นวัตกรรมด้านหลักสูตร


หลักสูตร

3. นวัตกรรมด้านหลักสูตร

          หลักสูตรท้องถิ่น

         

ที่มา  http://dnfe5.nfe.go.th/localdata/RSouth/KraBe/Curri.htm

 หลักสูตรท้องถิ่น  

 เนื้อหาที่จะนำมานำเสนอ ณ ที่มาจากเอกสารคู่มือการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สำหรับจัดการเรียนการสอนการศึกษา

นอกโรงเรียน โดยกองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน กรมการศึกษานอกโรงเรียน

ในการนี้ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเหนือคลอง ได้ถูกกำหนดให้เป็นอำเภอนำร่องในการดำเนินการใน

ภาคใต้อำเภอหนึ่งในหลายอำเภอจึงใคร่ขอนำเสนอประสบการณ์ส่วนนั้นมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นการขยายแนวคิดในการ

ที่เพื่อน ศบอ.อื่นๆจะต้องปฏิบัติต่อไปในอนาคตอันเป็นส่วนหนึ่งที่จะผลักดันโครงการชุมชนเข้มแข็ง และการเรียนรู้ที่ยึด

ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตามแนวนโยบายของทางราชการต่อไป เนื้อหาต่างๆจะประกอบด้วย

ความหมายของหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรท้องถิ่น

ความสำคัญของหลักสูตรท้องถิ่น ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการศึกษานอกโรงเรียน

ผู้ส่งเสริมสนับสนุนและผู้ใช้หลักสูตรท้องถิ่น

แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

การเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning)

ทฤษฎีการสร้างปัญญา

การเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ( Learner Centered )

รูปแบบของการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามวิธีของทฤษฎีเชิงระบบ ( System Approach )

กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากสภาพปัญหาของชุมชน

      การสำรวจสภาพปัญหาชุมชน

      การวิเคราะห์สภาพปัญหาชุมชนและกำหนดความต้องการของผู้เรียน

      การเขียนแผนการสอน

      การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

      การประเมินผล

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากหลักสูตรแกนกลาง

      การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางและวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชน

      การจัดหมวดหมู่สภาพปัญหาและความต้องการที่ส่งผลต่อผู้เรียน

      การเขียนแผนการสอน

      การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

      การประเมินผล

แนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน

      การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ

      การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากหลักสูตรอาชีพ

      การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

ภาคผนวก

ความหมายของหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรท้องถิ่น<TOP>

หลักสูตรเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวสำหรับผู้บริหาร  ครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อการ

พัฒนา กลุ่มเป้าหมายให้มีความรู้ ทักษะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ หลักสูตรประกอบด้วย เป้าหมาย หลักการ จุดประสงค์

ของหลักสูตร เนื้อหาและประสบการณ์ที่แต่ละกลุ่ม/ระดับชั้นต้องการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรวมทั้งการวัดผล

ประเมินผล หลักสูตรที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีมากมายหลากหลาย มีทั้งหลักสูตรวิชาชีพ วิชาสามัญ จัดเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย

เสริมความรู้ เฉพาะด้านฯลฯ ตามเป้าประสงค์ของผู้สร้าง สำหรับหลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของกรมการศึกษา

นอกโรงเรียนแบ่ง ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ หลักสูตรแกนกลาง เป็นหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากส่วนกลางเพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียน

รู้ในสิ่งที่เป็นกลางๆหรือ ส่วนรวม จุดมุ่ง หมายจะกำหนดเป็นภาพกว้างที่ต้องการให้ผู้ผ่านหลักสูตรได้เรียนรู้ในสิ่งที่จำเป็นใน

การดำรงชีวิต และเป็นพื้นฐานในการศึกษา ในวิชาเฉพาะต่อไป โดยคำนึงถึงความจำเป็นที่ทุกคนต้องเรียนเป็นพื้นฐานต่อไป

      หลักสูตรท้องถิ่น เป็นหลักสูตรที่ส้รางขึ้นจากสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนหรือสร้างจากหลักสูตรแกนกลางที่ปรับ

ให้เข้ากับสภาพชีวิตจริงของผู้เรียนตามท้องถิ่นต่างๆ หรือสร้างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่มีผลกระทบต่อผู้เรียน หลักสูตร

ท้องถิ่นจะสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ้นนั้นๆ เน้นการเรียนรู้ชีวิตของตนเองปรับตนเอง ให้ทันกับการ

เปลี่ยนแปลงของวิทยาการ การใช้เทคโนโลยี่และข่าวสารข้อมูลในการเรียนรู้ต่างๆ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ตามสภาพชีวิต จริงของตนเอง

สามารถนำเอาความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพ พัฒนาเศรษฐกิจและท้องถิ่นได้

ความสำคัญของหลักสูตรท้องถิ่น ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการศึกษา<TOP>

นอกโรงเรียน

หลักสูตรท้องถิ่น เกิดจากการที่ผู้เรียนและครูสร้างขึ้นตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนหรือเรื่องที่เป็นปัญหาของสังคม

หรือของผู้เรียนเองในขณะนั้นๆ เนื้อหาที่เรียนจึงเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นการจัด ประสบ

การณ์การเรียนรู้ให้เกิดกับผู้เรียนให้สอดคล้อง เหมาะสมกับเพศ วัย วุฒิภาวะพื้นฐานความรู้และความสนใจของผู้เรียน โดยยึดผู้เรียน

เป็นศูนย์กลางเรียนจากสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้เรียนและสอดแทรกเนื้อหาที่เป็นความรู้ ทฤษฏี ที่เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน

เพิ่มเติมผู้เรียนจะสามารถสร้างความรู้และ สติปัญญาจากประสบการณ์เดิมของเขา การจัดการเรียนการ สอนในลักษณะดังกล่าวจะสอด

คล้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนการศึกษานอกโรงเรียนซึ่งเป็นผู้ที่มีความ รู้และประสบการณ์ เดิมอยู่แล้ว สามารถนำมาแลก

เปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในส่วนที่ต้องการจากสื่อที่มีอยู่ หลากหลายเช่น รายการโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์

ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งภูมิปัญญาชาวบ้าน เรียนจากการปฎิบัติจริงตามความ สนใจของตน เอง มีผลให้ผู้เรียน เรียนอย่างมีความสุข

จนถึงการวัดผลประเมินผล ก็วัดจากสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้ อาจให้ผู้เรียนประเมิน ตนเอง เพื่อน ญาติ หรือชุมชน รวมทั้งครูผู้สอนร่วมกัน

ประเมิน

หลักสูตรท้องถิ่น

      เป็นหลักสูตรบูรณาการที่ผู้เรียนและครูร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนจากชีวิตจริง

      เรียนแล้วเกิดการ เรียนรู้สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตอย่างมีคุณภาพและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมอย่างมีความสุข

      การเรียนการสอนจะสอนตาม ความต้องการของผู้เรียน โดยครูเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ ผู้เรียนเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง

 ผู้ส่งเสริม สนับสนุนและผู้ใช้หลักสูตรท้องถิ่น<TOP>

      ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ส่งเสริมสนับสนุน และกลุ่มผู้ใช้หลักสูตร

ท้องถิ่น แต่ละกลุ่มมีบทบาทหน้าที่และภารกิจแตกต่างกันไปดังนี้

      กลุ่มผู้ส่งเสริมสนับสนุน ได้แก่หน่วยงานในส่วนกลาง กรมการศึกษานอกโรงเรียน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค ศูนย์กาศึกษา

นอกโรงเรียนจังหวัด ศูนย์บริการการศึกาานอกโรงเรียนอำเภอ มีบทบาทหน้าที่และภารกิจด้านหลักสูตรท้องถิ่นดังน

หน่วยงานส่วนกลาง

กรมการศึกษานอกโรงเรียน

      ได้แก่ กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการศึกษาอาชีพ และอื่นๆ มีหน้าที่กำหนดนโยบายการพัฒนา

       และการใช้หลักสูตรท้องถิ่น,สนับสนุนงบประมาณด้าการพัฒนาบุคลากรและพัฒนาสื่อ พัฒนาบุคลากรระดับภาค,กำหนดเกณฑ์

       มาตรฐานในการจัดการเรียนการสอน,ผลิตและเผยแพร่สื่อ,ประสานงานกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง,นิเทศและติดตามประเมินผล

ตลอดถึงการสรุปและเผยแพร่ผลการดำเนินงาน

หน่วยงานส่วนภูมิภาค

ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค

      ทำหน้าที่ประชุมชี้แจงผู้บริหารระดับจังหวัด,จัดทำหลักสูตรรูปแบบการ ฝึกอบรมและสื่อเสริมความรู้ที่เกี่ยวข้อง,ประสานงานหน่วย

      งานที่เกี่ยวข้อง,นิเทศติดตาม,สรุปรายงานผลการดำเนินงานต่อกรม การศึกษานอกโรงเรียน

ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด

      มีหน้าที่วางแผนการพัฒนาหลักสูตร ประชุมชี้แจงผู้บริหารระดับอำเภอ,ฝึกอบรมครูการศึกษา นอกโรงเรียนด้านการพัฒนาหลัก

      สูตรท้องถิ่น,ร่วมจัดทำและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น(ในแง่การสำรวจสภาพปัญหาและกำหนด ความต้องการ),จัดทำทะเบียน ภูมิ

     ปัญญาท้องถิ่น,อนุมัติหลักสูตรท้องถิ่นนิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผล,สรุปและรายงานผล

ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ

      ร่วมวางแผนพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น,ประชุมชี้แจงครูการศึกษานอกโรงเรียน,ร่วมพัฒนา หลักสูตรท้องถิ่นร่วมกับครู ผู้เรียนและ

      ภูมิปัญญาท้องถิ่น,ประสานงานภูมิปัญญาท้องถิ่น,รวบรวมหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อขออนุมัติ จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด

      นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และสรุปรายงานผลการดำเนินงาน

ครูการศึกษานอกโรงเรียนเช่น ครูประจำกลุ่ม ครูอาสาสมัครฯครู ปอ.ครูสินวิชาชีพระยะสั้นและวิทยากรกลุ่มสนใจ

      ร่วมกับผู้บริหารศูนย์ฯอำเภอและภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาหลักสูตร,จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเสนอ ศบอ.,จัดทำแผนการสอน

      การพบกลุ่มรายภาค เรียน รายสัปดาห์ เพื่อขออนุมัติจาก ศบอ.,ร่วมกับผู้เรียนในการกำหนดเนื้อหาและวิธีการเรียนการสอน,

      ดำเนินการจัดการเรียน การสอนตามแผนฯ สรุปและประเมินผล 

ผู้เรียนหรือนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน

      ร่วมกับครูในการกำหนดความต้องการ วัตถุประสงค์ และเนื้อหาของหลักสูตร,ร่วมกับ ครูกำหนดกิจกรรมและวิธีการเรียนการ

      สอน ตลอดจนการสรรหาสื่อการเรียนการสอน และเกณฑ์การประเมินผล บันทึกผลการ เรียนรู้เก็บไว้ในแฟ้มสะสมงาน

      (Portfolio)

      แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน <TOP>

      การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อน่างแท้จริงซึ่งเราเรียกกันโดยทั่วไป

      ว่าการเรียนรู้จากสภาพจริง (Authentic Learning) ซึ่งการที่จะก้าวไปสู่การเรียนรู้ดังกล่าวผู้จัดกิจกรรมต้องตระหนักในประเด็นดัง

      ต่อไปนี้ คือ

1. การเรียนของผู้เรียนมิใช่อยู่ที่การสอน และระยะเวลาที่ยาวนานแต่แก่นแท้ของการเรียนอยู่ที่การเรียนรู้ของผู้เรียน

2. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกแห่งทุกเวลาอย่างต่อเนื่องยายนานตลอดชีวิต

3. บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ควรได้รับการพิจารณาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดศรัทธา ซึ่งถือว่าเป็นจุด

    เริ่มต้นที่ดีอย่างหนึ่งของการเรียนอย่างเป็นระบบ

4. การเรียนรู้ที่ดีจะเกิดจากการสัมผัสและสัมพนธ์คือผู้เรียนควรจะได้มีโอกาสสัมผัสของจริง สถานการณ์จำลอง การได้ทดลองทำ

   การได้ร่วมกระบวนการกลุ่ม จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกันในสังคมและการแก้ปัญหาของชีวิตได้อย่างมีสติและ ใช้ปัญญา

5. ผลของกระบวนการเรียนรู้นั้น สามารถนำไปสู่กระบวนการปฏิบัติจริงในชีวิตได้

      จากประเด็นดังกล่าวข้างต้นครูจะจัดการเรียน การสอนโดยให้ผู้เรียนรู้จดรู้จำตามที่ครูบอกและใช้ข้อมูลความรู้เฉพาะในหนังสือ

   ที่เขียนไว้คงไม่เป็นการเพียงพอที่จะทำให้ผู้เรียน สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขได้ ครูจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาท

   จากผู้ถ่ายทอดความรู้มาเป็นผู้สร้างบรรยากาศ การเรียนรู้กระตุ้นให้ผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง แสวงหาข้อมูลวิทยาการ

   ต่างๆก่อนที่จะมาพบกลุ่มหรือมาเรียนในห้อง เรียนและบทเรียนควรมีความหลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคนที่มีความแตกต่าง

   กันเน้นการเชื่อมโยงระหว่างการเรียนกับ ชีวิตจริงและชีวิตการทำงาน โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทั้งในส่วนที่เป็นโลกาภิวัฒน์และท้อง

   ถิ่นหรือชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมควรจัดในลักษณะของ " การเรียนรู้ตามสภาพจริง

   "(Authentic Learning) พร้อมทั้งมีการวัดผล ประเมินผลการเรียนรู้ในลักษณะ " การประเมินตามสภาพจริง " (Authentic Assessment )  

การเรียนรู้ตามสภาพจริง<TOP>

ในโลกยุคของข้อมูลสารสนเทศหรือยุคโลกาภิวัฒน์ มนุษย์สามารถสร้างความรู้และสติปัญญาได้ หากครูและผู้เรียนได้ร่วมกันวาง

แผนการเรียน โดยเลือกสิ่งที่จะเรียนมาจากความต้องการของผู้เรียนเอง จะทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและตอบสนองชีวิต

 จริงได้ การจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองความเชื่อดังกล่าว จึงควรเป็นลักษณะของการจัดการเรียนรู้ตามสภาพที่แท้จริง โดย

คำนึงถึงชีวิตและองค์ความรู้ของผู้เรียน  ที่มีอย่างหลากหลายรอบๆตัวผู้เรียน ดังแผนภูม

      จากแผนภูมิดังกล่าวข้างต้นก่อนที่ครูจะทำการสอน จะต้องคำนึงถึงชีวิตและองค์ความรู้ที่อยู่รอบๆตัวผู้เรียนก่อน โดยครูจะต้อง

เป็น ผู้จัดบรรยากาศการเรียนการสอนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ทั้งสามด้านคือ ความรู้ (Knowlege) ทักษะ (Skill) ทัศนคติ ( Attitude)

และคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

      1. การเรียนรู้ชีวิต ( ปัจจุบัน ) ผู้เรียนควรได้เรียนรู้และวิเคราะห์สภาพสังคมของชีวิตที่ตนเองเกี่ยวข้องและเป็นอยู่ในปัจจุบันอันส่ง

ผลให้ผู้เรียนได้ รู้จักตนเอง  ดีขึ้น มีความภูมิใจในชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ตนเองดำรงอยู่

      2. โลกาภิวัฒน์ ผู้เรียนควรได้เข้าใจในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อันส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้เรียน การที่ผู้เรียน

จะสามารถดำรง ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขต้องเรียนรู้ในการปรับตัวให้ทันต่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รวมทั้งต้องเรียน รู้ในเรื่องของการมีส่วนร่วมและการให้ความร่วมมือในท้องถิ่น การปรับปรุงตนเองให้สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อน

บ้านและ ประชาคมโลกได้อีกด้วย

      3. เตรียมอนาคต ผู้เรียนควรได้รู้จักเตรียมอนาคต โดยนำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้จากสภาพสังคมของชีวิตตนเองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

และเรื่องของโลกาภิวัฒน์มาวิเคราะห์เพื่อการปรับหรือประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงให้รู้ทันโลกพร้อมปรับตนเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของ

สังคมในอนาคต

การจัดการเรียนการสอนที่จะให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง จะต้องเรียนจากเรื่องของตนเองเป็นอันดับแรก แล้วจึงก้าวไปสู่กระแสสังคมภายนอก

ดังนั้นหลักสูตรการเรียนการสอนต้องเป็นหลักสูตรจากชีวิตจริงที่ได้ร่วมกันสร้างขึ้นตามสภาพปัญหาของสังคมในขณะนั้นๆเพื่อให้

ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงได้อย่างทันท่วงที

การเรียนรู้ตามสภาพจริงอยู่บนความเชื่อที่ว่า " ก ารเรียนการสอนที่บรรลุผลนั้นต้องเรียนตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้เรียน

เนื้อหาที่หยิบยกขึ้นมาเรียนควรเป็นเรื่องที่ผู้เรียนอยากเรียน มิใช่เป็นเรื่องที่ครูชอบ หรือครูถนัด " แนวทางการเรียนการสอนที่อยู่

บนแนวคิดของทฤษฎีการสร้างปัญญา ( Constructivism ) โดยเชื่อว่า " คนเรียนรู้จากความรู้ที่สร้างขึ้นมาโดยตรงเปรียบข้อมูล

ใหม่กับประสบการณ์เดิมแล้วสร้างประสบการณ์หรือความรู้ใหม่ต่อขึ้นไปเรื่อยๆจนเกิดปัญญา " มีลำดับขั้นของการเรียนรู้อยู่หลาย

ลักษณะ คือประสบการณืเดิมที่ผู้เรียนมีในเรื่องนั้นๆถือได้ว่าผู้เรียนมี "ข้อมูล" (Data)ในเรื่องนั้นๆเมื่อผู้เรียนได้นำข้อมูลที่มีอยู่

คำสำคัญ (Tags): #หลักสูตร
หมายเลขบันทึก: 241343เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2009 00:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท