น้ำยาเช็ดกระจก+สเปรย์ปรับอากาศเพิ่มเสี่ยงโรคหอบหืด


ภาพประกอบกลไกที่ทำให้เกิดโรคหอบ > [ aaaai.org ]

  • ภาพทางขวามือแสดงหลอดลมของคนทั่วไป > กล้ามเนื้อผนังหลอดลมจะหย่อนตัว (relaxed) ทำให้หลอดลมขยายตัว ผนังหลอดลมบาง เสมหะมีน้อย ทำให้ลมหายใจผ่านเข้าออกสะดวก
  • ภาพทางซ้ายมือแสดงหลอดลมของคนไข้โรคหอบหืด > กล้ามเนื้อผนังหลอดลมจะหดตัว ทำให้หลอดลมตีบแคบ ผนังหลอดลมหนา เสมหะมีมาก และเสมหะเหนียวข้น ทำให้ลมหายใจผ่านเข้าออกได้ยาก

...

คนในประเทศตะวันตก (ฝรั่ง) เป็นโรคหอบหืดประมาณ 50 เท่าของคนบ้านนอก (ชนบท) ในอาฟริกา ทำให้เกิดสมมติฐานหรือความเชื่อเรื่อง "อนามัยจัด (hygiene hypothesis)" ที่ว่า การสัมผัสพยาธิ และเชื้อโรคหลายชนิดน้อยในวัยเด็กอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้คนเป็นโรคหอบหืดกันมาก

แต่ท่านศาสตราจารย์นายแพทย์ฮาโรลด์ เอส. เนลซัน ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลแนชนัล จิวอิช เฮลต์ เดนเวอร์ สหรัฐฯ กล่าวว่า

...

สมมติฐานเรื่อง "อนามัยจัด" ยังอธิบายปรากฏการณ์ที่โรคหอบหืดเพิ่มขึ้นมากเป็น 2 เท่าในสหรัฐฯ ตั้งแต่ช่วงปี 1980s (1980-1989 หรือ พ.ศ. 2523-2532 ได้ไม่ดีเท่าไร

ท่านกล่าวในที่ประชุมวิชาการว่า สาเหตุอื่นๆ ที่เป็นไปได้คือ

  • การที่ระดับวิตามิน D ของคนสหรัฐฯ ลดต่ำลง
  • การใช้สเปรย์ทำความสะอาดหรือ "สเปรย์สำหรับห้องปรับอากาศหรือห้องแอร์ (air refreshener)" และน้ำยาทำความสะอาดกระจก ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง

...

การศึกษาจากประเทศยุโรป 10 ประเทศพบว่า ผู้ใหญ่ที่ใช้สเปรย์ "ทำความสะอาด"

  • 4 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป มีความเสี่ยง (โอกาสเป็นโรค) หอบหืดเพิ่มขึ้น 2 เท่า (200%)
  • 1 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป มีความเสี่ยง (โอกาสเป็นโรค) หอบหืดเพิ่มขึ้น 50%

...

การศึกษาจากออสเตรเลียก็พบว่า สเปรย์ "ทำความสะอาด" เพิ่มเสี่ยงโรคหอบหืดในเด็ก

ส่วนการศึกษาในสหรัฐฯ ปี 2007 หรือ พ.ศ. 2550 พบว่า ผู้หญิงตั้งครรภ์ (ท้อง) ที่มีระดับวิตามิน D ในเลือดต่ำเพิ่มเสี่ยงโรคหอบหืดทั้งแม่และลูก

...

การศึกษาในเด็กอายุ 6-7 ขวบมากกว่า 200,000 คนพบว่า การใช้ยาแก้ไข้แก้ปวดพาราเซตามอลในขวบปีแรกเพิ่มเสี่ยงโรคหอบหืด 46% เด็กที่ใช้ยาพาราเซตามอลมากมีความเสี่ยงโรคหอบหืดเพิ่มขึ้น 3 เท่า (300%)

กลไกที่อาจเป็นไปได้คือ พาราเซตามอลทำให้ระดับสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อ "กลูทาไตโอน (glutathione)" ลดลง

...

อาจารย์เนลซันกล่าวว่า เรื่องยาพาราเซตามอลนั้น... ยังไม่ควรเลิกใช้ เนื่องจากยากลุ่มอื่นที่พอจะแก้ไข้แก้ปวดในเด็กได้อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาได้บ่อย

คำแนะนำตอนนี้คือ

  • ควรลดการใช้น้ำยาเช็ดกระจก และสเปรย์ เช่น สเปรย์ปรับอากาศ (ดับกลิ่น) ฯลฯ ในบ้านให้น้อยลง
  • เพิ่มการระบายอากาศในบ้านหรืออาคารให้ดีขึ้น

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                       

หัวข้อตันฉบับวันนี้คือ 'New Risks linked to Asthma Rise' แปลว่า "ปัจจัยเสี่ยง (ความเสี่ยง) ใหม่เกี่ยวข้องกับโรคหอบหืดเพิ่มขึ้น" หรือ "พบปัจจัยเสี่ยงใหม่ที่ทำให้โรคหอบหืดเพิ่มขึ้น"

 

  • 'asthma' > [ แอ๊ส - ส(s) - หม่า ] > [ Click ] , [ Click ]
  • 'asthma' > noun = โรคหอบหืด

  • ตัวอย่าง > They have asthma attack. = พวกเขา (พวกเธอ) มีอาการโรคหอบหืดกำเริบ (attack = โจมตี กำเริบ)
  • ตัวอย่าง > They have asthma. = พวกเขา (พวกเธอ) เป็นโรคหอบหืด

ขอให้ย้ำเสียงหนัก (accent) ตรงเสียงตัวอักษรหนา (ขีดเส้นใต้) เสียงอื่นๆ พูดให้เบาลง ส่วนตัวเสียงที่ใช้อักษรเอียงให้พูดเบาๆ คล้ายเสียงกระซิบ

พยายามอย่าพูดภาษาอังกฤษโดยไม่ย้ำเสียง (ไม่มี accent) เพราะฝรั่งฟังแล้วไม่ค่อยเข้าใจ

...

 

ที่มา                                                         

  • Thank nytimes.com > New Risks linked to Asthma Rise > [ Click ] > February 12, 2009.
  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • ข้อมูลในบล็อกมีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค > ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงโรคสูง ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์ > ยินดีให้ท่านผู้อ่านนำไปเผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 14 กุมภาพันธ์ 2552.
หมายเลขบันทึก: 242252เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2009 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท