พ.ร.บ.เกี่ยวกับรถ


พ.ร.บ.เกี่ยวกับรถ


[การคุ้มครองจากการประสบอุบัติเหตุทางรถ]

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

             เป็นพระราชบัญญัติที่ตราขึ้นเพื่อรักษาสิทธิอันพึงมีของประชาชนที่ประสบภัย จากอุบัติเหตุ
บนท้องถนน  ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นที่แน่นอน  และทันท่วงที


[การประกันความเสียหาย]

  เราควรปฏิบัติดังนี้

    เจ้าของรถจะต้องจัดให้มีการประกันสำหรับผู้ประสบภัยกับบริษัทประกันภัยที่ได้รับอนุญาตที่ได้รับ

ประกอบกิจการ  จำนวนเงินเอาประกันนั้นจะกำหนดตามชนิด ประเภทและขนาดของรถแต่ต้องไม่

น้อยกว่าจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงเช่น  รถที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 คน  ให้มีจำนวนเงิน

ประกันภัย 5,000,000  บาท  ต่อความเสียหาย และจำนวนเงินที่เอาประกันภัย50,000 

บาทต่อคนสำหรับความเสียหายต่อร่างกายหรือ  80,000 ต่อคนสำหรับความเสียหายต่อร่างกาย

หรือกรณีใดกรณีหนึ่ง  หรือหลายกรณีได้แก่  ตาบอด  หูหนวก  เป็นใบ้  เสียแขน  ขา  มือ เท้า  ฯลฯ 

หรือ 80,000 บาท ต่อคนสำหรับความเสียต่อชีวิตเป็นต้น ค่าเสียหายเบื้องต้นต้องร้องขอภายใน

180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหาย


[รถที่ต้องประกันภัย?]

 รถที่ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหาย

1.  รถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์คือ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน รถ

แทรกเตอร์  และรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

2.  รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกคือ ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบก ใน

การขนคน สัตว์ สิ่งของ

3.  สำหรับรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศและนำเข้ามาใช้ในประเทศ


[พ.ร.บ.คุ้มครองอย่างไรบ้าง?]

การคุ้มครอง  ความเสียตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถนี้  เป็นค่าเสียหาบเบื้องต้นที่

เกิดอันตรายร้ายแรง  แก่ร่างกายและต่อชีวิต ไม่รวมถึงความเสียหายของทรัพย์สิน
       -  ความเสียหายต่อร่างกาย ได้แก่  ค่ายา  อาหาร ค่าบริการทางการแพทย์ ฯลฯ 

โดยจะได้รับเงินค่าเสียหายเบื้องต้น เป็นจำนวนเท่าที่จ่ายจริง  แต่ไม่เกิน 15,000  บาท

       -  ความเสียหายต่อชีวิตได้แก่  ค่าปลงศพ  ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำศพ  จะได้รับ

เงินค่าเสียหายจำนวน 15,000  บาท และจะได้รับค่าเสียหายรวมกับข้อแรกในกรณีที่ถึงแก่

ความตายหลังจากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

ผู้ที่ได้รับการคุ้มครอง  ได้แก่

            ทุกคนที่อยู่ในรถ และนอกรถที่ได้รับอุนตรายจากรถที่ใช้ทางหรืออยู่ในทางและยังรวมถึง

ทายาทของผู้ประสบภัยที่ถึงแก่ความตายด้วย


[การร้องขอรับค่าเสียหายทำอย่างไร?]

  การร้องขอค่าเสียหาย

ความเสียหายต่อร่างกาย  ต้องใช้ใบเสร็จรับเงินของโรงพยาบาล  หลักฐานแจ้งหนี้ในการรักษา

พยาบาล  สำเนาบัตรประจำตัวหรือหนังสือเดินทาง  หลักฐานที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้

ว่าผู้นั้นประสบภัย

ความเสียต่อชีวิต    ต้องใช้ใบมรณะบัตรสำเนาบันทึกประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวนหรือหลัก

ฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย เพราะประสบภัยจากรถ

ถ้าเป็นทั้งสองข้อรวมกัน   ก็ต้องใช้หลักฐานรวมกันด้วย

ผู้จะร้องขอได้ต้องเป็นผู้ประสบภัยหรือญาติพี่น้องที่มีส่วนได้เสีย   หรือทายาท ของผู้ประสบภัย

การจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น

1. จ่ายแก่ผู้ประสบภัยหรือโรงพยาบาล
2. จ่ายเป็นเงินสด  หรือเช็คที่ไม่ได้ลงวันที่ล่วงหน้า
3. ควรจ่ายเงินให้เสร็จเรียบร้อย  ภายใน  7  วัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอโดยไม่ต้องรอ

พิสูจน์ความรับผิดชอบ 
4. กรณีที่บริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นสามารถร้องเรียนได้ที่  สำนักงานกองทุนทดแทนผู้

ประสบภัยหรือกรมการประกันภัย หรือสำนักงานประกันภัยภูมิภาค หรือสำนักงานพาณิชย์เพื่อดำเนิน

การจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทน


[ทำอย่างไรถึงจะผิด?(ห้ามทำเด็ดขาด)]

ลักษณะความผิดและบทลงโทษ

1.  เจ้าของรถผู้ใดไม่จัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยต้องระวางโทษไม่เกิน

10,000  บาท

2.  ผู้ใดใช้รถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยต้องระวางโทษ ไม่เกิน

10,000  บาท

3.  ถ้าไม่ติดเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายต้องระวางโทษ ไม่เกิน 10,000 

บาท

4.  ผู้ประสบภัยหรือทายาทที่ยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นโดยทุจริตหรือใช้หลักฐานที่ปลอมต้อง

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี  หรือปรับไม่เกิน 20,000  บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

คำสำคัญ (Tags): #รถ#เกี่ยวกับรถ
หมายเลขบันทึก: 241610เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2009 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท