การบริหารจัดการนวัตกรรมสารสนเทศ


การบริหารจัดการนวัตกรรมสารสนเทศ

 

 

เทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้

       เทคโนโลยีสมัยใหม่ ๆ ด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ (E-leaning )  ห้องสมุดอิเลคทรอนิกส์(E-library)  ตลอดจนนวัตกรรมและสื่ออิเลคทรอนิกส์ต่าง ๆ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ทั้งการศึกษาในระบบ  นอกระบบและตามอัธยาศัยเป็นอย่างยิ่ง  เพราะถ้าเราได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ เหล่านี้มาใช้ในการจัดการศึกษา  เพื่อจัดองค์ความรู้ให้กับผู้เรียนแล้ว  จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว  ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ก็ทันสมัย  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้กว้างไกล  สามารถสื่อสารกันได้ทั่วโลก  และถ้าครูได้ฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะการใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้วยแล้ว  ก็จะทำให้ผู้เรียนเป็นคนที่ทันโลก  ทันเหตุการณ์  มีความรู้กว้างไกล  และเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 

       รูปแบบการจัดการความรู้ที่ทำให้คนในสถานศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้คือ  ด้านผู้เรียน  สถานศึกษาต้องจัดสื่อนวัตกรรมและบรรยากาศหลาย ๆ อย่าง   ที่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียน  เช่น  ให้ข่าวสาร  ห้องสมุด  ห้องเรียนคอมพิวเตอร์  ห้องปฏิบัติการทางภาษา  ห้องเรียนวิทยาศาสตร์  การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม ฯลฯ

       สถานศึกษาจัดหาสื่อนวัตกรรมข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ครูได้ศึกษาเพื่อพัฒนาตนเอง  และพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 


สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
                 การจัดการสารสนเทศ เป็นลักษณะที่พบเห็นทั่วไปในแวดวงที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศและจัดการด้านต่าง ๆ โดยเป็นที่ยอมรับกันว่าการจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์กรและหน่วยงาน โดยเฉพาะสารสนเทศที่ได้มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของบันทึก จดหมายโต้ตอบ รายงาน เทปบันทึกการประชุม วีดีทัศน์ประกอบการนำเสนอ ฐานข้อมูลบุคลากร ฐานข้อมูลบัญชี แบบฟอร์มการลา ฯลฯ โดยสารสนเทศเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรเป็นอย่างยิ่งระบบสารสนเทศในองค์กรหรือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในยุคโลกาภิวัตน์ที่เกิดกระแสความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมอย่างรวดเร็ว ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ ต่างเล็งเห็นถึงความจำเป็นของระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2549 : 25)
                   ในส่วนของสถานศึกษา การมีสารสนเทศที่เป็นระบบ ก็มีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความสำคัญของการจัดการสารสนเทศอย่างมีระบบ ทำให้สามารถมีข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านต่าง ๆ ผู้บริหารจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ว่าต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับจัดการและระดับกลยุทธ์ เพราะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและโปร่งใส
สถานศึกษาที่มีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์ ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน เรียกใช้ได้สะดวกและตรงตามความต้องการ จะช่วยให้สถานศึกษาสามารถดำเนินงานพัฒนาคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลักวิชา หลักฐานข้อเท็จจริงที่สามารถตรวจสอบได้ มีกระบวนการวิเคราะห์และประมวลผลที่เป็นวิทยาศาสตร์ หลักตรรกและความสมเหตุสมผล เพราะสารสนเทศทั้งหลายนั้นนอกจากจะใช้ในการวางแผนการดำเนินงานและประกอบการตัดสินใจแล้ว ยังนำไปสู่การพัฒนาแนวความคิด และสร้างทางเลือกใหม่ๆ ในการดำเนินการต่างๆ โดยระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ที่ประกอบด้วย (1) ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา (2) ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน (3) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ (4) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

หมายเลขบันทึก: 244188เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2009 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท