บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา


บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อ 1. เทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ว่าเทคโนโลยีด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) ตลอดจนนวัตกรรมและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ  มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย อย่างไรบ้าง และจะช่วยยกระดับการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคนได้อย่างไรบ้าง

 

ตอบ 

e-learning การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต


สังคมยุคสารสนเทศที่มีสรรพสิ่งมากมายให้เรียนรู้ได้ไม่รู้จักหมดสิ้น การเชื่อมโยงข้อมูลและสารสนเทศด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ อินเทอร์เน็ต สร้างการเรียนรู้ให้เกิดได้กว้างขวางและกระจายไปทุกระดับ ทั้งในระบบนอกระบบ และตามอัธยาศัย อินเทอร์เน็ตจึงมีบทบาทสำคัญของการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า  e-learning  เป็นที่ทราบกันดีว่าเว็บเป็นบริการสำคัญบนอินเทอร์เน็ต เป็นการเรียนรู้ระบบเปิดและกระจายจากศูนย์กลาง สร้างมิติใหม่ของการเรียนรู้ที่ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ มีการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงการเรียนในห้องเรียนกับโลกภายนอก ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้แสวงหา สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การพัฒนาตามศักยภาพและความสนใจของคนในสังคมเป็นการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้คนมีเสรีภาพในการเลือกเนื้อหาการเรียนรู้ของตนเองได้ (self-pace learning) ตามความสนใจและความถนัดขึ้นอยู่กับศักยภาพของบุคคลที่จะแสวงหาความรู้ ทำให้ประชาชนในประเทศเกิดการพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความจำเป็นในการแข่งขันในเศรษฐกิจบนฐานความรู้ (knowledge-based economy) ในอนาคตการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-เลิร์นนิ่ง (e-learning) หมายถึง การเรียนรู้บนฐานเทคโนโลยี (Technology-based learning) ซึ่งครอบคลุมวิธีการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ อาทิ การเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์ (computer-based learning) การเรียนรู้บนเว็บ (web-based learning) ห้องเรียนเสมือนจริง (virtual classrooms) และความร่วมมือดิจิทั่ล (digital collaboration) เป็นต้น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท อาทิ อินเทอร์เน็ต (internet) อินทราเน็ต (intranet) การถ่ายทอดผ่านดาวเทียม (satellite broadcast) แถบบันทึกเสียงและวิดีทัศน์ (audio/video tape) โทรทัศน์ที่สามารถโต้ตอบกันได้ (interactive TV) และซีดีรอม (CD-ROM)

                การสร้างความสามารถในการหาความรู้ด้วยตนเอง อี-เลิร์นนิ่งไม่ได้เป็นเพียงการเรียนโดยการรับความรู้หรือเรียนรู้อะไรเท่านั้น แต่เป็นการเรียน "วิธีการเรียนรู้" หรือเรียนอย่างไร ผู้เรียนในระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นคนที่มีความสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เนื่องจากอี-เลิร์นนิ่งไม่มีผู้สอนที่คอยป้อนความรู้ให้เหมือนกับการศึกษาในห้องเรียน ดังนั้น ผู้เรียนจึงได้รับการฝึกฝนทักษะในการค้นหาข้อมูล การเรียนรู้วิธีการเข้าถึงแหล่งความรู้ การเลือกวิธีการเรียนรู้ และวิธีการประมวลความรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ การที่คนมีความสามารถในการเรียนรู้ จะทำให้เกิดการพัฒนาอาชีพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ซึ่งหากประเทศชาติมีประชาชนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ จะทำให้เกิดผลดีต่อประเทศในแง่ของการสร้างองค์ความรู้ของคนไทย และการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง จากกระแสโลกาภิวัตน์การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีความสำคัญมากขึ้น การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมต้องมีการเรียนรู้ด้วยตนเองต้องสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในโรงเรียน ชุมชน ประเทศ เพื่อให้ก้าวทันต่อความทันสมัยและการที่ได้มีองค์ความรู้เป็นของตนเอง สามารถทำให้ผู้คนเท่าทันเหตุการณ์ รู้จักคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ การเลือกสิ่งที่เหมาะสมให้แก่ตนเองและสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  และจะทำให้ประเทศได้รับการพัฒนาในยุคเทคโนโลยีก้าวหน้า คนในสังคมควรพัฒนาตนเองให้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง            

นางสาวกรรณิการ์  บุญเกลี้ยง 5011510044 บริหารการศึกษา            

http:// www.promma.ac.th

http://wwwlearners.in.th/blog/asdream

http://www edu.swu.ac.th

 

 

 

ปัจจุบันนี้  เทคโนโลยีสมัยใหม่มีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ   ซึ่งไม่ว่าเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน  เทคโนโลยีโทรมนาคม  และเทคโนโลยีสารสนเทศ  กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน นับตั้งแต่ทางด้านการศึกษา พาณิชยกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม สาธารณสุข การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ อันที่จริงแล้วจะเห็นว่าไม่มีงานด้านใดที่ไม่มีผู้คิดประยุกต์หรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปช่วยให้การทำงานนั้น ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น

       บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัย     สามารถสรุปได้ดังนี้

1.   บทบาทในฐานะองค์ความรู้  เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ของการศึกษาทุกระบบ

2.   บทบาทในฐานะเครื่องมือทางวิชาการ   เช่น เป็นสื่อต่าง  ๆ ของการเรียนรู้

3.   บทบาทในฐานะเครื่องมือบริการทางวิชาการ ช่วยเผยแพร่ความรู้ให้นักเรียน ประชาชน  ไม่ว่าจะอยู่ในระบการศึกษาในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัย

4.   บทบาทในฐานะทรัพยากรสนับสนุนการเรียน   เป็นสิ่งอำนวยต่อการเรียนรู้  เช่นข้อสนเทศ/ข่าวสาร บุคคล  วัสดุ  เทคนิค  และอาคารสถานที่

5.   บทบาทในฐานะเครื่องมือพัฒนาบุคลากร

6.   บทบาทในฐานะเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้  เช่น  จัดหาเครื่องมือกระตุ้นการเรียนรู้  สร้างชุมชนวิชาการ นำหลักสูตรซึ่งตั้งพื้นฐานที่เร้าใจ  เป็นต้น

7.   บทบาทในฐานะสนับสนุนการสอน  เช่น  การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในรูปแบบของการปฏิบัติ   การใช้โปรแกรมทำงานประหนึ่งเป็นติวเตอร์  เป็นต้น

               การศึกษาเป็นกิจกรรมสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์  ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา ในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัย  การจัดการศึกษามีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในแต่ละยุคแต่ละสมัยและเกิดเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างต่อเนื่อง   ในปัจจุบันการจัดการศึกษาทุกระบบต่างให้ความสำคัญของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เทคโนโลยีสารสนเทศคมนาคม  เพื่อใช้ในจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน   เช่น  การนำคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในการศึกษาหาความรู้  ห้องสมุดอีเลกทรอนิกส์  กราฟิก  เครื่องฉาย  เครื่องเสียง  ภาพยนตร์  วีดีโอ  โทรทัศน์เพื่อการศึกษา  วิทยุกระจายเสียง  โทรศัพท์   ดาวเทียม   สิ่งพิมพ์ต่าง    เป็นต้น  ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้การจัดศึกษาทุกระบบและการเรียนรู้ของมนุษย์บรรลุผลตามอุดมการณ์ได้ตลอดชีวิต

           

          แหล่งข้อมูลอ้างอิง

                           สำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพ  สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา  โรงการพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา  ชุดวิชาการจัดองค์ทางการศึกษา  เรื่อง  ความรู้พื้นฐานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี

                             www..glreach.com

                  www.eleamingeuropa.info.com

 

 ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทและเกี่ยวข้องกับการศึกษามากขึ้น การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายว่าด้วยการศึกษาของชาติฉบับแรกของประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542 เป็นต้นมา มีสาระสำคัญที่ใช้เป็นหลักในการปฏิรูปการศึกษาของชาติทั้งในส่วนที่เป็นความมุ่งหมาย หลักการของการจัดการศึกษา สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ระบบการศึกษา แนวทางจัดการศึกษาการบริหารและจัดการศึกษา มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาทรัพยากร และการลงทุนเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ.2542) สำหรับการกำหนดรูปแบบของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1.       การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่มีแน่นอนในจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา

หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล รวมทั้งมีการกำหนดเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน

2.       การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยึดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย

รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและประเมินผล รวมทั้งเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม

3.       การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ตามความ

สนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาสโดยสามารถศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ

 จากรูปแบบของการจัดการศึกษาทั้ง 3 รูปแบบดังกล่าวได้สะท้อนความตื่นตัวที่จะ

ปฏิรูปการศึกษาโดยยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิตที่เน้นให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้วางเป้าหมายในการสร้างให้คนไทยเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข เป็นทรัพยากรบุคคลที่สามารถพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืน (รุ่ง แก้วแดง,                2543:18) นอกจากนั้นสาระในหมวด 9 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ยังได้กำหนดถึงบทบาทหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาบุคลากร การจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จะเห็นได้ว่าการจัดการศึกษาในยุคของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้และความต้องการในการศึกษาในอนาคต สื่อและอุปกรณ์การศึกษารูปแบบใหม่เข้ามาแทนที่สื่อแบบเก่า มีแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลาย จะเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมทางการศึกษาแบบใหม่ การปฏิรูปการศึกษาจะเป็นการปรับปรุงโครงสร้างทั้งระบบใหม่ โดยเฉพาะการบริหารและการจัดการศึกษา ซึ่งจากเดิมโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ เปลี่ยนมาเป็นสังคมและชุมชนร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น ฉะนั้นการจัดการศึกษาไม่ว่าจะเป็นในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย จะเชื่อมโยงและเข้าหากันมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนผสมผสานกันและเอื้อประโยชน์ในทุกกลุ่มเป้าหมาย การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้สอดคล้องกับยุคปฏิรูปการศึกษาตามระบบการศึกษา ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย จะส่งผลดีอย่างไรนั้น ผู้เขียนขอประมวลเป็นภาพรวม ดังนี้

1.       การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดกิจกรรมและพัฒนาการเรียนการ

สอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นจะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เพื่อนำความรู้และองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นไปใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคมได้

2.       การจัดระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ให้มีแหล่งความรู้ที่หลากหลาย สำหรับการ

ค้นคว้าหาความรู้ทุก ๆ ด้านที่ผู้เรียนต้องการและเหมาะสมกับผู้เรียน เช่น สื่อมวลชนทุกแขนง

เครือข่ายสารสนเทศ ทรัพยากรท้องถิ่น ชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้านและหน่วยงานต่าง ๆ จะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้พัฒนาตนเอง และพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง

3.       การปรับกระบวนการเรียนการสอน โดยเน้นให้ครูเป็นเพียงผู้อำนวยความ

สะดวกและชี้แนะให้ผู้เรียนทำการศึกษาค้นคว้าคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่ายการเรียนรู้เป็นเครื่องมือ ขณะเดียวกันครูต้องเป็นต้นแบบด้านคุณธรรม และจริยธรรมด้วย ซึ่งต้องปลูกฝังทั้งในชั่วโมงเรียนและกิจกรรมการฝึกปฏิบัติ

4.   ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยโดยการประสานกับชุมชนและท้องถิ่นในการ

พัฒนาการเรียนการสอนตามอัธยาศัยเน้นการค้นคว้าและทักษะการสืบค้นสารสนเทศ ให้ผู้เรียนใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการสื่อสารข้อมูลทางไกลผ่านระบบเครือข่ายได้ รวมทั้งประเมินผลจากการนำมาใช้มากกว่าการจดจำเนื้อหา

ที่กล่าวมาเป็นแนวความคิดในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยพัฒนา

การศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ผู้เขียนเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้การศึกษาจะไร้ขีดพรมแดน ข้อจำกัดในด้านสถานที่ เวลา และด้านอื่นๆ จะไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้อีกต่อไป โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ชุมชนมีสิทธิและส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางจัดการศึกษา โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยระดมทรัพยากรและทุนทางสังคมเข้ามาเป็นปัจจัยในการจัดกิจกรรม ไม่จำเป็นจะต้องมุ่งใช้งบประมาณจากรัฐแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสและนิมิตหมายที่ดี    ที่ชุมชนจะได้มีส่วนร่วมในการบูรณาการภูมิปัญญาชาวบ้าน จารีตประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นเข้ากับการจัดการศึกษาในชุมชน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ

                สำหรับประเทศไทยนั้น  ถ้าหากมีจัดการศึกษาผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ย่อมเป็นเรื่องที่ดี  แต่ทั้งนี้จะต้องมีการพัฒนาความสามารถในการเข้าสู่ตัวระบบอินเตอร์เน็ตที่ดีด้วย  โดยให้สามารถกระจายไปได้ทั่วประเทศ  และที่สำคัญคือต้องเปลี่ยนแนวคิดทางการศึกษาใหม่เพราะการจัดการศึกษาผ่านอินเตอร์เน็ตต้องอาศัยรูปแบบการศึกษาที่ชัดเจน  และต้องอาศัยวิชาชีพด้านครูเข้ามาประกอบด้วย  นอกจากนี้ยังต้องอาศัยการศึกษาร่วมกันของหลายๆ  องค์กร

 

ฟาฏินา วงศ์เลขา . การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารการศึกษา [online].  เข้าถึงได้จาก :  

               http://gotoknow.org/file/sukontasun. (2552,  กุมภาพันธ์ 15 )

 

                นอกจากนั้น เทคโนโลยีดังกล่าว ยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดไป ถึงแม้จะไม่ได้เป็นนักเรียนของสถานศึกษาแล้ว ก็ยังสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้อย่างไม่สิ้นสุด  เรียกได้ว่าหากยังมีกำลังอยู่ก็สามารถศึกษาหาความรู้ได้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด เป็นการศึกษาตลอดชีวิต เพราะความรู้ มีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง เช่นเดียวกับสายน้ำที่ไหลผ่านไปอย่างต่อเนื่อง ไม่มีที่สิ้นสุด.

 

อ้างอิง จาก      “เทคโนโลยีสมัยใหม่กับการบริหารจัดการศึกษา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้

             จาก:     http://gotoknow.org/blog/parea503/223298

 

 

 

การศึกษาตามอัธยาศัย: การศึกษาตามอัธยาศัย

Anonymous บันทึก:

 

E-learning มิติใหม่แห่งการเรียนรู้ ปัจจุบันนี้เป็นสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) ได้มีการวิวัฒนาการและเปลี่ยนแปลง มาตามลำดับโดยเฉพาะในยุคของสังคม IT ในขณะนี้จะมีวิถีของการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นไปอย่าง รวดเร็ว และ ซับซ้อนมากกว่ายุคใด ๆ ที่ผ่านมา ดังนั้นการพัฒนาประเทศที่จะให้สอดคล้องกับยุค IT นี้จึงต้องมีการระดมกำลังทรัพยากร มนุษย์อย่างมากมายที่จะทำให้เกิดการพัฒนาประเทศไปในแนวทางดังกล่าว ซึ่งทุกประเทศจะต้องเตรียมพร้อม สำหรับการแข่ง ขันอย่างเสรีในเวทีโลก ประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โดยปรับเปลี่ยนทาง ด้านเทคโนโลยี โดย เฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ส่งผงต่อประสิทธิภาพความรวดเร็วความสะดวกในการบริหารจัดการ และการดำเนินงานทั้ง ภาคสังคม การศึกษา เศรษฐกิจ การผลิตและการปกครอง นอกจากนั้นยังได้มีการกำหนดทิศทางเป้าหมาย และแผนงานในส่วน ต่าง ๆ ของประเทศในการดำเนินการสอดคล้องกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ความหมายของ E-learning E-learning หมายถึง การเรียนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้การนำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ ในรูปของสื่อ มัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อความอิเล็กทรอนิกส์ ภาพ

หมายเลขบันทึก: 245157เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2009 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท