ระบบสารสนเทศต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา


สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

 

1  ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา

            โปรแกรมประยุกต์ใช้และแนวปฏิบัติในการจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศในสถานศึกษา

                    โปรแกรมในการจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา  มีรายละเอียดและแนวปฏิบัติ  จำแนกรายโปรแกรม  ดังนี้               

            OBEC  เป็นโปรแกรมเพื่อการจัดเก็บบันทึก  ประมวลผล  และรายงานข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา  เน้นการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นความต้องการในการบริหารจัดการศึกษา  การจัดตั้ง  การจัดสรรงบประมาณ  การวางแผนทางการศึกษา 

            SMIS  เป็นโปรแกรมระบบบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา (School Management Information System : SMIS)  พัฒนาขึ้นเพื่อจัดเก็บข้อมูลในระดับสถานศึกษา  ประกอบด้วยทะเบียนโรงเรียน  ข้อมูลนักเรียนรายบุคคล  ข้อมูลบุคลากรรายบุคคล  และข้อมูลงานวิชาการ 

            M-OBEC  เป็นโปรแกรมเพื่อบันทึก  ประมวลผล  และรายงานข้อมูลครุภัณฑ์รายโรงเรียน  โดยให้โรงเรียนหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  เป็นผู้บันทึก  ปรับปรุงข้อมูลทุกปีงบประมาณ               

            B-OBEC  เป็นโปรแกรมเพื่อบันทึก  ประมวลผล  และรายงานข้อมูลสิ่งก่อสร้างรายโรงเรียน  โดยให้โรงเรียนหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  เป็นผู้บันทึกข้อมูล 

          Data  On  Web  เป็นการรายงานข้อมูลจำนวนนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนผ่านเว็บไซต์ของ สพฐ.  www.obec.go.th 

            ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS)  เป็นระบบที่นำเอาระบบแผนที่กราฟฟิค (Geographic)  มาทำงานร่วมกับฐานข้อมูล (Database)  ที่มีความสามารถในการจัดเก็บ  แก้ไข  ปรับปรุง  สืบค้น  จัดการวิเคราะห์  แสดงผลและรายงานผลข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์  โดยอาศัยความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์เป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับข้อมูลอื่นๆ                 

            ศูนย์ปฏิบัติการ  (Operation Center)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต นำเสนอข้อมูลสารสนเทศจากโปรแกรมบริหารงานข้อมูลสารสนเทศ  ในรูปของศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  AOC  ที่เว็บไซต์  http://202.143.161.13/aoc  เชื่อมโยงกับศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัด (POC)  ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (DOC)  และระดับกระทรวงศึกษาธิการ (MOC)  เพื่อให้ทุกหน่วยงานและองค์กรสามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน 

อ้างอิง

             ระบบข้อมูลสารสนเทศในสถานศึกษา ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้

             จาก:      http://gotoknow.org/blog/plankm/161138?class=yuimenuitemlabel    

                                    23 กพ  2552

************

 

2  ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน

                   การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ศึกษาปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตทางการศึกษา เพื่อสนับสนุนการตรวจราชการ

 

                   การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ศึกษาปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิตทางการศึกษา เพื่อสนับสนุนการตรวจราชการ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ศึกษาสภาพปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตทางการศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 6 และ 7 มีขอบเขตด้านพื้นที่ประกอบด้วยจังหวัด 8 จังหวัด รวม 16 เขตพื้นที่การศึกษา และด้านเนื้อหาประกอบด้วย  (1) ปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ อัตราการเข้าเรียนของประชากรวัยการศึกษาภาคบังคับ (6 – 14  ปี)  (2) กระบวนการ (Process) ประกอบด้วย  อัตราครูต่อนักเรียน  อัตรานักเรียนต่อห้อง  และอัตราครูต่อห้อง  และ (3) ผลผลิต (Output) ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้น ป.6, ม.3 และ ม.6 จากผลการทดสอบระดับชาติ (NT) ปีการศึกษา 2546 ส่วนผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้

                   1. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) เมื่อวิเคราะห์ Gross Enrolment Rate พบว่า ประชากรวัยการศึกษาภาคบังคับ (6-14 ปี) ในเขตตรวจราชการที่ 6 และ 7 ได้เข้าเรียนในอัตราร้อยละ 96.40 โดยเขตพื้นที่กาญจนบุรีเขต 3 มีอัตราได้เข้าเรียนสูงกว่าระดับเขตตรวจราชการมากที่สุด และเพชรบุรีเขต 2 มีอัตราได้เข้าเรียนต่ำกว่าระดับเขตตรวจราชการมากที่สุด นอกนั้นมี 6 เขตพื้นที่ที่อัตราการได้เข้าเรียนสูงกว่าระดับเขตตรวจราชการ และอีก 7 เขตพื้นที่ที่อัตราต่ำกว่าระดับเขตตรวจราชการ

                   2. ด้านกระบวนการ (Process)

                           2.1 อัตราครูต่อนักเรียน พบว่า อัตราครูต่อนักเรียนในเขตตรวจราชการที่ 6 และ 7 เท่ากับ 1 : 21.44

                           2.2 อัตรานักเรียนต่อห้อง พบว่า อัตรานักเรียนต่อห้องในเขตตรวจราชการที่ 6 และ 7 เท่ากับ 24.71 : 1

                           2.3  อัตราครูต่อห้อง  พบว่า   อัตราครูต่อห้องในเขตตรวจราชการที่  6  และ  7  เท่ากับ 1: 0.77               3. ด้านผลผลิต (Output)

                           3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ผล NT ปี 2546)

                                   3.1.1  วิชาภาษาไทย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ป.6 มีค่าเฉลี่ย 47.90 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (45.48) 

                                   3.1.2  วิชาคณิตศาสตร์ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ป.6  มีค่าเฉลี่ย 44.72 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (41.58) 

                                   3.1.3  วิชาวิทยาศาสตร์ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนชั้น ป.6 มีค่าเฉลี่ย 44.77 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (42.43)

                                   3.1.4  วิชาภาษาอังกฤษ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ป.6 มีค่าเฉลี่ย 43.26 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (41.15)

                           3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ผล NT ปี 2546)

                                   3.2.1  วิชาภาษาไทย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ม.3 มีค่าเฉลี่ย 55.79 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (53.08)

                                   3.2.2  วิชาคณิตศาสตร์ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ม.3 มีค่าเฉลี่ย 36.44 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (35.00) 

                                   3.2.3  วิชาวิทยาศาสตร์ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ม.3 มีค่าเฉลี่ย 39.61 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (38.08)

                                   3.2.4 วิชาภาษาอังกฤษ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ม.3 มีค่าเฉลี่ย 38.74 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (37.93)  

                                   3.2.5  วิชาสังคมศึกษา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ม.3 มีค่าเฉลี่ย 51.36 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (49.33)

                           3.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ผล NT ปี 2546)

                                   3.3.1  วิชาภาษาไทย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ม.6 มีค่าเฉลี่ย 45.40  สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (44.46) 

                                   3.3.2  วิชาคณิตศาสตร์  พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ม.6 มีค่าเฉลี่ย 34.07 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (34.00)

                                   3.3.3  วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ม.6 มีค่าเฉลี่ย 49.15 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (48.82) 

                                   3.3.4  วิชาฟิสิกส์ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ม.6 มีค่าเฉลี่ย 33.65 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (32.60)

                                   3.3.5  วิชาเคมี พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ม.6  มีค่าเฉลี่ย 41.913 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (38.65)

                                   3.3.6  วิชาชีววิทยา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนชั้น ม.6 มีค่าเฉลี่ย  40.867 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (36.75) 

                                   3.3.7  วิชาภาษาอังกฤษ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ม.6 มีค่าเฉลี่ย 38.18 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (39.14)                                       

                                   3.3.8  วิชาสังคมศึกษา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ม.6 มีค่าเฉลี่ย 43.26 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ (41.85)

                   ผลการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ศึกษาปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิตทางการศึกษาเพื่อสนับสนุนการตรวจราชการในครั้งนี้ ช่วยให้ได้ข้อสนเทศที่เป็นประโยชน์ ดังต่อไปนี้

                   1.ข้อเสนอแนะการนำ GIS ไปใช้ในการสนับสนุนการตรวจราชการ

                           1.1 ก่อนจะใช้ระบบ GIS ดำเนินการตรวจราชการหรือสนับสนุนการตรวจราชการ ควรวิเคราะห์และคัดเลือกนโยบายที่เหมาะสมกับการใช้ระบบ GIS ศึกษาวิเคราะห์ความสำเร็จ เช่น นโยบายความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา นโยบายคุณภาพการศึกษา นโยบายการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก นโยบายจักรยานยืมเรียน นโยบายทุนการเขียนเรียงความสำหรับนักเรียนยากจน ซึ่งจำเป็นต้องค้นหาคำตอบในลักษณะ Where How และ Why เป็นต้น

                           1.2 ควรดำเนินการใช้ระบบ GIS ตรวจราชการหรือสนับสนุนการตรวจราชภายใต้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายหรือผู้เกี่ยวข้อง มีการแบ่งขอบเขตบทบาทภารกิจกันอย่างชัดเจน มีการใช้ฐานข้อมูลเดียวกันในการศึกษาวิเคราะห์ และมีการใช้สารสนเทศหรือผลการวิเคราะห์เดียวกันในการรายงานผลตามนโยบายแต่ละระดับ

                           1.3 การตรวจราชการหรือการสนับสนุนการตรวจราชการด้วยระบบ GIS ควรกำหนดหน่วยวิเคราะห์ให้เหมาะสม สามารถที่จะบูรณาการการตรวจและผลการตรวจกับหน่วยงานหรือองค์กรการตรวจติดตามและประเมินผลต่างๆ ทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะกับผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ  อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น วิเคราะห์เป็นระดับกลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัดหรือเขตตรวจราชการ ระดับจังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา อำเภอ และตำบล เหล่านี้เป็นต้น

                   2. ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้

                           2.1 ควรกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและโรงเรียนในทุกพื้นที่เร่งปรับปรุงพัฒนายกระดับคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษาให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงหรือเท่าเทียมกันให้มากที่สุด เพื่อจะได้ก่อให้เกิดความมั่นใจแก่พ่อแม่และผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้ารับบริการต่อไป

                           2.2 โรงเรียนที่ขนาดเล็กส่วนใหญ่มักประสบปัญหาครูไม่ครบชั้น เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสูง จึงควรได้รับการดูแลเอาใจใส่หรือช่วยเหลือจากหน่วยเหนือมากเป็นพิเศษในหลาย ๆ ด้าน เฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนที่มีขนาดเล็กมากควรมีการทบทวนนโยบายการยุบเลิกตามเหมาะสม

                           2.3 ในเขตพื้นที่การศึกษาที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำในวิชาและช่วงชั้นต่าง ๆ ควรมีการกำหนดนโยบาย จุดเน้น หรือยุทธศาสตร์การพัฒนาเฉพาะที่เฉพาะจุดให้เหมาะสมสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและโรงเรียนนำไปดำเนินการ ส่วนเขตพื้นที่ที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาและช่วงชั้นต่าง ๆ เป็นที่น่าพอใจอยู่แล้วก็ควรมีนโยบาย จุดเน้น หรือยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับนำไปดำรงคุณภาพหรือยกระดับคุณภาพให้สูงยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน

                            2.4 ควรกำหนดนโยบายให้หน่วยงานที่มีบทบาทด้านการตรวจ นิเทศ ติดตาม ประเมินผล พัฒนาระบบการตรวจ นิเทศ ติดตาม ประเมินผล ให้มีประสิทธิภาพสูง เพื่อจะได้สามารถตรวจ นิเทศ ติดตาม ประเมินผลหรือดูแลช่วยเหลือการพัฒนาการบริหารและการจัดการ  รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิผล

                   3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

                         3.1 กระทรวงศึกษาธิการควรเร่งรัดให้ส่วนราชการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(GIS) มาใช้ในการบริหารงาน เพราะจะสามารถใช้ในการวางแผน ตัดสินใจของผู้บริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำมาใช้ในศูนย์ปฏิบัติการกระทรวง (MOC) และศูนย์ปฏิบัติการขององค์กรหลัก(DOC)

                          3.2 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ควรสนับสนุนให้สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการ ทุกเขต มีศักยภาพในการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการตรวจราชการ เพื่อเสริมให้การตรวจราชการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Inspection) เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการสนับสนุนทั้งด้าน Hardware Software และพัฒนาบุคลกรอย่างเข้มข้น รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอ

                          3.3 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ควรเพิ่มศักยภาพของสำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการให้เป็นเครือข่ายของ MOC ในภูมิภาค โดยเพิ่มขีดความสามารถในการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถช่วยกระทรวงศึกษาธิการวางแผน ตัดสินใจ ในระดับพื้นที่ได้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ความต้องการ.

 

อ้างอิง

                   ประเสริฐ  แก้วเพ็ชร  และคณะ.   การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ศึกษาปัจจัยนำเข้า

                           กระบวนการ และผลผลิตทางการศึกษา เพื่อสนับสนุนการตรวจราชการ”. 

                           [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก        

                           http://www.inspect6.moe.go.th/0_praseart/gis.htm

    

                           23 กพ  2552

           

***************

 

3  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ

       &nbs

หมายเลขบันทึก: 245230เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2009 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท