ถนนเชียงใหม่ – ลำพูน สายเก่า ( ถนนต้นยาง )


ถนนเชียงใหม่ – ลำพูน สายเก่า ( ถนนต้นยาง )

ถนนเชียงใหม่ – ลำพูน สายเก่า ( ถนนต้นยาง )




   

           หากเอ่ยถึงถนนสายหนึ่งที่มี ความสำคัญและเป็นถนนสายแรกที่เป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างเมืองทั้งสอง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน ถนนสายนี้เป็นถนนต้นยาง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ มีต้นยางกว่า 1,500 ต้นบนถนนต้นยาง เอกลักษณ์เพียงหนึ่งเดียวนี้ ที่หลายคนมีโอกาสได้เดินทางผ่านจะต้องเกิดความประทับใจ
เพราะมีต้นยางที่สูงเป็นทิวแถวตลอดสองข้างทาง ช่วงระหว่าง ตำบลหนองหอยถึงอำเภอสารภี ซึ่งมีจุดหมายไปยังจังหวัดลำพูน รับรองจะต้องได้เห็นต้นไม้ลำต้นสูงชะลูดตลอดระยะทางร าว 10 กิโลเมตร เป็นทิวแถวตลอดระยะของเส้นทางอย่างเป็นระเบียบ เป็นถนนที่ได้ชื่อว่ามีความงดงามและมีเอกลั กษณ์ที่โดดเด่น
           ถนนสายเชียงใหม่ ลำพูน ( สายเก่า ) นี้ หากพูดถึงความเป็นมานั้นมีความผูกพันกับแม่น้ำปิงห่าง ต้นยาง และต้นขี้เหล็กอย่างแยกกันไม่ออก แต่เดิมแม่น้ำปิงตามตำนานพื้นเมืองล้านนาเชียงใหม่ เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่ใช้ติดต่อกันระหว่างเมืองเชียงใหม่กับเมืองลำพูน อารยธรรมลุ่มแม่น้ำปิงห่างยังปรากฏให้เห็นในการตั้งหมู่บ้านตลอดแนวแม่น้ำและมีวัดสร้างริมฝั่งแม่น้ำตลอดแนวแม่น้ำปิงห่าง ประมาณ 30 วัด การตั้งถิ่นฐานไปตามแนวแม่น้ำปิงห่าง ทำให้เกิดเส้นทางคมนาคมทางบกเลียบแนวแม่น้ำปิงห่าง เส้นทางสายนี้เป็นเส้นทางสำคัญของการติดต่อระหว่างเมืองเชียงใหม่กับเมืองลำพูน และมีการพัฒนาเส้นทางขึ้นตามลำดับ ตามหลักฐานของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ในปี พุทธศักราช 2443

( บทสัมภาษณ์ คุณ (คนแก่)

        และในปี พุทธศักราช 2454 ได้กำเนิดต้นไม้สองข้างทาง โดยหลวงเจ้าพระยาสุรสีหวิสิษฐ์ศักดิ์ ข้าหลวงคนแรกของมณฑลพายัพ ได้นำต้นยางนามาให้ชาวบ้านช่วยกันปลูกจำนวนกว่าพันต้นตลอดแนวถนนเชียงใหม่-ลำพูน ตั้งแต่เชิงสะพานนวรัตน์เป็นต้นไปจนสุดเขตจังหวัดเชียงใหม่ ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ในเขตเชียงใหม่ปลูกต้นยางทั้งสองฟาก ลำต้นมหึมาของต้นยางนี้จะหาไม่พบอีกแล้วแม้แต่ในป่าภาคเหนือ พอเลยเขตเชียงใหม่เข้าเขตลำพูนก็ปลูกต้นขี้เหล็กให้รู้ว่าเป็นเขตแบ่งของสองจังหวัด ซึ่งต้นไม้ตลอดเส้นทางของถนนสายนี้มีร่วมสองพันต้น มีการปลูกเป็นแถวอย่างมีระเบียบ มีระยะห่างกันระหว่างต้นประมาณ 10 ถึง 20 วา ตลอดเส้นทาง

บทสัมภาษณ์
( ชาวบ้านผู้พักอาศัยติดกับถนนเชียงใหม่ - ลำพูน กับปัญหาที่พบเจอ 2.00 )



            นับเป็นเอกลักษณ์คู่ถนนสายนี้ตลอดมาร่วมร้อยปีแล้ว ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีการขยายตัวของชุมชนเข้าสู่การเป็นชุมชนเมืองมากยิ่งขึ้น ประกอบกับการขาดการวางแผนการป้องกันระยะยาวอย่างจริงจัง ทำให้มีการก่อสร้างอาคารร้านค้าและที่พักอาศัยใกล้ชิดติดแนวถนนและการใช้ที่สาธารณะข้างถนนโดยขาดการอนุรักษ์ต้นไม้ มองเฉพาะด้านความปลอดภัยและผลประโยชน์ของบุคคลและกลุ่มคน ทำให้จำนวนต้นไม้ลดจำนวนลงอย่างมากในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ถ้าสภาพเหตุการณ์ยังเป็นเช่นนี้ เอกลักษณ์ของต้นยาง-ต้นขี้เหล็กที่เคียงคู่กับถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน คงจะเหลือเป็นเพียงตำนานที่เล่าขานให้อนุชนรุ่นหลังเท่านั้น

ขอบคุณความรู้ ดีดี จาก http://www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=289


หมายเลขบันทึก: 241319เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2009 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

จริงนะต้นไม้เหล่านี้ ก็เป็นองค์ประกอบของเอกลักษณ์ของเมือง อย่างชัดเจน ถ้าโค่นออกสร้างอาคารพาณิชย์ละก้อ ไม่ต่างจากที่ไหนๆ

กล่าวว่าช่วยกันปลูกตั้งแต่ พ.ศ. 2454 เกือบร้อยปีทีเดียว อีกสองปีข้างหน้า พ.ศ.2554 ต้องฉลองอายุครบ 100 ให้ต้นไม้เหล่านี้นะ (จะไปเที่ยว )

2. พันคำ

เมื่อ พฤ. 12 ก.พ. 2552 @ 00:32

อ.พันคำ จะไปฉลองครบรอบ 100 ให้ต้นไม้เหล่านี้หรือค่ะ?? ..อิอิ..ปุ้ยก็ยังไม่เคยไปค่ะ.. น่าสนใจ น่าสนใจ

原来一条街,一片树林也有这样悠久的历史的?呵呵~~好玩~~

呵呵,สาวเชียงใหม่ 这首歌真有趣~~

ต้นยางเหล่านี้ คนเมืองเหนือ"คนเล่าเจี๊ยะ" ก่เกยฮ่วมปูกเน้อะ!

4. davidhoo

เมื่อ พฤ. 12 ก.พ. 2552 @ 12:24

不知道现在树林还是这样吗?因为时间过去,呵呵~~

5. คนเมืองเหนือ

เมื่อ พฤ. 12 ก.พ. 2552 @ 12:30

ขอบคุณเจ้า ตี้แวะมาชมมาอ่าน ..

ต้นยางเหล่านี้ คนเมืองเหนือ"คนเล่าเจี๊ยะ" ก่เกยฮ่วมปูกเน้อะ!

ดีขนาเลยเจ้า..อนุรักษ์ธรรมชาติไปโตยในตั๋ว..ยินดีขนาดเจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท