ไม่ได้พบกันเสียนานนะ ฝอยทอง


** ชงโค ตะโก ขบ หว้า ดาดดง * ตุมกา กาฝากลง ติดไม้...

 

   ........   เมื่อใดหากมีโอกาส ขับรถบนถนนที่มากกว่า4เลนส์ ที่เขามีการตกแต่งเกาะกลางถนน ด้วยไม้ดอกไม้ประดับ อย่างสวยงามและเป็นระเบียบ

ตามประสาคนรักต้นไม้อย่างผม อดที่จะทึ่งไปกับ จินตนาการของผู้ออกแบบ

ที่เขาเอาสีสันที่จัดจ้านของไม้ดอก มาจัดวาง แล้วตัดเล็ม จนได้ระดับ

ขอชมครับว่า คิดได้อย่างไรที่เอาความแข็งในรูปทรงเรขาคณิต   มาผสมผสานกับความสวยของดอกไม้ ได้ยังลงตัว

เจ้าของผลงานที่ว่า โดยอาจจะเป็นผู้ออกแบบ พนักงานตัดแต่ง รวมทั้งคนงานรดน้ำต้นไม้ทุกท่าน

ได้โปรดรับความขอบคุณจากผมด้วย  เพราะการได้ชม ได้พึงใจ เกิดความซาบซึ้ง

และทำให้มีความสุข  อันเนื่องมาจากผลงานของท่านนั่นเอง

 

 

ต่กับป่าพุ่ม ป่าละเมาะ ที่รกร้างการตกแต่ง ที่เราเห็นข้างทางอยู่ทั่วไป ก็ใช่ว่าคนรักต้นไม้จะมองข้าม 

มีไม่น้อยที่เหมือนจะบอกเล่าเรื่องราว ให้เราเข้าใจ ตามลักษณะที่มันเป็นอยู่  บางต้นก็คล้ายเพื่อนสนิท ที่ไม่ได้เห็นกันเสียนาน 

เมื่อได้มาพบเข้าก็ถึงกับอดใจไม่ไหว ต้องจอดรถลงไปทักทาย  อย่างต้นฝอยทองต้นนี้ 

ความที่ตัวเองมีลักษณะเด่น ไม่มีใครเหมือน พบกันเมื่อไร ร้องทักได้เลย ไม่ผิดตัวแน่

ซึ่งไม่ว่าจะมองมุมไหน  ก็สมรูป สมนามจริงๆ


 

 

                                                                 

 

                                                                  ๑ ชงโคตะโกขบ หว้า          ดาดดง

                                                                  ตุมกากาฝากลง                    ติดไม้

 

รู้สึกว่ากวีบทนี้แล่นเข้ามาในความคิด ในทันทีที่เห็น  เพราะต้องบอกว่า ต้นฝอยทองที่แท้ก็เป็นกาฝากชนิดหนึ่ง

มีเพื่อนหลายคนคิดว่า มันคลุมพาดต้นตุมกาอยู่เฉย ซึ่งมันไม่ใช่ 

ตามระบบนิเวศน์จัดว่า ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ ฝ่ายหนึ่งเสียหาย (parasitism ) ไม่ได้ถ้อยทีถ้อยอาศัยแบบCommensalism 

สำหรับต้นตุมกา หรือต้นแสลงใจไว้มีโอกาสจะนำมาเสนอภายหลังขอใช้โอกาสนี้บอกกล่าวเกี่ยวกับต้นฝอยทองเท่าที่พอจะรู้จักดังนี้

 

    ...ชื่อสามัญ  ฝอยทอง(  Cuscuta Hyalina ) ลักษณะคล้ายเส้นด้ายสีเหลืองแล้วไปโยนไว้ตามสุมทุมพุ่มไม้ 

ใช้รับทานได้มีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการร้อนใน กระหายน้ำ  ใช้ดับพิษร้อนได้ดี 

แต่ก็มี**ข้อควรระวังคือเนื่องจากไม้ชนิดนี้ ดูดสารอาหารจากต้นที่มันเกาะอยู่  การนำมาใช้ประโยชน์ ต้องดูด้วยว่า เกาะต้นอะไร

ถ้าต้นฝอยทองที่เราเห็นเกาะต้น ลำโพง, ต้นถอบแถบ,หรือต้นยาสูบไม่ควรนำมาใช้ เพราะเราอาจได้รับสารพิษจากต้นม่ไปด้วย

ต้นฝอยทองทีจริงยังมีอีกชนิดหนึ่งที่เราไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนัก คือชนิดสีเขียวล้วนโดยมีลักษณะเหมือนกัน ต่างกันแค่สีเท่านั้นเอง

การเรียกชื่ออาจแตกต่างกันตามท้องถิ่น ชนบทเรียก ฝอยทองป่า ทางเหนือเรียก เครือเขาคำเป็นต้น

อ้อเสริมอีกนิด ถึงเขาจะมีลักษณะแปลกๆไปบ้าง แต่เขาก็มีดอกให้ดูเหมือนกัน

นี่ไงตามภาพ --------------

 

----------   -----------------

 

หมายเลขบันทึก: 244827เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2009 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ไม่ทราบว่าจะพบต้นฝอยทองได้ที่ไหนครับ โดยเฉพาะในบริเวณกรุงเทพมหานคร

ช่วยตอบด้วยนะครับ

ไม่เคยพบ ต้นฝอยทอง แต่พบ ดร.ขจิต ฝอยทอง  ทุกวันเลย ที่ โกทูโน นี่เองค่ะ

ตามพี่อ้อยคนสวยมาชม เพิ่งเคยเห็นต้นฝอยทอง ชอบกินเค้กฝอยทอง อร่อยค่ะ ;)

ไม่ได้เห็นนานมากแล้ว ตอนเป็นเด็กนำมาต้มจิ้มน้ำพริก ผัด อร่อยดี

เจริญพร

อยากพบต้นฝอยทอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท