กระบวนการจัดการความรู้ ( Knowledge Management Process)


กระบวนการจัดการความรู้ ( Knowledge Management Process)

จากคำกล่าวที่ว่า  “ ...ผลการประเมินภายนอกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งหนึ่ง  พบว่ามีหลายมาตรฐานและหลายตัวชี้วัดที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ  จากการศึกษาถึงสาเหตุและปัญหา  พบว่า  ส่วนหนึ่งเกิดจากครูและบุคลากรของสถานศึกษาไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา  จากกรณีศึกษา  จงตอบคำถามต่อไปนี้  

                  ข้อคำถาม  หากนักศึกษาเป็นผู้บริหารจะดำเนินการจัดการความรู้  เรื่อง  การประกันคุณภาพการศึกษา อย่างไรบ้าง  จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบและนักศึกษาคิดว่าการดำเนินการจัดการความรู้ดังกล่าว จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานศึกษาอย่างไรบ้าง

 

ตอบคำถาม        

การจัดการความรู้ในสถานศึกษา  เป็นกระบวนการในการรวบรวมข้อมูลและความรู้ต่างๆ  ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย  ให้เป็นหมวดหมู่  โดย จัดให้มีโครงการการจัดการความรู้ขึ้นและดำเนินการตามขั้นตอน  ดังนี้

 

กระบวนการจัดการความรู้ ( Knowledge  Management Process)

                      1.  การบ่งชี้ความรู้  เช่น   พิจารณาว่า  เป้าหมายของการประกันคุณภาพคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการประกันคุณภาพ   เราจำเป็นต้องรู้อะไร   ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้างอยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร

                      2.  การสร้างและแสวงหาความรู้  เช่น  การสร้างความรู้ใหม่หรือแสวงหาความรู้    จากเอกสารต่างๆ  รักษาความรู้เก่าที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ  กำจัดความรู้ที่ไม่ถูกต้องออกไป               

                      3.  การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ   เป็นการวางโครงสร้างเกี่ยวกับการดำเนินการประกันคุณภาพอย่างเป็นระบบ  เช่น  การจัดหมวดหมู่ของข้อมูล  อาจจะแบ่งออกเป็นการประกันคุณภาพด้านผู้เรียน  ด้านครู  ด้านผู้บริหาร  เป็นต้น  หรือโครงการ/กิจกรรมต่างๆ  เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบในอนาคต  

                      4.  การประมวลและกลั่นกรองความรู้  เช่น  การปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน  ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์               

                      5.  การเข้าถึงความรู้   เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่าย   และสะดวก   เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ   โดยอาจจัดเก็บในรูปแบบของอินเทอร์เนต  หรืออินทราเน็ต  ก็ได้  หรือง่ายๆ ก็จัดบอร์ดประชาสัมพันธ์   เป็นต้น               

                      6.  การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้   ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น อาจจัดทำเป็นเอกสาร  ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน  กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว  เวทีแลกเปลี่ยนความรู้เป็นต้น               

                      7. การเรียนรู้   ทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น  เกิดระบบการเรียนรู้     จากการสร้างองค์ความรู้นำความรู้ไปใช้  เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง                    

*************************************************************************   

วิชาการ,กรม.  การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร:

                       โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2545.

สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย .  ประมวลสาระชุดวิชา บริบททางการบริหารการศึกษา 

                        นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547.  

หมายเลขบันทึก: 245296เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2009 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท