ตอน ๓ "Click"
ตอน ๒ "Click"
ตอน ๑ "Click"
แต่เดิม หน่วยเหนือขึ้นไปของมหาวิทยาลัย (หรือต้นสังกัด) คือ ทบวงมหาวิทยาลัย (เรียกย่อๆว่า ทบวงฯ) ปัจจุบันนี้ เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแล้ว (เรียกย่อๆว่า สกอ.) ดังนั้น ในฐานะที่ต้องรับผิดชอบเรื่องอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย เรื่องประกันคุณภาพการศึกษา ก็ต้องรับผิดชอบด้วย
แล้วทบวงฯ ดำเนินการอะไรบ้าง ในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ทบวงดำเนินการดังนี้ค่ะ
สำหรับดิฉัน ดิฉันยังชอบแบบดั้งเดิมของทบวงฯนี้ มากกว่าแบบที่วัดแต่ผลลัพธ์ ผลผลิตเป็นตัวเลขอย่างเดียวอย่างสมัยนี้ เฮ้อ....นานาจิตตังนะค่ะ ดิฉันไม่เก่งเลข จึงไม่ชอบวัด ถ้าไปวัดละพอได้
ภาพรวม กรอบแนวคิดขององค์ประกอบคุณภาพการศึกษา ของทบวงฯ จะมีทั้ง ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลสัมฤทธิ์ ดังภาพ ซึ่งนับว่าครอบคลุมดีทีเดียว
ส่วนดัชนีบ่งชี้คุณภาพ ตอนแรกๆ บุคลากรในคณะของดิฉันหลายท่าน ไม่คุ้นเคย ไม่เข้าใจว่าดัชนี คืออะไร ดิฉันจึงเล่าแจ้งแถลงไขไว้ในคอลัมน์ประกันคุณภาพ ของสารสหเวชสัมพันธ์ ชื่อเรื่องว่า "ดัชนี" ไว้ (เมื่อนานมาแล้ว) ดังนี้
คิดดูก็น่าแปลกนะคะ ที่คนเรามีนิ้วตั้ง 5 นิ้ว
แต่พอจะชี้ให้เห็นอะไรสักอย่างต้องใช้นิ้วชี้เหมือนกันหมด
ไม่ว่าเด็กที่ยังไม่รู้ประสา หรือผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า ชาวนา เศรษฐี ยาจก
ไม่ว่าแขก ฝรั่ง ไทย จีน ก็ใช้นิ้วชี้ คงเพราะเหตุนี้
นิ้วชี้จึงได้สมญานามเป็นพิเศษต่างจากนิ้วอื่น
ว่า ดัชนี และภาษาฝรั่งก็เรียกเป็นพิเศษว่า
INDEX
บางสิ่งบางอย่างที่มองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ เช่น คุณภาพ ความสำเร็จ หากจะชี้ให้คนอื่นเห็น ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษกว่านิ้วชี้ และมักไม่ชี้อย่างเดียวแต่จะวัดด้วยว่ามากน้อยเท่าใด
เครื่องมือชี้วัดดังกล่าวขอยืมใช้คำว่า "ดัชนี"เป็นสรรพนามและลักษณะนามด้วย เช่น คุณภาพของงานบริการทางวิชาการสู่สังคมของคณะสหเวชฯ มีดัชนีชี้วัด 2 ดัชนี คือ วิธีดำเนินการจัดทำแผนงาน และวิธีการจัดโครงการ / กิจกรรม
ถ้าเครื่องมือชี้วัดไม่เที่ยงตรง วิธีการวัดไม่ถูกต้อง หรือใช้เครื่องชี้วัดที่ไม่เหมาะกับธรรมชาติของสิ่งที่ถูกวัด เช่น ใช้ไม้เมตรวัดตัวเพื่อตัดเสื้อ ผลของการชี้วัดย่อมไม่ถูกต้องเป็นจริง
ทำนองเดียวกับสิ่งที่เป็นนามธรรม ดังเช่นการประเมินคุณภาพภายในของคณะวิชาต่างๆในมหาวิทยาลัยนเรศวร ในช่วงเดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2544 ที่ผ่านมา เครื่องมือชี้วัดคุณภาพ คือ ดัชนีกลางของมหาวิทยาลัย เป็นเครื่องมือที่ผ่านขบวนการกลั่นกรองจากคณะกรรมการจัดทำดัชนีและเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยแล้ว โดยปรับให้สอดคล้องกับดัชนีและเกณฑ์ของทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อให้เป็นเครื่องมือที่เป็นกลางและได้มาตรฐานที่สุด
ทั้งนี้แต่ละคณะวิชาสามารถนำไปใช้ได้เลย และยังสามารถปรับเพิ่มดัชนีอื่นๆให้ตรงกับธรรมชาติของคณะวิชาของตนได้อีก
หลายต่อหลายคณะวิชา ที่ถูกตรวจสอบผลการประเมินตนเอง ด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกคณะ ล้วนวิตกกังวลใจว่า ผลการประเมินจากกรรมการด้วยเครื่องชี้วัดกลางของมหาวิทยาลัย (ที่ได้คะแนนแสนจะต่ำ หรืออยู่ในเกณฑ์ตก) จะส่งผลกระทบต่อคณะอย่างไรบ้าง จะทำให้ท่านผู้บริหารมหาวิทยาลัยเพ่งเล็งเป็นกรณีพิเศษหรือเปล่า จะทำให้ภาพลักษณ์ของคณะวิชาตกต่ำ หรือจะนำไปเปรียบเทียบจัดอันดับคณะให้เป็นที่อับอายชาวประชาชีหรืออย่างไร
อิ๊กคิวซี ขอตอบด้วยความมั่นใจ เต็ม 100 เลยว่า ไม่ต้องห่วงค่ะท่านทั้งหลาย ท่านผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา ผศ.ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร ยืนยัน นั่งยันกับทุกคณะ ไม่เฉพาะกับอิ๊กคิวซี ว่า ที่จัดประเมินคุณภาพภายในสำหรับหน่วยงานด้านการเรียนการสอนทั้งมหาวิทยาลัยในคราวนี้ มีจุดมุ่งหมายสำคัญในอันที่จะให้ทุกคณะเกิดความตื่นตัวในการประกันคุณภาพการศึกษา และให้ทุกคณะมีแนวทางดำเนินการประกันคุณภาพไปในทิศทางเดียวกัน โดยเน้นกระบวนการ
PDCA คือ ต้องกำหนดนโยบายและวางแผนงาน :PLAN ดำเนินการตามแผน DO ตรวจสอบผลการดำเนินงาน CHECK แล้วแก้ไขข้อบกพร่องที่ตรวจพบ ACTION
อีกทั้งไม่มีเจตนาที่จะนำผลไปเปรียบเทียบจัดอันดับคณะดีเด่น หรือยอดแย่แต่ประการใด ตรงกันข้าม ผลประเมินในส่วนที่เป็นจุดอ่อนในภาพรวมทั้งมหาวิทยาลัย จะสะท้อนให้เห็นปัญหาที่แท้จริงของมหาวิทยาลัย เป็นข้อมูลให้ท่านอธิการบดีปรับกลยุทธ์ในการบริหารหรือการตัดสินใจได้เข้าเป้า ตรงประเด็น ตรงกับสภาพเป็นจริงของมหาวิทยาลัยของเราให้มากที่สุด
สบายใจหรือยังคะ อย่าเครียดss นะจ๊ะ
อย่าเครียดss หรือถ้าจะเครียดss
ก็ขอเป็นครั้งสุดท้ายส่งท้ายปีเก่าไปเลย
ปีใหม่พร้อมรับความสดใสซาบซ่า ๆๆๆๆ SAR2
SAR3 SAR4 SAR5 ฮ่าๆๆๆ
2545 ไชโย
ไม่มีความเห็น