การจัดการความรู้ในสถานศึกษา


การจัดการความรู้ในสถานศึกษา

การจัดการความรู้ในสถานศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษามีความจำเป็นต่อการจัดการศึกษา  ที่ผ่านมาสังคมมักจะตั้งคำถามเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา  คุณภาพผู้เรียน  ว่าสถานศึกษาและหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการศึกษาได้ผลิตผู้เรียน/นักเรียนที่มีคุณภาพระดับใด  ตอบสนองต่อสภาพสังคม  ความต้องการของสังคมหรือไม่  จนกระทั่งมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545   ได้กำหนดไว้ใน  มาตรา  4  วรรค 6  วรรค 7  และวรรค 8   เกี่ยวกับมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา สรุปความสำคัญได้ว่าการประกันคุณภาพเป็นการติดตามเพื่อตรวจสอบและประเมินผลคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาของสถานศึกษา  การประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและจากภายนอกจึงเป็นเสมือนการการันตีถึงคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่งให้ชุมชน  สังคม  และประเทศชาติได้รับทราบ  ได้เกิดความมั่นใจ  เชื่อใจ  ไว้วางใจ  และเกิดความศรัทธาต่อกระบวนการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์กรสู่ความสำเร็จต้องมีการปรับปรุงพัฒนาในจุดอ่อนหรือจุดด้อยขององค์กร  ในกรณีการประกันคุณภาพการศึกษาข้างต้นเมื่อพิจารณาจากผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า  มีหลายมาตรฐานและหลายตัวชี้วัดที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ  ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุ  คือ  ครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา  เมื่อทราบสาเหตุแล้วว่าเกิดจาก  ความไม่รู้  ก็ต้องจัดการให้เกิดความรู้  โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ 

การจัดการความรู้  หมายถึง  การรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาจัดระบบให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้  และพัฒนาตนเองเป็นผู้รู้  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของงานและองค์กร

 

 

หมายเลขบันทึก: 244941เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2009 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท