รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา


รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา

        ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและไร้ขีดจำกัด  เนื่องจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดและทวีความสำคัญมากขึ้น  การศึกษาจึงมิใช่จำกัดอยู่เพียงในห้องเรียนหรือในโรงเรียน แต่การศึกษาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มนุษย์ทุกคนมีโอกาสได้เรียนรู้ทุกเรื่อง   เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถใช้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาคุณภาพของการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ได้เช่น การที่นักเรียนเรียนรู้ได้ช้า สามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียน สื่อ ซีดีรอม เพื่อตามให้ทันเพื่อนนักเรียน ในขณะที่นักเรียนที่รับข้อมูลได้ปกติ สามารถเพิ่มศักยภาพในการ "เรียนรู้ด้วยตัวเอง" ได้มากขึ้นจากความหลากหลายของเนื้อหาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 

               นอกจากนี้ผลจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังช่วยลดความเลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาที่เป็นเงื่อนไขสำคัญของผู้เรียนให้มีความเท่าเทียมกันทางสังคม  เช่น ระบบการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม  ที่ทำให้โรงเรียนห่างไกลในชนบทได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้เท่าเทียมกับชุมชนเมืองนั่นเอง    

              ดังนั้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านการเรียนการสอน  โดยการจัดการศึกษาทางไกล  เพื่อให้บริการการศึกษาทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และผู้อยู่ห่างไกล รวมถึงการใช้สื่ออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ทำให้มีการพัฒนาการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง  โดยรูปแบบการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาการศึกษา เช่น การเรียนแบบ e-Learnning, คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI), การเรียนออนไลน์(Online Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียมการเรียนจากวีดิทัศน์ตามอัธยาศัย เป็นต้น   และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยยกระดับการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคนด้วย

      บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การจัดการศึกษาทั้งในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัยบรรลุอุดมการณ์การจัดการศึกษาตลอดชีวิต

ปัจจุบันนี้   เทคโนโลยีสมัยใหม่มีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ         ซึ่งไม่ว่าเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน  เทคโนโลยีโทรมนาคม  และเทคโนโลยีสารสนเทศ  กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน นับตั้งแต่ทางด้านการศึกษา พาณิชยกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม สาธารณสุข การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ อันที่จริงแล้วจะเห็นว่าไม่มีงานด้านใดที่ไม่มีผู้คิดประยุกต์หรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปช่วยให้การทำงานนั้น ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น

       บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัย     สามารถสรุปได้ดังนี้

1.   บทบาทในฐานะองค์ความรู้  เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ของการศึกษาทุกระบบ

2.   บทบาทในฐานะเครื่องมือทางวิชาการ   เช่น เป็นสื่อต่าง  ๆ ของการเรียนรู้

3.   บทบาทในฐานะเครื่องมือบริการทางวิชาการ ช่วยเผยแพร่ความรู้ให้นักเรียน ประชาชน  ไม่ว่าจะอยู่ในระบการศึกษาในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัย

4.   บทบาทในฐานะทรัพยากรสนับสนุนการเรียน   เป็นสิ่งอำนวยต่อการเรียนรู้  เช่นข้อสนเทศ/ข่าวสาร บุคคล  วัสดุ  เทคนิค  และอาคารสถานที่

5.   บทบาทในฐานะเครื่องมือพัฒนาบุคลากร

6.   บทบาทในฐานะเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้  เช่น  จัดหาเครื่องมือกระตุ้นการเรียนรู้  สร้างชุมชนวิชาการ นำหลักสูตรซึ่งตั้งพื้นฐานที่เร้าใจ  เป็นต้น

7.   บทบาทในฐานะสนับสนุนการสอน  เช่น  การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในรูปแบบของการปฏิบัติ   การใช้โปรแกรมทำงานประหนึ่งเป็นติวเตอร์  เป็นต้น  

ช่วยยกระดับการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคนได้ดังนี้

               การศึกษาเป็นกิจกรรมสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์  ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา ในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัย  การจัดการศึกษามีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในแต่ละยุคแต่ละสมัยและเกิดเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างต่อเนื่อง   ในปัจจุบันการจัดการศึกษาทุกระบบต่างให้ความสำคัญของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เทคโนโลยีสารสนเทศคมนาคม  เพื่อใช้ในจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน   เช่น  การนำคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในการศึกษาหาความรู้  ห้องสมุดอีเลกทรอนิกส์  กราฟิก  เครื่องฉาย  เครื่องเสียง  ภาพยนตร์  วีดีโอ  โทรทัศน์เพื่อการศึกษา  วิทยุกระจายเสียง  โทรศัพท์   ดาวเทียม   สิ่งพิมพ์ต่าง    เป็นต้น  ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้การจัดศึกษาทุกระบบและการเรียนรู้ของมนุษย์บรรลุผลตามอุดมการณ์ได้ตลอดชีวิต

               รูปแบบการประเมินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  
 1.
รูปแบบข้อสอบ Multiple choice   เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ ใช้วัดความเข้าใจ ซึ่งจะวัดได้ลึกซึ้งแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการออกข้อสอบ ในการประเมินแบบ e-assessment ข้อสอบประเภทนี้เมื่อเฉลยจะต้องมีคำอธิบายอย่างเป็นขั้นเป็นตอน จุดประสงค์หลักมักใช้กับการประเมินเพื่อวินิจฉัยผู้เรียนและการประเมินระหว่างเรียน 
 2.
การอภิปรายออนไลน์ (Online Discussion)  ถือเป็นนวัตกรรมการประเมินผลอีกอย่างหนึ่ง ครูจะเป็นผู้เริ่มและหลังจากนั้นก็จะคอยตรวจตรา และให้คำแนะนำนักเรียนที่มีส่วนร่วม  ครูจะเห็นการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการประเมินค่าของนักเรียน มักใช้กับการศึกษาขั้นสูง 
 3.
ระบบการบันทึกผลการปฏิบัติงาน (E-portfolio) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกผลการปฎิบัติงาน ซึ่งปัจจุบันมีซอฟท์แวร์หลายตัวที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้ เป็นวิธีที่ประหยัด ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ครูจะได้สังเกตพัฒนาการของนักเรียนเป็นระยะยาว และข้อดีสำหรับนักเรียนคือได้เก็บผลงานของตนอย่างต่อเนื่องซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ภายหลัง เช่นเป็นหลักฐานสำหรับการสมัครงาน 
 4. Exam Board
เป็นการสอบที่ทุกขั้นตอนนับตั้งแต่ ผู้สอบลงทะเบียนสอบ ทำข้อสอบ ตรวจข้อสอบ รายงานผล และวิเคราะห์ผล ล้วนทำบนคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น การใช้คำสั่งสำหรับข้อสอบลักษณะนี้จะเป็นคำสั่งที่เข้าใจง่าย Exam Board จะมีความปลอดภัยสูงเพราะข้อสอบจะถูกเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์กลางและจะส่งมาที่ศูนย์ของแต่ละพื้นที่เมื่อถึงเวลาสอบ สามารถจัดเวลาสอบได้ตามความต้องการของแต่ละพื้นที่

ซอฟท์แวร์สำหรับการประเมินผลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

      1 โปรแกรม Hot Potatoes   เป็นโปรแกรมในการทำข้อสอบบนคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย  มีบริการตรวจข้อสอบและรายงานผลให้ทราบด้วย

      2  โปรแกรม Quia  มีบริการทางการศึกษาหลายอย่าง เช่นแบบทดสอบกว่า 40 เรื่อง  เป็นเครื่องมือสร้างแบบทดสอบออนไลน์  บริการแบบทดสอบและรายงานผลการประเมิน

      3  โปรแกรม Test Nation  เป็นระบบการประเมินด้วยคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับนักเรียนทุกวัยในวิชาต่าง ๆ เหมาะสำหรับทำเป็นการบ้าน แบบทบทวน  และแบบทดสอบ

      4   Question Tool  เป็นเครื่องมือในการทดสอบที่สามารถนำไปสร้างได้ง่าย ๆ การทดสอบและการทำแบบฝึกหัดต่าง ๆด้วยคอมพิวเตอร์ โดยสามารถเชื่อมต่อในการทดสอบแบบออนไลน์

ข้อแนะนำในการสร้างข้อสอบหรือแบบฝึกหัดเพื่อประเมินผลออนไลน์  
 1.
ในกรณีสร้างข้อสอบแบบ multiple choice คำแนะนำคือ 1) คำสั่งต้องชัดเจน เข้าใจง่าย  2) คำเฉลย ที่ให้กลับไปยังผู้เรียนจะต้องมีคำอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผล 3) ควรให้ผู้อื่น(เช่นเพื่อนร่วมงาน)ช่วย ตรวจดูคำถามเพื่อหาข้อผิดพลาดและแก้ไขก่อนให้ข้อทดสอบกับผู้เรียน 
 2.
ถ้าหากมีข้อสอบที่จัดพิมพ์ไว้แล้ว ก็จะเป็นเรื่องง่ายมาก เพราะเราสามารถนำมาแปลงเป็นข้อสอบออนไลน์ได้เลย 
 3.
ข้อสอบหรือแบบฝึกหัดที่สร้างขึ้นมาสามารถนำมาเชื่อมเข้ากับระบบอินทราเน็ตของสถานศึกษาได้ทันที โดยอาจทำเป็นโปรแกรมทบทวนความรู้สำหรับนักเรียน เพื่อที่นักเรียนจะได้ติดตามความก้าวหน้าของตนเอง

      ในการสร้างข้อสอบหรือแบบฝึกหัดเพื่อประเมินผลออนไลน์นี้ ทำให้นักเรียนได้ติดตามความก้าวหน้าของตนเอง ทั้งยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนอีกด้วย ให้นักเรียนได้คุ้นเคยกับการเรียนแบบเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ และผลการประเมินเป็นไปตามความคาดหวังที่ตั้งไว้ ทางสถานศึกษาจึงได้มีการพัฒนาโดยการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้มากขึ้น และจะมีการพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ

แหล่งอ้างอิง

http://www.pgce.soton.ac.uk/ict/NewPGCE/

http://www.pgce.soton.ac.uk/ict/NewPGCE/Intro/Introduction.htm 
http://www.nc.uk.net/webdav/harmonise?Page/@id=6016

http://schools.becta.org.uk/index.php?section=cu

http://schools.becta.org.uk/index.php?section=tl

http://schools.becta.org.uk/index.php?section=pd

http://schools.becta.org.uk/index.php?section=re  

       

 

หมายเลขบันทึก: 244907เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2009 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท