ลงแขก qualifying exam


หายไปนานเลยครับ จะว่าไปแล้วมีเหตุผลหลายประการ หนึ่งคือเมื่อเทอมก่อนผมยุ่งมากเพราะดันทะลึ่งไปลงวิชาของ computer science (ความรู้น่ะได้ แต่เสียเวลาไปเยอะทีเดียว) สองคือผมไม่รู้สึกว่ามีอะไรตื่นเต้นน่าเขียน สามคือขี้เกียจ (ซึ่งเป็นเหตุผลหลัก)

ตอนนี้นึกอยากเขียนขึ้นมาก็ลองนึกทบทวนดูว่ามีเรื่องอะไรดีๆ เจ๋งๆ พอจะเอามาเล่าได้บ้างก็พอดีว่าเมื่อเทอมก่อนมีอีกวิชาที่ผมว่าน่าสนใจทีเดียวเป็นวิชาสัมมนาของที่ภาคผมเอง ความพิเศษของชั้นเรียนนี้คือเพื่อนทั้งเจ็ดคนในชั้นแม้จะเรียนมายาวนานไม่เท่ากันแต่พัฒนาการอยู่ในช่วงใกล้ๆ กัน ส่วนใหญ่ถ้าไม่จบ course work แล้วก็ใกล้เต็มที สองคือทุกๆ คนพอจะมีหัวข้อวิทยานิพนธ์ในใจ ประการที่สามที่สำคัญมากคือทุกคนมาถีงทางแยกสำคัญของนักเรียนปริญญาเอกที่รู้จักกันในนาม qualifying exam (จากนี้จะขอเรียกย่อๆ ว่า qual) เพื่อจะเปลี่ยนสถานะจาก PhD student เป็น PhD candidate

วิชานี้น่าสนใจเพราะจุดหมายสำคัญที่อาจารย์ท่านตั้งไว้คือการเตรียมตัวสอบ qual แบบลงแขก โดยมีกิจกรรมหลายอย่างที่ช่วยให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมและค่อยๆ เรียนรู้กระบวนการไปพร้อมๆ กัน

กิจกรรมแรกที่อาจารย์ท่านให้ทำคือหาข้อมูลเกี่ยวกับ qual ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งน่าสนใจมากครับ เพราะว่าเท่าที่เราช่วยกันหานั้น พบว่าข้อมูลการสอบ qual นั้นคลุมเครือและไม่มีมาตรวัดที่ชัดเจนเลย นี่เป็นเหตุผลใหญ่ที่นักเรียนปริญญาเอกทั้งหลายกลัวการสอบ qual เพราะไม่รู้ว่ามันจะเป็นยังไง

มาตรฐานการสอบ qual ที่คนส่วนใหญ่รู้กันนั้นหมายถึงการนั่งในห้องเต็มวันเพื่อตอบข้อสอบที่คณะกรรมการตั้งขึ้นมา ส่วนใหญ่แล้วจะมีข้อมูลจำกัด คืออาจให้เอาหนังสือเข้าได้ แต่มักไม่ให้หาข้อมูลทางอิตเนอร์เน็ต หรือบางที่ก็อาจให้เป็นข้อสอบแบบเอากลับไปทำที่บ้านให้เวลาหนึ่งสัปดาห์ มีเพื่อนผมคนหนึ่งถูกเฉดหัวออกจากบ้านเพราะภรรยาเขาต้องสอบ qual ประมาณว่าฉันขอมีโลกส่วนตัวหนึ่งสัปดาห์อย่ามารบกวนเด็ดขาด

เสร็จจากการสอบข้อเขียนแล้วก็จะมีการสอบปากเปล่าที่เป็นการตรวจสอบความรู้ในสาขาวิชาทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง

ซึ่งนี่เป็นที่มาของกิจกรรมที่สองในชั้นนั่นคือการช่วยกันหาข้อมูลที่เกี่ยวกับสาขาวิชาของเรา ไม่ว่าจะเป็นบุคคลสำคัญในแวดวงวิชาการ ทฤษฎีและแนวคิดต่างๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีการแบ่งงานกันไปหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต แล้วเอามารวบรวมไว้ใน wiki ที่ทางอาจารย์ท่านเตรียมไว้ ในช่วงเดือนแรกแต่ละคนก็ไปหาข้อมูลมาแปะ แล้วก็ถกเถียงกันว่าอะไรเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวบ้าง สาขาวิชาเราคือ Educational Technology (Ed Tech) แต่เพื่อนบางคนเอาขงจื้อมาเป็นบุคคลสำคัญ ก็ต้องคุยกันว่าขงจื้อนั้นเกี่ยวยังไง นอกจากองค์ความรู้โดยรวมแล้วแต่ละคนก็ต้องหาข้อมูลความรู้เฉพาะทางของตัวที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่คิดไว้โดยแต่ละสัปดาห์ก็จะมีเพื่อนออกมาอภิปรายถึงหัวข้อที่ตัวสนใจและมีการแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อปรับปรุงให้หัวข้อของแต่ละคนนั้นชัดเจนชึ้น หนึ่งเดือนผ่านไปเราได้ วิกิออกมารูปร่างหน้าตาเป็นแบบนี้ครับ (link)

exam

สองกิจกรรมข้างต้นนี้ช่วยลดความเครียดและเพิ่มความกระจ่ายให้กระบวนการสอบ qual มากขึ้น เพื่อนๆ ในชั้นทุกคนต่างเห็นตรงกันว่ารู้สึกอุ่นใจและผ่อนคลายกว่าเดิม เพราะถึงแม้จะมีอะไรที่ยังไม่รู้มากมาย แต่ก็รู้ว่าข้อมูลที่จำเป็นนั้นได้ถูกรวบรวมไว้ใน wiki แล้ว

แน่นอนครับว่าหนทางยังอีกยาวไกล แต่หลังจากผ่านการทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน ทุกๆ คนรู้สึกว่าจุดหมายนั้นไม่ได้ไกลและยากอย่างที่คิด ยังมีกิจกรรมอีกสองสามอย่างในชั้นนี้ที่น่าสนใจครับ ไว้จะมาเล่าให้ฟังต่อหนหน้านะครับ

ภาพประกอบ: Torquemada

หมายเลขบันทึก: 244142เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2009 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ

ท่าทางจะเหนื่อยกับงานวิทยานิพนธ์

ขอให้มีความสุข

  • อาจารย์หายไปนานจริงๆๆด้วย
  • ขอให้การสอบผ่านไปได้ด้วยดี
  • อย่าหายไปนานให้คิดถึง
  • เขียนเรื่องการสอบดีจังเลยครับ
  • ต่อไปใครจะสอบจะได้ตามมาอ่านบ้าง
  • ขอบคุณครับ
  • ดีใจ ได้เห็นความก้าวหน้าในวงการปริญญาบ้านเรา
  • อาจารย์มหาวิทยาลัยภาครัฐน่าจะได้มาศึกษาเรื่องนี้ด้วยนะครับ

สวัสดีครับอาจารย์ขจิต

ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ จะพยายามกลับมาเขียนบ่อยๆ ครับ

ขอบคุณนะครับ

สวัสดีครับคุณวิสุทธิ์

สบายดีนะครับ

เราอยู่ที่ไหนก็ทำตัวให้เป็นประโยชน์กับที่นั่นให้มากที่สุด ผมว่าก็ได้ประโยชน์กับตัวเราเองด้วยครับ เขาให้โอกาสเรียนเราก็เรียนทั้งในห้องและนอกห้องละครับ

Qualifying exam แล้วต่อด้วย  Comprehensive exam ใช่ไหมคะ

รูปแบบการเรียนปริญญาเอกของอเมริกาส่วนใหญ่จะเริ่มจาก Course work แล้วตามด้วย Qualifying exam แล้วก็สอบ Proposal เพื่อกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์ จากนั้นก็ Dissertation Defense ครับ

ระบบนี้ต่างจากของอังกฤษ เพราะปริญญาเอกของอังกฤษนั้นเมื่อเขารับเข้าเรียนจะต้องมีหัวข้ออยู่แ้ล้ว ต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาที่สนใจรับดูแลหัวข้อ

ส่วน Comprehensive exam นั้น หลักสูตรปริญญาโทบางแห่งใช้แทนการสอบวิทยานิพนธ์ครับ อย่างของทาง ABAC จะให้นักศึกษาเลือกระหว่างทำวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต หรือสอบ Compre และทำ Master Project 3 หน่วยกิต (และลงวิชาอื่นเพิ่มอีก 9 หน่วยกิต)

นี่คือตามที่ผมเข้าใจนะครับ

ตั้งใจว่าจะเรียนต่อป.เอก เหมือนกันครับ

กำลังหาข้อมูลและทบทวนภาษาอังกฤษ

ได้อ่านบล๊อกนี้เป็นประโยชน์มากครับ

ขอบคุณครับ

ภู

งานที่ลงแขกกันตอนนี้ออกเป็นวรสารเรียบร้อย ใครสนใจติดต่อได้นะครับ

DiPietro, J., Drexler, W., Kennedy, K., Buraphadeja, V., Liu, F., & Dawson, K. (2009). Using Wikis to Collaboratively Prepare for Qualifying Examinations. TechTrends, 54(1), 25-32.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท