจดทะเบียนสมรส..คู่สามี ภรรยา ควรได้รับ..คู่มือ การดูแลสุขภาพ

                                สำหรับคู่สมรสใหม่(ต้องตรวจสุขภาพหรือ

                                ดูแลตนเองในเรื่องอะไรบ้าง)

   เมื่อผู้หญิงหรือคุณแม่ในครอบครัวใดมีครรภ์......ควรได้รับ  ..คู่มือการ

                                ดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์

   เมื่อคลอดบุตร..........ครอบครัวควรได้รับ คู่มือ การเลี้ยงดูบุตรที่ถูกวิธี

                                หรือ(ได้มาตรฐาน)

   เมื่อเด็กเข้าโรงเรียน..ครอบครัว ควรได้รับ  คู่มือการพัฒนาทักษะชีวิต/

                                คุณลักษณะอันพึงประสงค์

   หลังวัยกลางคน........ได้รับคู่มือ  การดูแลตนเองก่อนเกษียณอายุ

   ในวันเกษียณอายุ.....ได้รับคู่มือ การดูแลตนเองในวัยเกษียณอายุ  และ

   บ้านใดมีผู้สูงอายุ......ครอบครัวควรได้รับ คู่มือการดูแลผู้สูง อายุ/ความรู้

                                เบื้องต้นในการดูแลสุขภาพปู่ ย่า ตา ยาย

   ทุกครอบครัว...ควรได้รับ คู่มือ การป้องกันตนเองจากโรคภัยไข้เจ็บ

ตามฤดูกาล

        ถ้ากระทรวงพัฒนาสังคม โดยนักวิชาการรุ่นใหม่ ๆ ให้ความสำคัญกับงานด้านการพัฒนาหรือยกระดับคุณภาพสังคม เน้นบทบาทในการเสริมพลังอำนาจให้แก่ครอบครัว ชุมชน(Empowerment)  ให้ความสำคัญกับงานป้องกัน หรืองานพัฒนา พอๆ กับ หรือมากกว่างานแก้ปัญหา(เช่น งานสวัสดิการแก่ผู้ด้อยโอกาส ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน) ผมเชื่อว่าสังคมจะดีขึ้น เกิดความยั่งยืนในการพัฒนา

        อีกทั้งในการบรรยายวันนี้ ผมเสนอว่า ในการพัฒนางาน นอกจากลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เราต้องดูแล ซึ่งในปัจจุบัน คือ "กลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม” แล้ว นักพัฒนาพิจารณาหรือคำนึงถึงกลุ่มที่เห็นว่าน่าจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในอนาคต เช่น กลุ่ม อบต. แกนนำท้องถิ่น  หากบุคลากรกลุ่มนี้ รู้-ตระหนัก มีทักษะ พร้อมทั้งได้รับการส่งเสริมอย่างดี เขาเหล่านั้นจะกลายเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในโอกาสต่อไป.....ผมอยากเห็น อบต. 9,000-10,000 แห่ง  มีการจัดตั้งสโมสรผู้สูงอายุ  สโมสรเยาวชนประจำตำบล   อีกทั้งคู่มือต่าง ๆที่กล่าวข้างต้น โดยบทบาทที่ควรจะเป็นแล้ว คู่มือเหล่านั้น ควรนำไปแจกโดย อบต. หรือ อบต.เตรียมไว้ให้มากพอสำหรับบริการประชาชน(อบต.หันมาดูแลในเรื่องคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างจริงจังหรือเป็นเจ้าภาพหลัก).....หากเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ...ท่านคิดเหมือนผมหรือไม่ว่า “เมืองไทยจะน่าอยู่มากขึ้นอย่างมหาศาล  และจะเป็นเมืองแห่งคุณภาพชีวิต อย่างแท้จริง”(ทุกคน ทุกครอบครัว ปฏิบัติตนได้ตามทฤษฎีที่ปรากฏในคู่มือต่าง ๆ ด้วย)

       

หมายเลขบันทึก: 245377เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2009 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 10:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สนับสนุนความคิดของอาจารย์ค่ะ

คนเทพา

  • ขอบคุณมากครับที่เข้ามาช่วยยืนยัน
  • เรื่องการทำงานเชิงรุก  งานสร้างสรรค์ พัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ควรได้รับการดูแลอย่างจริงจัง  พอ ๆ กับงานแก้ปัยหา เช่น แจกของใช้ หรือ แจกเงินค่าครองชีพ(พร้อมนามบัตร)

ขอสนับสนุนแนวความคิดของท่าน แต่ขอฝากข้อคิดไว้ว่า

" แนวคิดและหลักการ เป็น เรื่องที่ง่ายแสวยหรู

แต่

การปฎิบัติตามความเป็นจริง เป็นเรื่องยากและทรมานของมนุษย์

ขอบคุณครับ

เรียน นพรัตน์สิงขร

  • ขอบคุณมากครับ ที่ติดตามและร่วมแสดงความคิดเห็น
  • ตามทฤษฎีนะครับ หลักการวางแผน กลุ่มแนวคิดหนึ่ง ใช้หลัก "Blue Sky Planning" ใช้วิธีวาดฝัน หรือสร้าง "ทัศนภาพ(Scenario)" หรือสร้างภาพความสำเร็จที่มีความเป็นไปได้  แล้วค่อยหาวิธีการ(มรรค) เพื่อไปสู่ภาพที่ต้องการนั้นๆ
  • ตัวอย่างเช่น เราเคยวาดฝันว่า "นนทบุรีเขต 2 น่าจะมีคุณภาพการศึกษาติดใน 5 อันดับแรกของประเทศ"(ฝันเมื่อปี 46-48)...แล้วทุกคนช่วยกันหาวิธีการ ในที่สุด ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา เราประสบความสำเร็จเป็นเขตพื้นที่อันดับ 2-5 ของประเทศตลอดมา"(จากเดิม เคยอยู่อันดับ 17-18)
  • ผมคิดว่าหลังจากวาดฝันแล้ว ทุกคน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันคิด และแสวงหาวิธีการไปให้ถึง  ผมพยายามเสนอแนะให้ อบต.ตั้งสโมสรเยาวชนตำบลต่าง ๆ ในนนทบุรี มาเป็นระยะเวลา 2-3 ปี แล้ว แต่ยังไม่สำเร็จ ...แต่คาดว่า ในปี 2552 นี้ จะเริ่มเกิดขึ้นบางตำบล อย่างเป็นรูปธรรม
  • ผมเชื่อว่า "เราต้องวาดฝันให้สวยหรู  พยายามทำฝันให้เป็นจริงไม่ท้อถอย ถ้าไม่เป็นไปตามฝัน...แต่อย่าคาดหวังแบบ 100 % กับความฝัน  ต้องค่อย ๆ ทำ ค่อย ๆ เป็นไป"  โดยหลักของการวาดฝัน "จะต้องวาดให้สวยหรูพอสมควร"....หากวาดฝันแบบเละเทะ...ขนาดความฝันยังเละเทะ...แล้วตอนทำจริงจะเละขนาดไหน...ตรงนี้ละครับ ผมคิดว่ายากจะประสบความสำเร็จ

อาจารย์ครับ

อยากให้ท่านมีมุมมองการ R&D...สิ่งที่การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.)ควรทำเหมือนกับ งานของ พม.ครับ ผมเพิ่งกลับมาจากการเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ หลักสูตรการวิจัยและพัฒนาวิชาการ รุ่น 3 ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท