สสส. : ดูงานสุขภาวะชุมชนที่เชียงราย (๒)


ไม่มีกำแพงหน่วยงาน ยึดเป้าหมายเดียวกัน

ตอนที่

ออกจากที่ทำการ อบต. เราไปเยี่ยมชมศูนย์เด็กเล็กบ้านรุ่งเจริญ ที่อยู่ห่างไปไม่ไกลมาก รถตู้ที่เราใช้บริการมีท้องรถเตี้ยเกินไป ไม่เหมาะกับเส้นทาง ทีมเหย้าจึงพากันเอารถปิ๊กอัพมาขนพวกเราทยอยกันขึ้นไป ระหว่างทางตามเนินเขาเห็นต้นวาสนาเยอะแยะ คนนำทางบอกว่านายทุนมาปลูกไว้เพื่อส่งออกต่างประเทศ

 

เด็กๆ ชาวเขาหน้าตาน่ารัก ที่ศูนย์นี้มีเด็ก ๓๕ คน ผู้ดูแล ๒ คน คนหนึ่งเล่าว่าเคยเป็นแม่ค้ามาก่อน สถานที่มีความเป็นระเบียบและสะอาด

 

เด็กๆ กำลังร้องเพลง <p style="text-align: center;"> </p> <p style="text-align: center;"> </p><table border="1"><tbody><tr>

</tr></tbody></table><p style="text-align: center;">ของเล่นที่พ่อ-แม่เด็กช่วยกันทำขึ้น</p> <p style="text-align: center;"> </p> <p style="text-align: center;"> </p><table border="1"><tbody><tr>

</tr></tbody></table><p style="text-align: center;">ด้านนอกรั้วศูนย์เด็กเล็ก</p>

ต่อจากนั้นเราแวะที่วัดป่าซาง ฟังเรื่องเล่าการทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันสำคัญต่างๆ การสืบชะตาเป็นกิจกรรมที่ให้ผู้สูงอายุมาช่วยกันจัดช่วยกันทำ รวมกลุ่มกันที่วัด ทำในวันสงกรานต์ วันปีใหม่ พระครูบอกว่า “ไม่ลืมของเก่า ไม่เมาของใหม่” ให้ผู้สูงอายุนำลูกหลานมาที่วัด ทำพิธีสวดสะเดาะเคราะห์ ทำบุญทานข้าวใหม่ ทำมา ๓-๔ ปี รู้สึกว่าชาวบ้านอยู่ดีมีสุข ตายน้อยลง

โรงเรียนมีโครงการโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เสริมสุขภาวะด้านจิตใจ ครูที่มีความรู้นักธรรมก็มาสอนด้วย เด็กไปเป็นผู้นำสวดมนต์หมู่ สอนให้รู้สำนึกถึงพ่อ-แม่ ครูพูดถึง “ศาสนธรรมเชิงรุก” แต่ไม่ได้เล่าให้เห็นภาพว่าคืออะไร ทำอย่างไร

ที่วัด ปลัดฯ พูดให้ฟังถึงวิธีการทำงานอีกว่า ไม่มีกำแพงหน่วยงาน ยึดเป้าหมายเดียวกัน ทุกปัญหาถ้าคิดคนเดียวก็ได้แง่เดียว ต้องเอาเข้าที่ประชุม (สภากาแฟ) เช่น ปัญหาขยะ ผู้ใหญ่บ้าน แม่บ้าน คน สธ. ต่างก็คิดในมุมของตน จะทำอย่างไรในนามของคนป่าซาง ที่ประชุมลงมติก็หาทางออกได้ ทุกปัญหาถ้าเอาเข้าที่ประชุมก็ยอมรับกันได้ ทุกคนรู้ตั้งแต่ต้นจนจบ

ที่อาคารข้างๆ โบสถ์ที่เราเข้าไปนั่งฟังเรื่องราวต่างๆ มีกิจกรรมที่ผู้สูงอายุมาร่วมกันหลายคน คุณหมอชาตรีไปสำรวจมาบอกว่าน่าจะมีจำนวนนับร้อย กิจกรรมเลิกเย็นพอๆ กับที่เราเสร็จภารกิจที่นี่

ออกจากวัดเราแวะที่ศูนย์เรียนรู้ผักปลอดสารพิษ ได้เห็นแปลงกะหล่ำปลี รู้ว่าเมื่อไหร่จึงจะตัดขายได้ ตัดหัวกะหล่ำแล้ว ต้นที่เหลือจะมีแขนงเล็กๆ เก็บขายได้อีก เจ้าของสวนอายุมากแล้ว แต่ยังดูหนุ่มอยู่

 

สวนผักปลอดสารเคมี เจ้าของสวนสวมเสื้อสีชมพู

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 244154เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2009 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท