"ผิดนั้นสำคัญไฉน ”


ชีวิต คือ การต่อสู้ “ เมื่อต่อสู้ไม่ไหวขณะใดก็ต้องถึงที่สุดแห่งชีวิตคือ “ death – ความตาย “เพราะฉะนั้นยังมีสติอยู่ตราบใด ถึงตายก็ตายแต่กาย เช่นกับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ท่านมีสติไพบูลย์อยู่ทุกขณะจิต ท่านจึงทำอะไรไม่ผิด และถึงซึ่งอมตธรรม คือ ธรรมที่ไม่ตาย ตรงกับคำว่า “ immortal “ จึงเรียกว่า ปรินิพพาน คือ นาม รูป สังขาร ร่างกาย ที่เรียกว่าเบญจขันธ์ ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แตกดับไปเท่านั้น

 

 

 

  คำว่า "ไม่สบายใจ" อย่าใช้ และอย่าให้มีขึ้นในใจ ต่อไป " let it go, and get it out " ก่อนมันจะเกิดต้อง " let it go " ปล่อยให้มันผ่านไป อย่ารับเอาความไม่สบายใจไว้ ถ้าเผลอไปมันแอบเข้ามาอยู่ในใจได้ พอมีสติรู้สึกตัวว่า ความไม่สบายใจเข้ามาแอบอยู่ในใจ ต้อง get it out อย่าเลี้ยงเอาความไม่สบายใจไว้ในใจ มันจะเคยตัว ทีหลังจะเป็นคนอ่อนแอ ออดแอด ทำอะไรผิดพลาดนิด ๆ หน่อย ๆ ก็ไม่สบายใจเคยตัว

เพราะความไม่สบายใจนี้แหละเป็นศัตรู เป็นมารทำให้ใจไม่สงบ ประสาทสมองไม่ปกติ เป็นเหตุให้ร่างกายผิดปกติ พลอยไม่สงบไม่สบายไปด้วย ทำให้สมองทึบ ไม่ปลอดโปร่งแจ่มใส เป็น habit ความเคยชินที่ไม่ดี เป็นอุปสรรค กีดกั้นขัดขวางสติปัญญาไม่ให้ปลอดโปร่งแจ่มใส

ต้องฝึกหัดแก้ไขปรับปรุงจิตใจเสียใหม่ ทั้งก่อนที่จะทำอะไรหรือกำลังกระทำอยู่ และเมื่อเวลากระทำเสร็จแล้ว ต้องหัดให้จิตใจแช่มชื่นรื่นเริง เกิดปิติปราโมทย์ เป็นสุขสบายอยู่เสมอ เป็นเหตุให้เกิดกำลังกายกำลังใจ " enjoy living " มีชีวิตอยู่ด้วยความเบิกบาน สมองจึงจะเบิกบาน จะศึกษาเล่าเรียนก็เข้าใจง่าย เหมือนดอกไม้ที่แย้มบานต้อนรับหยาดน้ำค้างและอากาศบริสุทธิ์ ฉะนั้น

                                       * * * * * * * * * * * * * * *

 ................จงระลึกถึงคติพจน์ว่า ...............

" do no wrong is do nothing "

ทำอะไรไม่ผิดเลย ก็คือไม่ทำอะไรเลย

ความผิดนี้แหละเป็นครูอย่างดี ควรจะรู้สึกบุญคุณของตัวเอง ที่ทำอะไรผิดพลาด และควรสบายใจที่ได้พบกับอาจารย์ผู้วิเศษ คือ ความผิด จะได้ตรงกับคำว่า " เจ็บแล้วต้องจำ " ตัวทำเอง ผิดเอง นี้แหละ เป็นอาจารย์ผู้วิเศษ เป็น " good example " ตัวอย่างที่ดี เพื่อจะได้จดจำไว้สังวรระวังไม่ให้ทำผิดต่อไป แล้วตั้งต้นใหม่ด้วยความไม่เลินเล่อ เผลอประมาท อดีตที่ผิดไปแล้วก็ผ่านล่วงเลยไปแล้ว แต่อาจารย์ผู้วิเศษยังอยู่ คอยกระซิบเตือนใจอยู่เสมอทุกขณะว่า " ระวัง อย่าประมาทนะ อย่าให้ผิดพลาดเช่นนั้นอีกนะ "

" ผิดหนึ่งพึงจดไว้ ในสมอง เร่งระวังผิดสอง ภายหน้า
สามผิดเร่งคิดตรอง จงหนัก เพื่อนเอย ถึงสี่อีกทีห้า หกซ้ำ อภัยไฉน "

จงสังเกตพิจารณาดูให้ดีเถิด จะเห็นได้ว่า นักค้นคว้าวิทยาศาสตร์ทางโลกก็ดี และท่านผู้วิเศษที่เป็นศาสดาจารย์ในทางธรรมทั้งหลายก็ดี ล้วนแต่ผ่านพ้นอุปสรรคความผิดพลาด

* * * * * * * * * * * * * * * *

ที่จะทำอะไรไม่ผิดนั้น ข้อสำคัญอยู่ที่สติ ถ้ามีสติคุ้มครอง กาย วาจา ใจ อยู่ทุกขณะ จะทำอะไรไม่ผิดพลาดเลย ที่ผิดพลาดเพราะขาดสติ คือ เผลอเหม่อ เลินเล่อ ประมาท ระเริง หลงลืม จึงผิดพลาด

จงนึกถึงคติพจน์ว่า " กุมสติต่างโล่ป้อง อาจแกล้วกลางสนาม "

ธรรมดาชีวิตทุกชนิดทั้งมนุษย์และสัตว์ ตลอดทั้งพืชพันธุ์พฤกษาชาติเป็นอยู่ได้ด้วยการต่อสู้ ตรงกับคำว่า " life is fighting"

  ชีวิต คือ การต่อสู้ " เมื่อต่อสู้ไม่ไหวขณะใดก็ต้องถึงที่สุดแห่งชีวิตคือ " death - ความตาย "เพราะฉะนั้นยังมีสติอยู่ตราบใด ถึงตายก็ตายแต่กาย เช่นกับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ท่านมีสติไพบูลย์อยู่ทุกขณะจิต ท่านจึงทำอะไรไม่ผิด และถึงซึ่งอมตธรรม คือ ธรรมที่ไม่ตาย ตรงกับคำว่า " immortal " จึงเรียกว่า ปรินิพพาน คือ นาม รูป สังขาร ร่างกาย ที่เรียกว่าเบญจขันธ์ ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แตกดับไปเท่านั้น

เพราะฉะนั้น ควรฝึกฝนสติสัมปชัญญะ เมื่อทำเสร็จแล้วก็มีสติตรวจตรา พิจารณาดูว่า บกพร่องอย่างไร หรือเรียบร้อยบริบูรณ์ดี ถ้าบกพร่องก็รีบแก้ไขให้สมบูรณ์ต่อไป ถ้าเรียบร้อยดีอยู่ก็พยายามให้เรียบร้อยดียิ่ง ๆ ขึ้นไปจนถึงที่สุด

         (จากธรรมมะสอนใจของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส)

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 243037เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2009 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ ท่านเตวิชโช

ครับผมก็เห็นว่าตัวสติและสัมปชัญญะสำคัญมาก

ยิ่งเป็นพระก็ยิ่งต้องมีทุกอิริยาบถเลยนะครับ

สวัสดีครับ

นมัสการท่านเตวิชโซ

มารับธรรม ชีวิตคือการต่อสู้ อยู่เพื่อชนะกิเลสครับ

ธรรมสวัสดีครับท่านพระปลัด

ครับผมก็พยายามเรียนรู้ฝึกฝน

ให้มีสติสัมปชัญญะให้เจริญขึ้นเรื่อยๆ

อยู่ครับ..แม้บางครั้งจะพลั้งเผลอผิดไปบ้างก็พยายาม

ตั้งใจสังวร ระวังต่อไปเพื่อความเจริญในชีวิตพรหมจรรย์

ครับผม อุโมทนาขอบคุณท่านพระปลัดมากครับ

ที่แวะมาเยี่ยมครับ..ธรรมรักษาครับ

 

ธรรมรักษาโยม วอญ่า

ใช่แล้วโยม ชีวิตคือการเรียนรุ้

ต่อสุ้เพื่อเอาชนะกิเลสในใจเรา

อันเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์

คนส่วนใหญ่มัวแสวงหาสุข

แต่ไม่ได้ขจัดเหตุแห่งทุกข์

ทำให้เกิดความโลภ โกรธ หลง

ครอบงำจิตใจได้ง่าย ..ธรรมะคือ

ความไม่ประมาทในที่ทั้งปวง

จึงเป็นเหมือนเกราะคุุ้มกันไม่ให้สิ่งไม่ดี

มาย่ำยีจิตของเราได้ ..อนุโมทนาสาธุ

กราบนมัสการพระคุณท่าน..

มาศึกษา ทำความเข้าใจ กับ สติสัมปะชัญญะ..ค่ะ

ต้องฝึก..ฝึก..และก็ฝึก..เจ้าค่ะ

ธรรมรักษาโยมลดา

จริงๆเลยต้องหมั่นฝึกฝนเจริญให้เป็นสัมมาสติ

โดยใช้ศีล5เป้นพื้นฐานของการเจริญสติ

อนุโมทนาสาธุ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท