ตัวอย่างงานวิจัยระดับดุษฎีบัณฑิต(ด้านการวิจัย/การวัดผล/ประเมินการศึกษา)


งานวิจัยในระดับดุษฎีบัณฑิต เป็นแบบอย่างของการศึกษา ค้นคว้าที่เป็นระบบค่อนข้างมาก อีกทั้งเป็นงานวิจัยที่ควรได้รับการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนางานอย่างจริงจัง

เสาร์-อาทิตย์ ที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2552 ได้ทำหน้าที่วิทยากรในการสัมมนาเข้ม สำหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาการการประเมินการศึกษา(ชุดวิชา สัมมนาประเด็นและปัญหาเพื่อการวิจัยทางการประเมิน)  ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในการนี้ นักศึกษา ป.เอก ได้นำผลงานวิจัยระดับดุษฎีบัณฑิต หรือ ระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มานำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมวิพากษ์  ซึ่งเห็นว่างานวิจัยเหล่านี้(ส่วนใหญ่จะเป็นงานวิจัยที่เน้นการพัฒนาระบบประเมิน พัฒนาตัวชี้วัด หรือเครื่องมือวัดผล-ประเมินผลด้านต่าง ๆ)น่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยหรือผู้สนใจผลงานวิจัยทุกท่าน จึงได้นำเสนอไว้ ณ ที่นี้(บางเรื่อง น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำไปใช้เพื่อการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษา) ดังรายชื่อผลงานต่อไปนี้ 

1) การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : การประเมินแบบเสริมพลัง( ชนม์ชกรณ์  วรอินทร์,2549 ;วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ)

2) การพัฒนาระบบการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาด้วยตนเองในระดับประถมศึกษา (ธีรชัย  เนตรถนอมศักดิ์, 2550, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ )

3) การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงของนักเรียน(ทรงศรี  ตุ่นทอง,2545 ดุษฎีนิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

4) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสำหรับการศึกษาเฉพาะทางกองทัพเรือ   (ร.อ.พงศ์เทพ จิระโร : พ.ศ. 2546,.จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย)

5) การพัฒนารูปแบบพอตโฟลิโอ สำหรับการประเมินเพื่อยอมรับความรู้และประสบการณ์(เพ็ญพิชชา รัตนบำรุง,2548  ดุษฎีนิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

6) การวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือรวมพลัง(ร้อยตำรวจเอกหญิง ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล,2545, วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

7) การพัฒนารูปแบบการประเมินเสริมพลังสำหรับการประเมินระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน(สวัสดิ์ชัย  ศรีพนมธนากร 2549 วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร)

8) การพัฒนาการรับรองผู้ประเมินภายนอกตามแนวคิดที่เน้นสมรรถภาพสำหรับการประเมินสถานศึกษา(เกื้อ  กระแสโสม)

9) การพัฒนารูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม,2547 ; วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยนเรศวร) 

10) การวัดและประเมินพุทธิปัญญาของเด็กปฐมวัย(นลินี  ณ นคร,2547,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

11) การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการความรู้ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ(วิลาวัลย์   มาคุ้ม  ปริญญานิพนธ์  2549)

12) การพัฒนาดัชนีบ่งชี้คุณภาพด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยเอกชน(จำเริญรัตน์ เจือจันทร์,2543 : ดุษฎีนิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

13) การพัฒนาตัวบ่งชี้ในการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตรมหาบัณฑิตทางการศึกษา  : การประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบจำลองความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น(เกียรติสุดา ศรีสุข,ดุษฎีนิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

14) การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการความรู้ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ(วิลาวัลย์ มาคุ้ม,2549)

.....ขอขอบคุณนักศึกษา ป.เอก สาขาการประเมินการศึกษา มสธ.ทุกคน ประกอบด้วย  คุณสมพร เชื้อพันธ์  คุณอรอนงค์ พรหมวิหาร  คุณสมพร รัศมีสว่าง  คุณสุชีพ ชั้นสูง  คุณประลอง ครุฑน้อย  คุณผ่องศรี แก้วชูเสน  และ คุณสุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์  ที่ร่วมกันนำผลงานวิจัยเหล่านี้มานำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนทำให้มีโอกาสมานำเสนอต่อผู้สนใจอีกต่อหนึ่ง ดังที่ปรากฏนี้

หมายเลขบันทึก: 243532เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2009 18:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากคะ..ได้รับแนวทางในการค้นคว้าเพิ่มมากขึ้น

เห็นชื่อตัวเองก็แปลกใจ ลองเปิดเข้ามาดู ก็ดีใจค่ะที่วิทยานิพนธ์ได้นำมาใช้ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท