ยาใจ


กำลังใจ...คือยาใจ

ในช่วงนี้แม่ต้อยมีงานเข้า(สำนวนวัยรุ่น)มากจริงๆคะ เป็นผลพวงจากการเตรียมการเพื่อการจัดประชุมวิขาการประจำปีของสถาบันฯ ตามที่ได้เล่าไปแล้วในเรื่อง”ออกรบ” ในบล้อกก่อนหน้านี้

       ที่สำคัญคือแม่ต้อยต้องมีภาระกิจในการคัดเลือกและจัดโปรแกรมกิจกรรมและผลงานที่สำคัญในโครงการพัฒนาคุณภาพด้วยรักเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และต่อยอดซึ่งกันและกันในการประชุม รวมทั้งการสรรหาหน่วยงานและบุคคลที่สมควรได้รับรางวัลเชิดชูกียรติอีกด้วย

       แม่ต้อยจึงมีโอกาสดีดีที่ได้อ่าน ได้พบเห็นความดี ความงามของแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขาอย่างมากมาย เป็นที่น่ายินดีเป็นยิ่งนัก เรื่องราวเหล่านี้จะค่อยๆทะยอยจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเพื่อขยายเป็นความรู้ในโอกาสต่อไป ( จะมีแจกในงานประชุมNational Forum นี้นะคะ ขอบอกล่วงหน้า)

       นอกจากนั้นยังมีโอกาสได้เห็นผลงานของโรงพยาบาลที่พัฒนาคุณภาพจนผ่านการรับรองกระบวนการคุณภาพอีกมากมาย หลายๆโรงพยาบาลผ่านการรับรองเป็นครั้งที่สองและครั้งที่สาม ( มีระยะเวลาการรับรองครั้งละ ๒ปี) แสดงถึงความก้าวหน้าอย่างไม่หยุดนิ่งของผู้นำและทีมงานในดรงพยาบาลแห่งนั้น

       แม่ต้อยมีเรื่องที่น่าสนใจของโรงพยาบาลที่ผ่านการพัฒนาคุณภาพโดยทีมนำหรือผู้อำนวยการโรงพยาบาลมีวิธีกระตุ้นให้ทีมงานเกิดการพัฒนาอย่างนุ่มนวลและน่าเชื่อถือ แบบสนุกๆ จึงขอนำมาเล่าต่อดังนี้

       เพื่อเป็นการนำและเป็นตัวอย่างในการพัฒนาคุณภาพ ทีมนำโรงพยาบาลแห่งหนึ่งได้ใช้วิธี Walk around and Sit around โดยการเดินเยี่ยมทุกหน่วยงานเพื่อพบปะทีมงาน พบปะคนไข้ซึ่งจะทำให้เห็นสถานการณ์จริงในการทำงาน  ได้เห็นปัญหาที่หน้างาน  และหาเวลานั่งคุยกับทีมงานแต่ละหน่วยเพื่อสร้างกำลังใจและแก้ไขปัญหา  แต่ที่เทคนิคที่แน่ไปกว่านั้นคือระหว่างการเยี่ยมเยือนหากไปเจอสิ่งใดที่ยังบกพร่องอยู่ หรือยังมีช่องว่างอยู่ก็จะบันทึกไว้ด้วยภาพถ่าย แล้วนำภาพเหล่านั้นมาหารือในที่ประชุมว่า” เราจะช่วยกันปรับปรุงอย่างไรดี? โดยไม่มีการระบุว่าเป็นความผิดของใคร หรือหน่วยงานใด และเป็นการใช้ข้อมูลในการพัฒนาโดยภาพเป็นหลักฐานที่ชัดเจน อาจจะเรียกว่า “ ฟ้องด้วยภาพ” ก็ได้

“วิธีการนี้ทำให้การพัฒนาคุณภาพเป็นไปด้วยความสนุกไม่เครียดและไม่มีการกล่าวโทษกันว่าความบกพร่องนั้นเป็นของใคร มีแต่เป้าหมายร่วมกันว่าเราจะช่วยกันปรับปรุงงานอย่างไรเท่านั้น ซึ่งเป็นแก่นสำคัญของการพัฒนาคุณภาพที่เราเน้นการปรับปรุงเชิงระบบโดยอาศัยการร่วมมือร่วมใจในลักษณะทีมงานและการเป็นตัวอย่างและการนำที่ดี”

       มีอีกโรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่รักษาผู้ป่วยด้านจิตเวช ปัญหาที่พบคือคนไข้ที่รับยาจากโรงพยาบาลไปกินอย่างต่อเนื่องจะสามารถมีชีวิตที่ปรกติอยู่ในสังคมได้ แต่เนื่องจากระยะทางที่ไกลมาก คนไข้จึงขาดนัดบ่อยๆ ทีมงานจึงลงไปวิเคราะห์สาเหตุการผิดนัด พบว่าคนไข้มีฐานะยากจนมากไม่สามารถเช่ารถมาหาหมอที่โรงพยาบาลได้

       “ คุณหมอเอ้ย..  มื้อนี้จะเฮ็ดเงินมาหาข้าวกินก็ลำบาก  ไม่มีเงินไปหาหมอด้อก..”

ทีมงานจึงพัฒนารูปแบบการจ่ายยาทางไปรษณีย์ โดยนัดผู้ป่วยมาที่สถานีอนามัยแล้วลงไปประเมินอาการ พร้อมกับให้ความรู้ทีมงานที่หน่วยบริการเบื้องต้นในการให้ความรู้และช่วยประเมินอาการผู้ป่วยเรียกว่าเป็นแนวคิด” ยาใจใกล้บ้าน” เพื่อให้คนไข้ได้รับบริการอย่างต่อเนื่อง

       แม่ต้อยจึงอยากที่จะเล่าเรื่องราวเพื่อส่งผ่านให้ทราบว่า การพัฒนาคุณภาพในโรงพยาบาลนั้นนอกจากองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์ เรื่องคุณภาพตามมาตรฐานที่ควรจะเป็นแล้วแล้ว ยังต้องมีองค์ประกอบอื่นๆที่สำคัญมาร่วมด้วย เช่น การคิดค้นวิธีการใหม่ๆในการดูแลคนไข้ ที่เรามักจะเรียกว่าเป็น “ นวตกรรม” ซึ่งจะมีหลากหลาย แล้วแต่ทีมงงานจะพัฒนาเริ่มต้นจากประเด็นใด ความคิดเชิงสร้างสรรค์ เหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างมากมายในบรรดาโรงพยาบาลที่มีการพัฒนาคุณภาพ

       เนื่องในโอกาสที่โรงพยาบาลจำนวนเกือบ ๗๐ แห่งจะได้รับประกาศนียบัตรเพื่อแสดงว่าผ่านการรับรองกระบวนการคุณภาพในเร็วๆนี้ แม่ต้อยจึงอยากจะขอเชิญชวนทุกท่านให้ได้กำลังใจ แก่ทีมงานต่อ ผู้นำและต่อทุกๆคนในโรงพยาบาลที่ได้ฝ่าฟันอุปสรรค ร่วมกันพัฒนาคุณภาพเพื่อ ผู้ป่วย เพื่อญาติ และเพื่อประชาชนด้วยนะคะ

“ กำลังใจ ... เป็นยาใจของทีมงานทุกคนคะ..”

 

 

คำสำคัญ (Tags): #กำลังใจ
หมายเลขบันทึก: 244342เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2009 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • ชอบแนวคิดการจ่ายยาทางไปรษณีย์ครับ
  • คนไข้ไม่ต้องเดินทางไกล
  • ดีใจจะได้อ่านหนังสือจากงาน HA Forum
  • แม่ต้อยสบายดีไหมครับ

แวะมาเยี่ยแม่ต้อยทำงานค่ะ งานหนักอย่าลืมรักษาสุขภาพนะคะ

สวัสดีค่ะคุณพี่ (แม่ต้อย)คนงาม..หลาย

อย่าว่าแต่วงการแพทย์และโรงพยาบาลเลยค่ะ ทุกหน่วยงานองค์กรต่างต้องการในสิ่งเดียวกัน นั่นคือ "กำลังใจ" ที่พวกเราสามารถมอบแก่กันและกันโดยไม่ยาก แค่ยิ้มให้กันอย่างมีมิตรจิตมิตรใจ กับคำพูดเพราะๆเสนาะหู ไม่มัวตำหนิถึงความผิดพลาด แต่ร่วมกันหาทางแก้ไข เพียงเท่านี้โลกเราก็จะน่าอยู่ขึ้นเยอะเลยค่ะ

เป็นกำลังใจให้กับทุกท่านนะคะ

. ขจิต ฝอยทอง

สวัสดีคะ อาจารย์ ขจิต หายแล้วหรือคะ

คราวหลังหากอาจารย์ ขจิต ไม่สบาย แม่ต้อยจะส่งยาทางไปรษณีย์ดีไหมคะ อิอิ

P

ขอบคุณน้องทรายมากคะ จะรักษาสุขภาพ ตามที่น้องเป็นห่วงนะคะ

. ครูแป๋ม

ขอบคุณครูแป๋มมากคะ และแม่ต้อยว่า พวกเราทุกคนล้วนแล้วแต่เห็นความสำคัญของคุณครู และให้กำลังใจคุณครูเสมอคะ

ยาใจคนจน..ค่ะแม่ต้อย อิอิ ไม่ใช่ค่ะ นั่นเป็นเพลง ค่ะ

แม่ต้อยมืออาชีพมากๆค่ะ ทำกืจกรรมอยู่ยังเขียนบันทึกได้อีกค่ะ สุดยอด อิอิ กิจกรรมของเราทีท้ง walk sit และ sleep ค่ะ

P

อ้าว... พอลล่าไม่รู้หรือ ก้แม่ต้อยมาเขียนเรื่องเล่าตอน พอลล่าทำกิจกรรม ผ่อนพักตระหนักรู้ไงคะ( 555555 )
เรียกว่าทำทุกนาทีให้มีค่าคะ

อ่านบันทึกแม่ต้อยแล้วทำให้มีกำลังใจทำงานพัฒนาคุณภาพค่ะ

แต่นู๋นาย รู้สึกท้อบางครั้ง หน้าที่นู๋นายเขาให้ติดตามงานพัฒนาคุณภาพจากหน่วยงานเวลาติดตามนี่มันก็เหนื่อยเหมือนกันนะ

แต่ก็สู้ๆๆๆค่ะ

อ่านบีนทึกนี้ แล้วทำให้นึกถึงแผนกจ่ายยาที่โรงพยาบาลบานแพ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครค่ะ

เป็นความคิดถึงที่รูสึกดีทุกครั้งที่ได้ยินได้ฟังเรื่องการบริการผู้ป่วย

ครูต้อยเคยได้รับความอนุเคระห์จากโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ส่งยามาให้ทาง ปณ. เช่นกันค่ะ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว

ก็อยากบอกว่าเรื่องราวแบบนี้ ทำให้ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยรู้สึกขอบคุณ และชื่นชมการทำงานของคนในวงการแพทย์เป็นอย่างยิ่ง

ขอบคุณค่ะ

นี่แหละค่ะยาใจของจริง ..ค่ะ

สวัสดีคะแม่ต้อยจำนู๋แอ๊ดรพ.ขอนแก่นได้มั๊ยที่อบรมNarrative medicineไงค่ะคิดถึงแม่ต้อยที่สุดเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท