สรุปความรู้ของท่านอาจารย์ทวีสิน ฉัตรเฉลิมวิทย์โดยปาลจิตต์


การจัดการความรู้ในองค์กร

                

สรุป   การเรียนวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบการจัดการความรู้ในองค์กร    สัปดาห์ ที่ 3 วันที่   1  กุมภาพันธ์  2552 โดยอาจารย์ทวีสิน    ฉัตรเฉลิมวิทย์    จากบริษัท  ปูนซิเมนต์ จำกัด   เล่าประสบการณ์ด้านการฝึกอบรมในบริษัทฯ ให้ฟัง  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เกี่ยวกับการจัดฝึกอบรม  รูปแบบและวิธีการต่างๆ ซึ่งอาจารย์จะมาเน้นเรื่องของการเข้าถึงคน และจะทำอย่างไร และสามารถใช้ ITมาช่วยการฝึกอบรมได้อย่างไร  เพื่อที่จะได้รู้ว่าเขาคิดอย่างไง  ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กรได้จริง เพื่อให้การจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาตัวเองและงานที่ทำในองค์กร

 

การพัฒนากระบวนการเรียนรู้

                   ทำให้รู้ว่าการพัฒนาบุคคลเป็นอย่างไรสิ่งสำคัญว่าสามารถรับรู้ความรู้ได้ครบตามกระบวนการจะส่งผลให้องค์กรอยู่รอดอย่างยั่งยืน  พัฒนาเกลียวความรู้ต่อไป หรือครูจัดกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อสร้างเกลียวต่อเนื่อง

            แนวทางกระบวนการจักการความรู้ โดยใช้เกลียวความรู้ประกอบด้วยการถ่ายเทความรู้ 4 ช่วง คือ

            Socialization  ได้จากการปฏิสัมพันธ์กันในรูปแบบต่าง  ๆ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึกหรือประสบการณ์ซึ่งกันและกัน Tacit  Knowledge  « Tacit  Knowledge 

            Externalization การสร้างและการแบ่งปันความรู้จากการแปลง  เป็นกระบวนการให้คนสื่อความรู้จากประสบการณ์ออกมาเป็นภาษา พูดหรือภาษาเขียน และเผยแพร่  จึงเป็นการเปลี่ยนความรู้ที่ฝังลึกให้เป็นความรู้ที่ชัดแจ้งหรือความรู้ที่เข้าสู่รหัส Tacit  Knowledge  « Explicit Knowledge

            Combination  การแบ่งปันและการสร้างความรู้  เป็นการรวบรวมความรู้ที่ชัดแจ้งที่เรียนรู้มาแล้วนำมาสร้างเป็นความรู้ประเภทชัดแจ้งที่เป็นความรู้ใหม่ ๆ

 (Explicit Knowledge ® Explicit Knowledge)

            Internalization   การแบ่งปันและสร้างความรู้ เป็นการนำความรู้ที่เรียนรู้ไปปฏิบัติจริงเกิดเป็นความรู้ใหม่ของบุคคลที่เก็บไว้ในตน(Explicit Knowledge ® Tacit  Knowledge) และเมื่อนำไปแลก เปลี่ยนกับบุคคลอื่นก็จะเกิดวงจร   SECI  MODEL ของโนนากะ ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด

Socialigation  =I

Externaligation= G

Internaligation=E

Combination =O

 

ความหมายของแต่ละตัว

I=Individual  บุคคล

G=Group       กลุ่ม

O=Organigation องค์กร

E=Environment  สภาพแวดล้อม

 

รูปแบบและเครื่องมือของการฝึกอบรม

เครื่องมือที่ใช้

- COP

-Action learning Programs

-QC

-Workshop

-Dialogue

-Reflection

-AAR

-Portfolio  - Lesson Learned

 

เครื่องมือแต่ละแบบจะใช้ได้ผลหรือไมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละองค์กรและจะต้องรู้ด้วยว่าลักษณะของคนเป็นอย่างไร

การOPEN 3 สิ่งนี้ก่อน

 -  Mind 

 - Heard

 - View

 

ระบบที่จะช่วยในการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้

IM-Websit

     -Bog

     -Hi5

     -Journal(ในเว๊บ)

     -Msn

Diary:Journal-Manual (โดยการเขียน  การบันทึก)     

 

สรุป  เครื่องมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีอยู่มากมาย เราต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับเวที บุคคล     สถานที่ เหตุการณ์ ก็จะส่งผลประโยชน์ที่แท้จริงในการแลกเปลี่ยนได้ เรียกว่า งานได้ผล คนสุขใจ ไปได้พร้อมๆกัน ได้เห็นได้ว่ามีความพยายามที่จะนำรูปแบบการเรียนรู้เข้ามามีบทบาท เพื่อที่ผู้เรียนจะเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สามาราถ

เห็นได้ว่ามีความพยายามที่จะนำรูปแบบการเรียนรู้เข้ามามีบทบาท เพื่อที่ผู้เรียนจะเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สามารถแสวงหาข้อมูลข่าวสาร และความรู้ได้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  หรือในระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ  ผู้สอนจำนวนมากได้สร้างหลักสูตร เนื้อหาสาระ และบทเรียนขึ้นไปไว้ในระบบเครือข่ายเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างหลากหลาย โดยมุ่งหวังว่าผู้เรียนจะสามารถหลุดพ้นจากกรอบสี่เหลี่ยมในห้องเรียนออกมาสู่โลกแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริง แต่ครูผู้สอนเคยสำรวจหรือประเมินหรือไม่ว่าผู้เรียนมีความพร้อมหรือยังในการที่จะเป็นผู้เรียนในรูปแบบการเรียนรู้ตลอดเวลา

 

 

คำสำคัญ (Tags): #kmsdu
หมายเลขบันทึก: 241956เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2009 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2012 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท